หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ กระทั่งหลอดเลือดหัวใจตีบ...

เชื่อว่าเราๆ ท่านๆ คงจะเคยได้ยินเกี่ยวกับอาการโรคข้างต้นกันมาบ้าง นอกจากจะกลายเป็นโรคที่มักพบเกิดกับคนรอบตัวได้ง่ายๆ มิหนำซ้ำยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในบ้านเราเรียกได้ว่าเป็นโรคอันดับที่ 3 ของการเสียชีวิตอย่างไม่รู้ตัว และปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดขึ้นก็ล้วนแล้วแต่มาจากพฤติกรรมของตัวเราเองแทบทั้งสิ้น
โหมงานหนัก นอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ ปาร์ตี้ โดยเฉพาะความ "เครียด" ในสภาวะรอบตัวที่ต้องพบเจอ และการใช้ชีวิตเร่งรีบไม่เว้นกระทั่งอาหารการกิน เหล่านี้ล้วนเป็นตัวกระตุ้นนำไปสู่ความอ่อนแอของหัวใจ ไม่ใช่ความแก่ชราอย่างเก่าก่อน นั้นก็เพราะหัวใจทำงานหนักกว่าปกติเท่าตัว
คำถามที่น่าคิดก็คือ แล้วเราจะรับมืออย่างไร ใช้ชีวิตอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ไปทำลายหัวใจของเรา ขั้นแรกเราควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ เนื่องจากสาเหตุเกิดขึ้นที่ตัวเราเป็นผู้กระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักจนเสื่อมและบกพร่อง อันนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ

ออกกำลังกาย 30 นาทีเป็นอย่างน้อย
เริ่มจากง่ายๆ โดยการเดินออกกำลัง 30 นาทีทุกวัน จะมีผลช่วยลดโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันได้ร้อยละ 30 หรือวิ่งจ๊อกกิ้ง ปั่นจักรยาน กระโดดเชือกเบาๆ ก้าวข้ามโรคหัวใจ เพราะร่างกายได้ขยับและหัวใจได้ทำงาน อาจจะพักทุกๆ 10 นาที แต่อย่างน้อย ควรออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เนื่องจากเมื่อเราออกกำลังกาย หัวใจจะสูบฉีดเลือดและออกซิเจนเพิ่มขึ้น 4-6 เท่า โดยเป็นการเพิ่มเนื่องจากหัวใจเต้นเร็วขึ้นได้ 2-4 เท่า และจากการบีบตัวเพิ่มขึ้นของหัวใจซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-50 เปอร์เซ็นต์

ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส
เพราะความเครียดเป็นบ่อเกิดของโรคทำให้ระบบร่างกายแปรปรวน เมื่อใดที่เครียด ระบบไขมันดี (HDL) ในเลือดต่ำ ไขมันร้าย (LDL) สูง เส้นเลือดจะหดตัวก็จะมีผลถึงเรื่องของไขมันในเลือดที่เปลี่ยนไป ทำให้โอกาสเกิดการอุดตันในเส้นเลือดเพิ่มมากขึ้น หรือพอเครียดแล้วน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้หลอดเลือดเสียเร็วขึ้น
ดังนั้น การหัวเราะจึงช่วยผ่อนคลายการอุดตันของเส้นหลอดเลือดแดง เพราะเป็นการลดฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดที่อยู่ในร่างกายของ ลดสารอนุมูลอิสระที่จะเกิดการอักเสบในถุงเนื้อเยื้อรวมทั้งเส้นเลือด และเมื่อระดับของฮอร์โมนลดลง ความดันโลหิตต่ำลง ภูมิคุ้มกันร่างกายก็จะถูกเสริมสร้างตามปกติ ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายสะสม เสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ

รับประทานอาหารอย่างฉลาดเลือก
เพราะปัจจัยที่บ่งชี้ที่สำคัญที่สุดคือ "การกิน" อย่างคำที่ว่า "เรากินอะไร มักได้อย่างนั้น"
ดังนั้นการรับประทานให้เหมาะสม เลือกอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ ไขมันต่ำ และเกลือต่ำ เพราะเกลือมีโซเดียมที่ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง จะทำให้มีเกิดการสะสมไขมันในหลอดเลือด ควรเลือกใช้ไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ทานผักใบเขียวที่มีไฟเบอร์และผลไม้ให้มากกว่าเนื้อสัตว์
กินถั่วเปลือกแข็งวันละ 1 กำมือ จำพวกถั่ว อัลมอนด์ เฮเซลนัท เพื่อเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) อาหารมันๆ หลีกเลี่ยงไขมันประเภททรานส์ (Transfat) ให้น้อยที่สุด เนื่องจากกรดไขมันอิ่มตัวไม่ควรทานเกินไม่วันละ 20 กรัมเพื่อควบคุมน้ำหนักและปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดเลว LDL ในเลือดที่จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย และที่สำคัญควรดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอเพื่อช่วยปรับสมดุลของระบบทำงานของร่างกายและหัวใจ

งดปัจจัยเลี่ยงที่เกิดจากพฤติกรรมไม่ดี
ปาร์ตี้ดึก สูบบุหรี่จัด ถือเป็นพฤติกรรมยอดฮิตที่เรามักทำ กล่าวคือในบุหรี่นั้นมีสารนิโคตินที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจอย่างที่เราๆ รู้กันอยู่ นอกจากนี้ยังมีสารอีกกว่า 4,000 ชนิดเวลาเผ่าไหม้ซึ่งจะส่งผลต่อระบบต่างๆ ในกาย
ส่วนนอนผิดเวลาหรือคนที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนที่นอนปกติเพียงพอ เพราะในยามที่เรานอนหลับ ร่างกายจะช่วยควบคุมการทำงานของอินซูลิน ซึ่งหากเราได้พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะเกิดภาวะดื้ออินซูลิน นอกจากนี้ยังส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอีกด้วย

เบียร์ ไวน์แดง วันละนิดช่วยบำรุงหัวใจ
ย้ำว่าแค่ปริมาณแก้เดียวจึงจะได้ผลดี นั้นก็เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ล้วนมีผลต่อเสียร่างกายเช่นกันถ้าดื่มเกินร่างกายต้องการ ตัวอย่างเช่นเบียร์หากดื่มมากๆ จะทำให้ทั้งความดันโลหิตและระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจและอาจส่งผลให้เกิดหัวใจล้มเหลวได้ แต่ก็ยังมีแร่ธาตุที่สำคัญอย่างวิตามินบี 6 ที่ต่อต้านการสะสมของกรดโฮโมซิสเตอีน (Homocysteine) อันเป็นหนึ่งในตัวก่อให้เกิดโรคหัวใจ
ส่วนไวน์แดงนั้นก็เช่นกัน หากดื่มในปริมาณที่กำหนดสารอนุมูลอิสระที่อยู่ในไวน์แดงจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ และยังช่วยปกป้องหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย

เซ็กส์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
คิดเป็นจำนวนโอกาสช่วยลดเป็นเปอร์เซ็นต์ตัวเลขที่ไม่น้อย สำหรับการมีเซ็กส์สัปดาห์ละ 2 ครั้งถึง 45 เปอร์เซ็นต์ แถมยังช่วยลดความดันโลหิตและทำให้ร่างกายผ่อนคลาย ความเครียด ทำให้ไม่อ้วน แถมยังช่วยเพิ่มไขมันชนิดดี

ตรวจเช็คสุขภาพตัวเองปีละครั้ง และควรรู้ประวัติโรคหัวใจของคนในครอบครัว
ท้ายที่สุดเพราะแม้จะป้องกันหรือลดอัตราเสี่ยงอย่างไร เราก็ไม่ควรมองข้ามขั้นตอนนี้จนโรคกำเริบก่อนถึงรู้ตัว เพราะนอกจากช่วยให้เราตรวจเช็คและรักษาอาการได้อย่างทันท่วงทีแล้ว การที่เรารู้ประวัติคนในครอบครัวยังช่วยให้ลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เนื่องจากจะช่วยวางแผนดูแลสุขภาพให้แข็งแรงได้ทัน และรวมไปถึงการเสียชีวิตที่อาจจะเกิดจากโรคกำเริบฉับพลันอีกด้วย
ข้อมูลบางส่วนจาก พญ.อรินทยา พรหมินธิกุล แพทย์จากโรงพยาบาลมหาราช จ.เชียงใหม่ และ www.siamhealth.net , www.secret4healthyheart.blogspot.com
เชื่อว่าเราๆ ท่านๆ คงจะเคยได้ยินเกี่ยวกับอาการโรคข้างต้นกันมาบ้าง นอกจากจะกลายเป็นโรคที่มักพบเกิดกับคนรอบตัวได้ง่ายๆ มิหนำซ้ำยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในบ้านเราเรียกได้ว่าเป็นโรคอันดับที่ 3 ของการเสียชีวิตอย่างไม่รู้ตัว และปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดขึ้นก็ล้วนแล้วแต่มาจากพฤติกรรมของตัวเราเองแทบทั้งสิ้น
โหมงานหนัก นอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ ปาร์ตี้ โดยเฉพาะความ "เครียด" ในสภาวะรอบตัวที่ต้องพบเจอ และการใช้ชีวิตเร่งรีบไม่เว้นกระทั่งอาหารการกิน เหล่านี้ล้วนเป็นตัวกระตุ้นนำไปสู่ความอ่อนแอของหัวใจ ไม่ใช่ความแก่ชราอย่างเก่าก่อน นั้นก็เพราะหัวใจทำงานหนักกว่าปกติเท่าตัว
คำถามที่น่าคิดก็คือ แล้วเราจะรับมืออย่างไร ใช้ชีวิตอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ไปทำลายหัวใจของเรา ขั้นแรกเราควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ เนื่องจากสาเหตุเกิดขึ้นที่ตัวเราเป็นผู้กระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักจนเสื่อมและบกพร่อง อันนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
ออกกำลังกาย 30 นาทีเป็นอย่างน้อย
เริ่มจากง่ายๆ โดยการเดินออกกำลัง 30 นาทีทุกวัน จะมีผลช่วยลดโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันได้ร้อยละ 30 หรือวิ่งจ๊อกกิ้ง ปั่นจักรยาน กระโดดเชือกเบาๆ ก้าวข้ามโรคหัวใจ เพราะร่างกายได้ขยับและหัวใจได้ทำงาน อาจจะพักทุกๆ 10 นาที แต่อย่างน้อย ควรออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เนื่องจากเมื่อเราออกกำลังกาย หัวใจจะสูบฉีดเลือดและออกซิเจนเพิ่มขึ้น 4-6 เท่า โดยเป็นการเพิ่มเนื่องจากหัวใจเต้นเร็วขึ้นได้ 2-4 เท่า และจากการบีบตัวเพิ่มขึ้นของหัวใจซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-50 เปอร์เซ็นต์
ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส
เพราะความเครียดเป็นบ่อเกิดของโรคทำให้ระบบร่างกายแปรปรวน เมื่อใดที่เครียด ระบบไขมันดี (HDL) ในเลือดต่ำ ไขมันร้าย (LDL) สูง เส้นเลือดจะหดตัวก็จะมีผลถึงเรื่องของไขมันในเลือดที่เปลี่ยนไป ทำให้โอกาสเกิดการอุดตันในเส้นเลือดเพิ่มมากขึ้น หรือพอเครียดแล้วน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้หลอดเลือดเสียเร็วขึ้น
ดังนั้น การหัวเราะจึงช่วยผ่อนคลายการอุดตันของเส้นหลอดเลือดแดง เพราะเป็นการลดฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดที่อยู่ในร่างกายของ ลดสารอนุมูลอิสระที่จะเกิดการอักเสบในถุงเนื้อเยื้อรวมทั้งเส้นเลือด และเมื่อระดับของฮอร์โมนลดลง ความดันโลหิตต่ำลง ภูมิคุ้มกันร่างกายก็จะถูกเสริมสร้างตามปกติ ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายสะสม เสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ
รับประทานอาหารอย่างฉลาดเลือก
เพราะปัจจัยที่บ่งชี้ที่สำคัญที่สุดคือ "การกิน" อย่างคำที่ว่า "เรากินอะไร มักได้อย่างนั้น"
ดังนั้นการรับประทานให้เหมาะสม เลือกอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ ไขมันต่ำ และเกลือต่ำ เพราะเกลือมีโซเดียมที่ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง จะทำให้มีเกิดการสะสมไขมันในหลอดเลือด ควรเลือกใช้ไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ทานผักใบเขียวที่มีไฟเบอร์และผลไม้ให้มากกว่าเนื้อสัตว์
กินถั่วเปลือกแข็งวันละ 1 กำมือ จำพวกถั่ว อัลมอนด์ เฮเซลนัท เพื่อเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) อาหารมันๆ หลีกเลี่ยงไขมันประเภททรานส์ (Transfat) ให้น้อยที่สุด เนื่องจากกรดไขมันอิ่มตัวไม่ควรทานเกินไม่วันละ 20 กรัมเพื่อควบคุมน้ำหนักและปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดเลว LDL ในเลือดที่จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย และที่สำคัญควรดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอเพื่อช่วยปรับสมดุลของระบบทำงานของร่างกายและหัวใจ
งดปัจจัยเลี่ยงที่เกิดจากพฤติกรรมไม่ดี
ปาร์ตี้ดึก สูบบุหรี่จัด ถือเป็นพฤติกรรมยอดฮิตที่เรามักทำ กล่าวคือในบุหรี่นั้นมีสารนิโคตินที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจอย่างที่เราๆ รู้กันอยู่ นอกจากนี้ยังมีสารอีกกว่า 4,000 ชนิดเวลาเผ่าไหม้ซึ่งจะส่งผลต่อระบบต่างๆ ในกาย
ส่วนนอนผิดเวลาหรือคนที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนที่นอนปกติเพียงพอ เพราะในยามที่เรานอนหลับ ร่างกายจะช่วยควบคุมการทำงานของอินซูลิน ซึ่งหากเราได้พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะเกิดภาวะดื้ออินซูลิน นอกจากนี้ยังส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอีกด้วย
เบียร์ ไวน์แดง วันละนิดช่วยบำรุงหัวใจ
ย้ำว่าแค่ปริมาณแก้เดียวจึงจะได้ผลดี นั้นก็เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ล้วนมีผลต่อเสียร่างกายเช่นกันถ้าดื่มเกินร่างกายต้องการ ตัวอย่างเช่นเบียร์หากดื่มมากๆ จะทำให้ทั้งความดันโลหิตและระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจและอาจส่งผลให้เกิดหัวใจล้มเหลวได้ แต่ก็ยังมีแร่ธาตุที่สำคัญอย่างวิตามินบี 6 ที่ต่อต้านการสะสมของกรดโฮโมซิสเตอีน (Homocysteine) อันเป็นหนึ่งในตัวก่อให้เกิดโรคหัวใจ
ส่วนไวน์แดงนั้นก็เช่นกัน หากดื่มในปริมาณที่กำหนดสารอนุมูลอิสระที่อยู่ในไวน์แดงจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ และยังช่วยปกป้องหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย
เซ็กส์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
คิดเป็นจำนวนโอกาสช่วยลดเป็นเปอร์เซ็นต์ตัวเลขที่ไม่น้อย สำหรับการมีเซ็กส์สัปดาห์ละ 2 ครั้งถึง 45 เปอร์เซ็นต์ แถมยังช่วยลดความดันโลหิตและทำให้ร่างกายผ่อนคลาย ความเครียด ทำให้ไม่อ้วน แถมยังช่วยเพิ่มไขมันชนิดดี
ตรวจเช็คสุขภาพตัวเองปีละครั้ง และควรรู้ประวัติโรคหัวใจของคนในครอบครัว
ท้ายที่สุดเพราะแม้จะป้องกันหรือลดอัตราเสี่ยงอย่างไร เราก็ไม่ควรมองข้ามขั้นตอนนี้จนโรคกำเริบก่อนถึงรู้ตัว เพราะนอกจากช่วยให้เราตรวจเช็คและรักษาอาการได้อย่างทันท่วงทีแล้ว การที่เรารู้ประวัติคนในครอบครัวยังช่วยให้ลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เนื่องจากจะช่วยวางแผนดูแลสุขภาพให้แข็งแรงได้ทัน และรวมไปถึงการเสียชีวิตที่อาจจะเกิดจากโรคกำเริบฉับพลันอีกด้วย
ข้อมูลบางส่วนจาก พญ.อรินทยา พรหมินธิกุล แพทย์จากโรงพยาบาลมหาราช จ.เชียงใหม่ และ www.siamhealth.net , www.secret4healthyheart.blogspot.com