ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
อาจารย์ประจำสาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
และ Actuarial Science and Risk Management
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อนุกรรมาธิการติดตามการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข วุฒิสภา
โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น มีอะไรดี ทำให้นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ถึงได้ต้องพยายามมาและพยายามหลายครั้ง ทั้งที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ และถูกตั้งข้อสงสัยมากมายเหลือเกิน
อันที่จริงประธานชมรมแพทย์ชนบท ไม่ได้อยู่ชนบทมานานแล้ว เพราะอำเภอชุมแพ โรงพยาบาลชุมแพ ที่เป็น ผอ. มี ถนนหน้าโรงพยาบาล 8 เลน และมีธนาคารพาณิชย์ไม่ต่ำกว่า 10 ธนาคาร เต็มไปทั้งอำเภอมา 20 กว่าปีได้แล้ว เจริญมาก แต่ก็ยังไม่อยากยกระดับโรงพยาบาลเสียที เพราะรายได้ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลในฐานะแพทย์ในชนบทจะหายไปใช่หรือไม่?
แล้วทำไมไปอยู่โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี อันเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ มีนิสิตแพทย์จุฬาฯ ไปเรียนด้วยตลอด มีวิทยาลัยพยาบาลรำไพพรรณี แทบจะถือได้ว่าเป็นโรงเรียนแพทย์และแทบจะใหญ่กว่าโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น กลับอยากย้ายกลับมาโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น โดยมีความพยายามอย่างหนักอย่างน้อยสองครั้งสองครา ถึงกับต้องสร้างเรื่องใส่ร้ายป้ายสีหรือสร้างหลักฐานเท็จหรือไม่ โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขและรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมด้วยช่วยกัน สมคบคิดกันด้วยหรือไม่
ว่าแต่ว่า ไม่ได้เป็นแพทย์ชนบทแล้ว ทำไมจึงยังเป็นประธานชมรมแพทย์ชนบทไปตลอดกาลเช่นนี้ได้ ไม่มีวาระหรืออย่างไร?
คำถามเหล่านี้สาธารณชนมีสิทธิถามได้ เพราะนี่คือหน่วยงานของรัฐ และการวิจารณ์หน่วยงานของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นสิทธิของประชาชนและวิญญูชนพึงกระทำได้
นายแพทย์พิสิทธิ์ เอื้อวงศ์กูล อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เขียนบนเฟซบุ๊ก Pisit Euavongkul ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับชมรมแพทย์ชนบทอันเป็นส่วนหนึ่งของตระกูล ส. เอาไว้ว่า
อยากให้ไปลองอ่านบทความ
• ความสำเร็จ และ การสืบทอดของแพทย์ชนบท
• ชมรมแพทย์ (อ้าง) ชนบท ?
และ อวสานแพทย์ชนบท
เพื่อให้เข้าใจเบื้องหน้าเบื้องหลังกันเสียหน่อย
ที่ลุงเปลว สีเงิน เขียนคอลัมน์คนปลายซอย บทความชื่อ หลุมดำ ๕% “รพ.ขอนแก่น” แม้จะอ้างชื่อผม แต่ผมขอยืนยันว่าไม่ได้คุยกับลุงเปลว สีเงิน เลยในช่วงที่ผ่านมาในเรื่องนี้ แม้ว่าปกติจะคุยกันเป็นระยะ ๆ มาตลอด ก็ตาม ทำให้ผมเกิดความสงสัยว่า ทำไมพวกอ้างชนบท ถึงได้อยากมา โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น โรงพยาบาลภูธรหัวเมืองใหญ่กันมากเหลือเกิน
และใครเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ก่อนหน้านี้มาเป็นสิบปี ที่ทำให้โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ขาดทุนย่อยยับ เกือบ 400 ล้านบาท ในวันที่นพ.ธรรมนูญ วิสิฐธนวรรธ มารับตำแหน่งผอ. โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นอยู่หนึ่งปี ในปี พ.ศ.2557-2558 ก่อนที่จะย้ายไปโรงพยาบาลอุดรธานี เพื่อไปแก้ปัญหาที่โรงพยาบาลอุดรธานีก่อนจะเกษียณอายุราชการไป การบริหารเพียงหนึ่งปีก็ยังไม่ได้แก้ปัญหาอะไรมากนัก หมอธรรมนูญแค่ศึกษาปัญหาและสาเหตุของปัญหาการขาดทุนหนักมากยังไม่ทันจะรู้เรื่องดีนักก็ย้ายไปแก้ปัญหาอีกที่ ปัญหาที่ นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นในระหว่างปี พ.ศ.2550-2557 หรือประมาณเจ็ดปี ที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นขาดทุนหนักมาก
หลังจากนายแพทย์ธรรมนูญย้ายไป หมอชาญชัย จันทร์วรชัยกุล จึงมารับตำแหน่งแทน ท่ามกลางปัญหาที่หนักหน่วงและหนี้ที่ตนไม่ได้ก่อไว้ โดยเป็นผอ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 ถึงปัจจุบัน คือ 5 มิ.ย. 2563 ที่ถูกย้ายเข้ากระทรวง
นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ชื่อเล่น เตี้ย หรือ พี่เตี้ย ของน้อง ๆ ชมรมแพทย์ชนบท เป็นแพทย์ชนบทรุ่นกลาง ต่อจากรุ่นใหญ่ รุ่นแรก อันได้แก่ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อันเป็นส่วนหนึ่งของตระกูล ส. อันแนบแน่น โปรดอ่านได้จาก ตระกูล ส คือใคร? และ องค์การอิสระและองค์การเอกชนในเครือข่ายตระกูล ส: การไขว้ตำแหน่งและการขัดกันแห่งผลประโยชน์”
ทั้งนี้นายแพทย์วีระพันธุ์ สุพรรณไชยมาตย์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (บอร์ดสสส.) คนที่ 2 มีความเชื่อมโยงกับตระกูล ส. ชมรมแพทย์ชนบท และมูลนิธิแพทย์ชนบทอย่างชัดเจน โปรดอ่านได้จาก ชมรมแพทย์ชนบทและตระกูล ส.
นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น เคยเป็นกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท และเคยมีส่วนร่วมในการขอเงินจากสปสช ในขณะที่นายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช ในสมัยนั้นเป็นกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบทด้วย ดังปรากฎในรายงานด้านล่างนี้
ทั้งนี้นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น หลังจากเกษียณอายุราชการได้ไปเป็นรองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คนที่ 2 สืบต่อจากนายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ที่ถูกปลดออกจากบอร์ด สสส. ด้วยมาตรา 44 ตามคำสั่งของ คสช. และนายแพทย์วิชัย โชควิวัฒนนี้ก็เป็นรองประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบทด้วย และเป็นประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบทคนปัจจุบัน
ในแผนผังข้างล่างในความเชื่อมโยงของมูลนิธิแพทย์ชนบทและชมรมแพทย์ชนบทนั้น ผมพบว่ามีความเกี่ยวโยงกับกรณีนายแพทย์ชาญชัย ถูกสอบวินัยร้ายแรงทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวงมาก
ข้อแรก นายแพทย์ สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ในฐานะผู้ดูแลโรงพยาบาลทั้งหมดในจังหวัดขอนแก่น เคยเป็นอดีตเลขานุการ ชมรมแพทย์ชนบท
ข้อสอง นายแพทย์ ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง นายแพทย์ชาญชัย ผอ. รพศ. ขอนแก่น เคยเป็นอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท
ข้อสาม นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน มีนายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งต่อใน สสส
ทั้งหมดทั้งปวง น่าจะโยงใยไปที่นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ตลอดกาลที่ย้ายข้ามประเทศมาเป็นรักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่นหรือไม่
วันก่อนผมสนทนากับสื่อมวลชนประจำกระทรวงสาธารณสุขคนหนึ่งได้เล่าให้ผมฟังว่า อาจารย์ขา รพศ.ขอนแก่นนั้นเป็นฐานของพวกแพทย์ชนบทมานาน ขาดเหลืออะไร หมอวีระพันธ์ก็ให้เงินสวัสดิการโรงพยาบาลขอนแก่นไปที่ชมรมแพทย์ชนบท ครั้งละ ห้าแสนบาท ผมก็ถามว่ามีหลักฐานไหม ได้คำตอบว่าไม่มี แต่วันนี้มีคนส่งมาให้ครับ ตามรูปข้างล่างนี้
แต่เรื่องนี้ผมไม่ตกใจเท่า เงินสวัสดิการโรงพยาบาลขอนแก่น มีการโอนเข้าบัญชีอดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นเองด้วย สองครั้ง ครั้งละล้านสี่และสองล้านห้าแสนบาท อันนี้ผมว่าน่าตกใจ และดูน่าสงสัยหากเอกสารนี้เป็นจริง น่าจะเป็นการทุจริตหรือไม่ ผมคิดว่า ป.ป.ช. ควรต้องลงไปตรวจสอบให้กระจ่างชัด
ไม่เช่นนั้นอาจจะเป็นการฆ่าปิดปากนายแพทย์ชาญชัยเพื่อเข้าไปทำลายหลักฐานทางราชการได้
ผมยิ่งมาถึงบางอ้อ เมื่อมีอดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขคนหนึ่ง เขียนบทความมาให้ผมอ่านดังนี้
ผมขอทิ้งท้ายด้วยข้อเขียนของนายแพทย์ชเนษฎ์ ศรีสุโข ว่า
ไอ้เรื่องเงินหายก็เรื่องหนึ่ง แต่เรื่องฆ่าปิดปากทำลายหลักฐานน่าจะเป็นเรื่องใหญ่กว่ามาก ถ้าอยากให้บ้านเมืองมีคุณธรรม กระทรวงสาธารณสุขมีธรรมาภิบาล ไม่ได้ปกครองกันด้วยมาเฟีย กลั่นแกล้งรังแกคนทำงานที่ทำความดีด้วยความสุจริตใจแล้ว นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกุลต้องไม่ลอยตัว และต้องกล้ารื้อ ต้องกล้าตรวจสอบย้อนหลังการใช้เงินเหล่านี้ของทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย ให้ถูกต้องและโปร่งใส
ชมรมแพทย์อ้างชนบทต้องการฆ่าปิดปากคดีหลุมดำ 5% โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นหรือไม่? คงเป็นคำถามที่ประชาชนและสังคมต้องการคำตอบที่โปร่งใส ชัดเจน เป็นธรรม เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
อาจารย์ประจำสาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
และ Actuarial Science and Risk Management
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อนุกรรมาธิการติดตามการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข วุฒิสภา
โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น มีอะไรดี ทำให้นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ถึงได้ต้องพยายามมาและพยายามหลายครั้ง ทั้งที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ และถูกตั้งข้อสงสัยมากมายเหลือเกิน
อันที่จริงประธานชมรมแพทย์ชนบท ไม่ได้อยู่ชนบทมานานแล้ว เพราะอำเภอชุมแพ โรงพยาบาลชุมแพ ที่เป็น ผอ. มี ถนนหน้าโรงพยาบาล 8 เลน และมีธนาคารพาณิชย์ไม่ต่ำกว่า 10 ธนาคาร เต็มไปทั้งอำเภอมา 20 กว่าปีได้แล้ว เจริญมาก แต่ก็ยังไม่อยากยกระดับโรงพยาบาลเสียที เพราะรายได้ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลในฐานะแพทย์ในชนบทจะหายไปใช่หรือไม่?
แล้วทำไมไปอยู่โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี อันเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ มีนิสิตแพทย์จุฬาฯ ไปเรียนด้วยตลอด มีวิทยาลัยพยาบาลรำไพพรรณี แทบจะถือได้ว่าเป็นโรงเรียนแพทย์และแทบจะใหญ่กว่าโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น กลับอยากย้ายกลับมาโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น โดยมีความพยายามอย่างหนักอย่างน้อยสองครั้งสองครา ถึงกับต้องสร้างเรื่องใส่ร้ายป้ายสีหรือสร้างหลักฐานเท็จหรือไม่ โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขและรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมด้วยช่วยกัน สมคบคิดกันด้วยหรือไม่
ว่าแต่ว่า ไม่ได้เป็นแพทย์ชนบทแล้ว ทำไมจึงยังเป็นประธานชมรมแพทย์ชนบทไปตลอดกาลเช่นนี้ได้ ไม่มีวาระหรืออย่างไร?
คำถามเหล่านี้สาธารณชนมีสิทธิถามได้ เพราะนี่คือหน่วยงานของรัฐ และการวิจารณ์หน่วยงานของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นสิทธิของประชาชนและวิญญูชนพึงกระทำได้
นายแพทย์พิสิทธิ์ เอื้อวงศ์กูล อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เขียนบนเฟซบุ๊ก Pisit Euavongkul ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับชมรมแพทย์ชนบทอันเป็นส่วนหนึ่งของตระกูล ส. เอาไว้ว่า
ผมอยากทราบว่า คำว่า”ชมรมแพทย์ชนบท”หมายถึงใคร? มีสมาชิกกี่คน? วัตถุประสงค์ของการมีชมรมนี้ มีเพื่ออะไร? ผมเป็นแพทย์ที่อยู่ในชนบทมาตลอดตั้งแต่เรียนจบจนเกษียณ ตั้งแต่เป็นแพทย์ประจำ รพ., เป็นผู้อำนวยการ รพ., ผมแทบจะไม่เคยไปร่วมสังฆกรรมกับชมรมนี้เลย เพราะผมแทบไม่เห็นเลยว่าพี่น้องประชาชนจะได้ประโยชน์อันใดกับชมรมนี้ เห็นมีแต่การรวมกลุ่มของหมอไม่กี่คน ตั้งประธานกันยังไงผมยังไม่รู้เลย เกาะกันเป็นกลุ่ม สร้างภาพ, สร้าง power เหมือนมีหมอชนบททั้งประเทศหนุนหลัง (ทั้งที่ไม่จริง) จนนักการเมืองที่เข้ามาบริหารกระทรวงเกรงอกเกรงใจกัน เท่าที่เห็นก็คือเอาไว้ต่อรองผู้มีอำนาจในกระทรวง ผมอยากเตือนท่าน รมว|รมช|ปลัด ว่าอย่าหลงคารม อย่าหูเบา อย่าถูกหลอกใช้ ผมเชื่อว่า ถึงไม่มีชมรมนี้เลย งานของกระทรวงก็สามารถดำเนินการได้เหมือนเดิม เผลอ ๆ จะดีกว่าเดิม มีธรรมาภิบาลมากขึ้น |
อยากให้ไปลองอ่านบทความ
• ความสำเร็จ และ การสืบทอดของแพทย์ชนบท
• ชมรมแพทย์ (อ้าง) ชนบท ?
และ อวสานแพทย์ชนบท
เพื่อให้เข้าใจเบื้องหน้าเบื้องหลังกันเสียหน่อย
ที่ลุงเปลว สีเงิน เขียนคอลัมน์คนปลายซอย บทความชื่อ หลุมดำ ๕% “รพ.ขอนแก่น” แม้จะอ้างชื่อผม แต่ผมขอยืนยันว่าไม่ได้คุยกับลุงเปลว สีเงิน เลยในช่วงที่ผ่านมาในเรื่องนี้ แม้ว่าปกติจะคุยกันเป็นระยะ ๆ มาตลอด ก็ตาม ทำให้ผมเกิดความสงสัยว่า ทำไมพวกอ้างชนบท ถึงได้อยากมา โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น โรงพยาบาลภูธรหัวเมืองใหญ่กันมากเหลือเกิน
และใครเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ก่อนหน้านี้มาเป็นสิบปี ที่ทำให้โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ขาดทุนย่อยยับ เกือบ 400 ล้านบาท ในวันที่นพ.ธรรมนูญ วิสิฐธนวรรธ มารับตำแหน่งผอ. โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นอยู่หนึ่งปี ในปี พ.ศ.2557-2558 ก่อนที่จะย้ายไปโรงพยาบาลอุดรธานี เพื่อไปแก้ปัญหาที่โรงพยาบาลอุดรธานีก่อนจะเกษียณอายุราชการไป การบริหารเพียงหนึ่งปีก็ยังไม่ได้แก้ปัญหาอะไรมากนัก หมอธรรมนูญแค่ศึกษาปัญหาและสาเหตุของปัญหาการขาดทุนหนักมากยังไม่ทันจะรู้เรื่องดีนักก็ย้ายไปแก้ปัญหาอีกที่ ปัญหาที่ นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นในระหว่างปี พ.ศ.2550-2557 หรือประมาณเจ็ดปี ที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นขาดทุนหนักมาก
หลังจากนายแพทย์ธรรมนูญย้ายไป หมอชาญชัย จันทร์วรชัยกุล จึงมารับตำแหน่งแทน ท่ามกลางปัญหาที่หนักหน่วงและหนี้ที่ตนไม่ได้ก่อไว้ โดยเป็นผอ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 ถึงปัจจุบัน คือ 5 มิ.ย. 2563 ที่ถูกย้ายเข้ากระทรวง
นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ชื่อเล่น เตี้ย หรือ พี่เตี้ย ของน้อง ๆ ชมรมแพทย์ชนบท เป็นแพทย์ชนบทรุ่นกลาง ต่อจากรุ่นใหญ่ รุ่นแรก อันได้แก่ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อันเป็นส่วนหนึ่งของตระกูล ส. อันแนบแน่น โปรดอ่านได้จาก ตระกูล ส คือใคร? และ องค์การอิสระและองค์การเอกชนในเครือข่ายตระกูล ส: การไขว้ตำแหน่งและการขัดกันแห่งผลประโยชน์”
ทั้งนี้นายแพทย์วีระพันธุ์ สุพรรณไชยมาตย์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (บอร์ดสสส.) คนที่ 2 มีความเชื่อมโยงกับตระกูล ส. ชมรมแพทย์ชนบท และมูลนิธิแพทย์ชนบทอย่างชัดเจน โปรดอ่านได้จาก ชมรมแพทย์ชนบทและตระกูล ส.
นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น เคยเป็นกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท และเคยมีส่วนร่วมในการขอเงินจากสปสช ในขณะที่นายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช ในสมัยนั้นเป็นกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบทด้วย ดังปรากฎในรายงานด้านล่างนี้
ทั้งนี้นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น หลังจากเกษียณอายุราชการได้ไปเป็นรองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คนที่ 2 สืบต่อจากนายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ที่ถูกปลดออกจากบอร์ด สสส. ด้วยมาตรา 44 ตามคำสั่งของ คสช. และนายแพทย์วิชัย โชควิวัฒนนี้ก็เป็นรองประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบทด้วย และเป็นประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบทคนปัจจุบัน
ในแผนผังข้างล่างในความเชื่อมโยงของมูลนิธิแพทย์ชนบทและชมรมแพทย์ชนบทนั้น ผมพบว่ามีความเกี่ยวโยงกับกรณีนายแพทย์ชาญชัย ถูกสอบวินัยร้ายแรงทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวงมาก
ข้อแรก นายแพทย์ สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ในฐานะผู้ดูแลโรงพยาบาลทั้งหมดในจังหวัดขอนแก่น เคยเป็นอดีตเลขานุการ ชมรมแพทย์ชนบท
ข้อสอง นายแพทย์ ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง นายแพทย์ชาญชัย ผอ. รพศ. ขอนแก่น เคยเป็นอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท
ข้อสาม นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน มีนายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งต่อใน สสส
ทั้งหมดทั้งปวง น่าจะโยงใยไปที่นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ตลอดกาลที่ย้ายข้ามประเทศมาเป็นรักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่นหรือไม่
วันก่อนผมสนทนากับสื่อมวลชนประจำกระทรวงสาธารณสุขคนหนึ่งได้เล่าให้ผมฟังว่า อาจารย์ขา รพศ.ขอนแก่นนั้นเป็นฐานของพวกแพทย์ชนบทมานาน ขาดเหลืออะไร หมอวีระพันธ์ก็ให้เงินสวัสดิการโรงพยาบาลขอนแก่นไปที่ชมรมแพทย์ชนบท ครั้งละ ห้าแสนบาท ผมก็ถามว่ามีหลักฐานไหม ได้คำตอบว่าไม่มี แต่วันนี้มีคนส่งมาให้ครับ ตามรูปข้างล่างนี้
แต่เรื่องนี้ผมไม่ตกใจเท่า เงินสวัสดิการโรงพยาบาลขอนแก่น มีการโอนเข้าบัญชีอดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นเองด้วย สองครั้ง ครั้งละล้านสี่และสองล้านห้าแสนบาท อันนี้ผมว่าน่าตกใจ และดูน่าสงสัยหากเอกสารนี้เป็นจริง น่าจะเป็นการทุจริตหรือไม่ ผมคิดว่า ป.ป.ช. ควรต้องลงไปตรวจสอบให้กระจ่างชัด
ไม่เช่นนั้นอาจจะเป็นการฆ่าปิดปากนายแพทย์ชาญชัยเพื่อเข้าไปทำลายหลักฐานทางราชการได้
ผมยิ่งมาถึงบางอ้อ เมื่อมีอดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขคนหนึ่ง เขียนบทความมาให้ผมอ่านดังนี้
#ชำแหละหลุมดำ๕เปอร์เซนต์ #บัญชีลับ #บัญชีเงินนอกระบบเพื่อใช้ในระบบ เรื่องดำมืดในโรงพยาบาลหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมีมานาน กองโรงพยาบาลภูมิภาคกับกองสาธารณสุขภูมิภาค ในสมัยก่อนใหญ่มาก ผู้อำนวยการสองกองนี้ก็ใหญ่มากเรียกกันว่าปลัดน้อยเพราะเงินงบประมาณสำหรับโรงพยาบาลจังหวัดผ่านกองโรงพยาบาลภูมิภาค งบสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลอำเภอผ่านกองสาธารณสุขภูมิภาค เงินงบประมาณส่วนใหญ่จองกระทรวงสาธารณสุจผ่านมาลักษณะนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ยา และเวชภัณฑ์ให้โรงพยาบาลอำเภอ บางส่วนโรงพยาบาลอำเภอจัดซื้อเอง ส่วนโรงพยาบาลจังหวัดก็จัดซื้อเอง การซื้อยาและเวชภัณฑ์มีส่วนลด หมอที่ทำคลินิกส่วนตัวก็มีส่วนลดส่วนแถมทำให้หมอที่เปิดคลินิกรู้ว่าการซื้อยา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์มีส่วนลด แล้วส่วนลดนั้นไปไหน? ผู้แทนบริษัทยา/เครื่องมือ/เวชภัณฑ์เล่าว่า ผอ.รพ.อำเภอบางแห่งขอเปอร์เซนต์ 5-10-15-20-25-30-40-50%ก็มี สสจ. สมัยก่อนบางคนมีฉายามิสเตอร์เทน คือแกเอา10%ทุกรายการ โรงพยาบาลจังหวัดก็มี เงินส่วนนี้มีบัญชีสวัสดิการที่มีคนรับรู้เพียงหลักๆก็ ๒ คน คือการเงินผู้ถือสมุดบัญชีธนาคาร กับผู้อำนวยการโรงพยาบาลหรือนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด คนอื่นๆถ้าผู้อำนวยการหรือนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมอบหมายจึงจะรู้ ว่ามีเท่าไร อย่างโรงพยาบาลใหญ่ๆที่มีงบประมาณปีละร่วม3พันล้านจะมีบัญชีนี้ประมาณเท่าไร? อย่างน้อยก็ปีละ150ล้าน เงินนี้มีเพื่ออะไร? ทางไปมีทั้งทางกุศลและอกุศล ทางกุศล เช่น ใช้ในกิจการรพ.ที่ไม่สามารถใช้เงินบำรุงตามระเบียบกระทรวงการคลัง เช่นส่งแพทย์พยาบาลไปเรียนหลักสูตรระยะสั้นตามความต้องการของโรงพยาบาล เช่น ส่งไปเรียนเป็น auditor หรือ surveyor ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ไปประชุมวิชาการทางการแพทย์การพยาบาล การให้สวัสดิการแก่เจ้าหน้าที่งานศพ งานแต่งงาน ของเยี่ยมเมื่อเจ็บป่วย การซื้อเครื่องเครื่องมือแพทย์ การก่อสร้างซ่อมแซมต่างๆ การซื้อคอมพิวเตอร์การซื้อโปรแกรมต่าง ๆ มาลง การจ้างวิทยากรมาฝึกอบรมบางทีการเบิกตามระเบียบราชการก็จะหาวิทยากรไม่ได้ เพราะเรทต่างกัน การปรับปรุงห้องพิเศษ การปรับปรุงห้องประชุม การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมต่างๆ ที่งบประมาณไม่มี มีจำกัด ระเบียบไม่ให้แต่จำเป็นต้องมี ทั้งในช่วงงบประมาณปี ๒๕๖๓ ออกล่าช้า เพราะ พรบ.ยังไม่ผ่านสภา งบต่อต้านโควิด 19 ยังไม่มี ก็ได้ใช้ส่วนนี้สำรองทดรองจ่ายไปก่อน ส่วนอีกทางคือทางอกุศล เช่น ใช้จัดเลี้ยงรับรองผู้บริหารระดับสูงใช้รับรองผู้มาตรวจ ใช้ในกิจกรรมโรงพยาบาลเช่น งานปีใหม่ งานเลี้ยงรับรองผู้ตรวจราขการที่ไม่มีงบประมาณให้เบิก เพราะผิดระเบียบกระทรวงการคลังและเลี้ยงไวน์ตีตีกอล์ฟ รวมทั้งออกค่าใช้จ่ายค่าที่พักค่ารับรอง งบเอนเตอร์เทนแขก ผู้บริหารระดับสูงแม้ทางผู้มาตรวจเยี่ยมก็สามารถเบิกได้แต่ทางโรงพยาบาลหรือสาธารณสุขจังหวัดจัดให้ไม่ต้องจ่ายแต่ไปเบิกได้ รวมทั้งของฝากมากน้อยถูกแพงก็ตามอัธยาศัยของผู้มาตรวจเยี่ยม ถ้าผู้มาตรวจเยี่ยมมีอำนาจมากมีอิทธิพล การรับรองต้องพิเศษยิ่งๆขึ้น อาจต้องเลี้ยงร้านหรู อาจต้องมีการแสดง มีคาราโอเกะ มีตีกอล์ฟ มีไวน์ บรั่นดี วิสกี้ และชอบตีกะหรี่ ก็ต้องหากะหรี่มาให้ และของฝากของที่ระลึกสุดแต่ผู้ให้และผู้รับจะคาดหวังอะไร ห้องพักพิเศษๆ มีการดูแลตั้งแต่มาเหยียบเมืองจนจากไป ผู้ตรวจราชการบางคนอาจชอบไวน์ขวดละสองหมื่นห้า ก็จัดให้ เป็นต้น อันนี้รวมๆความมาแต่โบราณ เป็นที่มาของการมีเงินในบัญชีที่เรียกว่า สวัสดิการ การรับแขกบ้านแขกเมืองไม่เท่านั้น ยังมีเมืองต่าง ๆ มีอะไรเป็นไฮไลท์ก็ยังจัดให้ท่านและคณะไปลิ้มชิมและทัศนศึกษา งบจากกระทรวงการคลังคงจะจัดให้ไม่ได้ แต่บัญชีนี้บางทีอาจมีใส่ซอง ก็ยังทำได้ ยุคหนึ่งปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีข่าวว่ารมต. จะปลด แต่แกก็รอดได้ทุกครั้ง ก็มีเรื่องเล่าว่าแกโทรหาผอ.โรงพยาบาลหลายแห่งที่ส่งคนสนิทกันไปอยู่ น้องเอ๊ย พี่จะถูกเขาปลด ถ้าไม่มีเงินให้เขา น้องช่วยพี่สักสิบล้านได้ไหมพรุ่งนี้ใส่ถุงมาให้อย่าโอน อย่าใช้เช็ค นักการเมืองก็ต้องใช้เวลาในการนับเงิน แต่ละเดือนๆ เดือนแล้วเดือนเล่า ไม่มีเวลาลงนามย้ายปลัดจนปรับครม ก็มีทางไปแบบอกุศลอีกแบบหนึ่ง มีเรื่องเล่าว่าจังหวัดหนึ่งผู้อำนวยการเกษียณไปตัวเปล่าๆ บัญชีสวัสดิการมอบให้ผู้มารับช่วง ๒๐๐ ล้านบาท ตลอดเวลาก่อนไปได้ใช้เงินสวัสดิการสร้างคุณูปการแก่โรงพยาบาลสนับสนุนการพัฒนา การซื้อเครื่องมือแพทย์ ส่งหมอพยาบาลไปเรียนเพิ่มเติม แต่คนต่อมาได้จากไปพร้อมกับทิ้งบัญชีมีเงินเหลือ ๑๐ กว่าล้านบาทเท่านั้น จังหวัดหนึ่งการเงินโรงพยาบาลต้องลาออกจากราชการเพราะยักยอกเงินในบัญชีสวัสดิการหลายล้านบาทผู้อำนวยการเอาผิดไม่ได้จึงใช้วิธีบีบจนทนไม่ไหว ล่าสุดห้าหกปีก่อนโรงพยาบาลใหญ่จังหวัดหนึ่งในภาคอีสานผู้อำนวยการอยู่นับสิบปี เพราะเป็นบุคคลสำคัญในกลุ่มที่มีอิทธิพลกลุ่มหนึ่งซึ่งนักการเมืองคร้ามเกรง แต่ละปีนำเงินจากบัญชีสวัสดิการเข้ากระเป๋ารวมๆสะสมก็หลักร้อยล้าน เกษียณไปมีร่องรอยให้ผู้อำนวยการคนต่อมาลำบากใจต้องขอย้ายไปจังหวัดอื่น คนที่มาอยู่ก็พบปัญหาทุจริตและบัญชีสวัสดิการจึงคิดนำบัญชีสวัสดิการมาทำให้ถูกต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ แต่การดำเนินการทำให้ปมเดิมของกลุ่มอิทธิพลประทุ จึงมีความพยายามจะย้ายผู้อำนวยการรายนี้ออกไปและนำคนในกลุ่มอิทธิพลมาช่วยกันกลบเกลื่อนทำลายหลักฐาน เรื่องเล่ามานี้เป็นจริงทั้งสิ้น และเป็นสิ่งที่สังคมควรรับรู้ และนายกรัฐมนตรีควรบัญชาการชำแหละชำระและพัฒนาให้บัญชีนี้มาอยู่ในที่สว่างสามารถตรวจสอบได้ จริงจังและรวดเร็วก่อนที่หลักฐานจะหายไปหมด |
ผมขอทิ้งท้ายด้วยข้อเขียนของนายแพทย์ชเนษฎ์ ศรีสุโข ว่า
ได้ข่าวบุคคลที่กำลังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ มาถึง รื้อทีมงานการเงิน ใหม่หมด เอาคนนอกมาทำ ท่ามกลางเสียงลือว่าอาคารก่อสร้างผลงานในอดีตตรวจรับไม่ได้เพราะผิดสเป็ค ไม่นับคุณไสย ตุ๊กตาเทพ ขุดต้นไม้ของคนเก่าแบบถอนรากถอนโคน ลงอาคมปลุกกำลังใจให้ตนเอง จริงเท็จอย่างไรไม่ทราบ??? ที่แน่ ๆ สงสัยจะมีคนใหญ่กว่ารัฐมนตรีแล้วล่ะ ประเทศเรา พี่น้องผู้เดือดร้อน ควรส่งเสียงหน่อย ระวัง! เงินที่คนเก่าหามากองสะสมไว้เยอะแยะ จะหายไปหมดหนาาา |
ไอ้เรื่องเงินหายก็เรื่องหนึ่ง แต่เรื่องฆ่าปิดปากทำลายหลักฐานน่าจะเป็นเรื่องใหญ่กว่ามาก ถ้าอยากให้บ้านเมืองมีคุณธรรม กระทรวงสาธารณสุขมีธรรมาภิบาล ไม่ได้ปกครองกันด้วยมาเฟีย กลั่นแกล้งรังแกคนทำงานที่ทำความดีด้วยความสุจริตใจแล้ว นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกุลต้องไม่ลอยตัว และต้องกล้ารื้อ ต้องกล้าตรวจสอบย้อนหลังการใช้เงินเหล่านี้ของทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย ให้ถูกต้องและโปร่งใส
ชมรมแพทย์อ้างชนบทต้องการฆ่าปิดปากคดีหลุมดำ 5% โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นหรือไม่? คงเป็นคำถามที่ประชาชนและสังคมต้องการคำตอบที่โปร่งใส ชัดเจน เป็นธรรม เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน