คชก.เคาะ EIA รถไฟไทย-จีน ช่วงบ้านภาชี-นครราชสีมาแล้ว เตรียมชงสผ.ชุดใหญ่อนุมัติ รฟท.จ่อเซ็นรับเหมา 7 สัญญารวด วงเงินกว่า 5.9 หมื่นล้านเร่งก่อสร้าง ส่วนช่วงบางซื่อ-ภาชี รอชี้แจงแบบสถานีอยุธยา "นิรุฒ" มั่นใจต.ค.นี้ เซ็นสัญญาซื้อระบบ
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโครงสร้างพื้นฐานทางบกและอากาศ (คชก.) ครั้งที่ 25/2563 เมื่อวันที่ 3 ก.ค.63 ได้มีมติเห็นชอบรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-นครราชสีมา (ช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา) ของรฟท.แล้ว โดยคาดว่าจะนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ที่มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณาเร็วๆ นี้
ทั้งนี้ หลังจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ อนุมัติ EIAช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา รฟท.จะสามารถลงนามสัญญากับผู้รับจ้างได้ โดยงานก่อสร้างที่อยู่ในช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา ได้แก่ สัญญาที่ 3-1 ช่วง แก่งคอย - กลางดง และ ช่วงปางอโศก - บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. วงเงิน 9,330 ล้านบาท , สัญญา 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. วงเงิน 4,279 ล้านบาท , สัญญา 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กม. วงเงิน 9,838 ล้านบาท
สัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว, กุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม.วงเงิน 9,848 ล้านบาท , สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. วงเงิน 7,750 ล้านบาท , สัญญา 4-6 ช่วง พระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.60 กม. วงเงิน 9,429 ล้านบาท , สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 8,560 ล้านบาท
สำหรับ เส้นทางช่วงบางซื่อ-ชุมทางบ้านภาชี นั้น คชก.อยู่ระหว่างพิจารณารายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าฯรฟท. กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับแบบก่อสร้างสถานีอยุธยา ในเรื่องผลกระทบต่อสถาปัตยกรรม ซึ่งจะไม่มีการรื้อสถานีรถไฟเดิม โดยได้ออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูง ครอบสถานีรถไฟเก่าไว้ ทำให้ไม่ต้องย้ายตำแหน่งสถานีรถไฟความเร็วสูงออกไปนอกเมือง
สำหรับงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3 ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาทนั้น รฟท.ได้เสนอร่างสัญญา 2.3 ไปให้อัยการสูงสุดตรวจแล้ว คาดว่าอีกประมาณ 2 เดือน หรือภายในเดือนต.ค. 63 จะลงนามสัญญาได้ โดยจะมีหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP)ให้จีนเริ่มงานออกแบบงานระบบ ระยะเวลา 275 วัน โดยสัญญา 2.3 มีอายุสัญญา 64 เดือน ซึ่งจะเริ่มชำระค่างานได้ในปี 64 วงเงิน 8,234.21 ล้านบาท ปี 65 วงเงิน 3,622.36 ล้านบาท ปี 66 วงเงิน 20,481.93 ล้านบาท และปี 67 วงเงิน 18,295 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายเปิดให้บริการในปี 69
สำหรับโครงการ พัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ( ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย) ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้อนุมัติกรอบวงเงินที่ 179,412.21 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่ารื้อย้ายและเวนคืน 13,069.60 ล้านบาท ค่างานโยธา 117,914 ล้านบาท ค่างานระบบ 44,998.49 ล้านบาท และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 3,430.04 ล้านบาท
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโครงสร้างพื้นฐานทางบกและอากาศ (คชก.) ครั้งที่ 25/2563 เมื่อวันที่ 3 ก.ค.63 ได้มีมติเห็นชอบรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-นครราชสีมา (ช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา) ของรฟท.แล้ว โดยคาดว่าจะนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ที่มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณาเร็วๆ นี้
ทั้งนี้ หลังจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ อนุมัติ EIAช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา รฟท.จะสามารถลงนามสัญญากับผู้รับจ้างได้ โดยงานก่อสร้างที่อยู่ในช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา ได้แก่ สัญญาที่ 3-1 ช่วง แก่งคอย - กลางดง และ ช่วงปางอโศก - บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. วงเงิน 9,330 ล้านบาท , สัญญา 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. วงเงิน 4,279 ล้านบาท , สัญญา 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กม. วงเงิน 9,838 ล้านบาท
สัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว, กุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม.วงเงิน 9,848 ล้านบาท , สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. วงเงิน 7,750 ล้านบาท , สัญญา 4-6 ช่วง พระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.60 กม. วงเงิน 9,429 ล้านบาท , สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 8,560 ล้านบาท
สำหรับ เส้นทางช่วงบางซื่อ-ชุมทางบ้านภาชี นั้น คชก.อยู่ระหว่างพิจารณารายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าฯรฟท. กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับแบบก่อสร้างสถานีอยุธยา ในเรื่องผลกระทบต่อสถาปัตยกรรม ซึ่งจะไม่มีการรื้อสถานีรถไฟเดิม โดยได้ออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูง ครอบสถานีรถไฟเก่าไว้ ทำให้ไม่ต้องย้ายตำแหน่งสถานีรถไฟความเร็วสูงออกไปนอกเมือง
สำหรับงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3 ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาทนั้น รฟท.ได้เสนอร่างสัญญา 2.3 ไปให้อัยการสูงสุดตรวจแล้ว คาดว่าอีกประมาณ 2 เดือน หรือภายในเดือนต.ค. 63 จะลงนามสัญญาได้ โดยจะมีหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP)ให้จีนเริ่มงานออกแบบงานระบบ ระยะเวลา 275 วัน โดยสัญญา 2.3 มีอายุสัญญา 64 เดือน ซึ่งจะเริ่มชำระค่างานได้ในปี 64 วงเงิน 8,234.21 ล้านบาท ปี 65 วงเงิน 3,622.36 ล้านบาท ปี 66 วงเงิน 20,481.93 ล้านบาท และปี 67 วงเงิน 18,295 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายเปิดให้บริการในปี 69
สำหรับโครงการ พัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ( ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย) ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้อนุมัติกรอบวงเงินที่ 179,412.21 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่ารื้อย้ายและเวนคืน 13,069.60 ล้านบาท ค่างานโยธา 117,914 ล้านบาท ค่างานระบบ 44,998.49 ล้านบาท และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 3,430.04 ล้านบาท