ผู้เขียนเพิ่งกลับจากมาเลเซีย เพื่อไปส่งเสริมการลงทุนทางตรงเข้าไทย น่าตื่นเต้นมากว่า รัฐบาลเขาดำเนินโครงการต่างๆ ด้วยความรวดเร็ว เมืองราชการคือ ปุตราจายา ก็กว้างใหญ่โอ่อ่ามาก สมฐานะประเทศที่กำลังเจริญเติบโตแข่งกับประเทศเพื่อนบ้าน สถาปัตยกรรมแสดงถึงความเป็นชาติมุสลิมอย่างเด่นชัด ที่สำคัญใช้เวลาตั้งแต่เริ่มคิดจนสร้างเสร็จเพียงห้าปีเท่านั้น
ช่วงที่ไปเยือนมาเลเซียนั้นเป็นเทศกาลถือศีลอดของศาสนา แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด แม้ว่ารถราจะติดหนักมากในวันศุกร์เย็น เพราะแม่บ้านมักออกไปซื้อกับข้าวมาทำ และหลายรายก็รีบกลับเพื่อจะไปรับประทานอาหารที่บ้าน หรือออกไปรับประทานนอกบ้าน หากใครจะบอกว่า กรุงเทพฯ รถติดที่สุด ก็บอกได้เลยว่า กัวลาลัมเปอร์ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากรุงเทพฯ
สำหรับความสนใจของบริษัทมาเลเซียที่ออกไปลงทุนในต่างประเทศมีมากมาย การที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ จัดกิจกรรมไปชักจูงการลงทุนจากมาเลเซียปีละหนึ่งครั้งน่าจะไม่เพียงพอ เพราะเพียงแค่สามวันที่เดินทางไปจัดกิจกรรมและพบปะนักลงทุนก็มีผู้สนใจทั้งที่จะยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน และที่จะเดินทางมาสำรวจลู่ทางการลงทุนหลายโครงการมาก
จากสถิติการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน มีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่มีการถือหุ้นจากมาเลเซียถึงกว่า 300 โครงการในหลากหลายกิจการ รวมทั้ง การผลิตน้ำยางข้น ถุงมือยาง อุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ น่าจะมีกิจการที่มาเลเซียสนใจเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น โดยจะเป็นการใช้วัตถุดิบและแรงงานไทยเป็นหลักในช่วงแรกๆ จากนั้นจะเริ่มพัฒนาไปเป็นการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งกลับไปยังมาเลเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมด้านอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และพลังงานทดแทน
อย่างไรก็ตาม ในอนาคตประเทศไทยจะกลายเป็นฐานการผลิตและการลงทุนของมาเลเซียอีกหลากหลายอุตสาหกรรม รวมทั้งภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว นับเป็นโชคดีของไทยที่เป็นแหล่งการท่องเที่ยวที่สำคัญ สนามบินของไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาค ที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มากมาย ทำให้เกิดโอกาสด้านการบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวได้อีกมาก
ในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ต้องขอบคุณรัฐบาลไทยโดยบีโอไอที่ได้อนุมัติโครงการอีโคคาร์ ทำให้เกิดความต้องการใช้ชิ้นส่วนยานยนต์อีกมากมาย เพื่อรองรับการผลิต ดังนั้น โอกาสฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยในอนาคต นอกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยแล้ว ยังขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมต่างๆ ที่รัฐบาลไทยและเอกชนได้สร้างฐานความเข้มแข็งไว้แล้วด้วย
นอกจากนี้ โอกาสของไทยที่จะร่วมมือกับมาเลเซีย ยังมีอีกหลายอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการผลิตสินค้าฮาลาล เพื่อให้ภูมิภาคนี้เป็นฐานการผลิตที่สำคัญในสินค้าฮาลาล ซึ่งหลายท่านคงคุ้นชินหรือได้ยินแต่เฉพาะอาหารฮาลาลเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสินค้าฮาลาล ยังรวมถึงเครื่องอุปโภคและบริโภคอื่นๆ เช่น เครื่องสำอาง และบริการด้วย
ดังนั้น แทนที่ไทยและมาเลเซีย จะแข่งขันในการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน ภาคเอกชนทั้งสองประเทศ ควรจะพิจารณาความเป็นไปได้ในการแบ่งการผลิตสินค้าที่จะเกื้อหนุนกันในอนาคต ซึ่งแนวคิดแบบนี้ ญี่ปุ่นได้ดำเนินการมานานแล้ว ในการแบ่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดภาษีนำเข้าระหว่างกันมาก่อนที่การลดภาษีในความตกลงอาฟต้าจะดำเนินการสำเร็จ
อีกเรื่องที่น่าสนใจมากคือ โอกาสในการร่วมมือกับมาเลเซีย เพื่อสนับสนุนให้เข้ามาลงทุนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสร้างความเจริญและสร้างงานให้กับชุมชนในสามจังหวัดของไทย และสนองความต้องการของบริษัทจากมาเลเซียที่ขาดแคลนแรงงาน และวัตถุดิบในการผลิตอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ จึงมีแนวความคิดที่จะสนับสนุนให้เกิดโอกาสดังกล่าวเพื่อช่วยลดปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย คณะของบีโอไอที่เดินทางไปมาเลเซียครั้งนี้ นอกจากจะได้โครงการลงทุนที่เป็นรูปธรรมหลายโครงการ เข้ามาสร้างงานและเพิ่มการส่งออกของประเทศในอนาคตในหลายกิจการแล้ว ยังจะได้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโอกาสและสนับสนุนแนวทางของสถานเอกอัครราชทูตไทยอีกด้วย
ระหว่างการสัมมนาเพื่อส่งเสริมการลงทุนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ องค์กรภาคเอกชนของมาเลเซียสององค์กร ได้แสดงความสนใจที่จะส่งคณะมาสำรวจโอกาสการลงทุนของไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายในปลายปีนี้ ซึ่งบีโอไอจะได้ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อประสานงานต่อไป
ในเรื่องการส่งเสริมให้มาเลเซียออกไปลงทุนในต่างประเทศ นอกจากปัจจัยดึงจากต่างประเทศแล้ว รัฐบาลมาเลเซียเองก็ได้จัดตั้งหน่วยงานถาวรเพื่อดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในการเยือนครั้งนี้ คณะของบีโอไอ ก็ได้มีโอกาสเข้าไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับทราบข้อมูลการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมของรัฐบาลมาเลเซียในการสนับสนุนให้วิสาหกิจของเขาออกไปลงทุนในต่างประเทศ
หน่วยงานที่ทำหน้าที่หลักของรัฐบาล คือ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมของมาเลเซีย (Malaysian Industrial Development Authority - MIDA) โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองหลวง ไม่ได้ไปตั้งที่ปุตราจายา อาจเป็นเพราะเพื่อความสะดวกแก่การติดต่อของนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนท้องถิ่น
รัฐบาลมาเลเซียได้มอบหมายให้ MIDA เป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมการลงทุนของมาเลเซียในต่างประเทศ มาตั้งแต่ปี 2545 และบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับปัจจุบัน ( ปี 2549 - 2553) ให้ MIDA ส่งเสริมและประสานงานในการส่งเสริมการลงทุนของมาเลเซียในต่างประเทศในอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ MIDA ได้ตั้งกองถาวรขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 เพื่อส่งเสริมการลงทุนของมาเลเซียในต่างประเทศ
จากผลการหารือ บีโอไอจะได้ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ และ MIDA จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการลงทุนของมาเลเซียในไทยต่อไปในอนาคต และภายในปลายนี้ MIDA จะได้ส่งเจ้าหน้าที่มาประจำที่สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซีย ณ กรุงเทพฯ เพื่อสนับสนุนให้วิสาหกิจออกมาลงทุนในไทยมากขึ้น
วัตถุประสงค์เพื่อคงความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก เพื่อหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆ แสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ และเพื่อขยายตลาดส่งออก อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้บริษัทมาเลเซียเป็นผู้นำในด้านการผลิตและการตลาดในโลก
ในการนี้ รัฐบาลมาเลเซียได้ดำเนินการทั้งการส่งเสริมและสร้างกฎระเบียบเพื่อกระตุ้นการลงทุนดังกล่าว เช่น การจัดสัมมนาให้ความรู้ การเผยแพร่ข้อมูล การจัดคณะไปเยือนประเทศที่มีศักยภาพ (น่าเสียดายที่ตั้งแต่เริ่มดำเนินการมา ยังไม่มีแผนที่จะจัดคณะมาเยือนไทย อาจเป็นเพราะความใกล้ชิดกับไทยก็ได้) การส่งคณะไปสำรวจและรวบรวมข้อมูลนำมาเผยแพร่ การให้สิทธิประโยชน์ และเงินทุน ซึ่งสองเรื่องหลัง เป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยต้องเรียนรู้
สิทธิประโยชน์เพื่อสนับสนุนการลงทุนของมาเลเซียในต่างประเทศ ได้แก่ การยกเว้นภาษีเงินได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศและนำกลับเข้าไปในมาเลเซีย และการลดหย่อนภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนการลงทุนในต่างประเทศ โดยนักลงทุนจะต้องจัดทำเป็นข้อเสนอยื่นต่อรัฐบาล สำหรับแผนการที่จะออกไปลงทุนในต่างประเทศ
สำหรับการให้เงินทุน มาเลเซียโดย MIDA ก็ได้ร่วมกับรัฐบาลสิงคโปร์โดย International Enterprise (IE) จัดตั้งกองทุนเพื่อการออกไปลงทุนในประเทศที่สาม เรียกว่า Third Country Business Development Fund ในการทำแผนการลงทุน (Feasibility Study) การวิจัย หรือจัดคณะไปสำรวจโอกาสและลู่ทางการลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งหากได้รับการอนุมัติจะได้รับเงินทุนสนับสนุนสูงสุดถึงร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด
บริษัทที่จะได้รับสิทธิ์ในการพิจารณาขอเงินสนับสนุนจากกองทุนนี้ จะต้องเป็นบริษัทที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาเลเซียหรือสิงคโปร์ สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนในมาเลเซีย จะต้องมีหุ้นที่เป็นเชื้อชาติมาเลเซียอย่างน้อยร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น และสำหรับบริษัทสิงคโปร์ต้องมีผู้มีเชื้อชาติหรือได้ถิ่นที่อยู่ถาวร (Permanent Residence) ในสิงคโปร์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
จากสถิติของธนาคาร Negara ของมาเลเซีย ประเทศที่มาเลเซียออกไปลงทุนมากที่สุด ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย (เกี่ยวกับน้ำมันเป็นหลัก) ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และมอริเชียส ตามลำดับ
มาเลเซียวันนี้ ก้าวล้ำประเทศเพื่อนบ้านไปหลายก้าวทีเดียว การเมืองมั่นคง นักธุรกิจเข้มแข็งโดยเฉพาะนักธุรกิจเชื้อสายจีน ที่เป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า และมีความกระตือรือร้นสูง รวมทั้งรัฐบาลยังให้การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม
หันกลับมามองประเทศไทย เราก็กำลังพยายามอยู่ และศึกษาความเป็นไปได้ บัดนี้ก็ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศขึ้นมาแล้ว เพื่อจัดทำกฎหมายส่งเสริมการลงทุนไทยอย่างเป็นรูปธรรม และตั้งองค์กรถาวรเพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน
แต่ข้อสำคัญ MIDA ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลมาเลเซีย ที่ทำหน้าที่เหมือนกับบีโอไอทุกอย่างและแบ่งความรับผิดชอบคล้ายกับบีโอไอ มีเจ้าหน้าที่ทำงานถึง 800 คน และกำลังจะย้ายสำนักงานฯ ไปอยู่ที่ตึกใหม่ เพื่อรองรับเจ้าหน้าที่ที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 คน ในขณะที่บีโอไอมีข้าราชการเพียง 200 คนเท่านั้น !!!!!!!
สำหรับนักธุรกิจไทยท่านใดที่สนใจร่วมทุนกับมาเลเซีย ติดต่อได้ที่บีโอไอ เพราะการไปเยือนมาเลเซียในครั้งนี้ เราได้รับเรื่องการหาผู้ร่วมทุนไทยมาหลายรายในหลายอุตสาหกรรม
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
ช่วงที่ไปเยือนมาเลเซียนั้นเป็นเทศกาลถือศีลอดของศาสนา แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด แม้ว่ารถราจะติดหนักมากในวันศุกร์เย็น เพราะแม่บ้านมักออกไปซื้อกับข้าวมาทำ และหลายรายก็รีบกลับเพื่อจะไปรับประทานอาหารที่บ้าน หรือออกไปรับประทานนอกบ้าน หากใครจะบอกว่า กรุงเทพฯ รถติดที่สุด ก็บอกได้เลยว่า กัวลาลัมเปอร์ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากรุงเทพฯ
สำหรับความสนใจของบริษัทมาเลเซียที่ออกไปลงทุนในต่างประเทศมีมากมาย การที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ จัดกิจกรรมไปชักจูงการลงทุนจากมาเลเซียปีละหนึ่งครั้งน่าจะไม่เพียงพอ เพราะเพียงแค่สามวันที่เดินทางไปจัดกิจกรรมและพบปะนักลงทุนก็มีผู้สนใจทั้งที่จะยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน และที่จะเดินทางมาสำรวจลู่ทางการลงทุนหลายโครงการมาก
จากสถิติการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน มีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่มีการถือหุ้นจากมาเลเซียถึงกว่า 300 โครงการในหลากหลายกิจการ รวมทั้ง การผลิตน้ำยางข้น ถุงมือยาง อุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ น่าจะมีกิจการที่มาเลเซียสนใจเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น โดยจะเป็นการใช้วัตถุดิบและแรงงานไทยเป็นหลักในช่วงแรกๆ จากนั้นจะเริ่มพัฒนาไปเป็นการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งกลับไปยังมาเลเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมด้านอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และพลังงานทดแทน
อย่างไรก็ตาม ในอนาคตประเทศไทยจะกลายเป็นฐานการผลิตและการลงทุนของมาเลเซียอีกหลากหลายอุตสาหกรรม รวมทั้งภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว นับเป็นโชคดีของไทยที่เป็นแหล่งการท่องเที่ยวที่สำคัญ สนามบินของไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาค ที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มากมาย ทำให้เกิดโอกาสด้านการบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวได้อีกมาก
ในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ต้องขอบคุณรัฐบาลไทยโดยบีโอไอที่ได้อนุมัติโครงการอีโคคาร์ ทำให้เกิดความต้องการใช้ชิ้นส่วนยานยนต์อีกมากมาย เพื่อรองรับการผลิต ดังนั้น โอกาสฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยในอนาคต นอกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยแล้ว ยังขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมต่างๆ ที่รัฐบาลไทยและเอกชนได้สร้างฐานความเข้มแข็งไว้แล้วด้วย
นอกจากนี้ โอกาสของไทยที่จะร่วมมือกับมาเลเซีย ยังมีอีกหลายอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการผลิตสินค้าฮาลาล เพื่อให้ภูมิภาคนี้เป็นฐานการผลิตที่สำคัญในสินค้าฮาลาล ซึ่งหลายท่านคงคุ้นชินหรือได้ยินแต่เฉพาะอาหารฮาลาลเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสินค้าฮาลาล ยังรวมถึงเครื่องอุปโภคและบริโภคอื่นๆ เช่น เครื่องสำอาง และบริการด้วย
ดังนั้น แทนที่ไทยและมาเลเซีย จะแข่งขันในการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน ภาคเอกชนทั้งสองประเทศ ควรจะพิจารณาความเป็นไปได้ในการแบ่งการผลิตสินค้าที่จะเกื้อหนุนกันในอนาคต ซึ่งแนวคิดแบบนี้ ญี่ปุ่นได้ดำเนินการมานานแล้ว ในการแบ่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดภาษีนำเข้าระหว่างกันมาก่อนที่การลดภาษีในความตกลงอาฟต้าจะดำเนินการสำเร็จ
อีกเรื่องที่น่าสนใจมากคือ โอกาสในการร่วมมือกับมาเลเซีย เพื่อสนับสนุนให้เข้ามาลงทุนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสร้างความเจริญและสร้างงานให้กับชุมชนในสามจังหวัดของไทย และสนองความต้องการของบริษัทจากมาเลเซียที่ขาดแคลนแรงงาน และวัตถุดิบในการผลิตอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ จึงมีแนวความคิดที่จะสนับสนุนให้เกิดโอกาสดังกล่าวเพื่อช่วยลดปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย คณะของบีโอไอที่เดินทางไปมาเลเซียครั้งนี้ นอกจากจะได้โครงการลงทุนที่เป็นรูปธรรมหลายโครงการ เข้ามาสร้างงานและเพิ่มการส่งออกของประเทศในอนาคตในหลายกิจการแล้ว ยังจะได้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโอกาสและสนับสนุนแนวทางของสถานเอกอัครราชทูตไทยอีกด้วย
ระหว่างการสัมมนาเพื่อส่งเสริมการลงทุนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ องค์กรภาคเอกชนของมาเลเซียสององค์กร ได้แสดงความสนใจที่จะส่งคณะมาสำรวจโอกาสการลงทุนของไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายในปลายปีนี้ ซึ่งบีโอไอจะได้ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อประสานงานต่อไป
ในเรื่องการส่งเสริมให้มาเลเซียออกไปลงทุนในต่างประเทศ นอกจากปัจจัยดึงจากต่างประเทศแล้ว รัฐบาลมาเลเซียเองก็ได้จัดตั้งหน่วยงานถาวรเพื่อดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในการเยือนครั้งนี้ คณะของบีโอไอ ก็ได้มีโอกาสเข้าไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับทราบข้อมูลการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมของรัฐบาลมาเลเซียในการสนับสนุนให้วิสาหกิจของเขาออกไปลงทุนในต่างประเทศ
หน่วยงานที่ทำหน้าที่หลักของรัฐบาล คือ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมของมาเลเซีย (Malaysian Industrial Development Authority - MIDA) โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองหลวง ไม่ได้ไปตั้งที่ปุตราจายา อาจเป็นเพราะเพื่อความสะดวกแก่การติดต่อของนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนท้องถิ่น
รัฐบาลมาเลเซียได้มอบหมายให้ MIDA เป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมการลงทุนของมาเลเซียในต่างประเทศ มาตั้งแต่ปี 2545 และบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับปัจจุบัน ( ปี 2549 - 2553) ให้ MIDA ส่งเสริมและประสานงานในการส่งเสริมการลงทุนของมาเลเซียในต่างประเทศในอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ MIDA ได้ตั้งกองถาวรขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 เพื่อส่งเสริมการลงทุนของมาเลเซียในต่างประเทศ
จากผลการหารือ บีโอไอจะได้ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ และ MIDA จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการลงทุนของมาเลเซียในไทยต่อไปในอนาคต และภายในปลายนี้ MIDA จะได้ส่งเจ้าหน้าที่มาประจำที่สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซีย ณ กรุงเทพฯ เพื่อสนับสนุนให้วิสาหกิจออกมาลงทุนในไทยมากขึ้น
วัตถุประสงค์เพื่อคงความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก เพื่อหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆ แสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ และเพื่อขยายตลาดส่งออก อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้บริษัทมาเลเซียเป็นผู้นำในด้านการผลิตและการตลาดในโลก
ในการนี้ รัฐบาลมาเลเซียได้ดำเนินการทั้งการส่งเสริมและสร้างกฎระเบียบเพื่อกระตุ้นการลงทุนดังกล่าว เช่น การจัดสัมมนาให้ความรู้ การเผยแพร่ข้อมูล การจัดคณะไปเยือนประเทศที่มีศักยภาพ (น่าเสียดายที่ตั้งแต่เริ่มดำเนินการมา ยังไม่มีแผนที่จะจัดคณะมาเยือนไทย อาจเป็นเพราะความใกล้ชิดกับไทยก็ได้) การส่งคณะไปสำรวจและรวบรวมข้อมูลนำมาเผยแพร่ การให้สิทธิประโยชน์ และเงินทุน ซึ่งสองเรื่องหลัง เป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยต้องเรียนรู้
สิทธิประโยชน์เพื่อสนับสนุนการลงทุนของมาเลเซียในต่างประเทศ ได้แก่ การยกเว้นภาษีเงินได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศและนำกลับเข้าไปในมาเลเซีย และการลดหย่อนภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนการลงทุนในต่างประเทศ โดยนักลงทุนจะต้องจัดทำเป็นข้อเสนอยื่นต่อรัฐบาล สำหรับแผนการที่จะออกไปลงทุนในต่างประเทศ
สำหรับการให้เงินทุน มาเลเซียโดย MIDA ก็ได้ร่วมกับรัฐบาลสิงคโปร์โดย International Enterprise (IE) จัดตั้งกองทุนเพื่อการออกไปลงทุนในประเทศที่สาม เรียกว่า Third Country Business Development Fund ในการทำแผนการลงทุน (Feasibility Study) การวิจัย หรือจัดคณะไปสำรวจโอกาสและลู่ทางการลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งหากได้รับการอนุมัติจะได้รับเงินทุนสนับสนุนสูงสุดถึงร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด
บริษัทที่จะได้รับสิทธิ์ในการพิจารณาขอเงินสนับสนุนจากกองทุนนี้ จะต้องเป็นบริษัทที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาเลเซียหรือสิงคโปร์ สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนในมาเลเซีย จะต้องมีหุ้นที่เป็นเชื้อชาติมาเลเซียอย่างน้อยร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น และสำหรับบริษัทสิงคโปร์ต้องมีผู้มีเชื้อชาติหรือได้ถิ่นที่อยู่ถาวร (Permanent Residence) ในสิงคโปร์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
จากสถิติของธนาคาร Negara ของมาเลเซีย ประเทศที่มาเลเซียออกไปลงทุนมากที่สุด ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย (เกี่ยวกับน้ำมันเป็นหลัก) ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และมอริเชียส ตามลำดับ
มาเลเซียวันนี้ ก้าวล้ำประเทศเพื่อนบ้านไปหลายก้าวทีเดียว การเมืองมั่นคง นักธุรกิจเข้มแข็งโดยเฉพาะนักธุรกิจเชื้อสายจีน ที่เป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า และมีความกระตือรือร้นสูง รวมทั้งรัฐบาลยังให้การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม
หันกลับมามองประเทศไทย เราก็กำลังพยายามอยู่ และศึกษาความเป็นไปได้ บัดนี้ก็ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศขึ้นมาแล้ว เพื่อจัดทำกฎหมายส่งเสริมการลงทุนไทยอย่างเป็นรูปธรรม และตั้งองค์กรถาวรเพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน
แต่ข้อสำคัญ MIDA ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลมาเลเซีย ที่ทำหน้าที่เหมือนกับบีโอไอทุกอย่างและแบ่งความรับผิดชอบคล้ายกับบีโอไอ มีเจ้าหน้าที่ทำงานถึง 800 คน และกำลังจะย้ายสำนักงานฯ ไปอยู่ที่ตึกใหม่ เพื่อรองรับเจ้าหน้าที่ที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 คน ในขณะที่บีโอไอมีข้าราชการเพียง 200 คนเท่านั้น !!!!!!!
สำหรับนักธุรกิจไทยท่านใดที่สนใจร่วมทุนกับมาเลเซีย ติดต่อได้ที่บีโอไอ เพราะการไปเยือนมาเลเซียในครั้งนี้ เราได้รับเรื่องการหาผู้ร่วมทุนไทยมาหลายรายในหลายอุตสาหกรรม
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th