โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
มหาราณีศรีคหุลุนนาน (ประมาณพ.ศ.1376-1393) หรือพระนางประโมทวรรธนีหรือศรีสัญชีวัน จากจารึกการังเต็งกะ (พ.ศ.1367) พระนางเป็นพระราชธิดาพระราชธิดาองค์โตของพระเจ้าสมรตุงคะ ได้อภิเษกสมรสกับราไคปิกะตัน (พ.ศ.1390-1398) พระโอรสของราไคกะรุง (พ.ศ.1372-1390) แห่งแห่งราชวงศ์สัญชัยแห่งอาณาจักรมะธะรัมในเกาะชวาที่นับถือพระศิวะและกลายเป็นมหาราณีศรีคหุลุนนานได้ขึ้นครองราชย์สมาพันธรัฐศรีวิชัยต่อจากพระเจ้าสมรตุงคะในฐานะผู้สำเร็จราชการของมหาราชาพาลบุตร พระอนุชาซึ่งยังทรงพระเยาว์ เชื่อกันว่าเพื่อเป็นการลดความบาดหมางทางการเมืองระหว่างราชวงศ์ไศเลนทร์ที่เป็นชาวพุทธกับราชวงศ์สัญชัยที่เป็นชาวฮินดู
ถ้าราชวงศ์สัญชัยเป็นสาขาของราชวงศ์ไศเลนทร์การอภิเษกสมรสในครั้งนี้เป็นแค่การสมรสในหมู่เครือญาติ พระนางเป็นผู้สร้างบรมพุทโธจนเสร็จและสร้างวัดพุทธศาสนาหลายแห่งในที่ราบปรัมบานัน เช่น วัดปาวน วัดเพลาสาน หล่อ วัดเพลาสานคิดุล และวัดสัญชีวนะ มีหลักจารึกหลายแห่งกล่าวถึงพระนาง เช่น จารึกกะรังเต็งกะหรือกายุมรูนกัน จารึกตรุย เทภูสัน และจารึกรูคัม จารึกกะรังเต็งกะหรือกายุมรูนกัน กล่าวว่าพระนางสร้างวัดพุทธให้พระบิดานามว่า “ธรรมะตุงคะ” ซึ่งอาจเป็นคน ๆ เดียวกับ “สมรตุงคะ” ในปีพ.ศ.1384 กว่างโจวกลายเป็นเมืองใหญ่มากทำให้การค้าระหว่างสมาพันธรัฐศรีวิชัยกับจีนสะดวกมากขึ้น อย่างไรก็ตามราไคปิกะตันช่วยพระนางสร้างวัดพุทธเพลาสาน หล่อและเพลาสาน คิดุลจากปีพ.ศ.1368-1393 เพราะจารึกหลายหลักในแหล่งโบราณคดีเพลาสานเหนือจารึกไว้ในช่วงเวลานี้ ตามพระนามของพระนางและพระสวามีปรากฏในจารึกสั้นลงปีพ.ศ.1393 พระนางได้อุทิศส่วนกุศลให้พระบิดาพระนามธรรมะศรีมหาราชาจากการสร้างวัดเพลาสาน ในจารึกสั้นๆจากวัดเพลาสาน หล่อ กล่าวว่ามีพระนาง พระสวามี ราไคกะรุง ดยาห์ รานู ราไควันวา กาลูห์ ราไคละยูวาตัง ดยาห์ มหารามระและเชื้อพระวงศ์องค์อื่นมาร่วมในพิธีก่อสร้างวัดเพลาสารซึ่งเป็นจันฑิสำคัญที่สุดท้ายที่สร้างโดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในเกาะชวา ในสมัยต่อมาสถานที่แห่งนี้แสดงถึงการบรรจบกันระหว่างสถาปัตยกรรม 2 แบบของราชวงศ์ไศเลนทร์และสัญชัย ถ้าราชวงศ์สัญชัยเป็นตระกูลฮินดูที่แตกมาจากราชวงศ์ไศเลนทร์ที่นับถือพุทธ ทั้ง 2 ราชวงศ์ดูเหมือนจะสร้างให้แตกต่างกันจนกระทั่งราไคปิกะตันขับไล่ราชวงศ์ไศเลนทร์ออกไป
จารึกตรุย เทภูสัน (พ.ศ.1385) ที่จันฑิเปตงกล่าวว่าถึง สิมะ หรือ ที่ดินที่ไม่เก็บภาษีเพื่อสร้างและบำรุงรักษา กามูลันชื่อ ภูมิสัมภาระ (บรมพุทโธ) กามูลันมาจากคำว่า มูลละ แปลว่า จุดเริ่มต้น สร้างเพื่อบูชาบรรพบุรุษ อาจหมายถึงบรรพบุรุษราชวงศ์ไศเลนทร์ที่อพยพมาปักหลักในเกาะชวาได้แล้ว เดอ คาสปาริสสันนิษฐานว่าภูมิสัมภาระพุทธาราซึ่งเป็นภาษาสันสกฤต แปลว่าภูเขาที่รวมการบำเพ็ญทศบารมีของพระโพธิสัตว์เป็นชื่อเดิมของบรมพุทโธ จารึกวันนัวเต็งกะที่ 3 กล่าวว่าราไคปิกะตันบริจาคให้วัดพุทธมหายานวันนัวเต็งกะในปีพ.ศ.1389 ในปีพ.ศ.1395 พระนางและราไคปิกะตันพระสวามีต้องการแยกอาณาจักรมะธะรัมออกจากสมาพันธรัฐศรีวิชัย จึงทำสงครามขับไล่มหาราชาพาลบุตรซึ่งเป็นพระอนุชาออกจากเกาะชวากลับไปปาเล็มบัง จารึกรูคัม (พ.ศ.1450) กล่าวถึงการฟื้นฟูหมู่บ้านที่ถูกภูเขาไฟถล่มโดยนินิ ฮาจี รักครันสัญชีวนะ และให้ชาวบ้านในหมู่บ้านรูคัมช่วยดูแลวัดวัดสัญชีวนะที่ลิมวุง พระนางอาจจะเป็นแบบให้ช่างปั้นรูปเจ้าแม่ทุรคาในวิหารปรัมบานันตามความเห็นของลาราจองกรังนักเล่านิทานชื่อดังชาวชวาในสมัยต่อมา
เอกสารอ้างอิง
De Casparis, Johannes Gijbertus. 1950. Prasasti I: Inscripties uit de Cailendra-tijd. Bandung: AC Nix.
Miksic, John Norman 2010. The A-Z of Ancient Southeast Asia. Lanham, Maryland: Scarecrow Press.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.
Mom Chao Chand Chirayu Rajani. 1974b. "Review Articles: Background to Srivijaya Story Part II." Journal of the Siam Society 62 (2): 285-324.
Zakharov, Anton O. 2012. The Shailendra Reconsidered. Singapore: ISEAS.
มหาราณีศรีคหุลุนนาน (ประมาณพ.ศ.1376-1393) หรือพระนางประโมทวรรธนีหรือศรีสัญชีวัน จากจารึกการังเต็งกะ (พ.ศ.1367) พระนางเป็นพระราชธิดาพระราชธิดาองค์โตของพระเจ้าสมรตุงคะ ได้อภิเษกสมรสกับราไคปิกะตัน (พ.ศ.1390-1398) พระโอรสของราไคกะรุง (พ.ศ.1372-1390) แห่งแห่งราชวงศ์สัญชัยแห่งอาณาจักรมะธะรัมในเกาะชวาที่นับถือพระศิวะและกลายเป็นมหาราณีศรีคหุลุนนานได้ขึ้นครองราชย์สมาพันธรัฐศรีวิชัยต่อจากพระเจ้าสมรตุงคะในฐานะผู้สำเร็จราชการของมหาราชาพาลบุตร พระอนุชาซึ่งยังทรงพระเยาว์ เชื่อกันว่าเพื่อเป็นการลดความบาดหมางทางการเมืองระหว่างราชวงศ์ไศเลนทร์ที่เป็นชาวพุทธกับราชวงศ์สัญชัยที่เป็นชาวฮินดู
ถ้าราชวงศ์สัญชัยเป็นสาขาของราชวงศ์ไศเลนทร์การอภิเษกสมรสในครั้งนี้เป็นแค่การสมรสในหมู่เครือญาติ พระนางเป็นผู้สร้างบรมพุทโธจนเสร็จและสร้างวัดพุทธศาสนาหลายแห่งในที่ราบปรัมบานัน เช่น วัดปาวน วัดเพลาสาน หล่อ วัดเพลาสานคิดุล และวัดสัญชีวนะ มีหลักจารึกหลายแห่งกล่าวถึงพระนาง เช่น จารึกกะรังเต็งกะหรือกายุมรูนกัน จารึกตรุย เทภูสัน และจารึกรูคัม จารึกกะรังเต็งกะหรือกายุมรูนกัน กล่าวว่าพระนางสร้างวัดพุทธให้พระบิดานามว่า “ธรรมะตุงคะ” ซึ่งอาจเป็นคน ๆ เดียวกับ “สมรตุงคะ” ในปีพ.ศ.1384 กว่างโจวกลายเป็นเมืองใหญ่มากทำให้การค้าระหว่างสมาพันธรัฐศรีวิชัยกับจีนสะดวกมากขึ้น อย่างไรก็ตามราไคปิกะตันช่วยพระนางสร้างวัดพุทธเพลาสาน หล่อและเพลาสาน คิดุลจากปีพ.ศ.1368-1393 เพราะจารึกหลายหลักในแหล่งโบราณคดีเพลาสานเหนือจารึกไว้ในช่วงเวลานี้ ตามพระนามของพระนางและพระสวามีปรากฏในจารึกสั้นลงปีพ.ศ.1393 พระนางได้อุทิศส่วนกุศลให้พระบิดาพระนามธรรมะศรีมหาราชาจากการสร้างวัดเพลาสาน ในจารึกสั้นๆจากวัดเพลาสาน หล่อ กล่าวว่ามีพระนาง พระสวามี ราไคกะรุง ดยาห์ รานู ราไควันวา กาลูห์ ราไคละยูวาตัง ดยาห์ มหารามระและเชื้อพระวงศ์องค์อื่นมาร่วมในพิธีก่อสร้างวัดเพลาสารซึ่งเป็นจันฑิสำคัญที่สุดท้ายที่สร้างโดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในเกาะชวา ในสมัยต่อมาสถานที่แห่งนี้แสดงถึงการบรรจบกันระหว่างสถาปัตยกรรม 2 แบบของราชวงศ์ไศเลนทร์และสัญชัย ถ้าราชวงศ์สัญชัยเป็นตระกูลฮินดูที่แตกมาจากราชวงศ์ไศเลนทร์ที่นับถือพุทธ ทั้ง 2 ราชวงศ์ดูเหมือนจะสร้างให้แตกต่างกันจนกระทั่งราไคปิกะตันขับไล่ราชวงศ์ไศเลนทร์ออกไป
จารึกตรุย เทภูสัน (พ.ศ.1385) ที่จันฑิเปตงกล่าวว่าถึง สิมะ หรือ ที่ดินที่ไม่เก็บภาษีเพื่อสร้างและบำรุงรักษา กามูลันชื่อ ภูมิสัมภาระ (บรมพุทโธ) กามูลันมาจากคำว่า มูลละ แปลว่า จุดเริ่มต้น สร้างเพื่อบูชาบรรพบุรุษ อาจหมายถึงบรรพบุรุษราชวงศ์ไศเลนทร์ที่อพยพมาปักหลักในเกาะชวาได้แล้ว เดอ คาสปาริสสันนิษฐานว่าภูมิสัมภาระพุทธาราซึ่งเป็นภาษาสันสกฤต แปลว่าภูเขาที่รวมการบำเพ็ญทศบารมีของพระโพธิสัตว์เป็นชื่อเดิมของบรมพุทโธ จารึกวันนัวเต็งกะที่ 3 กล่าวว่าราไคปิกะตันบริจาคให้วัดพุทธมหายานวันนัวเต็งกะในปีพ.ศ.1389 ในปีพ.ศ.1395 พระนางและราไคปิกะตันพระสวามีต้องการแยกอาณาจักรมะธะรัมออกจากสมาพันธรัฐศรีวิชัย จึงทำสงครามขับไล่มหาราชาพาลบุตรซึ่งเป็นพระอนุชาออกจากเกาะชวากลับไปปาเล็มบัง จารึกรูคัม (พ.ศ.1450) กล่าวถึงการฟื้นฟูหมู่บ้านที่ถูกภูเขาไฟถล่มโดยนินิ ฮาจี รักครันสัญชีวนะ และให้ชาวบ้านในหมู่บ้านรูคัมช่วยดูแลวัดวัดสัญชีวนะที่ลิมวุง พระนางอาจจะเป็นแบบให้ช่างปั้นรูปเจ้าแม่ทุรคาในวิหารปรัมบานันตามความเห็นของลาราจองกรังนักเล่านิทานชื่อดังชาวชวาในสมัยต่อมา
เอกสารอ้างอิง
De Casparis, Johannes Gijbertus. 1950. Prasasti I: Inscripties uit de Cailendra-tijd. Bandung: AC Nix.
Miksic, John Norman 2010. The A-Z of Ancient Southeast Asia. Lanham, Maryland: Scarecrow Press.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.
Mom Chao Chand Chirayu Rajani. 1974b. "Review Articles: Background to Srivijaya Story Part II." Journal of the Siam Society 62 (2): 285-324.
Zakharov, Anton O. 2012. The Shailendra Reconsidered. Singapore: ISEAS.