ธุรกิจข้ามชาติมีหลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ สำนักงานผู้แทน (Representative Office) สำนักงานภูมิภาค (Regional Office) สำนักงานสาขา (Branch Office) สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (Regional Operating Headquarters – ROH) และสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Support Offices – TISO) และธุรกิจทั้ง 5 รูปแบบนี้รูปแบบใดจะดีกว่ากัน
โดยตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงสำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค และสำนักงานสาขา ตอนที่ 2 กล่าวถึงสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค และสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุน สำหรับตอนที่ 3 ซึ่งเป็นตอนจบนี้จะได้หาข้อสรุปเพื่อการเลือกรูปแบบสำนักงานที่เหมาะสมต่อไป
สิทธิประโยชน์ของสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคภายใต้กระทรวงการคลัง
มาตรการสนับสนุนการจัดตั้งสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (Regional Operating Headquarters หรือ ROH) ของกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้กำหนดให้การส่งเสริมการลงทุนในกิจการประเภท 7.9 รองรับมาตรการสนับสนุนของกระทรวงการคลังนี้ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 กำหนดนิยาม ROH ให้หมายถึง บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เพื่อประกอบกิจการให้บริการด้านการบริหาร หรือด้านเทคนิค หรือการให้บริการสนับสนุนแก่วิสาหกิจในเครือ หรือสาขาของตน ไม่ว่าจะตั้งอยู่ในประเทศไทย หรือในต่างประเทศ
ROH ยังต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 5 ประการ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 ประกอบด้วย
ประการแรก ต้องมีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป
ประการที่สอง ให้บริการวิสาหกิจในเครือในต่างประเทศหรือสาขาของตนในต่างประเทศอย่างน้อย 3 ประเทศ โดยกรณีมีสาขาที่จีน ไต้หวัน และฮ่องกง ให้นับเป็น 3 ประเทศ เพราะถือเป็นแต่ละหน่วยทางภาษี
ประการที่สาม ต้องมีรายได้จากวิสาหกิจในเครือในต่างประเทศ หรือสาขาในต่างประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของรายได้ทั้งหมดของ ROH เว้นแต่ใน 3 รอบระยะเวลาบัญชีแรก นับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่แจ้งการเป็นกิจการ ROH ต่อกรมสรรพากร จะมีรายได้จากต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมดของ ROH นั้นก็ได้
อย่างไรก็ตาม กรณีมีเหตุสุดวิสัย ไม่สามารถทำรายได้จากต่างประเทศแม้ด้วยสัดส่วน 1 ใน 3 อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจพิจารณาผ่อนผันให้น้อยกว่าอัตราร้อยละที่กำหนดนั้นได้ แต่ให้ผ่อนผันได้เพียง 1 รอบระยะเวลาบัญชีเท่านั้น
ประการที่สี่ ต้องจดแจ้งการเป็น ROH ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
ประการที่ห้า ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคล
ROH จะได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ และอัตราเพียงร้อยละ 10 เช่นกันสำหรับค่าสิทธิและดอกเบี้ย โดยเป็นค่าสิทธิที่สำนักงานได้รับจากการวิจัยและพัฒนา เฉพาะที่เกิดจากผลงานที่กระทำขึ้นเองในประเทศไทยที่ทำให้บริษัทในเครือหรือสาขา รวมถึงค่าสิทธิที่ได้จากผู้ผลิตหรือให้บริการอื่นเฉพาะที่ทำให้กับบริษัทในเครือหรือสาขาของ ROH
ส่วนดอกเบี้ยเป็นดอกเบี้ยที่ ROH ได้รับจากบริษัทในเครือ และหรือสาขา เฉพาะในส่วนที่สำนักงานได้กู้มาเพื่อมาให้กู้ต่อกับบริษัทในเครือหรือสาขา ขณะที่ ROH จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินปันผลที่ ROH ได้รับจากบริษัทในเครือเดียวกัน ทั้งจากในและต่างประเทศ รวมถึงเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรของ ROH ที่จ่ายให้บริษัทที่ตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
นอกจากนั้นพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 406) พ.ศ. 2545 กำหนดให้ ROH สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทอาคารถาวรที่ ROH ซื้อหรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการของตนเองได้เบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 25 ของมูลค่าต้นทุน ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักภายในระยะเวลา 20 ปี
สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สำหรับคนงานต่างด้าวที่ทำงานใน ROH โดยหลักเกณฑ์แรก จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากการจ้างแรงงานที่ได้รับในต่างประเทศ เนื่องจากคนต่างด้าวนั้นถูกส่งไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ และเงินได้ที่คนต่างด้าวได้รับดังกล่าวไม่ได้ถูกนำมาหักเป็นรายจ่ายของสำนักงานในประเทศไทย และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน ซึ่งประกอบกิจการในประเทศ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม และคนต่างด้าวก็จะได้รับยกเว้นภาษีเช่นกัน
หลักเกณฑ์ที่สอง หากคนต่างด้าวซึ่งปฏิบัติงานใน ROH ที่ได้รับเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน และยอมให้ ROH หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ที่ได้รับ และเมื่อถึงกำหนดยื่นรายการให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เฉพาะกรณีที่คนต่างด้าวจะต้องไม่นำเงินได้อื่นที่ได้รับสิทธิไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล มารวมคำนวณภาษีตอนปลายปี รวมทั้งต้องไม่ขอรับเงินภาษีที่หักไว้คืน หรือไม่ขอเครดิตภาษีจากเงินที่ถูกหักไว้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
คนต่างด้าวที่จะได้รับสิทธิไม่ว่าตามหลักเกณฑ์แรก หรือหลักเกณฑ์ที่สองก็ตาม หมายถึง คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาปฏิบัติงานใน ROH ในประเทศไทย ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 4 ปีนับแต่วันที่รับงานใน ROH ในประเทศไทย ไม่ว่าในช่วงเวลาดังกล่าว คนต่างชาตินั้นจะเดินทางออกจากประเทศไทยหรือไม่ แต่ไม่รวมถึงการเข้ารับงานของ ROH เดิม เมื่อพ้นกำหนด 365 วัน นับแต่วันที่การจ้างงานครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง
สำนักงานภูมิภาคและสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคเหมือนหรือแตกต่าง
ทั้งสองสำนักงาน มีชื่อที่คล้ายคลึงกัน แต่ระเบียบหลักเกณฑ์ค่อนข้างแตกต่าง ดังนี้
รูปแบบธุรกิจ สำนักงานภูมิภาคเป็นสำนักงานสาขาของนิติบุคคลต่างประเทศจึงมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ ขณะที่สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคต้องจดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทยจึงเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น หรือธุรกิจของผู้ถือหุ้น ส่วนจะเป็นนิติบุคคลที่มีความเป็นไทยมากน้อยแค่ไหนต้องไปตรวจสอบจากบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นอีกที
ขอบข่ายธุรกิจ เราจะเรียกสำนักงานภูมิภาคเมื่อประกอบธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งเพียง 1 ประเภท หรือมากกว่า 1 ประเภท หรือครบทั้ง 7 ประเภทก็ได้ ทำนองเดียวกับสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคที่ครอบคลุมธุรกิจ 9 ประเภท
ทุนประกอบการ สำนักงานภูมิภาคจัดเป็นธุรกิจตามบัญชีสาม (21) ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จึงต้องมีทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท แต่สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคต้องมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป
ลูกค้า สำนักงานภูมิภาคดำเนินการตามคำสั่งของวิสาหกิจแม่ในต่างประเทศ วิสาหกิจแม่จึงเป็นลูกค้าเพียงรายเดียว ทำนองเดียวกับสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคที่มีลูกค้าเป็นวิสาหกิจในเครือเท่านั้น โดยจะเข้าข่ายสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคเมื่อให้บริการแก่วิสาหกิจในเครือในต่างประเทศ หรือสาขาของตนในต่างประเทศอย่างน้อย 3 ประเทศ
การขอรับการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานภูมิภาคไม่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้เนื่องจากไม่มีสถานภาพนิติบุคคลภายใต้กฎหมายไทย อีกทั้งไม่สามารถสร้างรายได้ของตัวเอง แต่ได้รับเงินสนับสนุนการดำเนินการในประเทศไทยจากวิสาหกิจแม่ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ จึงไม่มีลักษณะของธุรกิจ แต่สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคขอรับการส่งเสริมฯ ได้ด้วยรูปแบบของธุรกิจข้างต้น
สำนักงานสาขา หากมองตามนิยามในที่นี้ ทั้งสำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค และสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค รวมถึงสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุน ต่างก็เป็นสำนักงานสาขาของนิติบุคคลต่างประเทศ แต่ไม่ทุกสำนักงานสาขาที่เป็นสำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค และสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุน
สำนักงานสาขาที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายไทยและประกอบการเชิงธุรกิจ สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค รวมถึงสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุนเท่านั้นที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้ ฉะนั้น ทั้งสำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค และสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุน ล้วนเป็นสำนักงานสาขา แต่ไม่ทุกสำนักงานสาขาที่ขอรับการส่งเสริมฯ ได้ โดยที่สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค และสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย แต่สำนักงานผู้แทน และสำนักงานภูมิภาคเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
การเลือกรูปแบบจึงควรเริ่มที่วัตถุประสงค์ หากต้องการให้ทำงานตอบสนองวิสาหกิจแม่เท่านั้น สำนักงานผู้แทน และสำนักงานภูมิภาคเป็นรูปแบบที่ตอบสนองได้ ขึ้นอยู่กับงานที่ต้องการมอบหมายเป็นขอบข่ายงานด้านใด หากต้องการให้บริการวิสาหกิจในเครือเท่านั้น สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคก็เข้าข่าย แต่ถ้ามุ่งบริการและ/หรือการค้าให้วิสาหกิจในเครือ และวิสาหกิจอื่น สำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุนจะสนับสนุนเป้าหมายได้
สำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค สำนักงานสาขา สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค และสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุน แต่ละรูปแบบล้วนมีข้อดี ซึ่งทุกธุรกิจมักจะเลือกรูปแบบที่ดีและเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อตอบสนองให้การประกอบธุรกิจบรรลุเป้าหมายได้มากที่สุด
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
โดยตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงสำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค และสำนักงานสาขา ตอนที่ 2 กล่าวถึงสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค และสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุน สำหรับตอนที่ 3 ซึ่งเป็นตอนจบนี้จะได้หาข้อสรุปเพื่อการเลือกรูปแบบสำนักงานที่เหมาะสมต่อไป
สิทธิประโยชน์ของสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคภายใต้กระทรวงการคลัง
มาตรการสนับสนุนการจัดตั้งสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (Regional Operating Headquarters หรือ ROH) ของกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้กำหนดให้การส่งเสริมการลงทุนในกิจการประเภท 7.9 รองรับมาตรการสนับสนุนของกระทรวงการคลังนี้ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 กำหนดนิยาม ROH ให้หมายถึง บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เพื่อประกอบกิจการให้บริการด้านการบริหาร หรือด้านเทคนิค หรือการให้บริการสนับสนุนแก่วิสาหกิจในเครือ หรือสาขาของตน ไม่ว่าจะตั้งอยู่ในประเทศไทย หรือในต่างประเทศ
ROH ยังต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 5 ประการ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 ประกอบด้วย
ประการแรก ต้องมีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป
ประการที่สอง ให้บริการวิสาหกิจในเครือในต่างประเทศหรือสาขาของตนในต่างประเทศอย่างน้อย 3 ประเทศ โดยกรณีมีสาขาที่จีน ไต้หวัน และฮ่องกง ให้นับเป็น 3 ประเทศ เพราะถือเป็นแต่ละหน่วยทางภาษี
ประการที่สาม ต้องมีรายได้จากวิสาหกิจในเครือในต่างประเทศ หรือสาขาในต่างประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของรายได้ทั้งหมดของ ROH เว้นแต่ใน 3 รอบระยะเวลาบัญชีแรก นับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่แจ้งการเป็นกิจการ ROH ต่อกรมสรรพากร จะมีรายได้จากต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมดของ ROH นั้นก็ได้
อย่างไรก็ตาม กรณีมีเหตุสุดวิสัย ไม่สามารถทำรายได้จากต่างประเทศแม้ด้วยสัดส่วน 1 ใน 3 อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจพิจารณาผ่อนผันให้น้อยกว่าอัตราร้อยละที่กำหนดนั้นได้ แต่ให้ผ่อนผันได้เพียง 1 รอบระยะเวลาบัญชีเท่านั้น
ประการที่สี่ ต้องจดแจ้งการเป็น ROH ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
ประการที่ห้า ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคล
ROH จะได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ และอัตราเพียงร้อยละ 10 เช่นกันสำหรับค่าสิทธิและดอกเบี้ย โดยเป็นค่าสิทธิที่สำนักงานได้รับจากการวิจัยและพัฒนา เฉพาะที่เกิดจากผลงานที่กระทำขึ้นเองในประเทศไทยที่ทำให้บริษัทในเครือหรือสาขา รวมถึงค่าสิทธิที่ได้จากผู้ผลิตหรือให้บริการอื่นเฉพาะที่ทำให้กับบริษัทในเครือหรือสาขาของ ROH
ส่วนดอกเบี้ยเป็นดอกเบี้ยที่ ROH ได้รับจากบริษัทในเครือ และหรือสาขา เฉพาะในส่วนที่สำนักงานได้กู้มาเพื่อมาให้กู้ต่อกับบริษัทในเครือหรือสาขา ขณะที่ ROH จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินปันผลที่ ROH ได้รับจากบริษัทในเครือเดียวกัน ทั้งจากในและต่างประเทศ รวมถึงเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรของ ROH ที่จ่ายให้บริษัทที่ตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
นอกจากนั้นพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 406) พ.ศ. 2545 กำหนดให้ ROH สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทอาคารถาวรที่ ROH ซื้อหรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการของตนเองได้เบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 25 ของมูลค่าต้นทุน ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักภายในระยะเวลา 20 ปี
สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สำหรับคนงานต่างด้าวที่ทำงานใน ROH โดยหลักเกณฑ์แรก จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากการจ้างแรงงานที่ได้รับในต่างประเทศ เนื่องจากคนต่างด้าวนั้นถูกส่งไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ และเงินได้ที่คนต่างด้าวได้รับดังกล่าวไม่ได้ถูกนำมาหักเป็นรายจ่ายของสำนักงานในประเทศไทย และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน ซึ่งประกอบกิจการในประเทศ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม และคนต่างด้าวก็จะได้รับยกเว้นภาษีเช่นกัน
หลักเกณฑ์ที่สอง หากคนต่างด้าวซึ่งปฏิบัติงานใน ROH ที่ได้รับเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน และยอมให้ ROH หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ที่ได้รับ และเมื่อถึงกำหนดยื่นรายการให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เฉพาะกรณีที่คนต่างด้าวจะต้องไม่นำเงินได้อื่นที่ได้รับสิทธิไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล มารวมคำนวณภาษีตอนปลายปี รวมทั้งต้องไม่ขอรับเงินภาษีที่หักไว้คืน หรือไม่ขอเครดิตภาษีจากเงินที่ถูกหักไว้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
คนต่างด้าวที่จะได้รับสิทธิไม่ว่าตามหลักเกณฑ์แรก หรือหลักเกณฑ์ที่สองก็ตาม หมายถึง คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาปฏิบัติงานใน ROH ในประเทศไทย ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 4 ปีนับแต่วันที่รับงานใน ROH ในประเทศไทย ไม่ว่าในช่วงเวลาดังกล่าว คนต่างชาตินั้นจะเดินทางออกจากประเทศไทยหรือไม่ แต่ไม่รวมถึงการเข้ารับงานของ ROH เดิม เมื่อพ้นกำหนด 365 วัน นับแต่วันที่การจ้างงานครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง
สำนักงานภูมิภาคและสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคเหมือนหรือแตกต่าง
ทั้งสองสำนักงาน มีชื่อที่คล้ายคลึงกัน แต่ระเบียบหลักเกณฑ์ค่อนข้างแตกต่าง ดังนี้
รูปแบบธุรกิจ สำนักงานภูมิภาคเป็นสำนักงานสาขาของนิติบุคคลต่างประเทศจึงมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ ขณะที่สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคต้องจดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทยจึงเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น หรือธุรกิจของผู้ถือหุ้น ส่วนจะเป็นนิติบุคคลที่มีความเป็นไทยมากน้อยแค่ไหนต้องไปตรวจสอบจากบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นอีกที
ขอบข่ายธุรกิจ เราจะเรียกสำนักงานภูมิภาคเมื่อประกอบธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งเพียง 1 ประเภท หรือมากกว่า 1 ประเภท หรือครบทั้ง 7 ประเภทก็ได้ ทำนองเดียวกับสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคที่ครอบคลุมธุรกิจ 9 ประเภท
ทุนประกอบการ สำนักงานภูมิภาคจัดเป็นธุรกิจตามบัญชีสาม (21) ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จึงต้องมีทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท แต่สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคต้องมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป
ลูกค้า สำนักงานภูมิภาคดำเนินการตามคำสั่งของวิสาหกิจแม่ในต่างประเทศ วิสาหกิจแม่จึงเป็นลูกค้าเพียงรายเดียว ทำนองเดียวกับสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคที่มีลูกค้าเป็นวิสาหกิจในเครือเท่านั้น โดยจะเข้าข่ายสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคเมื่อให้บริการแก่วิสาหกิจในเครือในต่างประเทศ หรือสาขาของตนในต่างประเทศอย่างน้อย 3 ประเทศ
การขอรับการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานภูมิภาคไม่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้เนื่องจากไม่มีสถานภาพนิติบุคคลภายใต้กฎหมายไทย อีกทั้งไม่สามารถสร้างรายได้ของตัวเอง แต่ได้รับเงินสนับสนุนการดำเนินการในประเทศไทยจากวิสาหกิจแม่ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ จึงไม่มีลักษณะของธุรกิจ แต่สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคขอรับการส่งเสริมฯ ได้ด้วยรูปแบบของธุรกิจข้างต้น
สำนักงานสาขา หากมองตามนิยามในที่นี้ ทั้งสำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค และสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค รวมถึงสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุน ต่างก็เป็นสำนักงานสาขาของนิติบุคคลต่างประเทศ แต่ไม่ทุกสำนักงานสาขาที่เป็นสำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค และสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุน
สำนักงานสาขาที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายไทยและประกอบการเชิงธุรกิจ สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค รวมถึงสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุนเท่านั้นที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้ ฉะนั้น ทั้งสำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค และสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุน ล้วนเป็นสำนักงานสาขา แต่ไม่ทุกสำนักงานสาขาที่ขอรับการส่งเสริมฯ ได้ โดยที่สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค และสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย แต่สำนักงานผู้แทน และสำนักงานภูมิภาคเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
การเลือกรูปแบบจึงควรเริ่มที่วัตถุประสงค์ หากต้องการให้ทำงานตอบสนองวิสาหกิจแม่เท่านั้น สำนักงานผู้แทน และสำนักงานภูมิภาคเป็นรูปแบบที่ตอบสนองได้ ขึ้นอยู่กับงานที่ต้องการมอบหมายเป็นขอบข่ายงานด้านใด หากต้องการให้บริการวิสาหกิจในเครือเท่านั้น สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคก็เข้าข่าย แต่ถ้ามุ่งบริการและ/หรือการค้าให้วิสาหกิจในเครือ และวิสาหกิจอื่น สำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุนจะสนับสนุนเป้าหมายได้
สำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค สำนักงานสาขา สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค และสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุน แต่ละรูปแบบล้วนมีข้อดี ซึ่งทุกธุรกิจมักจะเลือกรูปแบบที่ดีและเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อตอบสนองให้การประกอบธุรกิจบรรลุเป้าหมายได้มากที่สุด
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th