นครราชสีมา - แห่ยื่นขอส่งเสริมบีโอไอลงทุนอีสานรับสัญญาณเศรษฐกิจฟื้น 8 เดือน ทะลุ 2.2 หมื่นล้าน ไฟเขียวลงทุน แล้ว 66 โครงการ 6,431 ล้าน ล่าสุด ส.ค.โคราชเมืองพลังงานทดแทนยังเนื้อหอม คว้า 4 โครงการลงทุน พร้อม 2 รง.ผลิตไฟฟ้า Bio gas
นายสุวิชช์ ฉั่ววิเชียร ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุน ภาคที่ 2 (จ.นครราชสีมา) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงการส่งเสริมการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วง 8 เดือน (มกราคม-สิงหาคม) ภายใต้สัญญาณเศรษฐกิจโลกและประเทศไทยโดยรวมเริ่มฟื้นตัว ได้มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนแล้วรวม 66 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 22,777 ล้านบาท จะเกิดการจ้างงานกว่า 9,000 คน ในจำนวนนี้ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนแล้ว 43 โครงการ เงินรวมมูลค่าลงทุน 6,431 ล้านบาท เกิดการจ้างงาน 5,752 คน จึงยังมีโครงการอยู่ในระหว่างรอพิจารณาอีก 23 โครงการ รวมเงินลงทุน 16,346 ล้านบาท จะเกิดการจ้างงาน 3,138 คน
สำหรับเดือนสิงหาคมมีโครงการได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 7 โครงการ เงินลงทุน 407 ล้านบาท การจ้างงาน 123 คน ได้แก่ โครงการผลิตข้าวสารคัดคุณภาพ โครงการผลิตพรมปูพื้น-พรมเช็ดเท้า โครงการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (Bio gas) โครงการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานพาหนะ โดยโครงการทั้งหมดตั้งอยู่ใน จ.นครราชสีมา 4 โครงการ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี และ มหาสารคาม จังหวัดละ 1 โครงการ
นายสุวิชช์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ โครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนเดือน ส.ค.ดังกล่าว อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 2 (จ.นครราชสีมา) จำนวน 6 โครงการ ประกอบด้วย
1.โครงการข้าวสารคัดคุณภาพข้าว (Rice Grading) ของ บริษัท บุรีรัมย์สหสินข้าวไทย จำกัด มีกำลังการผลิตข้าวสารคัดคุณภาพ ปีละประมาณ 68,400 ตัน/ปี เงินลงทุน 75 ล้านบาท หุ้นไทยทั้งสิ้น การจ้างงาน 42 คน ที่ตั้ง จ.บุรีรัมย์
2.โครงการผลิตพรมปูพื้นและพรมเช็ดเท้า (Broadloom Tufted Carpet) ของ บริษัท สตาร์ คาร์เปท จำกัด มีกำลังการผลิตพรมปูพื้นและพรมเช็ดเท้าปีละประมาณ 6,000,000 ตารางเมตร /ปี เงินลงทุน 30 ล้านบาท ร่วมหุ้น (ไทยและปากีสถาน) การจ้างงาน 30 คน ที่ตั้ง จ.นครราชสีมา
3.โครงการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ของ บริษัท ฮอนด้า เฟาดรี (เอเซียน) จำกัด มีกำลังการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ Industrial Machinery 10 ชุด/ปี Jig & Fixture 200 ชุด/ปี Die 50 ชุด/ปี Die Repairing เงินลงทุน 138 ล้านบาท ร่วมหุ้น (ไทยและญี่ปุ่น) การจ้างงาน 36 คน ที่ตั้ง จ.นครราชสีมา
4.โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (Electricity Power from Bio Gas) ของ บริษัท เค.อาร์.คลีนเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ได้รับอนุมัติ 2 โครงการ มีกำลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ปีละประมาณ 950 กิโลวัตต์ /ปี เงินลงทุน 25 ล้านบาท หุ้นไทยทั้งสิ้น การจ้างงาน 2 คน
5.โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (Electricity Power from Bio Gas) ของ บริษัท เค.อาร์. คลีนเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด มีกำลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพปีละประมาณ 950 กิโลวัตต์ /ปี เงินลงทุน 25 ล้านบาท หุ้นไทยทั้งสิ้น การจ้างงาน 3 คน ทั้ง 2 โครงการตั้งอยู่ที่ จ.นครราชสีมา
6.โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ (Electricity Power from Solar Power) ของ บริษัท พีที ไดร์ว (ประเทศไทย) จำกัด มีกำลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ปีละประมาณ 500 กิโลวัตต์/ปี เงินลงทุน 85 ล้านบาท ร่วมหุ้น (ไทยและจีน) การจ้างงาน 4 คน ที่ตั้ง จ.อุบลราชธานี
ที่เหลืออีก 1 โครงการลงทุน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 3 (จ.ขอนแก่น) คือ โครงการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานพาหนะ (Natural Gas Service Station for Vehicles) ของ บริษัท ศิริวัฒน์ออยล์แอนเอ็นจีวี จำกัด มีกำลังการให้บริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานพาหนะปีละประมาณ 9,880 ตัน/ปี เงินลงทุน 29 ล้านบาท หุ้นไทยทั้งสิ้น การจ้างงาน 6 คน ที่ตั้ง จ.มหาสารคาม
นายสุวิชช์ ฉั่ววิเชียร ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุน ภาคที่ 2 (จ.นครราชสีมา) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงการส่งเสริมการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วง 8 เดือน (มกราคม-สิงหาคม) ภายใต้สัญญาณเศรษฐกิจโลกและประเทศไทยโดยรวมเริ่มฟื้นตัว ได้มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนแล้วรวม 66 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 22,777 ล้านบาท จะเกิดการจ้างงานกว่า 9,000 คน ในจำนวนนี้ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนแล้ว 43 โครงการ เงินรวมมูลค่าลงทุน 6,431 ล้านบาท เกิดการจ้างงาน 5,752 คน จึงยังมีโครงการอยู่ในระหว่างรอพิจารณาอีก 23 โครงการ รวมเงินลงทุน 16,346 ล้านบาท จะเกิดการจ้างงาน 3,138 คน
สำหรับเดือนสิงหาคมมีโครงการได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 7 โครงการ เงินลงทุน 407 ล้านบาท การจ้างงาน 123 คน ได้แก่ โครงการผลิตข้าวสารคัดคุณภาพ โครงการผลิตพรมปูพื้น-พรมเช็ดเท้า โครงการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (Bio gas) โครงการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานพาหนะ โดยโครงการทั้งหมดตั้งอยู่ใน จ.นครราชสีมา 4 โครงการ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี และ มหาสารคาม จังหวัดละ 1 โครงการ
นายสุวิชช์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ โครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนเดือน ส.ค.ดังกล่าว อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 2 (จ.นครราชสีมา) จำนวน 6 โครงการ ประกอบด้วย
1.โครงการข้าวสารคัดคุณภาพข้าว (Rice Grading) ของ บริษัท บุรีรัมย์สหสินข้าวไทย จำกัด มีกำลังการผลิตข้าวสารคัดคุณภาพ ปีละประมาณ 68,400 ตัน/ปี เงินลงทุน 75 ล้านบาท หุ้นไทยทั้งสิ้น การจ้างงาน 42 คน ที่ตั้ง จ.บุรีรัมย์
2.โครงการผลิตพรมปูพื้นและพรมเช็ดเท้า (Broadloom Tufted Carpet) ของ บริษัท สตาร์ คาร์เปท จำกัด มีกำลังการผลิตพรมปูพื้นและพรมเช็ดเท้าปีละประมาณ 6,000,000 ตารางเมตร /ปี เงินลงทุน 30 ล้านบาท ร่วมหุ้น (ไทยและปากีสถาน) การจ้างงาน 30 คน ที่ตั้ง จ.นครราชสีมา
3.โครงการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ของ บริษัท ฮอนด้า เฟาดรี (เอเซียน) จำกัด มีกำลังการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ Industrial Machinery 10 ชุด/ปี Jig & Fixture 200 ชุด/ปี Die 50 ชุด/ปี Die Repairing เงินลงทุน 138 ล้านบาท ร่วมหุ้น (ไทยและญี่ปุ่น) การจ้างงาน 36 คน ที่ตั้ง จ.นครราชสีมา
4.โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (Electricity Power from Bio Gas) ของ บริษัท เค.อาร์.คลีนเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ได้รับอนุมัติ 2 โครงการ มีกำลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ปีละประมาณ 950 กิโลวัตต์ /ปี เงินลงทุน 25 ล้านบาท หุ้นไทยทั้งสิ้น การจ้างงาน 2 คน
5.โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (Electricity Power from Bio Gas) ของ บริษัท เค.อาร์. คลีนเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด มีกำลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพปีละประมาณ 950 กิโลวัตต์ /ปี เงินลงทุน 25 ล้านบาท หุ้นไทยทั้งสิ้น การจ้างงาน 3 คน ทั้ง 2 โครงการตั้งอยู่ที่ จ.นครราชสีมา
6.โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ (Electricity Power from Solar Power) ของ บริษัท พีที ไดร์ว (ประเทศไทย) จำกัด มีกำลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ปีละประมาณ 500 กิโลวัตต์/ปี เงินลงทุน 85 ล้านบาท ร่วมหุ้น (ไทยและจีน) การจ้างงาน 4 คน ที่ตั้ง จ.อุบลราชธานี
ที่เหลืออีก 1 โครงการลงทุน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 3 (จ.ขอนแก่น) คือ โครงการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานพาหนะ (Natural Gas Service Station for Vehicles) ของ บริษัท ศิริวัฒน์ออยล์แอนเอ็นจีวี จำกัด มีกำลังการให้บริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานพาหนะปีละประมาณ 9,880 ตัน/ปี เงินลงทุน 29 ล้านบาท หุ้นไทยทั้งสิ้น การจ้างงาน 6 คน ที่ตั้ง จ.มหาสารคาม