xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

อบต.3ระดับ ยังไร้บริการสาธารณะ ร้อยละ 42.77 เป็น“โครงสร้างพื้นฐาน”(ตอนจบ)

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



มาถึงตอนสุดท้ายผลการประเมินตนเองของท้องถิ่น ตามเกณฑ์ชี้วัดและเป้ามหายขั้นต่ำ ในส่วนของ "องค์การบริหารส่วนตำบล" หรือ อบต. ตามข้อมูลเปิดเผยของ คณะกรรมการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) ได้พิจารณารายงานผลการกระเมินจากเกณฑ์ชี้วัด 387 ด้าน ว่าด้วย "การจัดบริการสาธารณะ 8 ด้าน" ของอบต.ทั่วประเทศ ก่อนจัดส่งข้อมูลมายังสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ในฐานะเลขานุการ ก.ก.ถ.

และปีหน้า 2563 เป็นปีสุดท้าย ที่ สปน. จะนำผลที่ได้ทั้งหมดไปประเมินประสิทธิภาพการบริการสาธารณะ ในกรอบ 3 ปี เพื่อนำไปเป็นแผนพัฒนาท้องถิ่น และจัดสรรงบประมาณ ให้กับท้องถิ่นในอนาคต

อบต.กว่า 1,822 แห่งจากทั้งหมด 5,333 แห่งส่งข้อมูลครบถ้วน หรือ ร้อยละ 34.16

จากรายงานภาพรวมสามารถบริการตามเกณฑ์ได้เฉลี่ยร้อยละ 27.25 ของเกณฑ์ชี้วัดทั้งหมด ทำให้ผ่านค่าเป้าหมายขั้นต่ำตามเกณฑ์ และสูงกว่าค่าเป้าหมายในบางภารกิจ โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข บริการสังคม และคุณภาพชีวิตเกี่ยวกบการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่สตรี และด้านการจัดระเบียบชุมชน

โดยด้านการรักษาความสงบปลอดปลอดภัย อบต.สามารถทำได้ดีในเรื่องการจัดทำแผนด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประเภทสำคัญที่เกิดขึ้นในพื้นที่

ส่วน "บริการสาธารณะ" ได้ต่ำกว่ามาตรฐาน เป็นภารกิจด้านการส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาชาวบ้าน และโบราณสถานในส่วนโครงการส่งเสริมหรืออนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของ อบต. เป็นต้น

ขณะที่พบว่า ร้อยละ 42.77 ระบุว่า ไม่มีการบริการสาธารณะตามเกณฑ์ชี้วัด โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านผังเมืองมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ประชาชน 78.08 มีความพึงพอใจกับบริการสาธารณะใน 36 ตัวชี้วัด เช่น การบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน แต่เห็นว่า ด้านการศึกษาจำเป็นที่จะต้องปรบปรุงมากที่สุด

ทีนี้มาดูรายละเอียดตามขนาดของ อบต. "อบต.ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก" ที่ส่งข้อมูลมา

เริ่มจากตัวชี้วัด "ถนนและการระบายน้ำ" อบต.ขนาดใหญ่ มีผลงานดำเนินงานที่ผ่านเป้าหมายในเกณฑ์ของถนนลาดยางฯ ที่ได้รับการบำรุงรักษาตามปกติ แต่กลับมีค่าที่ต่ำกว่าเป้ามายในเรื่องของถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) ในส่วนนี้ มีถึงร้อยละ 61.45 ที่แจ้งไม่มีบริการสาธารณะ

ขณะที่ อบต.ขนาดกลาง มีผลดำเนินการใน "ถนนลูกรัง"ผ่านค่าเป้าหมาย แต่มีเป้าหมายต่ำที่ถนน คสล. ซึ่งร้อยละ 48.05 ไม่มีบริการสาธารณะ

ส่วน อบต.ขนาดเล็ก พบว่า ระยะทางถนนลูกรัง ได้รับการบำรุงรักษาผ่านเป้าหมาย แต่อีกจำนวนมากการดำเนินงานในเรื่องถนนและการระบายน้ำของรางและท่อระบายน้ำขนาดเล็ก (น้อยกว่า 80 ซม.)ดำเนินงานต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นต่ำ ร้อยละ 51.30 ไม่มีบริการสาธารณะในภารกิจนี้

ตัวชี้วัด "คลอง/ลำธาร บ่อน้ำและแหล่งน้ำ" ซึ่งพบว่า อบต.ขนาดใหญ่ มีระบบสูบน้ำ/เครื่องสูบน้ำ ได้รับการทะนุบำรุง ดูแลรักษาตามปกติ แหล่งน้ำได้รับการปรับปรุงไหลผ่านโดยไม่ติดขัด แต่กลับพบว่าร้อยละ 76.85 ไม่มีบริการสาธารณะในส่วนนี้

ซึ่ง อบต.ขนาดกลาง มีการดำเนินงานต่ำกว่าเป้าหมายในร้อยละของแหล่งน้ำสาธารณะ พื้นที่พักน้ำหรือ แก้มลิง โดยร้อยละ 61.70 ไม่มีบริการสาธารณะ ส่วน อบต.ขนาดเล็ก ร้อยละ 63.06 ไม่มีบริการสาธารณะในส่วนนี้

ตัวชี้วัด เฉพาะ อปท.ที่มีระบบน้ำประปา โดยพบว่าขนาดพื้นที่การให้บริการของอบต. เปรียบเทียบกับพื้นที่ที่ต้องการใช้น้ำประปา ดำเนินการได้ต่ำกว่าเป้าหมายขั้นต่ำ กว่า ร้อยละ 60.67 ระบุว่าไม่มีบริการสาธารณะในส่วนนี้

อบต.ขนาดกลาง ดำเนินงานผ่านค่าเป้าหมายขั้นต่ำมากที่สุดใน "ขนาดพื้นที่การให้บริการน้ำประปา" ซึ่งร้อยละ 45.67 ไม่มีบริการสาธารณะ เช่นเดียวกับ อบต.ขนาดเล็ก ที่จำนวนมากดำเนินงานได้ต่ำกว่ากว่าค่าเป้าหมายในเรื่อง "ระบบประปา" โดยร้อยละ 40.46 ไม่มีบริการสาธารณะในส่วนนี้

สำหรับ ตัวชี้วัดสะพาน อบต.ขนาดใหญ่ ร้อยละ 60.67 อบต.ขนาดกลาง ร้อยละ 64.86 อบต.ขนาดเล็ก ร้อยละ 72020 ไม่มีบริการสาธารณะ หรือในส่วนของ "ไฟจราจร ไฟส่องสว่าง และป้ายสัญญาณ" ซึ่งพบว่า อบต.ขนาดใหญ่ แม้การบำรุงรักษาไฟฟ้าที่ชำรุดเป็นไปตามปกติ แต่ที่ดำเนินการได้ต่ำกว่าเป้าหมายขั้นต่ำ คือร้อยละของจำนวนไฟฟ้าส่องสว่าง/ไฟทาง ที่ติดตั้งเพิ่มเติมในพื้นที่และตามแผนพัฒนา อบต. ซึ่งร้อยละ 62.50 ไม่มีบริการสาธารณะในภารกิจนี้

เช่นเดียวกับ อบต.ขนาดกลาง ดำเนินการได้ต่ำกว่าเป้าหมายขั้นต่ำ ในส่วนนี้ร้อยละ 49.09 ไม่มีบริการสาธารณะ ขณะที่ อบต.ขนาดเล็ก ร้อยละ 53.62 ไม่มีบริการสาธารณะในส่วนนี้

ด้านการคมนาคมขนส่ง ของอบต.ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ เกาะกลางถนน ปลูกต้นไม้ ทางเท้า ไหล่ทาง ที่พักผู้โดยสาร ที่จอดรถประจำทาง และพื้นที่ริมทาง มีผลการดำเนินงานต่ำกว่ากว่าเป้าหมายขั้นต่ำ ซึ่งร้อยละ 75 ไม่มีภารกิจบริการสาธารณะในส่วนนี้

ซึ่ง อบต.ขนาดกลาง มีการดำเนินงานต่ำกว่าเป้าขั้นต่ำ ภารกิจดูแลร่องน้ำที่เป็นบึง ลำคลอง แม่น้ำขนาดเล็กหรือชายฝั่งทะเลขนาดเล็กภายในพื้นที่ อบต. โดยร้อยละ 57.29 ไม่มีบริการสาธารณะ ส่วน อบต.ขนาดเล็ก มีการดำเนินงานต่ำกว่าค่าเป้าหมายในจำนวนโครงการ/กิจกรรมเช่นเดียวกับ โดยร้อยละ 58.34 ไม่มีบริการสาธารณะในส่วนนี้

ประเด็น "ภารกิจส่งเสริมขั้นพื้นฐาน" พบว่า อบต.ขนาดใหญ่ มีภารกิจเช่น การแก้ไขปัญหากัดเซาะหรือตลิ่งพัง โครงการขนาดใหญ่ มีผลการดำเนินงานผ่านค่าเป้าหมายขั้นต่ำมากที่สุด แต่ร้อยละ 69.44 ไม่มีภารกิจบริการสาธารณะนี้

ส่วน อบต.ขนาดกลาง ดำเนินการผ่านเป้าหมายเกือบทุกเกณฑ์ เช่น จำนวนระบบข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานเพื่อใช้ในการพัฒนาและบำรุงรักษา ซึ่งร้อยละ 52.70 ไม่มีบริการสาธารณะ อบต.ขนาดเล็ก ร้อยละ 50.15 ไม่มีบริการสาธารณะในส่วนนี้

ขณะที่ตัวชี้วัดอื่น ๆ ร้อยละ 37.50 อบต.ขนาดใหญ่ ร้อยละ 13.36 อบต.ขนาดกลาง ร้อยละ 14.52 อบต.ขนาดเล็ก ไม่มีบริการสาธารณะด้านการจัดระเบียบชุมชนและการรักษาความสงบปลอดภัย ร้อยละ 53.50 อบต.ขนาดใหญ่ ร้อยละ 39.74 อบต.ขนาดเล็ก ไม่มีบริการสาธารณะภารกิจส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน อาชีพการลงทุนและการท่องเที่ยว แผนพัฒนาด้านการเกษตรระดับตำบล/ชุมชน ร้อยละ 69.44 ไม่มีบริการสาธารณะความสามารถในการประกอบอาชีพและมีรายได้ที่ยั่งยืน โดยอบต.ขนาดกลาง ร้อยละ 43.81 ไม่มีบริการสาธารณะ

ส่วน อบต.ขนาดกลาง ในด้านผังเมือง ผลการดำเนินงานที่ผ่านเป้าหมายภารกิจจำนวนใบอนุญาตก่อสร้างที่ออกให้ระหว่างปีตามระยะเวลาที่กำหนด แต่ที่ดำเนินงานได้ต่ำคือภารกิจขนาดพื้นที่สีเขียวต่อประชากร โดยร้อยละ50.801 ไม่มีบริการสาธารณะ ส่วน อบต.ขนาดเล็ก ผ่านในส่วนของการอบรมให้ประชาชนมีความรู้การในการรับมือความเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งการดำเนินงานได้ต่ำคือภารกิจขนาดพื้นที่สีเขียวต่อประชากร ที่ร้อยละ 53.46 ไม่มีบริการสาธารณะในส่วนนี้

ขณะที่งานด้านการส่งเสริมพัฒนาผู้สูงอายุ อบต.ขนาดกลาง ดำเนินการได้ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย ในเรื่องของการส่งเสริมให้ร่วมกิจกรรม/ชมรม/สมาคม ที่อบต.สนับสนุน ร้อยละ 21.73 ไม่มีบริการสาธารณะในส่วนนี้

ด้านการศึกษา อบต.ขนาดใหญ่ ผ่านเป้าหมายในส่วนของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ได้รับอาหารเสริม (นมโรงเรียน)ครบถ้วน แต่มีเป้าหมายต่ำที่ การศึกษาในระบบคือจำนวนเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยร้อยละ 70.71 ไม่มีบริการสาธารณะภารกิจการศึกษาในระบบ อบต.ขนาดกลาง มีผลการดำเนินงานคล้ายกับ อบต.ขนาดใหญ่ แต่ร้อยละ 61.77 ระบุว่า ไม่มีบริการสาธารณะภารกิจการศึกษาในระบบ ส่วน อบต.ขนาดเล็ก ร้อยละ 61.53 ระบุว่า ไม่มีบริการสาธารณะภารกิจการศึกษาในระบบ

การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อบต.ขนาดใหญ่ ร้อยละ 52.38 อบต.ขนาดกลาง ร้อยละ 40.25 อบต.ขนาดเล็ก ร้อยละ 43.67ไม่มีบริการสาธารณะตามภารกิจนี้แต่ อบต.ขนาดเล็ก จำนวนมากดำเนินการได้ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย ในร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับการอบรมหรือรณรงค์ จาก อบต. เรื่องไฟป่า การเผาในที่โล่ง ภัยจากไฟป่า การป้องกันไฟป่า และภัยจากการเผาในที่โล่ง

การอนุรักษ์ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น อบต.ขนาดใหญ่ ร้อยละ 53.47 อบต.ขนาดกลาง ร้อยละ 41.44 อบต.ขนาดเล็ก ร้อยละ 38.55 ระบุว่า ไม่มีบริการสาธารณะในประเด็นส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจและความภาคภูมิใจในวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประเพณี ศรัทธาในสถาบันศาสนาและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ข้อมูลของ อบต. ขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก จะถูกนำผลไปประเมินประสิทธิภาพการบริการสาธารณะ ในกรอบ 3 ปี ของ อปท. เพื่อนำไปเป็นแผนพัฒนาท้องถิ่น และจัดสรรงบประมาณ ให้กับท้องถิ่นในอนาคต.


กำลังโหลดความคิดเห็น