xs
xsm
sm
md
lg

วรรณกรรมญี่ปุ่น

รู้ไหม ที่ใต้ต้น “ซากุระ” มีศพฝังอยู่?
รู้ไหม ที่ใต้ต้น “ซากุระ” มีศพฝังอยู่?
ที่ใต้ต้นซากุระมีศพฝังอยู่! เชื่อเถิด เรื่องนี้เชื่อได้ ทำไมน่ะหรือ ก็ดอกซากุระบานสะพรั่งเสียขนาดนั้น มันเหลือเชื่อมิใช่หรือ ผมเชื่อไม่ลงหรอกหากบอกว่าความงามเช่นนั้นมีจริง มันคือสิ่งที่รบกวนจิตใจผมสองสามวันนี้ แต่ในที่สุดเวลาแห่งความเข้าใจก็มาถึงเสียที ที่ใต้ต้นซากุระมีศพฝังอยู่ เชื่อสิ เรื่องนี้เชื่อได้
ใครคือผู้หญิงบนธนบัตร 5000 เยน ?
ใครคือผู้หญิงบนธนบัตร 5000 เยน ?
ผู้หญิงกับการอ่านออกเขียนได้ถือว่าเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่สำหรับหลายสังคมในช่วงสองร้อยปีมานี้ เมื่อการศึกษาแพร่หลายมากขึ้นและผู้หญิงมีโอกาสได้เรียนหนังสือ ก็เริ่มมีนักเขียนหญิงที่ถือว่าเป็นผู้บุกเบิกวงการวรรณกรรม ของไทยคือ “ดอกไม้สด” ซึ่งเป็นนามปากกาของ หม่อมหลวงบุปผา นิมมานเหมินท์ (พ.ศ. 2448 – 2506) ถ้าของญี่ปุ่น คือ คนที่มีภาพอยู่บนธนบัตรห้าพันเยนนั่นเอง
สุนัขจิ้งจอกกง (ตอนแรก)
สุนัขจิ้งจอกกง (ตอนแรก)
ขณะที่ “ฮะชิโก” อันเป็นต้นกำเนิดแห่งอนุสาวรีย์สำคัญหน้าสถานีชิบุยะใจกลางโตเกียวคือ ‘เรื่องจริง’ เกี่ยวกับสุนัขญี่ปุ่นที่โด่งดังที่สุด ในอีกด้านหนึ่ง เรื่องราวของ “สุนัขจิ้งจอกกง” ก็คือ ‘เรื่องแต่ง’ เกี่ยวกับสุนัขที่คนญี่ปุ่นรู้จักแพร่หลายที่สุด เพียงแต่ว่าสุนัขในเรื่องนี้ไม่ใช่สุนัขบ้าน แต่เป็นสุนัขจิ้งจอก ซึ่งเป็นสัตว์ที่ปรากฏในวรรณกรรมญี่ปุ่นบ่อย และคนญี่ปุ่นถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ด้วย
ดาวเหยี่ยวราตรี
ดาวเหยี่ยวราตรี
ปลายปีนี้ภาพยนตร์เรื่อง Wonder ของอเมริกาซึ่งสร้างจากนวนิยายเยาวชน “ชีวิตมหัศจรรย์ของออร์กัสต์” กำลังเป็นที่กล่าวขวัญ จึงนึกถึงผลงานเรื่องสั้นของมิยะซะวะที่มีสารใกล้เคียงกันคือเรื่อง “ดาวเหยี่ยวราตรี” (#12424;#12384;#12363;#12398;#26143;#65307;Yodaka no hoshi) กล่าวคือ ผู้ที่ถูกมองว่าอัปลักษณ์หรืออ่อนแอมักตกเป็นเหยื่อของการกีดกัน และในชีวิตจริงเราควรระวังให้มากว่าคำพูดหรือการกระทำของเราเป็นการดูแคลนความแตกต่างของผู้อื่นหรือไม่ ด้วยเนื้อหาแบบนี้ เรื่องสั้น “ดาวเหยี่ยวราตรี” จึงได้รับการบรรจุลงในหนังสือแบบเรียนของญี่ปุ่น เป็นเรื่องที่แพร่หลายมาก และคนญี่ปุ่นถือว่าเป็นตัวแทนวรรณกรรมเยาวชนที่ดีเรื่องหนึ่งของญี่ปุ่น เนื้อเรื่องเป็นอย่างไร ลองอ่านกันดู
อ่าน “ส้ม” ในต้นฤดูส้ม
อ่าน “ส้ม” ในต้นฤดูส้ม
นักเขียนชื่อดังคนหนึ่งของญี่ปุ่นซึ่งได้รับการยกย่องในฐานะ “ราชาเรื่องสั้น” คือ ริวโนะซุเกะ อะกุตะงะวะ เจ้าของบทประพันธ์ “ระโชมง” (ราโชมอน) และ “ในป่าละเมาะ” ซึ่งเป็นสองแหล่งต้นเรื่องของภาพยนตร์ Rashomon ของญี่ปุ่น และ “อุโมงค์ผาเมือง” ของไทย ปัจจุบันเรื่องสั้นของอะกุตะงะวะแปลเป็นภาษาไทยมากขึ้น และมีการรวมเล่มออกจำหน่าย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดีที่ทำให้คนไทยได้รู้ฝีมือทางวรรณกรรมและความคิดของนักเขียนชาวญี่ปุ่นลึกซึ้งขึ้น ตลอดจนได้มองเห็นความเป็นอยู่และสภาพสังคมญี่ปุ่นสมัยก่อนด้วย
เล่าเรื่อง “คุณตาดอกไม้บาน” ณ เวลาซากุระผลิ
เล่าเรื่อง “คุณตาดอกไม้บาน” ณ เวลาซากุระผลิ
การจัดอันดับของคนญี่ปุ่นครอบคลุมแม้กระทั่งเรื่องนิทาน มีนิทานห้าเรื่องที่คนญี่ปุ่นจัดให้เป็นตัวแทนเชิงคติชน การจัดนี้มีมาแล้วประมาณช่วงปลายสมัยมุโระมะชิ (#23460;#30010;#26178;#20195;; Muromachi jidai; พ.ศ.1879 - 2116) ถึงต้นสมัยเอะโดะ (#27743;#25144;#26178;#20195;; Edo jidai; พ.ศ. 2146 – 2411) ห้าเรื่องนี้ได้รับการขนานนามว่า “ห้านิทานเอกแห่งญี่ปุ่น”