อาจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
หลายคนที่ติดตามข่าวสาธารณสุข ไม่ว่าจะเรื่องการเลือกตั้งเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือข่าวการที่ คสช. ใช้มาตรา 44 แก้ปัญหาใน สสส. หรือ สปสช. ได้แก่การปลดเลขาธิการ สปสช. และ การปลดบอร์ด สสส. จำนวนเจ็ดคนพร้อมกัน และหลายคนคงสงสัยว่า ตระกูล ส คือใคร
บทความนี้เป็นการอัพเดทบทความเดิม ชื่อ “องค์การอิสระและองค์การเอกชนในเครือข่ายตระกูล ส : การไขว้ตำแหน่งและการขัดกันแห่งผลประโยชน์” ซึ่งได้เคยนำเสนอใน www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000118009 มาก่อน
หากจะกล่าวง่ายๆ สั้นๆ ตระกูล ส คือ สมาชิกขององค์การอิสระและองค์การมหาชน ตลอดจน องค์การเอกชน จำนวนหนึ่งในกระทรวงสาธารณสุขที่มีความเชื่อมโยงใยถึงกันและกัน มีการจัดประชุมตั้ง war room กันทุกวันอาทิตย์อย่างต่อเนื่องยาวนานมามากกว่า 30 ปี ในด้านหนึ่ง การก่อเกิดขึ้นของตระกูล ส ก็เพราะระบบราชการที่หย่อนยานไร้ประสิทธิภาพของกระทรวงสาธารณสุขเองในอดีต ทำให้ตระกูล ส เติมโตขึ้นมาอย่างเข้มแข็งและทำให้กระทรวงสาธารณสุขแตกแยกออกเป็นสองเมือง เรียกว่า “สองนคราสาธารณทุกข์” องค์การกลุ่มตระกูล ส นี้ ได้แก่ สปสช สช สพฉ สสส สวรส IHPP HITAP เป็นต้น
War room นี้จัดตั้งกันมายาวนานต่อเนื่อง มีสมาชิกหมุนเวียนเข้าออกแต่แกนนำหลักไม่เคยเปลี่ยนแปลง บางคนอาจจะมาเป็นครั้งคราว เท่าที่ได้สัมภาษณ์ผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่าน ไม่ว่าจะเป็น นักธุรกิจชื่อดัง นายทหารระดับอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด หลายคนเคยเข้าไปใน War room ดังกล่าวที่โรงแรม Rose Garden สามพราน
กลุ่มบ้านสามพรานแห่งตระกูล ส นี้ มักเป็นสมาชิกของชมรมแพทย์ชนบทด้วย ได้แก่ นพ.มงคล ณ สงขลา นพ.สุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เป็นต้น ประธานกลุ่มตระกูล ส คือ นายแพทย์ประเวศ วะสี ซึ่งจะนั่งเป็นหัวโต๊ะในการประชุมที่โรงแรม Rose Garden แทบทุกครั้งหากสัปดาห์ใดที่นายแพทย์ประเวศ วะสี ป่วยหรือติดธุระมักจะเลื่อนการประชุมออกไป
สิ่งที่ท่านได้เห็นด้านล่างนี้คือรายชื่อสมาชิกบ้านสามพราน ตระกูล ส ซึ่งจัดประชุมกันทุกวันอาทิตย์ สมาชิกหลักได้แก่
นายแพทย์ประเวศ วะสี ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ที่ปรึกษา สสส. และประธานบ้านสามพรานตระกูล ส อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท อดีตประธานมูลนิธิแพทย์ชนบท อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สวรส อดีตที่ปรึกษากรรมการ สสส. ประธานมูลนิธิเด็ก ที่ปรึกษาคณะกรรมการมูลนิธิพัฒนาไท อดีตผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานทางการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข อดีตคณะกรรมการอำนวยการโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ประธานกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิสัมมาชีพ และ ประธานกรรมการมูลนิธิหมอชาวบ้าน
นายแพทย์วิจารณ์ พานิช อดีตเลขาธิการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สวรส กรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สวรส อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส ประธานมูลนิธิ HITAP ประธานมูลนิธิ IHPP ที่ปรึกษาพิเศษ ของ สกว. อดีตประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล อดีตคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข สปสช. อดีคคณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สช.
นายแพทย์สุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ อดีตเลขาธิการสภาสุขภาพแห่งชาติ
นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ อดีตผู้จัดการแผนงานวิจัยสังคมและสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข
นายแพทย์วินัย สวัสดิวร อดีตเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งถูกปลดจากตำแหน่งโดยมาตรา 44
ทันตแพทย์กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ อดีตผู้จัดการ สสส ซึ่งชิงลาออกไปสมัครเป็นผู้อำนวยการ TPBS ในขณะที่ สสส. มีปัญหาการใช้เงินผิดประเภทและมีผลประโยชน์ทับซ้อน
นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขและเลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
นายแพทย์พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส)
นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน อดีตกรรมการชมรมแพทย์ชนบท ประธานมูลนิธิแพทย์ชนบท กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส อดีตรองประธาน สสส คนที่ 2 ก่อนถูกปลดโดยมาตรา 44 อดีตกรรมการบอร์ด สปสช. อดีตประธานอนุกรรมการ พัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในระยะพึ่งพิง สปสช อดีตกรรมการในอนุกรรมการบริหารยุทธศาสตร์ สปสช อดีตกรรมการในอนุกรรมการพัฒนาสิทธิ ประโยชน์ฯ สปสช กรรมการบอร์ด สช. อดีตประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และรองประธานมูลนิธิเด็ก
นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท 2 สมัย อดีตเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, กรรมการมูลนิธิสื่อสร้างสรรค์
พญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน องค์กรในสังกัด สวรส
นายแพทย์วีระพันธุ์ สุพรรณไชยมาตย์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (บอร์ดสสส.) คนที่ 2
นายแพทย์สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อดีตรักษาการเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ) กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท อดีตเลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อดีตอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
นายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ อดีตรองเลขาธิการ สปสช. อดีตรักษาการเลขาธิการ สปสช
นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือ HITAP
นายแพทย์ภูษิต ประคองสาย ผู้อำนวยการ สำนักการสาธารณสุขระหว่างประเทศ (IHPP)
พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้อำนวยการสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) หน่วยงานในสังกัด สวรส
นายแพทย์เทียม อังสาชน อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งอยู่ภายใต้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์)
ผศ. นพ. เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชสังคมและบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ทั้งนี้การเข้าเป็นสมาชิกบ้านสามพราน ตระกูล ส เป็นไปตามความสมัครใจและมีความสัมพันธ์กันอย่างไม่เป็นทางการ โดยที่มีการเข้าและออกจากบ้านสามพรานตามความสมัครใจของแต่ละบุคคล
สมาชิกตระกูล ส นอกจากกลุ่มแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ยังมีองค์การเอกชน หรือ Non-government organization: NGO อีกเป็นจำนวนมาก ดังแสดงในตาราง เกณฑ์ในการรวบรวมข้อมูลคือ การมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับองค์การอิสระ ตระกูล ส ซึ่งน่าจะจัดว่าเป็นเครือข่ายกันได้ หรือมีการรับเงินจากหน่วยงานองค์การอิสระตระกูล ส และชื่ออยู่ในรายงานการตรวจสอบของสตง
ทั้งนี้บุคคลที่มีชื่อในตาราง มิได้จำเป็นต้องเป็นสมาชิกตระกูล ส ทุกคน หลายคนเข้ามาอาสาช่วยงานด้วยความปรารถนาดีต่อประเทศชาติ และหลายคนก็มีความสัมพันธ์อันดีกับสมาชิกบ้านตระกูล ส หลายคนมาเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง จึงได้รวบรวมมานำเสนอไว้ให้ผู้อ่านได้พิจารณาตัดสินเอาเองว่าใครเป็นสมาชิกบ้านสามพราน ตระกูล ส กันบ้าง