กรมรางหารือร่วมผู้ว่าฯ อยุธยาและกรมศิลปากร หาข้อสรุปปรับแบบสถานีอยุธยารถไฟไทย-จีนไม่ให้กระทบต่อโบราณคดี โดยไม่ย้ายจุดก่อสร้าง และกำหนดแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีให้สอดคล้องกับเมืองมรดกโลก
วันนี้ (25 มิ.ย.) นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการปรับรูปแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ในโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยมีนายนิวัฒน์ ภาตะนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้แทนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายอรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร ผู้แทนกรมศิลปากร ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม เพื่อวางแนวทางการออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา รวมถึงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับการเป็นพื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา ไม่บดบังทัศนียภาพอันงดงามและทรงคุณค่าของพื้นที่ รวมทั้งเร่งรัดการดำเนินการปรับปรุงรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการดังกล่าว
ที่ประชุมมีมติมอบหมายให้ ร.ฟ.ท.รับความเห็นของผู้แทนกรมศิลปากรไปนำเสนอรูปแบบสถานี พร้อมทั้งนำส่งรูปแบบสถานีอยุธยาให้กรมศิลปากร เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการของกรมศิลปากรพิจารณา และให้สำรวจแหล่งโบราณคดีในพื้นที่โครงการฯ ก่อนการดำเนินการก่อสร้างสถานีต่อไป เนื่องจากอาคารสถานีที่จะก่อสร้างใหม่ แม้จะอนุรักษ์อาคารสถานีเดิม แต่เป็นลักษณะการสร้างล้อมรอบอาคารเดิมซึ่งถือเป็นอาคารโบราณสถานประเภทหนึ่ง
ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นตรงกันในจุดก่อสร้างเดิม และขนาดความสูงของสถานีตามรูปแบบสถาปัตยกรรมบริเวณเดิม แต่ให้มีการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณสถานที่จะก่อสร้าง และบริเวณท่าน้ำหน้าสถานีรถไฟ เพื่อบริหารจัดการการก่อสร้างแนวอนุรักษ์ โดยทำการปรับปรุงหน้าสถานีตั้งแต่แนวท่าน้ำให้มีลักษณะสวนทางโบราณคดีและให้มีที่จอดรถเท่าที่จำเป็น โดยให้จอดรถบริเวณด้านหลังสถานีแทน นอกจากนี้ยังพบว่าการขยายถนน 3053 ยังมีข้อจำกัดที่อาจกระทบต่อโบราณสถาน
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมรับทราบแนวทางการศึกษาการพัฒนาพื้นที่ที่ สนข.อยู่ระหว่างการศึกษา โดยให้อยู่คนละส่วนกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง และควรหารือกับจังหวัดอย่างใกล้ชิดต่อไป
วันนี้ (25 มิ.ย.) นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการปรับรูปแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ในโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยมีนายนิวัฒน์ ภาตะนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้แทนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายอรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร ผู้แทนกรมศิลปากร ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม เพื่อวางแนวทางการออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา รวมถึงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับการเป็นพื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา ไม่บดบังทัศนียภาพอันงดงามและทรงคุณค่าของพื้นที่ รวมทั้งเร่งรัดการดำเนินการปรับปรุงรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการดังกล่าว
ที่ประชุมมีมติมอบหมายให้ ร.ฟ.ท.รับความเห็นของผู้แทนกรมศิลปากรไปนำเสนอรูปแบบสถานี พร้อมทั้งนำส่งรูปแบบสถานีอยุธยาให้กรมศิลปากร เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการของกรมศิลปากรพิจารณา และให้สำรวจแหล่งโบราณคดีในพื้นที่โครงการฯ ก่อนการดำเนินการก่อสร้างสถานีต่อไป เนื่องจากอาคารสถานีที่จะก่อสร้างใหม่ แม้จะอนุรักษ์อาคารสถานีเดิม แต่เป็นลักษณะการสร้างล้อมรอบอาคารเดิมซึ่งถือเป็นอาคารโบราณสถานประเภทหนึ่ง
ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นตรงกันในจุดก่อสร้างเดิม และขนาดความสูงของสถานีตามรูปแบบสถาปัตยกรรมบริเวณเดิม แต่ให้มีการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณสถานที่จะก่อสร้าง และบริเวณท่าน้ำหน้าสถานีรถไฟ เพื่อบริหารจัดการการก่อสร้างแนวอนุรักษ์ โดยทำการปรับปรุงหน้าสถานีตั้งแต่แนวท่าน้ำให้มีลักษณะสวนทางโบราณคดีและให้มีที่จอดรถเท่าที่จำเป็น โดยให้จอดรถบริเวณด้านหลังสถานีแทน นอกจากนี้ยังพบว่าการขยายถนน 3053 ยังมีข้อจำกัดที่อาจกระทบต่อโบราณสถาน
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมรับทราบแนวทางการศึกษาการพัฒนาพื้นที่ที่ สนข.อยู่ระหว่างการศึกษา โดยให้อยู่คนละส่วนกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง และควรหารือกับจังหวัดอย่างใกล้ชิดต่อไป