โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
มหาราชาศรีมาราวิชโยตุงคะวรมัน (พ.ศ.1549-1559) พงศาวดารซ่งสือเรียกพระองค์ว่า-เถี่ย-แม-ลา-พเย (思离麻囉皮ซื่อ-หลี-หม่า-หลัว-ผี) และจารึกพระเจ้าราชราชาโจฬะที่ 1 ในเทวาลัยพฤหัตเทศวรที่ธันจาวูร์ พ.ศ.1587 เรียกพระองค์ว่า ซูละมานิวรมัน ในสมัยของพระองค์ได้มีความสัมพันธ์อันดีกับพระเจ้าราชราชาโจฬะที่ 1 แห่งอาณาจักรโจฬะในอินเดียตอนใต้ สมาพันธรัฐศรีวิชัยมีความสัมพันธ์อันดีกับราชวงศ์ซ่งและอาณาจักรโจฬะ ในปี พ.ศ.1548 สมาพันธรัฐศรีวิชัยเริ่มได้รับชัยชนะต่ออาณาจักรเมดังในเกาะชวา ต่อมาในปีพ.ศ.1549 สมาพันธรัฐศรีวิชัยสามารถขับไล่การรุกรานของอาณาจักรเมดังออกไปได้ในที่สุดทำให้พระองค์มองถึงภยันตรายของอาณาจักรเมดังที่คุกคามสมาพันธรัฐศรีวิชัยและพระองค์เริ่มวางแผนทำลายอาณาจักรเมดัง
จากจารึกของพระเจ้าราชราชาโจฬะที่ 1 หรือจารึกเลย์เดนแผ่นใหญ่ภาคภาษาทมิฬ (พ.ศ.1549) กล่าวว่าพระเจ้าราชราชาโจฬะที่ 1 ยกรายได้ภาษีที่เก็บจากหมู่บ้านใหญ่แห่งหนึ่งเพื่อบำรุงวัดจุฑามณีวรมะวิหารสร้างอุทิศแด่มหาราชาศรีจุฑามณีวรมะเทวะแห่งคฑารัม (เคดาห์) ที่นาคปฏินัม ณ ชายฝั่งโคโรมันเดล ในอินเดียใต้เพื่อให้ชาวพุทธใช้เป็นที่พำนักเมื่อมาศึกษาพุทธศาสนาที่อินเดียโดยจารึกว่ามหาราชาศรีจุฑามณีวรมะเทวะทรงเป็นกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ ในปี พ.ศ.1551 พระองค์ส่งเครื่องบรรณาการไปถวายจักรพรรดิซ่งเจิ้นจง (พ.ศ.1540-1565) ถึง 3 ครั้งทั้งที่ยังมีสงครามติดพันกับอาณาจักรเมดัง จารึก 3 หลักในวัดโฆโรศาสวมิน ที่นาคปฏินัม ธันจาวูร์ในปีพ.ศ.1557 พ.ศ.1558 และพ.ศ.1559 ยืนยันการบริจาคถึง 3 ครั้งให้กับวัดแห่งนี้ของกษัตริย์แห่งคฑารัม (เคดาห์) แต่ว่าจารึกเลย์เดนแผ่นใหญ่ภาคภาษาสันสกฤตกล่าวว่าพระองค์ทรงบริจาคเงินสร้างวัดแห่งนี้อุทิศให้กับพระราชบิดาของพระองค์นามว่ามหาราชาศรีจุฑามณีวรมะเทวะในปีพ.ศ.1548 และพระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 พระโอรสของพระเจ้าราชราชาโจฬะที่ 1 ได้ออกพระราชโองการสำหรับหมู่บ้านกล่าวถึงพระองค์ว่าเป็นทายาทของไศเลนทราวงศ์ กษัตริย์แห่งศรีวิชัยและคฑะหะ (เคดาห์) ในปีพ.ศ.1558 หลังจากขึ้นครองราชย์ที่โจฬะในปีพ.ศ.1556 มีพระพระอาธิศาจากอินเดียมาที่สมาพันธรัฐศรีวิชัยเพื่อมาเรียนพุทธศาสนาจากพระอาจารย์ธรรมกีรติศิริเพื่อไปปฏิรูปศาสนาที่เบงกอลและทิเบตในเวลาต่อมา ซึ่งในหนังสือบุซนภาษาทิเบตกล่าวถึงพระนามศรีจุฑามณีวรมะเทวะเอาไว้ด้วย ในปีพ.ศ.1557 ราชสำนักซ่งได้รับการร้องขอจากมหาราชาศรีมาราวิชโยตุงคะวรมันและกษัตริย์อื่นๆเกี่ยวกับจำนวนทูต ในปีพ.ศ.1559 ราชสำนักซ่งออกราชโองการให้จำกัดจำนวนทูตของตามพรลิงค์แค่ 10 คน เพื่อไม่ให้มีสถานภาพเทียบเท่าศรีวิชัยซึ่งเป็นการจัดระเบียบใหม่โดยให้ศรีวิชัย อาหรับ ชวาและโจฬะเป็นคู่ค้าชั้นหนึ่ง
ในปี พ.ศ.1558 หนังสือโฟวเชน (Fouchen) ของเนปาลบันทึกว่าพระพุทธรูปสุวรรณปุระ ศรีวิชัยปุระ โลกนารถเป็นพระพุทธรุปที่มีชื่อเสียง ในช่วงที่อาณาจักเมดังรุกรานการเดินทางไปค้าขายที่อินเดียและแอฟริกาต้องออกทางอาเจะห์เพราะออกทางช่องแคบซุนดาไม่ได้ จารึกปูจังกัน (พ.ศ.1584) กล่าวว่าในปีพ.ศ.1559 พระองค์ตัดสินใจโจมตีอาณาจักรเมดังเพื่อล้างแค้นพระเจ้าธรรมวงศ์แห่งเมดังที่สร้างกองทัพเรือที่แข็งแกร่งบุกโจมตีศรีวิชัยในสมัยของพระบิดาของพระองค์หลายครั้ง ในที่สุดสมาพันธรัฐศรีวิชัยช่วยเหลือฮะยีวูระวาริแห่งลวารัมก่อกบฏในชวาตะวันตกและนำไปสู่การโจมตีทำลายพระราชวังเมดัง โดยโจมตีในช่วงงานอภิเษกของพระราชธิดาของพระเจ้าธรรมวงศ์กับเจ้าชายไอร์ลังคะแบบสายฟ้าแลบซึ่งทำให้ฝ่ายเมดังไม่ทันตั้งตัว หลังจากพระเจ้าธรรมวงศ์สิ้นพระชนม์ อาณาจักรเมดังก็ล่มสลายทำให้อาณาจักรทางตะวันออกของเกาะชวาวุ่นวายและแตกแยกอยู่หลายปี เจ้าชายไอร์ลังคะ (พ.ศ.1543-1592) เสด็จหนีไปได้แล้วรวบรวมผู้คนก่อตั้งอาณาจักรคะหุริปันเป็นวีรบุรุษของชาวชวา
พระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 ขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ.1557 พระองค์ยืนยันการบริจาคของพระราชบิดาที่อุทิศถวายแด่วัดจุฑามณีที่นาคปฏินัมในปีพ.ศ.๑๕๕๘ และในปีเดียวกันพระองค์ได้ส่งราชทูตไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิซ่งเจิ้นจง (พ.ศ.1540-1565) โดยแวะที่สมาพันธรัฐศรีวิชัยในการเดินทางถึง 1153 วันจนถึงจีนในปีพ.ศ.1557-1558 มหาราชาศรีมาราวิชโยตุงคะวรมันได้ส่งทูตมอบของขวัญให้พระองค์พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 เลียนแบบศรีวิชัยในนโยบายการทูตศาสนาส่งอัญมณีในปีพ.ศ.1557 และราชรถในปีพ.ศ.1563 ไปถวายพระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 เพราะต้องการให้โจฬะมาค้าขายกับเขมรผ่านคอคอดกระเป็นการแข่งขันกับศรีวิชัย
เอกสารอ้างอิง
Heng, Derek Thiam Soon. 2009. Sino-Malay Trade and Diplomacy: From Tenth through the Fourteenth Century. Singapore: ISEAS.
Karashima Noburu 辛岛昇, and Y. Subbarayalu. 2009. "Appendix I: Ancient and Medieval Tamil and Sanskrit Inscriptions Relating to Southeast Asia and China." In Nagapattinam to Suvarnadwipa: Reflection on Chola Naval Expeditions to Southeast Asia, by Hermann Kulke, K. Kesavapany and Vijay Sakhuja, 271-291. Singapore: ISEAS.
Kulke, Hermann. 2009. "The Naval Expedition of the Cholas in the Context of Asian History." In Nagapattinam to Suvarnadwipa: Reflection on Chola Naval Expeditions to Southeast Asia, by Hermann Kulke, K. Kesavapany and Vijay Sakhuja, 1-19. Singaore: ISEAS.
Kulke, Hermann. 2016. "Srivijaya Revisited: Reflection on State Formation of Southeast Asian Thalassocracy." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 102: 45-95.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.
Mom Chao Chand Chirayu Rajani. 1975. "Review Articles: Background to Srivijaya Story Part III." Journal of the Siam Society 63 (1): 208-256.
Munoz, Paul Michel. 2006. Early Kingdoms of the Indonesian Archipelago and the Malay Peninsula. Singapore: Editions Didier Millet.
Wolters, Oliver Williams. 2002. "Tambralinga." In Classical civilization of Southeast Asia, by Vladimir Braginsky. London: RoutledgeCurzon.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.
มหาราชาศรีมาราวิชโยตุงคะวรมัน (พ.ศ.1549-1559) พงศาวดารซ่งสือเรียกพระองค์ว่า-เถี่ย-แม-ลา-พเย (思离麻囉皮ซื่อ-หลี-หม่า-หลัว-ผี) และจารึกพระเจ้าราชราชาโจฬะที่ 1 ในเทวาลัยพฤหัตเทศวรที่ธันจาวูร์ พ.ศ.1587 เรียกพระองค์ว่า ซูละมานิวรมัน ในสมัยของพระองค์ได้มีความสัมพันธ์อันดีกับพระเจ้าราชราชาโจฬะที่ 1 แห่งอาณาจักรโจฬะในอินเดียตอนใต้ สมาพันธรัฐศรีวิชัยมีความสัมพันธ์อันดีกับราชวงศ์ซ่งและอาณาจักรโจฬะ ในปี พ.ศ.1548 สมาพันธรัฐศรีวิชัยเริ่มได้รับชัยชนะต่ออาณาจักรเมดังในเกาะชวา ต่อมาในปีพ.ศ.1549 สมาพันธรัฐศรีวิชัยสามารถขับไล่การรุกรานของอาณาจักรเมดังออกไปได้ในที่สุดทำให้พระองค์มองถึงภยันตรายของอาณาจักรเมดังที่คุกคามสมาพันธรัฐศรีวิชัยและพระองค์เริ่มวางแผนทำลายอาณาจักรเมดัง
จากจารึกของพระเจ้าราชราชาโจฬะที่ 1 หรือจารึกเลย์เดนแผ่นใหญ่ภาคภาษาทมิฬ (พ.ศ.1549) กล่าวว่าพระเจ้าราชราชาโจฬะที่ 1 ยกรายได้ภาษีที่เก็บจากหมู่บ้านใหญ่แห่งหนึ่งเพื่อบำรุงวัดจุฑามณีวรมะวิหารสร้างอุทิศแด่มหาราชาศรีจุฑามณีวรมะเทวะแห่งคฑารัม (เคดาห์) ที่นาคปฏินัม ณ ชายฝั่งโคโรมันเดล ในอินเดียใต้เพื่อให้ชาวพุทธใช้เป็นที่พำนักเมื่อมาศึกษาพุทธศาสนาที่อินเดียโดยจารึกว่ามหาราชาศรีจุฑามณีวรมะเทวะทรงเป็นกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ ในปี พ.ศ.1551 พระองค์ส่งเครื่องบรรณาการไปถวายจักรพรรดิซ่งเจิ้นจง (พ.ศ.1540-1565) ถึง 3 ครั้งทั้งที่ยังมีสงครามติดพันกับอาณาจักรเมดัง จารึก 3 หลักในวัดโฆโรศาสวมิน ที่นาคปฏินัม ธันจาวูร์ในปีพ.ศ.1557 พ.ศ.1558 และพ.ศ.1559 ยืนยันการบริจาคถึง 3 ครั้งให้กับวัดแห่งนี้ของกษัตริย์แห่งคฑารัม (เคดาห์) แต่ว่าจารึกเลย์เดนแผ่นใหญ่ภาคภาษาสันสกฤตกล่าวว่าพระองค์ทรงบริจาคเงินสร้างวัดแห่งนี้อุทิศให้กับพระราชบิดาของพระองค์นามว่ามหาราชาศรีจุฑามณีวรมะเทวะในปีพ.ศ.1548 และพระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 พระโอรสของพระเจ้าราชราชาโจฬะที่ 1 ได้ออกพระราชโองการสำหรับหมู่บ้านกล่าวถึงพระองค์ว่าเป็นทายาทของไศเลนทราวงศ์ กษัตริย์แห่งศรีวิชัยและคฑะหะ (เคดาห์) ในปีพ.ศ.1558 หลังจากขึ้นครองราชย์ที่โจฬะในปีพ.ศ.1556 มีพระพระอาธิศาจากอินเดียมาที่สมาพันธรัฐศรีวิชัยเพื่อมาเรียนพุทธศาสนาจากพระอาจารย์ธรรมกีรติศิริเพื่อไปปฏิรูปศาสนาที่เบงกอลและทิเบตในเวลาต่อมา ซึ่งในหนังสือบุซนภาษาทิเบตกล่าวถึงพระนามศรีจุฑามณีวรมะเทวะเอาไว้ด้วย ในปีพ.ศ.1557 ราชสำนักซ่งได้รับการร้องขอจากมหาราชาศรีมาราวิชโยตุงคะวรมันและกษัตริย์อื่นๆเกี่ยวกับจำนวนทูต ในปีพ.ศ.1559 ราชสำนักซ่งออกราชโองการให้จำกัดจำนวนทูตของตามพรลิงค์แค่ 10 คน เพื่อไม่ให้มีสถานภาพเทียบเท่าศรีวิชัยซึ่งเป็นการจัดระเบียบใหม่โดยให้ศรีวิชัย อาหรับ ชวาและโจฬะเป็นคู่ค้าชั้นหนึ่ง
ในปี พ.ศ.1558 หนังสือโฟวเชน (Fouchen) ของเนปาลบันทึกว่าพระพุทธรูปสุวรรณปุระ ศรีวิชัยปุระ โลกนารถเป็นพระพุทธรุปที่มีชื่อเสียง ในช่วงที่อาณาจักเมดังรุกรานการเดินทางไปค้าขายที่อินเดียและแอฟริกาต้องออกทางอาเจะห์เพราะออกทางช่องแคบซุนดาไม่ได้ จารึกปูจังกัน (พ.ศ.1584) กล่าวว่าในปีพ.ศ.1559 พระองค์ตัดสินใจโจมตีอาณาจักรเมดังเพื่อล้างแค้นพระเจ้าธรรมวงศ์แห่งเมดังที่สร้างกองทัพเรือที่แข็งแกร่งบุกโจมตีศรีวิชัยในสมัยของพระบิดาของพระองค์หลายครั้ง ในที่สุดสมาพันธรัฐศรีวิชัยช่วยเหลือฮะยีวูระวาริแห่งลวารัมก่อกบฏในชวาตะวันตกและนำไปสู่การโจมตีทำลายพระราชวังเมดัง โดยโจมตีในช่วงงานอภิเษกของพระราชธิดาของพระเจ้าธรรมวงศ์กับเจ้าชายไอร์ลังคะแบบสายฟ้าแลบซึ่งทำให้ฝ่ายเมดังไม่ทันตั้งตัว หลังจากพระเจ้าธรรมวงศ์สิ้นพระชนม์ อาณาจักรเมดังก็ล่มสลายทำให้อาณาจักรทางตะวันออกของเกาะชวาวุ่นวายและแตกแยกอยู่หลายปี เจ้าชายไอร์ลังคะ (พ.ศ.1543-1592) เสด็จหนีไปได้แล้วรวบรวมผู้คนก่อตั้งอาณาจักรคะหุริปันเป็นวีรบุรุษของชาวชวา
พระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 ขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ.1557 พระองค์ยืนยันการบริจาคของพระราชบิดาที่อุทิศถวายแด่วัดจุฑามณีที่นาคปฏินัมในปีพ.ศ.๑๕๕๘ และในปีเดียวกันพระองค์ได้ส่งราชทูตไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิซ่งเจิ้นจง (พ.ศ.1540-1565) โดยแวะที่สมาพันธรัฐศรีวิชัยในการเดินทางถึง 1153 วันจนถึงจีนในปีพ.ศ.1557-1558 มหาราชาศรีมาราวิชโยตุงคะวรมันได้ส่งทูตมอบของขวัญให้พระองค์พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 เลียนแบบศรีวิชัยในนโยบายการทูตศาสนาส่งอัญมณีในปีพ.ศ.1557 และราชรถในปีพ.ศ.1563 ไปถวายพระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 เพราะต้องการให้โจฬะมาค้าขายกับเขมรผ่านคอคอดกระเป็นการแข่งขันกับศรีวิชัย
เอกสารอ้างอิง
Heng, Derek Thiam Soon. 2009. Sino-Malay Trade and Diplomacy: From Tenth through the Fourteenth Century. Singapore: ISEAS.
Karashima Noburu 辛岛昇, and Y. Subbarayalu. 2009. "Appendix I: Ancient and Medieval Tamil and Sanskrit Inscriptions Relating to Southeast Asia and China." In Nagapattinam to Suvarnadwipa: Reflection on Chola Naval Expeditions to Southeast Asia, by Hermann Kulke, K. Kesavapany and Vijay Sakhuja, 271-291. Singapore: ISEAS.
Kulke, Hermann. 2009. "The Naval Expedition of the Cholas in the Context of Asian History." In Nagapattinam to Suvarnadwipa: Reflection on Chola Naval Expeditions to Southeast Asia, by Hermann Kulke, K. Kesavapany and Vijay Sakhuja, 1-19. Singaore: ISEAS.
Kulke, Hermann. 2016. "Srivijaya Revisited: Reflection on State Formation of Southeast Asian Thalassocracy." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 102: 45-95.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.
Mom Chao Chand Chirayu Rajani. 1975. "Review Articles: Background to Srivijaya Story Part III." Journal of the Siam Society 63 (1): 208-256.
Munoz, Paul Michel. 2006. Early Kingdoms of the Indonesian Archipelago and the Malay Peninsula. Singapore: Editions Didier Millet.
Wolters, Oliver Williams. 2002. "Tambralinga." In Classical civilization of Southeast Asia, by Vladimir Braginsky. London: RoutledgeCurzon.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.