โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
มหาราชาศรีมัตตะตรีภูวนราชเมาลิวรมะเทวะ (ประมาณพ.ศ.1829-1859) เป็นพระนามของกษัตริย์ราชวงศ์เมาลิองค์ต่อมา กรอมเชื่อว่าพระเจ้าเขตร์นครได้เข้ายึดธรรมศรายาในปีพ.ศ.1829 หลังจากทำสงครามระยะยาวมา 11 ปีพระองค์จึงได้แต่งตั้งมหาราชาตรีภูวนราชขึ้นเป็นมหาราชาแห่งธรรมศรายาโดยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรสิงหส่าหรีจากจารึกปาดัง โรโค (พ.ศ.1829) กล่าวถึงโดยพระเจ้าเขตร์นคร (มหาราชาธิราช ศรี เขตร์นคร วิกรมธรรมโมตุงคะเทวะ) แห่งสิงหส่าหรีได้พระราชทานเทวรูปพระโพธิสัตว์อโมฆบาศโลเกศวรมากับทูตชื่อวิศวกุมารเป็นของขวัญให้กับพสกนิกรของอาณาจักรมลายูในสุมาตราไปประดิษฐานที่ธรรมศรายาซึ่งเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำสุไหงลางสาตได้เคารพบูชาแต่เบอร์กกับ เดอ คาสปาริสเชื่อว่าเทวรูปนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพในการชักชวนให้มหาราชาศรีมัตตะตรีภูวนราชเมาลิวรมะเทวะขับไล่ศัตรูคือกุบไลข่านที่ยกกองทัพเรือมาบุก แต่ตำแหน่งมหาราชาธิราชของพระเจ้าเขตร์นครใหญ่กว่าตำแหน่งมหาราชาของตรีภูวนราชแสดงว่าธรรมศรายายอมเป็นเมืองขึ้นของสิงหส่าหรี จารึกที่ค้นพบในบริเวณนี้ซึ่งมักจะระบุชื่อ ภูมิมลายูหรือสุวรรณภูมิ ชื่อมลายูบ่งบอกว่าอาณาจักรนี้สืบทอดมาจากเมืองมลายูที่ฑปุนดา หิยัม ศรีชยนาศปราบให้เข้าอยู่ในสมาพันธรัฐศรีวิชัยในปีพ.ศ.1226 และถือว่าธรรมศรายาเป็นผู้สืบทอดสมาพันธรัฐศรีวิชัย
ดังนั้นอิทธิพลของพระองค์จำกัดแค่ธรรมศรายาและเมืองรอบข้างไม่มีอำนาจเหนือแหลมมลายูและเกาะสุมาตราตอนเหนือ ในปีพ.ศ.1831 พระองค์ได้ก่อกบฏต่อสิงหส่าหรีจนพระเจ้าเขตร์นครส่งกองทัพเรือมาปราบในปีพ.ศ.1835 มาร์โค โปโล ได้เดินทางมาแวะที่เกาะสุมาตราพอดีและได้บันทึกเอาไว้ว่าสมาพันธรัฐศรีวิชัยที่เคยรุ่งเรืองตามที่ได้ยินมาได้แตกแยกเป็นอาณาจักรเล็กอาณาจักรน้อยและได้พบเห็นอาณาจักรมุสลิมทางเหนือของเกาะสุมาตราและในปีนี้เองกุบไลข่านได้นำกองทัพเรือเข้ารุกรานสิงหส่าหรี แต่พระเจ้าเขตร์นครถูกพวกกบฏเคดิรีปลงพระชนม์ก่อนที่กองทัพเรือมองโกลจะมาถึง เมื่อกองทัพเรือมองโกลมาถึงระเด่นวิชัยได้ร่วมมือกับพวกมองโกลปราบกบฏเคดิรีแล้วหักหลังพวกมองโกลและก่อตั้งอาณาจักรมัชปาหิตในปีพ.ศ.1836 ตามจารึกบาลาวี (พ.ศ.1848) ทำให้กองทัพเรือสิงหส่าหรีต้องยกกองทัพเรือกลับเกาะชวาหลังจากกองทัพเรือมองโกลถอยทัพไปได้ 10 วัน ทำให้ธรรมศรายาได้รับอิสรภาพแต่กองทัพเรือสิงหส่าหรีได้นำตัวเจ้าหญิงดาราจิงกาและดาราเปตักพระราชธิดาของพระองค์กลับไปด้วย ซึ่งเจ้าหญิงดาราจิงกาเป็นพระมารดาของมหาราชาอาทิตยวรมันในเวลาต่อมาส่วนเจ้าหญิงดาราเปตักเป็นพระมารดาของพระเจ้าชัยนครแห่งมัชปาหิตในปีเดียวกันจักรพรรดิหยวนซื่อจู่ (กุบไลข่าน) ส่งทูตมาที่ธรรมศรายาเพื่อให้พระองค์ส่งลูกหลานที่เป็นเชื้อพระวงศ์ไปต้าตู (ปักกิ่งในปัจจุบัน) เพราะหลังจากราชวงศ์หยวนปกครองจีนแล้วก็ยังใช้ระบบศุลกากรทางทะเลอยู่มีพ่อค้าจีนออกไปค้าขายยังต่างประเทศเช่นเดียวกับราชวงศ์ซ่งแต่ก็ฟื้นฟูระบบบรรณาการโดยให้รัฐต่างชาติที่จะเข้ามาค้าขายต้องส่งบรรณาการและต้องส่งลูกหลานในราชวงศ์มาตัวประกันมาอยู่ที่ต้าตูซึ่งระบบตัวประกันจากดินแดนโพ้นทะเลนี้จีนไม่เคยทำมาก่อน พระองค์ได้ส่งทูตและสมาชิกราชวงศ์ไปเข้าเฝ้ากุบไลข่านในปีพ.ศ.1837 เพื่อขอให้จีนคุ้มครองธรรมศรายาที่เกาะสุมาตราจากการรุกรานจากนครศรีธรรมราชที่เป็นพันธมิตรกับสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหง
พงศาวดารหยวนสือ (元史) กล่าวว่าในปีพ.ศ.1838 จักรพรรดิหยวนเฉินจง (พ.ศ.1837-1850) ออกพระราชโองการคุ้มครองธรรมศรายาหรือมลายูจากพันธมิตรนครศรีธรรมราช-สุโขทัยปีพ.ศ.1838 และหนังสือประวัติอี้เหยอิ้นชื่อ (Yi-Hei-In-Shi) บอกว่าทูตธรรมศรายาเดินทางกลับประเทศในปีพ.ศ.1837 กองทัพเรือศรีวิชัยได้ปะทะกับกองทัพเรือสุโขทัย-นครศรีธรรมราชจนอ่อนแอลง นอกจากนี้มีพงศาวดารหลายฉบับทางฝั่งมาเลเซียและอินโดนีเซียกล่าวว่าพันธมิตรสุโขทัยและนครศรีธรรมราชได้บุกหัวเมืองบนเกาะสุมาตรา เช่น สมุทรา-ปาไซซึ่งเป็นอาณาจักรอิสลาม พงศาวดารมลายูกล่าวว่าอวี ดีชู (Awi Dishu) นำกองทัพพันธมิตรสุโขทัยและนครศรีธรรมราชของชารุนนุวี (Shahru’n-muwi) โจมตีสมุทราแล้วจับตัวสุลต่านปาไซและไซดี อาลี กิตายุดดิน (Saidi’Ali Ghitayu’d-din) ได้นำตัวกลับมา แต่พงศาวดารปาไซ (Hikayat Raja-Raja Pasai) กล่าวว่าตาลัก เซจัง (Talak Sejang)นำกอกองทัพเรือพันธมิตรสุโขทัยและนครศรีธรรมราชส่งเรือเล็กและใหญ่ 100 ลำบุกปาไซโดยบารัง ลักษมณา (Barang Laksamana) ตุน ราวัน เปอร์มาตัง (Tun Rawan Permatang) ตุน อาเรีย จอง (Tun Aria Jong) แม่ทัพปาไซ 3 คนยกทัพออกมาต่อสู้จนกระทั่งสุลต่านมาลิค อัล-มาห์มูด ยกทัพหลวงมาช่วย และสังหารตาลัก เซจังจนสามารถขับไล่กองทัพเรือพันธมิตรสุโขทัยและนครศรีธรรมราชออกไป มีการค้นพบป้ายหลุมศพสุลต่านมาลิค อัล-ซาลีร์ที่สิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ.1840 ที่สมุทราซึ่งอาจจะเป็นคนเดียวกับสุลต่านปาไซในพงศาวดารทั้ง 2 ฉบับเพราะห้วงเวลาใกล้เคียงกันซึ่งนับเป็นเวลาเกือบร้อยปีหลังจากป้ายหลุมศพของสุลต่านลามูรีที่สิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ.1745 สงครามระหว่างพันธมิตรสุโขทัยและนครศรีธรรมราชกับเมืองบนเกาะสุมาตราเช่น ศรีวิชัยและปาไซเป็นการแย่งชิงอิทธิพลในช่องแคบมะละกา ต่อมาพระองค์ส่งทูตไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิหยวนเฉินจง ในปีพ.ศ.1842 และพ.ศ.1844 โดยสมัครใจเพื่อยืนยันความเป็นเอกราช โดยทูตมีนามว่าธิวะการะ ศรีสมันตะ สตวรมัน และศรีวิศวกุมารและในปีพ.ศ.1842 พระองค์ยกกองทัพบุกหัวเมืองต่างในเกาะสุมาตราเหนือเพื่อฟื้นฟูอิทธิพลของสมาพันธรัฐศรีวิชัยแต่ล้มเหลวและต้าเต๋อหนานไห่ซื่อ (大德南海志) เมื่อพ.ศ.1847 ในสมัยราชวงศ์หยวนบอกว่าซัน-โฝ-ฉีเป็นประเทศมีหลายเมืองขึ้น
เอกสารอ้างอิง
ศ.ดร.ครองชัย หัตถา พ.ศ.2552 อาณาจักรลังกาสุกะ ประวัติศาสตร์ยุคต้นของชายแดนใต้. ปัตตานี: ภูริปริ๊นช๊อบ.
ศ.มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล พ.ศ.2535 ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ถึง พ.ศ.2000. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์.
Baker, Chris, and Pasuk Phongpaichit. 2017. History of Ayutthaya: Siam in Early Modern World. Cambridge: Cambridge University Press.
Colbert, Benjamin. 1997. The Travel of Marco Polo. Vol. Classics of world literature. Hertfordshire: Wordsworth.
Fukami Sumio 深見純生. 2004. "The Long 13th Century of Tambralinga: From Javaka to Siam." Memoir of the Research Department of the Toyo Bunko 62: 45-79.
Heng, Derek Thiam Soon. 2009. Sino-Malay Trade and Diplomacy: From Tenth through the Fourteenth Century. Singapore: ISEAS.
Miksic, John Norman. 2010. The A-Z of Ancient Southeast Asia. Lanham, Maryland: Scarecrow Press.
Miksic, John Norman. 2013. Singapore and the Silk Road of the Sea 1300-1800. Singapore: NUS Press.
Miksic, John Norman. 2015. "Kerinci and the Ancient History of Jambi." In A 14th Century Malay Code of Laws: The Nitisarasmuccaya, by Uli Kozok, 17-49. Singapore: ISEAS.
Mom Chao Chand Chirayu Rajani. 1976b. "Review Articles: Background to Srivijaya Story Part V (Conclusion)." Journal of the Siam Society 64 (2): 237-310.
Munro-Hay, Stuart. 2001. Nakhon Sri Thammarat: The Archeology, History and Legends of a Southern Thai Town. Banglok: White Lotus.
Ricklefs, Merle Calvin, Bounce Lockhart, Albert Lau, Portia Reyes, and Maitrii Aung-Thwin. 2010. A New History of Southeast Asia. New York: PalgraveMacmillan.
Thomas, Philips L. 1979. Thai Involvement in Pasai. Journal of the Siam Society 66 (1): 89-101.
มหาราชาศรีมัตตะตรีภูวนราชเมาลิวรมะเทวะ (ประมาณพ.ศ.1829-1859) เป็นพระนามของกษัตริย์ราชวงศ์เมาลิองค์ต่อมา กรอมเชื่อว่าพระเจ้าเขตร์นครได้เข้ายึดธรรมศรายาในปีพ.ศ.1829 หลังจากทำสงครามระยะยาวมา 11 ปีพระองค์จึงได้แต่งตั้งมหาราชาตรีภูวนราชขึ้นเป็นมหาราชาแห่งธรรมศรายาโดยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรสิงหส่าหรีจากจารึกปาดัง โรโค (พ.ศ.1829) กล่าวถึงโดยพระเจ้าเขตร์นคร (มหาราชาธิราช ศรี เขตร์นคร วิกรมธรรมโมตุงคะเทวะ) แห่งสิงหส่าหรีได้พระราชทานเทวรูปพระโพธิสัตว์อโมฆบาศโลเกศวรมากับทูตชื่อวิศวกุมารเป็นของขวัญให้กับพสกนิกรของอาณาจักรมลายูในสุมาตราไปประดิษฐานที่ธรรมศรายาซึ่งเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำสุไหงลางสาตได้เคารพบูชาแต่เบอร์กกับ เดอ คาสปาริสเชื่อว่าเทวรูปนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพในการชักชวนให้มหาราชาศรีมัตตะตรีภูวนราชเมาลิวรมะเทวะขับไล่ศัตรูคือกุบไลข่านที่ยกกองทัพเรือมาบุก แต่ตำแหน่งมหาราชาธิราชของพระเจ้าเขตร์นครใหญ่กว่าตำแหน่งมหาราชาของตรีภูวนราชแสดงว่าธรรมศรายายอมเป็นเมืองขึ้นของสิงหส่าหรี จารึกที่ค้นพบในบริเวณนี้ซึ่งมักจะระบุชื่อ ภูมิมลายูหรือสุวรรณภูมิ ชื่อมลายูบ่งบอกว่าอาณาจักรนี้สืบทอดมาจากเมืองมลายูที่ฑปุนดา หิยัม ศรีชยนาศปราบให้เข้าอยู่ในสมาพันธรัฐศรีวิชัยในปีพ.ศ.1226 และถือว่าธรรมศรายาเป็นผู้สืบทอดสมาพันธรัฐศรีวิชัย
ดังนั้นอิทธิพลของพระองค์จำกัดแค่ธรรมศรายาและเมืองรอบข้างไม่มีอำนาจเหนือแหลมมลายูและเกาะสุมาตราตอนเหนือ ในปีพ.ศ.1831 พระองค์ได้ก่อกบฏต่อสิงหส่าหรีจนพระเจ้าเขตร์นครส่งกองทัพเรือมาปราบในปีพ.ศ.1835 มาร์โค โปโล ได้เดินทางมาแวะที่เกาะสุมาตราพอดีและได้บันทึกเอาไว้ว่าสมาพันธรัฐศรีวิชัยที่เคยรุ่งเรืองตามที่ได้ยินมาได้แตกแยกเป็นอาณาจักรเล็กอาณาจักรน้อยและได้พบเห็นอาณาจักรมุสลิมทางเหนือของเกาะสุมาตราและในปีนี้เองกุบไลข่านได้นำกองทัพเรือเข้ารุกรานสิงหส่าหรี แต่พระเจ้าเขตร์นครถูกพวกกบฏเคดิรีปลงพระชนม์ก่อนที่กองทัพเรือมองโกลจะมาถึง เมื่อกองทัพเรือมองโกลมาถึงระเด่นวิชัยได้ร่วมมือกับพวกมองโกลปราบกบฏเคดิรีแล้วหักหลังพวกมองโกลและก่อตั้งอาณาจักรมัชปาหิตในปีพ.ศ.1836 ตามจารึกบาลาวี (พ.ศ.1848) ทำให้กองทัพเรือสิงหส่าหรีต้องยกกองทัพเรือกลับเกาะชวาหลังจากกองทัพเรือมองโกลถอยทัพไปได้ 10 วัน ทำให้ธรรมศรายาได้รับอิสรภาพแต่กองทัพเรือสิงหส่าหรีได้นำตัวเจ้าหญิงดาราจิงกาและดาราเปตักพระราชธิดาของพระองค์กลับไปด้วย ซึ่งเจ้าหญิงดาราจิงกาเป็นพระมารดาของมหาราชาอาทิตยวรมันในเวลาต่อมาส่วนเจ้าหญิงดาราเปตักเป็นพระมารดาของพระเจ้าชัยนครแห่งมัชปาหิตในปีเดียวกันจักรพรรดิหยวนซื่อจู่ (กุบไลข่าน) ส่งทูตมาที่ธรรมศรายาเพื่อให้พระองค์ส่งลูกหลานที่เป็นเชื้อพระวงศ์ไปต้าตู (ปักกิ่งในปัจจุบัน) เพราะหลังจากราชวงศ์หยวนปกครองจีนแล้วก็ยังใช้ระบบศุลกากรทางทะเลอยู่มีพ่อค้าจีนออกไปค้าขายยังต่างประเทศเช่นเดียวกับราชวงศ์ซ่งแต่ก็ฟื้นฟูระบบบรรณาการโดยให้รัฐต่างชาติที่จะเข้ามาค้าขายต้องส่งบรรณาการและต้องส่งลูกหลานในราชวงศ์มาตัวประกันมาอยู่ที่ต้าตูซึ่งระบบตัวประกันจากดินแดนโพ้นทะเลนี้จีนไม่เคยทำมาก่อน พระองค์ได้ส่งทูตและสมาชิกราชวงศ์ไปเข้าเฝ้ากุบไลข่านในปีพ.ศ.1837 เพื่อขอให้จีนคุ้มครองธรรมศรายาที่เกาะสุมาตราจากการรุกรานจากนครศรีธรรมราชที่เป็นพันธมิตรกับสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหง
พงศาวดารหยวนสือ (元史) กล่าวว่าในปีพ.ศ.1838 จักรพรรดิหยวนเฉินจง (พ.ศ.1837-1850) ออกพระราชโองการคุ้มครองธรรมศรายาหรือมลายูจากพันธมิตรนครศรีธรรมราช-สุโขทัยปีพ.ศ.1838 และหนังสือประวัติอี้เหยอิ้นชื่อ (Yi-Hei-In-Shi) บอกว่าทูตธรรมศรายาเดินทางกลับประเทศในปีพ.ศ.1837 กองทัพเรือศรีวิชัยได้ปะทะกับกองทัพเรือสุโขทัย-นครศรีธรรมราชจนอ่อนแอลง นอกจากนี้มีพงศาวดารหลายฉบับทางฝั่งมาเลเซียและอินโดนีเซียกล่าวว่าพันธมิตรสุโขทัยและนครศรีธรรมราชได้บุกหัวเมืองบนเกาะสุมาตรา เช่น สมุทรา-ปาไซซึ่งเป็นอาณาจักรอิสลาม พงศาวดารมลายูกล่าวว่าอวี ดีชู (Awi Dishu) นำกองทัพพันธมิตรสุโขทัยและนครศรีธรรมราชของชารุนนุวี (Shahru’n-muwi) โจมตีสมุทราแล้วจับตัวสุลต่านปาไซและไซดี อาลี กิตายุดดิน (Saidi’Ali Ghitayu’d-din) ได้นำตัวกลับมา แต่พงศาวดารปาไซ (Hikayat Raja-Raja Pasai) กล่าวว่าตาลัก เซจัง (Talak Sejang)นำกอกองทัพเรือพันธมิตรสุโขทัยและนครศรีธรรมราชส่งเรือเล็กและใหญ่ 100 ลำบุกปาไซโดยบารัง ลักษมณา (Barang Laksamana) ตุน ราวัน เปอร์มาตัง (Tun Rawan Permatang) ตุน อาเรีย จอง (Tun Aria Jong) แม่ทัพปาไซ 3 คนยกทัพออกมาต่อสู้จนกระทั่งสุลต่านมาลิค อัล-มาห์มูด ยกทัพหลวงมาช่วย และสังหารตาลัก เซจังจนสามารถขับไล่กองทัพเรือพันธมิตรสุโขทัยและนครศรีธรรมราชออกไป มีการค้นพบป้ายหลุมศพสุลต่านมาลิค อัล-ซาลีร์ที่สิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ.1840 ที่สมุทราซึ่งอาจจะเป็นคนเดียวกับสุลต่านปาไซในพงศาวดารทั้ง 2 ฉบับเพราะห้วงเวลาใกล้เคียงกันซึ่งนับเป็นเวลาเกือบร้อยปีหลังจากป้ายหลุมศพของสุลต่านลามูรีที่สิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ.1745 สงครามระหว่างพันธมิตรสุโขทัยและนครศรีธรรมราชกับเมืองบนเกาะสุมาตราเช่น ศรีวิชัยและปาไซเป็นการแย่งชิงอิทธิพลในช่องแคบมะละกา ต่อมาพระองค์ส่งทูตไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิหยวนเฉินจง ในปีพ.ศ.1842 และพ.ศ.1844 โดยสมัครใจเพื่อยืนยันความเป็นเอกราช โดยทูตมีนามว่าธิวะการะ ศรีสมันตะ สตวรมัน และศรีวิศวกุมารและในปีพ.ศ.1842 พระองค์ยกกองทัพบุกหัวเมืองต่างในเกาะสุมาตราเหนือเพื่อฟื้นฟูอิทธิพลของสมาพันธรัฐศรีวิชัยแต่ล้มเหลวและต้าเต๋อหนานไห่ซื่อ (大德南海志) เมื่อพ.ศ.1847 ในสมัยราชวงศ์หยวนบอกว่าซัน-โฝ-ฉีเป็นประเทศมีหลายเมืองขึ้น
เอกสารอ้างอิง
ศ.ดร.ครองชัย หัตถา พ.ศ.2552 อาณาจักรลังกาสุกะ ประวัติศาสตร์ยุคต้นของชายแดนใต้. ปัตตานี: ภูริปริ๊นช๊อบ.
ศ.มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล พ.ศ.2535 ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ถึง พ.ศ.2000. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์.
Baker, Chris, and Pasuk Phongpaichit. 2017. History of Ayutthaya: Siam in Early Modern World. Cambridge: Cambridge University Press.
Colbert, Benjamin. 1997. The Travel of Marco Polo. Vol. Classics of world literature. Hertfordshire: Wordsworth.
Fukami Sumio 深見純生. 2004. "The Long 13th Century of Tambralinga: From Javaka to Siam." Memoir of the Research Department of the Toyo Bunko 62: 45-79.
Heng, Derek Thiam Soon. 2009. Sino-Malay Trade and Diplomacy: From Tenth through the Fourteenth Century. Singapore: ISEAS.
Miksic, John Norman. 2010. The A-Z of Ancient Southeast Asia. Lanham, Maryland: Scarecrow Press.
Miksic, John Norman. 2013. Singapore and the Silk Road of the Sea 1300-1800. Singapore: NUS Press.
Miksic, John Norman. 2015. "Kerinci and the Ancient History of Jambi." In A 14th Century Malay Code of Laws: The Nitisarasmuccaya, by Uli Kozok, 17-49. Singapore: ISEAS.
Mom Chao Chand Chirayu Rajani. 1976b. "Review Articles: Background to Srivijaya Story Part V (Conclusion)." Journal of the Siam Society 64 (2): 237-310.
Munro-Hay, Stuart. 2001. Nakhon Sri Thammarat: The Archeology, History and Legends of a Southern Thai Town. Banglok: White Lotus.
Ricklefs, Merle Calvin, Bounce Lockhart, Albert Lau, Portia Reyes, and Maitrii Aung-Thwin. 2010. A New History of Southeast Asia. New York: PalgraveMacmillan.
Thomas, Philips L. 1979. Thai Involvement in Pasai. Journal of the Siam Society 66 (1): 89-101.