คอลัมน์ ธรรมชาติบำบัด โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
เซกชั่น Good Health & Well Being
นิตยสาร ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 14-20 พฤศจิกายน 2558
________________________
มีการส่งข้อมูลกันต่อๆ กันมาในโซเชียลมีเดียกันว่าไม่ควรดื่มน้ำเย็นหลังอาหาร เพราะจะทำให้ไขมันจับตัวเคลือบในล้ำไส้นำไปสู่โรคมะเร็งบ้าง และจะยังทำให้ไขมันไปจับหัวใจจนเส้นเลือดตีบตายได้นั้นถือเป็นข้อมูลที่ปราศจากหลักฐานหรือการอ้างอิงงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้เลย
แต่ถ้ามาดูเรื่องงานวิจัยกับเรื่องการดื่มน้ำนั้นกลับมีความน่าสนใจอยู่หลายประเด็น ดังนี้
เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 วารสารวิจัยทางการแทพย์ชื่อ Journal Clinical and Diagnostic Research ในหัวข้อ Effect of "Water Induced Thermogenesis" on Body Weight, Body Mass Index and Body Composition of Overweight Subjects. โดย Vinu A. Vij และ Anjali S. Joshi ได้ทำการวิจัยเพื่อประเมินว่าการดื่มน้ำมากๆ จะส่งผลทำให้เร่งการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และมีผลทำให้ไขมันที่สะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้หรือไม่ โดยเฉพาะในกลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนักเกินหรือไม่
วิธีการคือศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิง 50 คนที่มีน้ำหนักเกิน มาดื่มน้ำในปริมาณ 500 มิลลิลิตรก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงทั้ง 3 มื้อต่อวัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผลปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างมีน้ำหนักลดลง ดัชนีมวลกลายลดลง โครงสร้างทางกายภาพที่เป็นเนื้อเยื่อไขมันก็ลดลง งานวิจัยที่ว่านี้แสดงให้เห็นว่าการดื่มน้ำให้ได้ปริมาณ 1.5 ลิตรต่อวัน อาจจะช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญของร่างกายให้เพิ่มขึ้นได้ หรือในความเป็นจริงก็อาจจะเป็นเพราะดื่มน้ำมากจนอิ่ม แล้วกินอาหารได้น้อยลงก็ได้เช่นกัน
มาถึงในประเด็นถัดมาถึงการดื่มน้ำร้อนกับน้ำเย็น จะให้ผลดีแตกต่างกันอย่างไร ดูเหมือนว่างานวิจัยที่ปรากฏอยู่ในห้องสมุดทางการแพทย์ของสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (Pub Med) พบเรื่องน้ำร้อนและน้ำเย็นอยู่ 2 ประเด็นที่น่าสนใจ คือ
1.ผลของการใช้อุณหภูมิของน้ำกับการช่วยเรื่องการกลืน เป็นอย่างไร?
2.ถ้าเราสูญเสียน้ำและเกลือแร่ เช่น การออกกำลังกาย การดื่มน้ำในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน จะให้ผลเป็นเช่นไร?
เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 วารสารทางการแพทย์ชื่อ Journal of Neurogastroenterology and Motility ได้ตีพิมพ์ผลงานการศึกษาในหัวข้อ Hot Water Swallows May Improve Symptoms in Patients With Achalasia โดย Moo In Park ซึ่งได้สนใจในผู้ป่วยที่เป็นโรคกลืนอาหารลำบาก อันเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร ซึ่งอาการของโรคกลืนลำบากนั้น ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน น้ำหนักลด และเจ็บหน้าอกจะสามารถทำให้อาการดีขึ้นด้วยการดื่มกลืนน้ำร้อนหรือไม่?
ความจริงแล้ว ภาวะกลืนลำบากอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น โรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมอง ฯลฯ
การศึกษาในครั้งนี้ได้กล่าวถึงการดื่มกลืนน้ำเย็นอาจจะทำให้เกิดภาวะกลืนลำบากหรือเจ็บหน้าอกในกลุ่มผู้ป่วยบางรายที่หลอดเลือดอาหารมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ ในทางตรงกันข้าม การดื่มกลืนน้ำร้อนอาจจะช่วยพัฒนาอาการของหลอดอาหารให้ดีขึ้น และในความเป็นจริงก็มีผู้ป่วยซึ่งมีประสบการณ์การเคลื่อนตัวของหลอดอาหารผิดปกตินั้นมีแนวโน้มจะมีอาการดีขึ้นหลังจากการดื่มน้ำร้อน
ผลการศึกษาดังที่กล่าวมาข้างต้นได้อ้างอิงงานวิจัยทางการแพทย์ 7 ชิ้น ได้สรุปว่าจากผลการศึกษาจากประสบการณ์ทางการแพทย์และผลการศึกษาในกลุ่มเล็กระบุถึงประโยชน์ของผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากในการกลืนอาหารร้อนหรืออุ่น
พ.ศ.2556 งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ชื่อ The effect of water of temperature and voluntary drinking on the post rehyration sweating. ซึ่งโยได้นำกลุ่มตัวอย่างมาออกกำลังกายในห้องควบคุมที่ร้อนและชื้น เพื่อให้เสียเหงื่อมาก หลังจากนั้นจึงให้ดื่มน้ำในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ได้แก่ 5 องศาเซลเซียส 16 องศาเซลเซียส 26 องศาเซลเซียส และ 58 องศาเซลเซียส ในช่วงเวลา 4 วันที่แยกออกจากกัน ผลปรากฏว่าน้ำอุณหภูมิที่ 16 องศาเซลเซียสกลับเป็นอุณภูมิที่เหมาะสมที่สุดสำหรับนักกีฬาที่สูญเสียเกลือแร่
สรุปจากงานวิจัยข้างต้นน้ำอุณหภูมิร้อนหรือเย็นต่างมีประโยชน์ไม่เหมือนกัน น้ำร้อนหรืออุ่นมีประโยชน์ที่จะช่วยประสิทธิภาพในการกลืนให้ดีขึ้น ในขณะที่น้ำอุณหภูมิเย็นประมาณ 16 องศาเซลเซียส กลับเหมาะสมสำหรับนักกีฬา
เซกชั่น Good Health & Well Being
นิตยสาร ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 14-20 พฤศจิกายน 2558
________________________
มีการส่งข้อมูลกันต่อๆ กันมาในโซเชียลมีเดียกันว่าไม่ควรดื่มน้ำเย็นหลังอาหาร เพราะจะทำให้ไขมันจับตัวเคลือบในล้ำไส้นำไปสู่โรคมะเร็งบ้าง และจะยังทำให้ไขมันไปจับหัวใจจนเส้นเลือดตีบตายได้นั้นถือเป็นข้อมูลที่ปราศจากหลักฐานหรือการอ้างอิงงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้เลย
แต่ถ้ามาดูเรื่องงานวิจัยกับเรื่องการดื่มน้ำนั้นกลับมีความน่าสนใจอยู่หลายประเด็น ดังนี้
เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 วารสารวิจัยทางการแทพย์ชื่อ Journal Clinical and Diagnostic Research ในหัวข้อ Effect of "Water Induced Thermogenesis" on Body Weight, Body Mass Index and Body Composition of Overweight Subjects. โดย Vinu A. Vij และ Anjali S. Joshi ได้ทำการวิจัยเพื่อประเมินว่าการดื่มน้ำมากๆ จะส่งผลทำให้เร่งการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และมีผลทำให้ไขมันที่สะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้หรือไม่ โดยเฉพาะในกลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนักเกินหรือไม่
วิธีการคือศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิง 50 คนที่มีน้ำหนักเกิน มาดื่มน้ำในปริมาณ 500 มิลลิลิตรก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงทั้ง 3 มื้อต่อวัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผลปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างมีน้ำหนักลดลง ดัชนีมวลกลายลดลง โครงสร้างทางกายภาพที่เป็นเนื้อเยื่อไขมันก็ลดลง งานวิจัยที่ว่านี้แสดงให้เห็นว่าการดื่มน้ำให้ได้ปริมาณ 1.5 ลิตรต่อวัน อาจจะช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญของร่างกายให้เพิ่มขึ้นได้ หรือในความเป็นจริงก็อาจจะเป็นเพราะดื่มน้ำมากจนอิ่ม แล้วกินอาหารได้น้อยลงก็ได้เช่นกัน
มาถึงในประเด็นถัดมาถึงการดื่มน้ำร้อนกับน้ำเย็น จะให้ผลดีแตกต่างกันอย่างไร ดูเหมือนว่างานวิจัยที่ปรากฏอยู่ในห้องสมุดทางการแพทย์ของสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (Pub Med) พบเรื่องน้ำร้อนและน้ำเย็นอยู่ 2 ประเด็นที่น่าสนใจ คือ
1.ผลของการใช้อุณหภูมิของน้ำกับการช่วยเรื่องการกลืน เป็นอย่างไร?
2.ถ้าเราสูญเสียน้ำและเกลือแร่ เช่น การออกกำลังกาย การดื่มน้ำในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน จะให้ผลเป็นเช่นไร?
เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 วารสารทางการแพทย์ชื่อ Journal of Neurogastroenterology and Motility ได้ตีพิมพ์ผลงานการศึกษาในหัวข้อ Hot Water Swallows May Improve Symptoms in Patients With Achalasia โดย Moo In Park ซึ่งได้สนใจในผู้ป่วยที่เป็นโรคกลืนอาหารลำบาก อันเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร ซึ่งอาการของโรคกลืนลำบากนั้น ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน น้ำหนักลด และเจ็บหน้าอกจะสามารถทำให้อาการดีขึ้นด้วยการดื่มกลืนน้ำร้อนหรือไม่?
ความจริงแล้ว ภาวะกลืนลำบากอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น โรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมอง ฯลฯ
การศึกษาในครั้งนี้ได้กล่าวถึงการดื่มกลืนน้ำเย็นอาจจะทำให้เกิดภาวะกลืนลำบากหรือเจ็บหน้าอกในกลุ่มผู้ป่วยบางรายที่หลอดเลือดอาหารมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ ในทางตรงกันข้าม การดื่มกลืนน้ำร้อนอาจจะช่วยพัฒนาอาการของหลอดอาหารให้ดีขึ้น และในความเป็นจริงก็มีผู้ป่วยซึ่งมีประสบการณ์การเคลื่อนตัวของหลอดอาหารผิดปกตินั้นมีแนวโน้มจะมีอาการดีขึ้นหลังจากการดื่มน้ำร้อน
ผลการศึกษาดังที่กล่าวมาข้างต้นได้อ้างอิงงานวิจัยทางการแพทย์ 7 ชิ้น ได้สรุปว่าจากผลการศึกษาจากประสบการณ์ทางการแพทย์และผลการศึกษาในกลุ่มเล็กระบุถึงประโยชน์ของผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากในการกลืนอาหารร้อนหรืออุ่น
พ.ศ.2556 งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ชื่อ The effect of water of temperature and voluntary drinking on the post rehyration sweating. ซึ่งโยได้นำกลุ่มตัวอย่างมาออกกำลังกายในห้องควบคุมที่ร้อนและชื้น เพื่อให้เสียเหงื่อมาก หลังจากนั้นจึงให้ดื่มน้ำในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ได้แก่ 5 องศาเซลเซียส 16 องศาเซลเซียส 26 องศาเซลเซียส และ 58 องศาเซลเซียส ในช่วงเวลา 4 วันที่แยกออกจากกัน ผลปรากฏว่าน้ำอุณหภูมิที่ 16 องศาเซลเซียสกลับเป็นอุณภูมิที่เหมาะสมที่สุดสำหรับนักกีฬาที่สูญเสียเกลือแร่
สรุปจากงานวิจัยข้างต้นน้ำอุณหภูมิร้อนหรือเย็นต่างมีประโยชน์ไม่เหมือนกัน น้ำร้อนหรืออุ่นมีประโยชน์ที่จะช่วยประสิทธิภาพในการกลืนให้ดีขึ้น ในขณะที่น้ำอุณหภูมิเย็นประมาณ 16 องศาเซลเซียส กลับเหมาะสมสำหรับนักกีฬา