xs
xsm
sm
md
lg

ปรากฏการณ์ "ขนุนหล่น" .. ไต้ฝุ่นลูกใหญ่สไลด์โค้งลงใต้ไปเขมร อัศจรรย์แห่งธรรมชาติ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ศูนย์แจ้งเตือนไต้ฝุ่นของกองทัพเรือสหรัฐ จับเส้นทางของพายุโซนร้อนขนุน ที่พัฒนาขึ้นเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 ลงบนกูเกิ้ลเอิร์ธ ให้เห็นตำแหน่งที่ตั้งชัดๆ -- และ มองไปข้างหน้า จนถึงปลายทางสุดท้ายของพายุ ที่ชายแดนไทย-ลาว-กัมพูชา ในวันที่ 19 ต.ค. -- ซึ่งเป็นทิศทางตรงข้ามกับปลายทางดั้งเดิมที่ทุ่งไหหิน ใน สปป.ลาว ตามข้อมูลเมื่อ 24 ชั่วโมงก่อนหน้านี้ -- ไม่กี่วันมานี้มีหลายคนในเวียดนาม ช่วยกันสวดมนต์ภาวนา ให้มวลอากาศเย็นจากตอนเหนือ เคลื่อนตัวลงมาเร็วขึ้น เพื่อลดทอนความรุนแรงของพายุใหญ่ลูกนี้ การสวดมนต์ดูจะได้ผล. </b>

MGRออนไลน์ -- บางทีการสวดอ้อนวอนก็ได้ผลจริงๆ อีกไม่กี่วันข้างหน้า พายุโซนร้อน/ไต้ฝุ่นขนุน กำลังจะหักหัวลงทางทิศใต้ แบบเดียวกันกับรถยนต์สไลด์โค้ง โดยในวันเสาร์นี้ สำนักงานพยากรณ์อากาศชั้นนำแห่งต่างๆ ของ ต่างออกแผนภูมิพยากรณ์ ที่แสดงให้เห็นทิศทางทางการเคลื่อนตัวใหม่ของพายุ โดยไม่พุ่งตรงไปยังบริเวณภาคเหนือของลาว เช่นเมื่อ 24 ชั่วโมงก่อนหน้านี้ แต่เบนปลายทางไปใหม่ ยังรอยต่อระหว่างไทย ลาว กับกัมพูชาแทน ซึ่งเป็นทิศทางที่ตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิง นับเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ของธรรมชาติ

ถ้าหากเป็นไปตามข้อมูลพยากรณ์ในวันนี้ ในอีก 3-4 วันข้างหน้า ก็จะเป็นครั้งแรกในรอบ 10-11 ปี ที่จะได้เห็นไต้ฝุ่นจากทะเลจีนใต้ลูกหนึ่ง เปลี่ยนทิศ เปลี่ยนทางกระหันทัน ขณะพัดเข้าสู่อนุภูมิภาค นับตั้งแต่เดือน ธ.ค.2549 เมื่อ ไต้ฝุ่น "ทุเรียน" เบนหัวลงใต้ ทะลุเข้าสู่อ่าวไทย ภายใต้สภาพการณ์ การเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศแห่งฤดูกาล คล้ายกันนี้ -- ไม่เหมือนกันเสียเลยทีเดียว หากคล้ายกันมาก เนื่องจากเป็น "แพตเทิร์น" เดียวกัน คือ การเบี่ยงเบนทิศทางกระทันหันของพายุ

แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไสยศาสตร์ ที่เกิดขึ้นจากการใช้เวทย์มนต์คาถา หากสามารถอธิบายได้ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์

นายเลแทงฮาย ( Lê Thanh Hải) รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ในวันศุกร์ 14 ต.ค.นี้ว่า ในขณะนี้พายุโซนร้อนขนุน ยังอยู่ไกลจากชายฝั่งเวียดนามหลายร้อยกิโลเมตร ในทะเลจีนใต้ และ เคลื่อนตัวช้าลง ขณะทีปั่นความเร็วใกล้ศูนย์กลางขึ้นสู่ระดับพายุโซนร้อน ซึ่งหมายความว่าพายุมีมวลหนาแน่นมากขึ้น และ ช้าลงอีกเมื่อเพิ่มทวีความเร็วเป็นระดับไต้ฝุ่น และ เป็นสาเหตุที่ทำให้พายุลูกนี้มีอายุยืนยาวขึ้นอีก 2 วัน แทนที่จะสลายตัวไปในภาคกลางของลาว ในวันที่ 17 ต.ค. ตามข้อมูลเมื่อ 24 ชั่วโมงก่อนหน้านี้ -- แต่เรื่องก็ยังมีมากกว่านั้น

นายฮายกล่าวว่า ตั้งแต่วันอาทิตย์ 15 ต.ค. คือ วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป มวลอากาศเย็นจากตอนเหนือของภูมิภาค จะเคลื่อนลงมาแผ่ปกคุลมทั่วทั้งอาณาบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนอย่างช้าๆ ในขณะที่ไต้ฝุ่นขนุนกำลังมุ่งหน้าไปขึ้นฝั่ง ทางตอนเหนือของเกาะไหหลำ ในวันจันทร์ที่ 16 และ ในวันเดียวกัน มวลอากาศเย็นจะหนุนเนื่องกันลงมา หนาแน่นมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้จะทำให้ไต้ฝุ่นขนุนเริ่มอ่อนกำลังลง สู่ระดับพายุโซนร้อนอีกครั้งหนึ่ง หลังพัดผ่านเกาะไหหลำ -- พร้อมกับเริ่มเบนหัวลงในแนว ตะวันตกเฉียงใต้ แทนที่จะเป็นทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เช่นที่พยากรณ์กัน ตามข้อมูลก่อนหน้านี้

วันอังคาร 17 ต.ค. เมื่อมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกลุม ถึงอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ก็จะกดดันให้พายุขนุนอ่อนกำลังลงสู่ระดับดีเปรสชั่น ขณะพัดเข้าฝั่งภาคกลางตอนบนเวียดนาม ระหว่าง จ.เหงะอาน (Nghệ An) กับ จ.กว๋างบี่ง (Quảng Bình) และ ยังคงเคลื่อนตัวในแนวตะวันตกเฉียงใต้ต่อไป -- อันเป็นที่มาของแผนภูมิพยากรณ์ ที่ออกโดยสำนักพยากรณ์อากาศชั้นนำแห่งต่างๆ ในวันเสาร์นี้
.

ภาพเคลื่อนไหวแบบอะนิเมชั่นกิฟ (Animation GIF) โดยองก์การสมุทรศาสตร์และชั้นบรรยากาศของสหรัฐ ใช้ข้อมูลดาวเทียมฮิมาวาริ (Himawari) ดาวเทียมอุตุนิยมฯ ของญี่ปุ่น วันอาทิตย์ 15 ต.ค. ไต้ฝุ่นลูกใหญ่ ปั่นไอน้ำคละคลุ้งไปทั่วทั้งย่านแปซิฟิกตะวันตก.


.
ภาพเคลื่อนไหวแบบอะนิเมชั่นกิฟ (Animation GIF) ที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐ.

แผนภูมิของศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์กลางเวียดนาม เมื่อเวลา 23.00 น.วันศุกร์นี้ ได้หยุดเอาไว้เพียงแค่ 17 ต.ค. ขณะ "ดีเปรสชั่นขนุน" เตรียมจะขึ้นฝั่ง ในคืนวันเดียวกัน แต่แผนภูมิของอีกหลายสำนัก มองทะลุข้ามพรมแดนไปอีกสองวัน โดยชี้ปลายทางสุดท้าย ในตอนเช้าตรู่วันที่ 19 ต.ค. ที่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3 ประเทศเพื่อนบ้าน คือ แขวงจำปาสักของลาว กับ จ.อุบลราชธานี-ศรีสะเกษของไทย และ จ.พระวิหาร-สตึงแตร็งของกัมพูชา เมื่อ "ดีเปรสชั่นขนุน" สลายตัว กลายเป็นหย่อมความกดอากาศขนาดใหญ่ ที่แผ่ปกคลุมกว้างขวาง ทั่วทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย กับ สปป.ลาว ตั้งแต่ภาคกลางตอนบน ลงไปจนถึงใต้สุด และ ครอบคลุมกัมพูชาทั้งประเทศ

แต่เมื่อถึงวันนั้น มวลอากาศเย็นจากตอนเหนือ จะเป็นตัวกำหนดชีวิต ในช่วงสุดท้ายของพานุโซนร้อน/ไต้ฝุ่นขนุน

เมื่อศูนย์อุตุนิยมวิทยาฯ ในกรุงฮานอย ออกเตือนภัยจากพายุขนุนในวันแรก พร้อมแสดงแผนภูมิแสดงทิศทางการเคลื่อนตัว รวมทั้งแสดงขนาดอันใหญ่โตมหึมาของพายุ นักอุตุนิยมฯ ในเวียดนามคนหนึ่งกล่าวว่า มีทางเดียวที่จะหยุดยั้งความรุนแรงของพายุใหญ่ลูกนี้ได้ ก็คือช่วยกันภาวนา ขอให้มวลอากาศเย็นจากตอนเหนือ เคลื่อนตัวลงมาแผ่ปกคลุมทั่วอนุภูมิภาค ให้เร็วขึ้น "ภายในวันสองวันข้างหน้านี้"

การภาวนาของเขาได้ผล -- พายุลูกใหญ่กำลังจะเบนหัวลงใต้ ซึ่งไม่มีอะไรจะเป็นข่าวดียิ่งไปกว่านี้อีก สำหรับเวียดนาม ขณะที่หลายจังหวัด ตั้งแต่ภาคกลางตอนบน ขึ้นไปจนถึงตอนเหนือสุดของประเทศ กำลังเร่งเยียวยา ราษฎรนับแสนครอบครัว ที่บ้านถูกพายถูกพายุพัดทำลายเสียหาย เมื่อดีเปรสชั่้นหมายเลข 23 ชึ้นฝั่ง ในแถบ จ.ห่าตี๋ง (Hà Tĩnh) และเหงะอาน ตอนเช้าวันอังคาร 10 ต.ค. ที่ผ่านมา ดีเปรสชั่นลูกนี้ยังส่งอิทธิพล ทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ -- หนักเกินคาด จนทำให้เขื่อนใหญ่อันดับสองของประเทศ ต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ระบายน้ำออกอย่างเร่่งด่วน โดยมีเวลาแจ้งล่วงหน้าเพียง 2 ขั่วโมงเท่านั้น

การเร่งระบายระบายน้ำออกจากเขื่อนหว่าบี่ง (Hòa Bình) ในจังหวัดเชื่อเดียวกัน ที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือกรุงฮานอย ระหว่างคืนวันอังคาร จนถึงเช้าวันพุธ 11 ต.ค. สร้างความเสียหายสุดคณานับ มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้กว่า 20 คน และ การสัญจรบนทางหลวงสายหลัก จาก จ.เดียนเบียน และ เซินลา ไปยังกรุงฮานอย ยังทำไม่ได้มาจนถึงวันศุกร์นี้่

ทางการเวียดนามประกาศเมื่อวันศุกร์ว่า มีผู้เสียชีวิตที่เกิดจากสาเหตุเกี่ยวกับพายุและอุทกภัยในช่วงไม่กี่วันมานี้ อย่างน้อย 54 คน อีก 39 คนสูญหาย ตัวเลขใหม่ในวันเสาร์นี้เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เมื่อพบศพผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น รวมทั้งศพของช่างภาพและผู้สื่อข่าว สำนักข่าวเวียดนามคนหนึ่ง ที่ถูกกระแสน้ำพัดหายไป พร้อมกับสะพาน ขณะยืนภ่ายภาพกระแสน้ำ ที่กำลังไหลเชี่ยวกราก ใน จ.เอียนบ๊าย (Yên Bái) แต่ตัวเลขที่ไม่เป็นทางการ โดยสื่อหลายสำนักระบุว่า อาจจะมีผู้เสียชีวิต และสูญหายมากกว่า 100 คน
.
<br><FONT color=#00003>แผนภูมิโดยสำนัก TSR ในกรุงลอนดอน ร่วมฟันธงเกี่ยวกับการเปลี่ยนทิศทางของพายุลูกนี้ ตั้งแต่ 00.00 น. 14 ต.ค. นั่นคือ เวลา 07.00 น.วันเดียวกันในซีกโลกนี้. </b>
2
<br><FONT color=#00003>แผนภูมิพยากรณ์โดยกรมอุตุนิยมวิทยา และ อุทกศาสตร์เวียดนาม เมื่อเวลา 23.00 น. วันศุกร์ แสดงการเริ่มเหวี่ยงลงแนวตะวันตกเฉียงใต้ แต่หยุดการพยากรณ์เอาไว้แค่วันที่ 17 ราวกับจะรอดูผลของการสวดมนต์ภาวนา อีกวันหรือสองวัน -- อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าอุตุนิยมฯ เวียดนามอธิบายชัดเจน ถึงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงนี้.  </b>
3
<br><FONT color=#00003>คงจำกันได้ -- นี่คือ แผนภูมิของศูนย์ร่วมแจ้งไต้ฝุ่น ทร.สหรัฐ ตามข้อมูลเมื่อ 24 ชั่วโมงก่อน ปลายทางของพายุขนุน อยู่ที่ทุ่งไหหิน สปป.ลาว (โปรดชมภาพต่อไป..) </b>
4
<br><FONT color=#00003>และ.. นี่คือ แผนภูมิใหม่ตอนเช้าวันศุกร์นี้ ตามข้อมูลใหม่ล่าสุด พายุโซนร้อน/ไต้ฝุ่นขนุน หักหัวลงใต้ ด้วยอิทธิพลของมวลอากาศเย็น จากทางเหนือ ที่จะเคลื่อนลงมาตามฤดูกาล และ แผ่คลุมอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงอย่างหนาแน่น ในอีก 4-5 วันข้างหน้า ช่วยตะเพิดพายุลงไปทางเขมร.</b>
5
<br><FONT color=#00003>แอผนภูมิโดย TSR อีกชิ้นหนึ่ง แสดงให้ขอบเขตอิทธิพล ของพายุโซนร้อน/ไต้ฝุ่นขนุน ตลอดช่วงเวลา 4-5 วันข้างหน้านี้ -- แต่ก็จะต้องจับตา บทบาทของตัวแปรใหม่ คือ มวลอากาศเย็นที่กำลังเคลื่อนลงมากดดัน.  </b>
6
<br><FONT color=#00003>ปรากฏการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นกับพายุขนุนขนุน อีกไม่กี่วันข้างหน้า ทำให้ต้องนึกถึงไต้ฝุ่นทุเรียน ในเดือน ธ.ค.2549 ที่เราเคยรายงานเอาไว้ -- นี่คือ เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม ที่เดินทางยาวไกล และ หักเหทิศทางด้วยอิทธิพลจากมวลอากาศเย็นจากตอนเหนือ เช่นเดียวกัน -- ไต้ฝุ่นทุเรียนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 100 คนในฟิลิปปินส์ อีกกว่า 100 คน ในเวียดนาม.  </b>
7
เวียดนามมีประสบการณ์ "ไล่จับพายุ" มากกว่าใครๆ ในอนุภูมิภาค ทั้งได้รับรู้เกี่ยวกับอิทธิพลของธรรมชาติ และ ถูกทำลายล้างจากธรรมชาติ มากกว่า หนักหนาสาหัสกว่า ประเทศเพื่อนบ้านอื่นใดทั้งหมดในย่านนี้

ในเดือน ธ.ค.2549 ไต้ฝุ่น"ทุเรียน" ไต้ฝุ่นระดับ 5 หรือ "ซูเปอร์ไต้ฝุ่น" ที่ไม่ได้เกิดบ่อยๆ ในย่านนี้ เดินทางไกลจากหมู่เกาะมาเรียนาส์ พัดเข้าฟิลิปปินส์ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 100 คน ก่อนจะข้ามทะเลจีนใต้ มุ่งหน้าสู่ชายฝั่งภาคกลางเวียดนาม แต่แล้วก็ถูกมวลอากาศเย็นจากตอนเหนือ เคลื่อนลงไปดักหน้า กดดันให้ทุเรียน "หล่น" ลงใต้ ทะลุเข้าอ่าวไทย ข้ามไปสิ้นฤทธิ์ในทะเลอันดามัน นับเป็นการเดินทางที่ยาวไกลมาก จนกระทั่งนักอุตุนิยมวิทยาหลายคนในย่านนี้ ยกให้ไต้ฝุ่นทุเรียนเป็น "เพอร์เฟ็กท์ สตอร์ม"

มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกกว่า 100 คน เมื่อทุเรียนพัดผ่าน เขตที่ทราบปากแม่น้ำโขงเวียดนาม จึงทำให้ถูกถอดชื่อ ออกจากสารระบบ ของชื่อพายุเขตร้อน ในย่านแปซิฟิกตะวันตก และ ชื่อ "ทุเรียน" ไม่มีโอกาสได้หมุนเวียนใช้ต่อๆ มา -- ซึ่งก็ไม่ต่างกับพายุรุ่นพี่ รุ่นน้อง อีกหลายลูก ที่มีผลงานการทำลายล้างสูง ในช่วงกว่า 10 ปีมานี้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการ "ลงโทษ"

จากประสบการณ์ของเวียดนามในยุคใหม่ พายุหลายลูกเริ่ม แสดงให้เห็นเคลื่อนตัวที่แปลกออกไป ทำให้เห็นแพตเทิร์นใหม่ๆ เป็นระยะๆ -- โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ พายุเกือบทุกลูก พัดเข้าฝั่งในแถบภาคกลางตอนบน แทนที่จะเป็นภาคเหนือหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นในช่วง 5-10 ปีก่อน ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ นอกจากนั้นพายุที่เกิดในปลายปี มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น และ เคลื่อนตัวในองศา หรือ ลิปดาที่ต่ำลงไป -- พัดผ่านหมู่เกาะสแปร็ตลีย์ (เจื่องซา) มากกว่า พัดเข้าหมู่เกาะพาราเซล (หว่างซา) ที่อยู่เหนือขึ้นไป ในแนวเดียวกันกับไต้ฝุ่นขนุน หรือ อีก 2-3 ลูกก่อนหน้านี้

สภาพภูมิอากาศโลกได้เปลี่ยนไป และ เริ่มจัดกฎเกณฑ์ใหม่ให้แก่พายุ.
กำลังโหลดความคิดเห็น