ค่านิยม ‘ธุระไม่ใช่’ ไม่ใช่แค่อุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศผ่านการมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะทั้งทางสนับสนุน ตรวจสอบ หรือคัดค้านเท่านั้น ทว่ายังบอนไซระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมเรื่อยมาจากการที่ประชาชนไม่ได้เปลี่ยนแปลงตนเองเป็นพลเมืองด้วยการพัฒนาพลเมือง (Civic Education) หรือขับเคลื่อนขบวนการทางสังคม (Social Movement) เพื่อตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจบริหาร
โดยเฉพาะขบวนการทางสังคมของประชาชนธรรมดาที่ถูกรัฐไทยถากถางปรามาสมาตลอดว่าทำลายหลักการประชาธิปไตยที่เชื่อในความเป็นตัวแทนประชาชน (Representative) ของสถาบันหลักทางการเมือง แม้แท้จริงแล้วอำนาจอธิปไตยจักเป็นของปวงชนชาวไทย หาใช่วัตถุสิ่งของเคลื่อนย้ายช่วงชิงได้ผ่านคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ทั้งนี้ ประชาชนที่เข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมนอกจากจะตื่นตัวต่อประเด็นปัญหาต่างๆ ทางสังคมแล้ว ยังเปี่ยมด้วย ‘จิตสาธารณะ’ (Public Consciousness) ตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน รู้จักเอาใจใส่เป็นธุระ เข้าร่วมเรื่องราวส่วนรวมที่เป็นประโยชน์สุขต่อประเทศชาติ สำนึกและยึดมั่นระบบคุณธรรมจริยธรรมดีงามควบคู่กับละอายต่อความผิดบาป
นั่นทำให้ข้อเรียกร้องของขบวนการทางสังคมกว้างขวางกว่าประโยชน์คับแคบเฉพาะตนหรือช่วงชั้นสังกัดตนเอง เช่น พรรคการเมือง เพราะครอบคลุมแง่มุมวัฒนธรรม สังคม ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม แทนจะจำกัดวงอยู่แค่เศรษฐกิจและความสงบเรียบร้อยมั่นคงของประเทศชาติ
ถึงกระนั้นขบวนการทางสังคมที่เคลื่อนไหวใต้โครงสร้างวัฒนธรรมอำนาจนิยมแบบไทยก็ถูกมองเชิงลบโดยสาธารณชนผู้ถูกทำให้เซื่องสยบยอมอำนาจทางการแนวดิ่งของระบบราชการและพรรคการเมืองมาตลอด ท่าทีสนับสนุนแข็งขันของสาธารณชนต่อขบวนการทางสังคมจึงไม่ค่อยปรากฏเป็นรูปธรรมมากนักในสังคมไทย
หากห้วงหลังรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 เป็นต้นมา ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ทวีปริมาณและคุณภาพมากขึ้นทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเมืองหลวง ก็เริ่มดึงสาธารณชนให้หันมาสนใจใคร่เรียนรู้ข้อเรียกร้องต่างๆ มากขึ้น เคียงคู่กับขยายจิตสาธารณะสู่สาธารณชนบางส่วนได้
อย่างไรเสียเสียงสนับสนุนของสาธารณชน (Public Support) ที่เป็นหนึ่งในฐานทรัพยากรสำคัญสุดของการระดมพลเมืองเข้าร่วมขบวนการทางสังคมเพื่อฝ่าฟันขวากหนามวัฒนธรรมเฉื่อยชาธุระไม่ใช่และผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจจักเกิดไม่ได้เลยหากปัจเจกบุคคลไร้ซึ่งจิตสาธารณะ
ด้วยการขับเคลื่อนสังคมใช่ชี้ขาดความสำเร็จอยู่กับนักกิจกรรมผู้ให้ใจเต็มร้อยกับขบวนการทางสังคมนั้นๆ เท่านั้น แต่ต้องได้รับการสนับสนุนกว้างขวางจากภาคส่วนสังคมอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชน นักวิชาการ ผู้ประกอบการธุรกิจ หรือประชาชนธรรมดา
เมื่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของสาธารณชนเป็นเป้าหมายหลักในการเคลื่อนไหว ขบวนการทางสังคมจึงต้องยืนหยัดกับจุดยืนอันชอบธรรมเพื่อช่วงชิงเสียงสนับสนุนจากสาธารณชนจนกระทั่งเกิด ‘สาธารณมติ’ (Public opinion) ที่เป็นเอกภาพกับเป้าหมายการเคลื่อนไหว โดยฟากมวลชนคนธรรมดาผู้เข้าร่วมขบวนก็ต้องสร้างความฮึกเหิมห้าวหาญเติมเต็มกำลังใจแก่พวกเขาด้วยการแปรเปลี่ยนการเคลื่อนไหวนั้นเป็นพันธกิจศักดิ์สิทธิ์
ขณะเดียวกันก็ต้องชี้ชัดให้ได้ว่าคุณูปการของการเคลื่อนไหวคืออะไร ด้วยท้ายสุดแล้วปัจเจกบุคคลที่เป็น ‘จิ๊กซอว์’ ของสาธารณชนจะยอมรับการเคลื่อนไหวทางสังคมหนึ่งๆ เพราะเขาเชื่อว่าคุณค่าความศรัทธากำลังถูกคุกคาม และเชื่อมั่นว่าการลุกขึ้นของตนเองจะธำรงรักษาหรือฟื้นคืนความแข็งแกร่งแก่ค่านิยมที่ผูกพันได้ โดยท่วงทำนองสนับสนุนขบวนการทางสังคมเช่นนี้จักแสดงผ่านศักยภาพและข้อจำกัดอันแตกต่างกันของแต่ละบุคคล ตั้งแต่เสียสละบริจาคเงินทองข้าวของจนถึงเข้าร่วมชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
สาธารณชนผู้สนับสนุนการเคลื่อนไหวจะเห็นอกเห็นใจ ยินดีจะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือกระทั่งพร้อมแบกรับค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือการเคลื่อนไหวให้ดำเนินต่อไปได้ ไม่เหมือนนักกิจกรรมที่การเคลื่อนไหวได้กลายเป็นอัตลักษณ์และส่วนหนึ่งในชีวิตไปแล้ว
การสนับสนุนลุ่มลึกกว้างขวางของสาธารณชนที่ก่อเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมในกลุ่มประชาชนธรรมดาที่ไม่ได้เป็นนักกิจกรรม (Non-Activist) จึงสำคัญยิ่งยวดต่อการบรรลุเป้าประสงค์ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เพียรสรรค์สร้างการเมืองสะอาดปราศจากทุจริตคอร์รัปชันนั้นต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนกลุ่มนี้มหาศาล
แม้นักกิจกรรมเอาการเอางานจะเป็นกลไกในโครงสร้างและกลจักรขับเคลื่อนขบวนการให้ก้าวหน้าทานทนแรงเสียดทานต่อต้านนานัปการได้ ทว่าถ้าขาดประชาชนธรรมดาจำนวนเพียงพอแล้วก็ยากคว้าชัยชนะ ยิ่งไร้การเสียสละ (Sacrifice) ของพวกเขาด้วยแล้วยิ่งลำบากยากมากหากจะถึงฝั่งฝันการบริหารจัดการบ้านเมืองมีธรรมาภิบาล (Good governance)
การเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองย่อมต้องการการเสียสละของประชาชนธรรมดา หาใช่ในปริมณฑลชีวิตทรัพย์สิน แต่เป็นขอบเขตของจิตใจที่ต้องก้าวข้ามความเห็นแก่ตัว สะดวกสบาย เอารัดเอาเปรียบ กอบโกย และทำทองไม่รู้ร้อน ธุระไม่ใช่
ในทางตรงข้ามถ้าปัจเจกบุคคลธรรมดาที่มีจิตสาธารณะหลอมรวมกันเป็นสาธารณชนแล้วสร้างเครือข่ายประชาสังคมโดยมีนักกิจกรรมเป็นหัวหอก เคลื่อนไหวในหมุดหมาย ‘ยุติธรรม’ ย่อมทรงพลานุภาพสามารถหักร้างสร้างการเปลี่ยนแปลงลึกซึ้งถึงรากแก้วได้ ไม่ต่างจากนโยบายสาธารณะที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีได้ถ้าประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดทุกขั้นตอนในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ไม่ใช่แค่ฐานคะแนน
การเสียสละที่เป็นส่วนหนึ่งของจิตสาธารณะในหมู่พลเมืองกระตือรือร้น (Active citizen) นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมการเมืองไทยได้ไม่ยาก หากทว่าวันนี้ยังไม่เกิดขึ้นจริงเพราะประชาชนธรรมดายังไม่เปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมตนเอง คงเป็นปัจเจกที่มีวิถีชีวิตเพื่อปัจเจก
ยิ่งเคยคุ้นกับการอยู่ใต้วัฒนธรรมอำนาจที่ผูกขาดโดยนักการเมืองและข้าราชการมาช้านาน การกระตือรือร้นเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ หาญกล้าตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจรัฐ หรือคัดค้านต้านนโยบายสาธารณะที่อยุติธรรมขาดวุฒิภาวะวิสัยทัศน์ของประชาชนธรรมดาย่อมยากจะเกิดขึ้น
ขบวนการทางสังคมจะประสบความสำเร็จเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองได้หรือไม่จึงขึ้นกับ ‘จิตสาธารณะแห่งสาธารณชน’ ว่าจะแข็งแกร่งเพียงใด ด้วยการเคลื่อนไหวทางสังคมเช่นนี้ไม่เหมือนกลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group) เพราะดำเนินอยู่บนมรรคาค่านิยม (Value) ความเชื่อ (Belief) และบรรทัดฐาน (Norm) ที่ผสานกันเป็นพันธะทางจิตใจปัจเจกบุคคล ถ้าสอดคล้องต้องกันก็จะไปกระตุ้นให้ประชาชนธรรมดาส่วนหนึ่งกระทำทางเดียวกันกับการเคลื่อนไหวนั้นๆ
บรรทัดฐานและหลักปฏิบัติที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง (Altruistic) ในปัจเจกบุคคลสำคัญกว่าบรรทัดฐานของสังคมในมิติการเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลงจักเกิดไม่ได้ในสังคมที่มีแบบแผนหนึ่งๆ ไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงครองอำนาจนำอยู่
สังคมการเมืองไทยไม่เปลี่ยนแปลงสักนิดถ้าปัจเจกบุคคลผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในการเลือกตั้งยังยึดถือค่านิยมรวยแล้วไม่โกงและเก่งแต่โกงยอมรับได้ ที่นำวิกฤตการณ์ยืดเยื้อมาเยือน
ทางกลับกันหากคนไทยในฐานะปัจเจกบุคคลเห็นพ้องต้องกันว่าค่านิยมคอร์รัปชันข้างต้นไม่น่าพิสมัยอีกต่อไป ผืนแผ่นดินไทยทั้งมวลจะปราศจากการคอร์รัปชันเชิงนโยบายท้ายสุดได้ ด้วยในขณะเดียวกันนั้นสามารถคัดสรรกลั่นกรองจนได้คนดีมีความซื่อสัตย์สุจริตขึ้นมาบริหารชาติบ้านเมืองผ่านกระบวนการเลือกตั้งได้
การเคลื่อนไหวทางสังคมจะบรรลุเป้าหมายใช่ชี้ขาดที่นักกิจกรรมเข้มแข็ง ยุทธวิธียุทธศาสตร์หลักแหลมชาญฉลาด ทว่าปัจเจกบุคลในฐานะพลเมืองผู้หมั่นรดน้ำพรวนดินจิตสาธารณะอยู่เสมอยังเป็นปัจจัยขาดหายไม่ได้ในการคำนวณสมการแห่งชัยชนะ เพราะประชาชนธรรมดาเท่านั้นที่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงประเทศอย่างยั่งยืนได้ในท้ายที่สุด.
โดยเฉพาะขบวนการทางสังคมของประชาชนธรรมดาที่ถูกรัฐไทยถากถางปรามาสมาตลอดว่าทำลายหลักการประชาธิปไตยที่เชื่อในความเป็นตัวแทนประชาชน (Representative) ของสถาบันหลักทางการเมือง แม้แท้จริงแล้วอำนาจอธิปไตยจักเป็นของปวงชนชาวไทย หาใช่วัตถุสิ่งของเคลื่อนย้ายช่วงชิงได้ผ่านคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ทั้งนี้ ประชาชนที่เข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมนอกจากจะตื่นตัวต่อประเด็นปัญหาต่างๆ ทางสังคมแล้ว ยังเปี่ยมด้วย ‘จิตสาธารณะ’ (Public Consciousness) ตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน รู้จักเอาใจใส่เป็นธุระ เข้าร่วมเรื่องราวส่วนรวมที่เป็นประโยชน์สุขต่อประเทศชาติ สำนึกและยึดมั่นระบบคุณธรรมจริยธรรมดีงามควบคู่กับละอายต่อความผิดบาป
นั่นทำให้ข้อเรียกร้องของขบวนการทางสังคมกว้างขวางกว่าประโยชน์คับแคบเฉพาะตนหรือช่วงชั้นสังกัดตนเอง เช่น พรรคการเมือง เพราะครอบคลุมแง่มุมวัฒนธรรม สังคม ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม แทนจะจำกัดวงอยู่แค่เศรษฐกิจและความสงบเรียบร้อยมั่นคงของประเทศชาติ
ถึงกระนั้นขบวนการทางสังคมที่เคลื่อนไหวใต้โครงสร้างวัฒนธรรมอำนาจนิยมแบบไทยก็ถูกมองเชิงลบโดยสาธารณชนผู้ถูกทำให้เซื่องสยบยอมอำนาจทางการแนวดิ่งของระบบราชการและพรรคการเมืองมาตลอด ท่าทีสนับสนุนแข็งขันของสาธารณชนต่อขบวนการทางสังคมจึงไม่ค่อยปรากฏเป็นรูปธรรมมากนักในสังคมไทย
หากห้วงหลังรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 เป็นต้นมา ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ทวีปริมาณและคุณภาพมากขึ้นทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเมืองหลวง ก็เริ่มดึงสาธารณชนให้หันมาสนใจใคร่เรียนรู้ข้อเรียกร้องต่างๆ มากขึ้น เคียงคู่กับขยายจิตสาธารณะสู่สาธารณชนบางส่วนได้
อย่างไรเสียเสียงสนับสนุนของสาธารณชน (Public Support) ที่เป็นหนึ่งในฐานทรัพยากรสำคัญสุดของการระดมพลเมืองเข้าร่วมขบวนการทางสังคมเพื่อฝ่าฟันขวากหนามวัฒนธรรมเฉื่อยชาธุระไม่ใช่และผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจจักเกิดไม่ได้เลยหากปัจเจกบุคคลไร้ซึ่งจิตสาธารณะ
ด้วยการขับเคลื่อนสังคมใช่ชี้ขาดความสำเร็จอยู่กับนักกิจกรรมผู้ให้ใจเต็มร้อยกับขบวนการทางสังคมนั้นๆ เท่านั้น แต่ต้องได้รับการสนับสนุนกว้างขวางจากภาคส่วนสังคมอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชน นักวิชาการ ผู้ประกอบการธุรกิจ หรือประชาชนธรรมดา
เมื่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของสาธารณชนเป็นเป้าหมายหลักในการเคลื่อนไหว ขบวนการทางสังคมจึงต้องยืนหยัดกับจุดยืนอันชอบธรรมเพื่อช่วงชิงเสียงสนับสนุนจากสาธารณชนจนกระทั่งเกิด ‘สาธารณมติ’ (Public opinion) ที่เป็นเอกภาพกับเป้าหมายการเคลื่อนไหว โดยฟากมวลชนคนธรรมดาผู้เข้าร่วมขบวนก็ต้องสร้างความฮึกเหิมห้าวหาญเติมเต็มกำลังใจแก่พวกเขาด้วยการแปรเปลี่ยนการเคลื่อนไหวนั้นเป็นพันธกิจศักดิ์สิทธิ์
ขณะเดียวกันก็ต้องชี้ชัดให้ได้ว่าคุณูปการของการเคลื่อนไหวคืออะไร ด้วยท้ายสุดแล้วปัจเจกบุคคลที่เป็น ‘จิ๊กซอว์’ ของสาธารณชนจะยอมรับการเคลื่อนไหวทางสังคมหนึ่งๆ เพราะเขาเชื่อว่าคุณค่าความศรัทธากำลังถูกคุกคาม และเชื่อมั่นว่าการลุกขึ้นของตนเองจะธำรงรักษาหรือฟื้นคืนความแข็งแกร่งแก่ค่านิยมที่ผูกพันได้ โดยท่วงทำนองสนับสนุนขบวนการทางสังคมเช่นนี้จักแสดงผ่านศักยภาพและข้อจำกัดอันแตกต่างกันของแต่ละบุคคล ตั้งแต่เสียสละบริจาคเงินทองข้าวของจนถึงเข้าร่วมชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
สาธารณชนผู้สนับสนุนการเคลื่อนไหวจะเห็นอกเห็นใจ ยินดีจะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือกระทั่งพร้อมแบกรับค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือการเคลื่อนไหวให้ดำเนินต่อไปได้ ไม่เหมือนนักกิจกรรมที่การเคลื่อนไหวได้กลายเป็นอัตลักษณ์และส่วนหนึ่งในชีวิตไปแล้ว
การสนับสนุนลุ่มลึกกว้างขวางของสาธารณชนที่ก่อเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมในกลุ่มประชาชนธรรมดาที่ไม่ได้เป็นนักกิจกรรม (Non-Activist) จึงสำคัญยิ่งยวดต่อการบรรลุเป้าประสงค์ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เพียรสรรค์สร้างการเมืองสะอาดปราศจากทุจริตคอร์รัปชันนั้นต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนกลุ่มนี้มหาศาล
แม้นักกิจกรรมเอาการเอางานจะเป็นกลไกในโครงสร้างและกลจักรขับเคลื่อนขบวนการให้ก้าวหน้าทานทนแรงเสียดทานต่อต้านนานัปการได้ ทว่าถ้าขาดประชาชนธรรมดาจำนวนเพียงพอแล้วก็ยากคว้าชัยชนะ ยิ่งไร้การเสียสละ (Sacrifice) ของพวกเขาด้วยแล้วยิ่งลำบากยากมากหากจะถึงฝั่งฝันการบริหารจัดการบ้านเมืองมีธรรมาภิบาล (Good governance)
การเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองย่อมต้องการการเสียสละของประชาชนธรรมดา หาใช่ในปริมณฑลชีวิตทรัพย์สิน แต่เป็นขอบเขตของจิตใจที่ต้องก้าวข้ามความเห็นแก่ตัว สะดวกสบาย เอารัดเอาเปรียบ กอบโกย และทำทองไม่รู้ร้อน ธุระไม่ใช่
ในทางตรงข้ามถ้าปัจเจกบุคคลธรรมดาที่มีจิตสาธารณะหลอมรวมกันเป็นสาธารณชนแล้วสร้างเครือข่ายประชาสังคมโดยมีนักกิจกรรมเป็นหัวหอก เคลื่อนไหวในหมุดหมาย ‘ยุติธรรม’ ย่อมทรงพลานุภาพสามารถหักร้างสร้างการเปลี่ยนแปลงลึกซึ้งถึงรากแก้วได้ ไม่ต่างจากนโยบายสาธารณะที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีได้ถ้าประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดทุกขั้นตอนในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ไม่ใช่แค่ฐานคะแนน
การเสียสละที่เป็นส่วนหนึ่งของจิตสาธารณะในหมู่พลเมืองกระตือรือร้น (Active citizen) นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมการเมืองไทยได้ไม่ยาก หากทว่าวันนี้ยังไม่เกิดขึ้นจริงเพราะประชาชนธรรมดายังไม่เปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมตนเอง คงเป็นปัจเจกที่มีวิถีชีวิตเพื่อปัจเจก
ยิ่งเคยคุ้นกับการอยู่ใต้วัฒนธรรมอำนาจที่ผูกขาดโดยนักการเมืองและข้าราชการมาช้านาน การกระตือรือร้นเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ หาญกล้าตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจรัฐ หรือคัดค้านต้านนโยบายสาธารณะที่อยุติธรรมขาดวุฒิภาวะวิสัยทัศน์ของประชาชนธรรมดาย่อมยากจะเกิดขึ้น
ขบวนการทางสังคมจะประสบความสำเร็จเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองได้หรือไม่จึงขึ้นกับ ‘จิตสาธารณะแห่งสาธารณชน’ ว่าจะแข็งแกร่งเพียงใด ด้วยการเคลื่อนไหวทางสังคมเช่นนี้ไม่เหมือนกลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group) เพราะดำเนินอยู่บนมรรคาค่านิยม (Value) ความเชื่อ (Belief) และบรรทัดฐาน (Norm) ที่ผสานกันเป็นพันธะทางจิตใจปัจเจกบุคคล ถ้าสอดคล้องต้องกันก็จะไปกระตุ้นให้ประชาชนธรรมดาส่วนหนึ่งกระทำทางเดียวกันกับการเคลื่อนไหวนั้นๆ
บรรทัดฐานและหลักปฏิบัติที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง (Altruistic) ในปัจเจกบุคคลสำคัญกว่าบรรทัดฐานของสังคมในมิติการเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลงจักเกิดไม่ได้ในสังคมที่มีแบบแผนหนึ่งๆ ไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงครองอำนาจนำอยู่
สังคมการเมืองไทยไม่เปลี่ยนแปลงสักนิดถ้าปัจเจกบุคคลผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในการเลือกตั้งยังยึดถือค่านิยมรวยแล้วไม่โกงและเก่งแต่โกงยอมรับได้ ที่นำวิกฤตการณ์ยืดเยื้อมาเยือน
ทางกลับกันหากคนไทยในฐานะปัจเจกบุคคลเห็นพ้องต้องกันว่าค่านิยมคอร์รัปชันข้างต้นไม่น่าพิสมัยอีกต่อไป ผืนแผ่นดินไทยทั้งมวลจะปราศจากการคอร์รัปชันเชิงนโยบายท้ายสุดได้ ด้วยในขณะเดียวกันนั้นสามารถคัดสรรกลั่นกรองจนได้คนดีมีความซื่อสัตย์สุจริตขึ้นมาบริหารชาติบ้านเมืองผ่านกระบวนการเลือกตั้งได้
การเคลื่อนไหวทางสังคมจะบรรลุเป้าหมายใช่ชี้ขาดที่นักกิจกรรมเข้มแข็ง ยุทธวิธียุทธศาสตร์หลักแหลมชาญฉลาด ทว่าปัจเจกบุคลในฐานะพลเมืองผู้หมั่นรดน้ำพรวนดินจิตสาธารณะอยู่เสมอยังเป็นปัจจัยขาดหายไม่ได้ในการคำนวณสมการแห่งชัยชนะ เพราะประชาชนธรรมดาเท่านั้นที่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงประเทศอย่างยั่งยืนได้ในท้ายที่สุด.