หลายวันมานี้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่หลังจากที่ประชาชนคนไทยได้ทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทำให้ประชาชนหลายคนเกิดความเศร้าหมอง หดหู่เป็นอย่างมาก ทั้งนี้อาจส่งผลให้เกิดความเครียด หรือปัญหาด้านสุขภาพจิตตามมาได้ ซึ่งการเฝ้าระวังและให้ความช่วยเหลือทางด้านสุขภาพจิตควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพกาย จะทำให้สามารถปรับตัวเผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น และหากบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ก็อาจจะเกิดผลเสียต่อตนเอง และครอบครัวด้วย
ใครบ้างที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง
- ผู้ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตอยู่แล้ว คือ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีโรคซึมเศร้าโรควิตกกังวล หรือโรคทางจิตเวชอื่นๆ ซึ่งอยู่ระหว่างการรักษาโดยรับประทานยาและหรือร่วมกับการทำจิตสังคมบำบัด จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำให้ได้รับการประเมินจากจิตแพทย์ผู้ดูแล
- ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยง คือ ผู้ที่มีโรคประจำตัวทางกาย มีภาวะเครียดสูงจากเหตุการณ์อื่นๆ อยู่ก่อนแล้ว การได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคร้ายแรง ปัญหาด้านครอบครัว การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจเป็นการซ้ำเติมให้ความทุกข์ที่มีอยู่ก่อนแล้วรุนแรงมากยิ่งขึ้น อันอาจนำไปสู่ความรู้สึกท้อแท้ หมดหวังและรู้สึกไม่มีทางออก ผู้อยู่ในภาวะเสี่ยงเหล่านี้ควรได้รับการแนะนำให้รู้ว่าการให้บริการให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นและช่วยให้เขาเหล่านี้ใช้ศักยภาพของตนเพื่อเผชิญกับเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ผู้ที่มีสภาพจิตเป็นปกติ บุคคลในกลุ่มนี้มีความรู้สึกกระตือรือร้นและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง เต็มไปด้วยพลัง ชีวิตชีวาและความหวังว่าสถานการณ์จะต้องดีขึ้น ยังสามารถจัดการการดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่น ทั้งด้านการงาน ครอบครัว แม้จะต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรค บ่อยครั้ง ที่บุคคลเหล่านี้จะกลายเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น หรืออาจผันตัวเองไปเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือชุมชน
วิธีการดูแลรักษา
เน้นการปฐมพยาบาลทางใจ ด้วยวิธีการ 3L หลักการก็คือ ให้มองหา รับฟัง ช่วยเหลือและส่งต่อ
มองหา - การตรวจค้าหาคนที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
รับฟัง - ตัวเราเองต้องมีสติ รับฟังอย่างตั้งใจ ใช้ภาษากาย เช่นสบตา จับมือ โอบกอด เพื่อให้ผู้สูญเสียบอกเล่าความรู้สึก และคลายความทุกข์ใจ แล้วก็ให้ให้อารมณ์สงบลง
ช่วยเหลือและส่งต่อ - การให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นพื้นฐาน ถ้าดูแลเบื้องต้นแล้วยังไม่ดีขึ้น ยังควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ โศกเศร้ารุนแรง ก็ให้ส่งต่อตามความเหมาะสม ในทุกที่รถพยาบาลหรือหน่วยพยาบาลต่างๆ ในพื้นที่ถ้าเป็นเขตสาธารณะสุขก็จะมีระบบการส่งต่อ
ส่วนสุดท้ายที่จะทำได้ก็คือ พยายามเชื่อมโยงให้ผู้ป่วยได้พบกับบุคคลในครอบครัว หรือชุมชน เพราะคนในครอบครัวจะเป็นคนที่ดูแลผู้ป่วยได้อย่างดีที่สุด
ข่าวโดย อภิษฎา แพภิรมย์รัตน์
ข้อมูลประกอบ
https://www.youtube.com/watch?v=aQ2LZs5H6E8
http://www.thaifamilylink.net/web/node/77
ใครบ้างที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง
- ผู้ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตอยู่แล้ว คือ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีโรคซึมเศร้าโรควิตกกังวล หรือโรคทางจิตเวชอื่นๆ ซึ่งอยู่ระหว่างการรักษาโดยรับประทานยาและหรือร่วมกับการทำจิตสังคมบำบัด จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำให้ได้รับการประเมินจากจิตแพทย์ผู้ดูแล
- ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยง คือ ผู้ที่มีโรคประจำตัวทางกาย มีภาวะเครียดสูงจากเหตุการณ์อื่นๆ อยู่ก่อนแล้ว การได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคร้ายแรง ปัญหาด้านครอบครัว การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจเป็นการซ้ำเติมให้ความทุกข์ที่มีอยู่ก่อนแล้วรุนแรงมากยิ่งขึ้น อันอาจนำไปสู่ความรู้สึกท้อแท้ หมดหวังและรู้สึกไม่มีทางออก ผู้อยู่ในภาวะเสี่ยงเหล่านี้ควรได้รับการแนะนำให้รู้ว่าการให้บริการให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นและช่วยให้เขาเหล่านี้ใช้ศักยภาพของตนเพื่อเผชิญกับเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ผู้ที่มีสภาพจิตเป็นปกติ บุคคลในกลุ่มนี้มีความรู้สึกกระตือรือร้นและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง เต็มไปด้วยพลัง ชีวิตชีวาและความหวังว่าสถานการณ์จะต้องดีขึ้น ยังสามารถจัดการการดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่น ทั้งด้านการงาน ครอบครัว แม้จะต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรค บ่อยครั้ง ที่บุคคลเหล่านี้จะกลายเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น หรืออาจผันตัวเองไปเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือชุมชน
วิธีการดูแลรักษา
เน้นการปฐมพยาบาลทางใจ ด้วยวิธีการ 3L หลักการก็คือ ให้มองหา รับฟัง ช่วยเหลือและส่งต่อ
มองหา - การตรวจค้าหาคนที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
รับฟัง - ตัวเราเองต้องมีสติ รับฟังอย่างตั้งใจ ใช้ภาษากาย เช่นสบตา จับมือ โอบกอด เพื่อให้ผู้สูญเสียบอกเล่าความรู้สึก และคลายความทุกข์ใจ แล้วก็ให้ให้อารมณ์สงบลง
ช่วยเหลือและส่งต่อ - การให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นพื้นฐาน ถ้าดูแลเบื้องต้นแล้วยังไม่ดีขึ้น ยังควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ โศกเศร้ารุนแรง ก็ให้ส่งต่อตามความเหมาะสม ในทุกที่รถพยาบาลหรือหน่วยพยาบาลต่างๆ ในพื้นที่ถ้าเป็นเขตสาธารณะสุขก็จะมีระบบการส่งต่อ
ส่วนสุดท้ายที่จะทำได้ก็คือ พยายามเชื่อมโยงให้ผู้ป่วยได้พบกับบุคคลในครอบครัว หรือชุมชน เพราะคนในครอบครัวจะเป็นคนที่ดูแลผู้ป่วยได้อย่างดีที่สุด
ข่าวโดย อภิษฎา แพภิรมย์รัตน์
ข้อมูลประกอบ
https://www.youtube.com/watch?v=aQ2LZs5H6E8
http://www.thaifamilylink.net/web/node/77