ปัจจุบันประเทศต่างๆ พยายามแข่งขันกัน เพื่อเป็นศูนย์กลางธุรกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันเพื่อเป็นที่ตั้งของสำนักงานภูมิภาค ซึ่งเป็นกิจการให้บริการแก่บริษัทในเครือในภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน โดยครอบคลุมกิจการต่างๆ เป็นต้นว่า
- ด้านการค้า เป็นการซื้อขายสินค้าระหว่างธุรกิจเครือเดียวกัน
- ด้านการบริการต่างๆ เช่น ฝึกอบรม วิจัยและพัฒนา เพื่อลดค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน ไม่ต้องก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรม วิจัย และพัฒนาในทุกประเทศ
- ด้านการบริการทางการเงิน เช่น เป็นศูนย์บริหารเงินสำหรับภูมิภาค (Regional Treasury Center) แก่บริษัทในเครือในประเทศต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในการบริหารเงิน โดยนำเงินจากบริษัทในเครือที่มีเงินส่วนเกิน ไปให้บริษัทในเครือที่ขาดแคลนเงินทุน เพื่อไม่ต้องไปกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน
- ด้านการบริหารจัดการทั่วไป เช่น การบริหารบุคลากร การบริหารการตลาด
ปัจจุบันประเทศต่างๆ มีนโยบายส่งเสริมแตกต่างกันไป เป็นต้นว่า สิงคโปร์ เป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีนโยบายส่งเสริมสำนักงานภูมิภาคตั้งแต่ปี 2529 โดยเปิดให้การส่งเสริมการลงทุนกิจการ Operating Headquarters และปัจจุบันได้ปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนเป็น 2 มาตรการ
- Regional Headquarters (RHQ) เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 15 เป็นระยะเวลา 3 ปี และสามารถขยายได้อีก 2 ปี
- International Headquarters (IHQ) เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 0, ร้อยละ 5, หรือร้อยละ 10 เป็นระยะเวลา 5 – 20 ปี ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรอง โดยต้องมีการก่อตั้งธุรกิจขนาดใหญ่กว่า RHQ ในสิงคโปร์
มาเลเซีย เปิดให้การส่งเสริม Operational Headquarters (OHQ) ในปี 2538 ปัจจุบันกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 0.5 ล้านริงกิต และรายจ่ายขั้นต่ำ 1.5 ล้านริงกิต/ปี กำหนดสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 10 ปี ครอบคลุมรายได้ ดังนี้
- รายได้จากการให้บริการแก่บริษัทในเครือในต่างประเทศ
- รายได้จากการให้บริการแก่บริษัทในเครือภายในประเทศ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของรายได้จากบริการที่อยู่ในข่ายทั้งหมด
- ดอกเบี้ยซึ่งเป็นผลตอบแทนจากการให้สินเชื่อแก่บริษัทในเครือในต่างประเทศ
- ค่าธรรมเนียมสิทธิบัตร (Royalty) ที่ได้รับจากการทำวิจัยและพัฒนาในประเทศที่ได้ทำในประเทศมาเลเซียจากบริษัทในเครือ
- บุคลากรที่ไม่ใช่ชาวมาเลเซียซึ่งทำงานในต่างประเทศจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามสัดส่วนเวลาที่ทำงานในต่างประเทศ
ไทย กรมสรรพากรได้มีนโยบายส่งเสริมธุรกิจสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (Regional Operating Headquarters – ROH) ตั้งแต่ปี 2545 ประกอบด้วยหลายมาตรการ เป็นต้นว่า
- ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคจากอัตราปกติ ร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 10 สำหรับรายได้ที่กำหนด
- คนต่างด้าวที่ได้รับเงินค่าจ้างแรงงานจากงานประจำในสำนักงาน ROH ในประเทศไทย และยอมเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ให้ได้รับสิทธิไม่ต้องนำเงินดังกล่าวมารวมคำนวณภาษีตอนปลายปี มีกำหนดระยะเวลาติดต่อกันไม่เกิน 4 ปี
จากการสำรวจความเห็นของบรรษัทข้ามชาติ 105 บริษัท โดยบริษัท Spire Research and Consulting ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550 เกี่ยวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่น่าสนใจในการก่อตั้งสำนักงานภูมิภาค พบว่าอันดับ 1 คือ สิงคโปร์ ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ 57 บริษัท รองลงมา คือ จีน 56 บริษัท ฮ่องกง 46 บริษัท อินเดีย 25 บริษัท ญี่ปุ่น 21 บริษัท เกาหลีใต้ 17 บริษัท มาเลเซีย 12 บริษัท ไทย 9 บริษัท และออสเตรเลีย 9 บริษัท
ขณะเดียวกันรายงานการสำรวจฉบับข้างต้นยังได้ตั้งข้อสังเกตว่าหลายบริษัทได้ใช้กลยุทธ์ก่อตั้งสำนักงานภูมิภาค 2 แห่ง ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกพร้อมๆ กัน (Dual RHQs) กล่าวคือ กำหนดฮ่องกงเป็นสำนักงานภูมิภาคสำหรับเอเชียเหนือและเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และสิงคโปร์เป็นสำนักงานภูมิภาคสำหรับเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ไม่ใช่แต่บริษัทชั้นนำของต่างประเทศที่นิยมตั้งสำนักงานภูมิภาคในฮ่องกงและสิงคโปร์เท่านั้น แต่บริษัทข้ามชาติของไทยด้วยกันเอง เช่น เครือซิเมนต์ไทย บริษัท ปตท. เครือเจริญโภคภัณฑ์ ฯลฯ ก็นิยมไปจัดตั้งสำนักงานภูมิภาคและบริษัทการค้าระหว่างประเทศในฮ่องกงและสิงคโปร์ เนื่องจากกฎระเบียบเอื้ออำนวยกว่าและอัตราภาษีอากรต่ำกว่า รวมถึงได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลต่างประเทศผ่านมาตรการต่างๆ เป็นต้นว่า International Headquarters, Global Trader Program (GTP)
การที่ประเทศไทยประสบผลสำเร็จน้อยมากในการชักจูงบริษัทข้ามชาติมาตั้งสำนักงานภูมิภาค เนื่องจากปัญหาหลายประการ
ประการแรก อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลค่อนข้างสูง ประเทศไทยมีอัตราร้อยละ 30 เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ เป็นต้นว่า
- ฮ่องกง เดิมมีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลอยู่ที่ระดับร้อยละ 17.5 แต่ในปี 2551 ได้ปรับลดลงเหลือร้อยละ 16.5
- สิงคโปร์ ร้อยละ 18 และกำหนดลดลงเหลือร้อยละ 17 ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ได้ประกาศใช้ระบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแบบ One-Tier Corporate Tax System เมื่อปี 2546 ทำให้บริษัทต่างชาติในสิงคโปร์สามารถนำผลกำไรกลับประเทศโดยไม่ต้องจ่ายภาษีซ้ำอีก
- มาเลเซีย เดิมอยู่ที่ระดับร้อยละ 27 ได้ปรับลดลงเหลือร้อยละ 26 ในปี 2551 และปรับลดลงอีกเหลือร้อยละ 25 ในปี 2552 นอกจากนี้ ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบ Single Tier System of Taxation ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 โดยเมื่อบริษัทเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว ผู้รับเงินปันผลไม่ต้องเสียภาษีเงินได้จากรายรับเงินปันผลอีก
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกระทรวงการคลังของไทยอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างภาษีทั้งระบบ โดยเฉพาะการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้อยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเพื่อให้สามารถแข่งขันได้
ประการที่สอง อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขั้นสูงสุดของประเทศไทยมีระดับร้อยละ 37 เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ เป็นต้นว่า ฮ่องกง อัตราสูงสุดร้อยละ 15 สิงคโปร์ ร้อยละ 20 และมาเลเซีย ร้อยละ 28
ประการที่สาม กฎระเบียบค่อนข้างเข้มงวดด้านเงินตราต่างประเทศ เป็นต้นว่า จากการศึกษาของธนาคารซิตี้แบงก์เรื่อง Doing Business in Asia Current Environment and Opportunities เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ได้จำแนกประเทศเอเชียออกเป็น 3 กลุ่ม ตามระดับการควบคุมทางการเงิน
- กลุ่มที่ 1 เปิดเสรีทั้งในด้านเงินสกุลภายในประเทศและเงินตราต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น
- กลุ่มที่ 2 เปิดเสรีเฉพาะในด้านเงินตราต่างประเทศ แต่เงินสกุลในประเทศควบคุม เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน
- กลุ่มที่ 3 ควบคุมทั้งเงินสกุลในประเทศและเงินตราต่างประเทศ เช่น ไทย จีน อินเดีย เกาหลีใต้ เวียดนาม บังกลาเทศ ศรีลังกา
ประการที่สี่ ความไม่เป็นสากลของประเทศไทย ทั้งในส่วนที่ยังไม่มีการใช้ภาษาอังกฤษแบบแพร่หลาย รวมถึงระบบกฎหมายต่างๆ ซึ่งวารสาร Corporate Location ได้มีการสัมภาษณ์ผู้บริหารของบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งถึงเหตุผลที่เลือกสิงคโปร์เป็นที่ตั้งสำนักงานภูมิภาค ทั้งๆ ที่บริษัทแห่งนี้โรงงานทั้งในไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งเขาให้ทัศนะว่ากรุงเทพมหานครและกรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซียขาดความเป็นสากล
ส่วนกรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซียแม้จะมีความเป็นสากล แต่ยังเทียบกับสิงคโปร์ไม่ได้ เนื่องจากสิงคโปร์มีนโยบายและมาตรการส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างจริงจัง ไม่ใช่ No Action, Talk Only เหมือนกับบางประเทศ ทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น โปร่งใส ระบบกฎหมายคล้ายคลึงกับในยุโรปหรือสหรัฐฯ คุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัยของชาวต่างประเทศ
ประการที่ห้า กฎระเบียบหยุมหยิม เป็นต้นว่า กรณีพนักงานของบริษัทในเครือในต่างประเทศจะเดินทางมาประชุมที่สำนักงานภูมิภาคในประเทศไทย ต้องยื่นขออนุญาตทำงานทุกครั้ง เนื่องจากตีความกฎหมายว่าเป็นการมาทำงานในประเทศไทย มิฉะนั้นอาจจะถูกจับกุมได้ ขณะที่กฎระเบียบของประเทศอื่นๆ สามารถเดินทางไปประชุมได้อย่างเสรี
สำหรับแนวโน้มสำคัญของการจัดตั้งสำนักงานภูมิภาคเป็นทั้งวิกฤตและโอกาสสำหรับประเทศไทย สามารถสรุปได้ ดังนี้
ประการแรก ปัจจุบันจากการที่ไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์ ทำให้บริษัทรถยนต์ต่างชาติเริ่มย้ายสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคในส่วนบริการทั่วไป เช่น การฝึกอบรม การให้บริการเทคนิค การวิจัยและพัฒนา ฯลฯ มายังประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม บริษัทรถยนต์ยังติดปัญหาไม่สามารถย้ายกิจกรรมในส่วน Treasury Center และด้านการค้าระหว่างประเทศจากสิงคโปร์ มายังประเทศไทยได้ เนื่องจากกฎระเบียบของไทยไม่เอื้ออำนวย ทำให้บางบริษัทมีสำนักงานภูมิภาค 2 แห่ง คือ สำนักงานในไทยและสิงคโปร์ ทั้งๆ ที่กลยุทธ์เหล่านี้ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในด้านการบริหารจัดการ
ประการที่สอง จากการที่ทั่วโลกประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้การขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินทำได้ยากยิ่งขึ้น บริษัทข้ามชาติจึงให้ความสนใจในการส่งเสริมบทบาท Regional Treasury Center เพื่อบริหารเงินของบริษัทในเครือในประเทศต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนำเงินที่เหลือของบริษัทในประเทศหนึ่ง ไปให้กู้แก่บริษัทในเครือในอีกประเทศหนึ่งที่ต้องการเงินทุนเพิ่มขึ้น รวมถึงการระดมทุนจากประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่า
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
- ด้านการค้า เป็นการซื้อขายสินค้าระหว่างธุรกิจเครือเดียวกัน
- ด้านการบริการต่างๆ เช่น ฝึกอบรม วิจัยและพัฒนา เพื่อลดค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน ไม่ต้องก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรม วิจัย และพัฒนาในทุกประเทศ
- ด้านการบริการทางการเงิน เช่น เป็นศูนย์บริหารเงินสำหรับภูมิภาค (Regional Treasury Center) แก่บริษัทในเครือในประเทศต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในการบริหารเงิน โดยนำเงินจากบริษัทในเครือที่มีเงินส่วนเกิน ไปให้บริษัทในเครือที่ขาดแคลนเงินทุน เพื่อไม่ต้องไปกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน
- ด้านการบริหารจัดการทั่วไป เช่น การบริหารบุคลากร การบริหารการตลาด
ปัจจุบันประเทศต่างๆ มีนโยบายส่งเสริมแตกต่างกันไป เป็นต้นว่า สิงคโปร์ เป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีนโยบายส่งเสริมสำนักงานภูมิภาคตั้งแต่ปี 2529 โดยเปิดให้การส่งเสริมการลงทุนกิจการ Operating Headquarters และปัจจุบันได้ปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนเป็น 2 มาตรการ
- Regional Headquarters (RHQ) เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 15 เป็นระยะเวลา 3 ปี และสามารถขยายได้อีก 2 ปี
- International Headquarters (IHQ) เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 0, ร้อยละ 5, หรือร้อยละ 10 เป็นระยะเวลา 5 – 20 ปี ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรอง โดยต้องมีการก่อตั้งธุรกิจขนาดใหญ่กว่า RHQ ในสิงคโปร์
มาเลเซีย เปิดให้การส่งเสริม Operational Headquarters (OHQ) ในปี 2538 ปัจจุบันกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 0.5 ล้านริงกิต และรายจ่ายขั้นต่ำ 1.5 ล้านริงกิต/ปี กำหนดสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 10 ปี ครอบคลุมรายได้ ดังนี้
- รายได้จากการให้บริการแก่บริษัทในเครือในต่างประเทศ
- รายได้จากการให้บริการแก่บริษัทในเครือภายในประเทศ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของรายได้จากบริการที่อยู่ในข่ายทั้งหมด
- ดอกเบี้ยซึ่งเป็นผลตอบแทนจากการให้สินเชื่อแก่บริษัทในเครือในต่างประเทศ
- ค่าธรรมเนียมสิทธิบัตร (Royalty) ที่ได้รับจากการทำวิจัยและพัฒนาในประเทศที่ได้ทำในประเทศมาเลเซียจากบริษัทในเครือ
- บุคลากรที่ไม่ใช่ชาวมาเลเซียซึ่งทำงานในต่างประเทศจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามสัดส่วนเวลาที่ทำงานในต่างประเทศ
ไทย กรมสรรพากรได้มีนโยบายส่งเสริมธุรกิจสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (Regional Operating Headquarters – ROH) ตั้งแต่ปี 2545 ประกอบด้วยหลายมาตรการ เป็นต้นว่า
- ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคจากอัตราปกติ ร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 10 สำหรับรายได้ที่กำหนด
- คนต่างด้าวที่ได้รับเงินค่าจ้างแรงงานจากงานประจำในสำนักงาน ROH ในประเทศไทย และยอมเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ให้ได้รับสิทธิไม่ต้องนำเงินดังกล่าวมารวมคำนวณภาษีตอนปลายปี มีกำหนดระยะเวลาติดต่อกันไม่เกิน 4 ปี
จากการสำรวจความเห็นของบรรษัทข้ามชาติ 105 บริษัท โดยบริษัท Spire Research and Consulting ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550 เกี่ยวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่น่าสนใจในการก่อตั้งสำนักงานภูมิภาค พบว่าอันดับ 1 คือ สิงคโปร์ ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ 57 บริษัท รองลงมา คือ จีน 56 บริษัท ฮ่องกง 46 บริษัท อินเดีย 25 บริษัท ญี่ปุ่น 21 บริษัท เกาหลีใต้ 17 บริษัท มาเลเซีย 12 บริษัท ไทย 9 บริษัท และออสเตรเลีย 9 บริษัท
ขณะเดียวกันรายงานการสำรวจฉบับข้างต้นยังได้ตั้งข้อสังเกตว่าหลายบริษัทได้ใช้กลยุทธ์ก่อตั้งสำนักงานภูมิภาค 2 แห่ง ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกพร้อมๆ กัน (Dual RHQs) กล่าวคือ กำหนดฮ่องกงเป็นสำนักงานภูมิภาคสำหรับเอเชียเหนือและเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และสิงคโปร์เป็นสำนักงานภูมิภาคสำหรับเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ไม่ใช่แต่บริษัทชั้นนำของต่างประเทศที่นิยมตั้งสำนักงานภูมิภาคในฮ่องกงและสิงคโปร์เท่านั้น แต่บริษัทข้ามชาติของไทยด้วยกันเอง เช่น เครือซิเมนต์ไทย บริษัท ปตท. เครือเจริญโภคภัณฑ์ ฯลฯ ก็นิยมไปจัดตั้งสำนักงานภูมิภาคและบริษัทการค้าระหว่างประเทศในฮ่องกงและสิงคโปร์ เนื่องจากกฎระเบียบเอื้ออำนวยกว่าและอัตราภาษีอากรต่ำกว่า รวมถึงได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลต่างประเทศผ่านมาตรการต่างๆ เป็นต้นว่า International Headquarters, Global Trader Program (GTP)
การที่ประเทศไทยประสบผลสำเร็จน้อยมากในการชักจูงบริษัทข้ามชาติมาตั้งสำนักงานภูมิภาค เนื่องจากปัญหาหลายประการ
ประการแรก อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลค่อนข้างสูง ประเทศไทยมีอัตราร้อยละ 30 เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ เป็นต้นว่า
- ฮ่องกง เดิมมีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลอยู่ที่ระดับร้อยละ 17.5 แต่ในปี 2551 ได้ปรับลดลงเหลือร้อยละ 16.5
- สิงคโปร์ ร้อยละ 18 และกำหนดลดลงเหลือร้อยละ 17 ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ได้ประกาศใช้ระบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแบบ One-Tier Corporate Tax System เมื่อปี 2546 ทำให้บริษัทต่างชาติในสิงคโปร์สามารถนำผลกำไรกลับประเทศโดยไม่ต้องจ่ายภาษีซ้ำอีก
- มาเลเซีย เดิมอยู่ที่ระดับร้อยละ 27 ได้ปรับลดลงเหลือร้อยละ 26 ในปี 2551 และปรับลดลงอีกเหลือร้อยละ 25 ในปี 2552 นอกจากนี้ ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบ Single Tier System of Taxation ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 โดยเมื่อบริษัทเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว ผู้รับเงินปันผลไม่ต้องเสียภาษีเงินได้จากรายรับเงินปันผลอีก
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกระทรวงการคลังของไทยอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างภาษีทั้งระบบ โดยเฉพาะการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้อยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเพื่อให้สามารถแข่งขันได้
ประการที่สอง อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขั้นสูงสุดของประเทศไทยมีระดับร้อยละ 37 เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ เป็นต้นว่า ฮ่องกง อัตราสูงสุดร้อยละ 15 สิงคโปร์ ร้อยละ 20 และมาเลเซีย ร้อยละ 28
ประการที่สาม กฎระเบียบค่อนข้างเข้มงวดด้านเงินตราต่างประเทศ เป็นต้นว่า จากการศึกษาของธนาคารซิตี้แบงก์เรื่อง Doing Business in Asia Current Environment and Opportunities เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ได้จำแนกประเทศเอเชียออกเป็น 3 กลุ่ม ตามระดับการควบคุมทางการเงิน
- กลุ่มที่ 1 เปิดเสรีทั้งในด้านเงินสกุลภายในประเทศและเงินตราต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น
- กลุ่มที่ 2 เปิดเสรีเฉพาะในด้านเงินตราต่างประเทศ แต่เงินสกุลในประเทศควบคุม เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน
- กลุ่มที่ 3 ควบคุมทั้งเงินสกุลในประเทศและเงินตราต่างประเทศ เช่น ไทย จีน อินเดีย เกาหลีใต้ เวียดนาม บังกลาเทศ ศรีลังกา
ประการที่สี่ ความไม่เป็นสากลของประเทศไทย ทั้งในส่วนที่ยังไม่มีการใช้ภาษาอังกฤษแบบแพร่หลาย รวมถึงระบบกฎหมายต่างๆ ซึ่งวารสาร Corporate Location ได้มีการสัมภาษณ์ผู้บริหารของบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งถึงเหตุผลที่เลือกสิงคโปร์เป็นที่ตั้งสำนักงานภูมิภาค ทั้งๆ ที่บริษัทแห่งนี้โรงงานทั้งในไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งเขาให้ทัศนะว่ากรุงเทพมหานครและกรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซียขาดความเป็นสากล
ส่วนกรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซียแม้จะมีความเป็นสากล แต่ยังเทียบกับสิงคโปร์ไม่ได้ เนื่องจากสิงคโปร์มีนโยบายและมาตรการส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างจริงจัง ไม่ใช่ No Action, Talk Only เหมือนกับบางประเทศ ทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น โปร่งใส ระบบกฎหมายคล้ายคลึงกับในยุโรปหรือสหรัฐฯ คุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัยของชาวต่างประเทศ
ประการที่ห้า กฎระเบียบหยุมหยิม เป็นต้นว่า กรณีพนักงานของบริษัทในเครือในต่างประเทศจะเดินทางมาประชุมที่สำนักงานภูมิภาคในประเทศไทย ต้องยื่นขออนุญาตทำงานทุกครั้ง เนื่องจากตีความกฎหมายว่าเป็นการมาทำงานในประเทศไทย มิฉะนั้นอาจจะถูกจับกุมได้ ขณะที่กฎระเบียบของประเทศอื่นๆ สามารถเดินทางไปประชุมได้อย่างเสรี
สำหรับแนวโน้มสำคัญของการจัดตั้งสำนักงานภูมิภาคเป็นทั้งวิกฤตและโอกาสสำหรับประเทศไทย สามารถสรุปได้ ดังนี้
ประการแรก ปัจจุบันจากการที่ไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์ ทำให้บริษัทรถยนต์ต่างชาติเริ่มย้ายสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคในส่วนบริการทั่วไป เช่น การฝึกอบรม การให้บริการเทคนิค การวิจัยและพัฒนา ฯลฯ มายังประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม บริษัทรถยนต์ยังติดปัญหาไม่สามารถย้ายกิจกรรมในส่วน Treasury Center และด้านการค้าระหว่างประเทศจากสิงคโปร์ มายังประเทศไทยได้ เนื่องจากกฎระเบียบของไทยไม่เอื้ออำนวย ทำให้บางบริษัทมีสำนักงานภูมิภาค 2 แห่ง คือ สำนักงานในไทยและสิงคโปร์ ทั้งๆ ที่กลยุทธ์เหล่านี้ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในด้านการบริหารจัดการ
ประการที่สอง จากการที่ทั่วโลกประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้การขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินทำได้ยากยิ่งขึ้น บริษัทข้ามชาติจึงให้ความสนใจในการส่งเสริมบทบาท Regional Treasury Center เพื่อบริหารเงินของบริษัทในเครือในประเทศต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนำเงินที่เหลือของบริษัทในประเทศหนึ่ง ไปให้กู้แก่บริษัทในเครือในอีกประเทศหนึ่งที่ต้องการเงินทุนเพิ่มขึ้น รวมถึงการระดมทุนจากประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่า
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th