xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

กฎหมายบัตรทองฉบับแก้ไข ละเมิดสิทธิประชาชนตรงไหน ?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"

เวที ประชาพิจารณ์ ร่าง พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับใหม่ ผ่านไปแล้ว 2 เวที คือ เวทีภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน และเวทีภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 11 มิถุนายน

สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ได้เหนือความคาดหมายคือ กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า ภาคประชาชน วอล์ค เอาท์ เดินออกจากที่ประชุม โดยอ้างว่า ถูกปิดกั้นไม่ใหม่มีส่วนร่วม เพราะถูกจำกัดเวลาให้พูดคนละ 3 นาที และไม่ต้องการร่วม สังฆกรรมกับการแก้ไขกฎหมายนี้ เพราะว่า เป็นการแก้ไขที่ละเมิดสิทธิ กระทบสิทธิของประชาชน

พร้อมกันนั้นก็เรียกร้องให้ เริ่มต้นกระบวนการ แก้ไข ร่าง กม.ใหม่

อีกสองเวทีที่เหลือ คือ เวทีภาคอีสาน ที่จังหวัดขอนแก่น ในวันที่ 17 มิถุนายน และเวทีภาคกลางที่ กรุงเทพ ในวันที่ 18 มิถุนายน ก็คงจะเกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกัน คือ การเดินออกจากที่ประชุมของ กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า ภาคประชาชน

ก่อนหน้านี้ มีการปล่อยข่าว เป็นระยะๆ โดยบุคคลไม่ทราบฝ่ายว่า การแก้ กฎหมายหลักประกันสุขภาพ คือ การยกเลิก นโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค

ต่อมา เมื่อ ข่าวลือเรื่อง ยกเลิก 30 บาท รักษาทุกโรค ถูกทางการชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขกฎหมาย ก็ใช้ประเด็นเรื่อง การแก้ไขกฎหมาย จะกระทบสิทธิการรักษาของประชาชน เป็นการละเมิดสิทธิ ของประชาชน แต่ไม่อธิบายว่า กระทบตรงไหน อย่างไร

ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง จาก การแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ มีอยู่จริง ไม่ใช่ประชาชน แต่เป็น คือ ผู้อ้างคำว่า ภาคประชาชน

ร่าง กฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้ ย่อมให้ มีตัวแทนองค์กรประชาชน ที่ทำงานด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นจาก 9 ด้าน เป็น 10 ด้า น คือ เพิ่มงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ที่จะส่งตัวแทนเข้ามาเป็น กรรมการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ยังคงให้มี กรรมการจากองค์กรประชาชน 5 คนเท่าเดิม

ตัวแทนภาคประชาชน ใน คณะกรรมการแก้ไข กฎหมาย 2 คน เสนอให้เพิ่กรรมการมนสัดส่วนองค์กรภาคประชาชน จาก 5 คน เป็น 7 คน แต่ เสียง่สวนใหญ่ไม่เห็นด้วย

ในขณะเดียวกัน กฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้ ให้มีตัวแทนจากผู้ให้บริการสาธารณสุข คือ โรงพยาบาล เข้ามาเป็นกรรมการ สปสช.ถึง 7 คน จากเดิมที่ไม่มีเลย

สัดส่วน บอร์ด สปสช. นี้ เป็นประเด็นสำคัญ ที่จะมีผลต่อ ทิศทางการบริหารเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

กฎหมายทั้งแก้ไขใหม่นี้ ยังกำหนดนิยามของ สถานบริการสาธารณสุข ว่าหมายถึง สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ของเอกชน ของสภากาชาดไทย หน่วยงานอื่นของรัฐ ที่สนับสนุน การสร้างเสิรมสุขภาพ และป้องกันโรค ตามที่ คณะกรรมการ สปสช. กำหนด

ในขณะที่ ตัวแทนภาคประชาชน เสนอให้ สถานบริการสาธารสูข มีนิยามที่กว้างครอบคลุมถึง องค์กชุมชน องค์กร เอกชน ที่ไม่แสวงหากำไร แต่ เสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย

การที่ องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน ไม่ใช่สถานบริการสารณสุข ตามกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับแก้ไขใหม่ จะทำให้การใช้เงินกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการทำกิจกรรมขององค์กร ที่ไม่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ทำได้ยากขึ้น

ชมรมแพทย์ชนบท ซึ่งเปืนองค์กรหนึ่งที่คัดค้านการแก้ไข ได้ออกแถลงการณ์คัดค้านการแก้ไข กฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยอ้างว่า จะเป็นการสร้างความขัดแย้งในสังคม และเรียก กฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้ว่า เป็นฉบับลักหลับ เพราะมีการแก้เกินกว่า กรอบที่ คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 37/ 2559 กำหนดไว้

แถลงการณ์ของ ชมรมแพทย์ชนบทนี้ ชวนให้เข้าใจว่า ฝ่ายกระทรวงสาธารณสุข มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการแก้ไขกฎหมาย เพื่อดึงอำนาจกลับสู่กระทรวง โดยฝีมือของ นายแพทย์ เสรี ตู้จินดา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระททรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นรองประธาน คณะกรรมการ พิจารณา พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

แต่เมื่อพิจารณาดูรายชื่อ กรรมการทั้ง 27 คน ปรากฎว่า มี คนจาก กระทรวงสาธารณสุข เพียง 3 คน เท่านั้น ในขณะที่ มีคนที่เป็น บอร์ดสปสช. ทั้งในอดีต และปัจจุบัน คนที่ทำงานในภาคประชาสังคม มากกว่าครึ่งหนึ่ง คนเหล่านี้ ล้วนเข้าใจในเรื่อง สิทธิของพลเมือง เข้าใจในหลักการประกันสุขภาพ

คณะกรรมการพิจารณาพรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกอบด้วย 1. นายวรากรณ์ สามโกเศส นักวิชาการ ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา เป็นประธาน 2. รองประธาน คนที่หนึ่ง นายเสรี ตู้จินดาอดีตอธิบดีกรมการแพทย์ 3. นพ. ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการแพทย์แผนไทย ในคณะกรรมการหลักประกันฯ 4 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ 5. อธิบดีกรมบัญชีกลาง 6. เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม 7. เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 8. ปลัดกระทรวยุติธรรม 9. ปลัดกระทรวงสาธาณสุข 10. เลขาสปสช. 11 นพ. ภิรมย์ กมลรัตนากุล อดีต อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตคณบดีคณะแพทย ศาสตร์ จุฬา ฯ 12.. นพ. จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ อดีตรองอธิการบดี จากจุฬา 13. นางวรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ จากคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ขอนแก่น ที่ปรึกษาด้านหลักประกันสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอารืไอ 14. นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการ อิสระจากTDRI อดีต กรรมการ สปสช ด้านการเงินการคลัง 15. นพ ศราวุธ สันตินันตรักษ์ ายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หนองบัวลำภู กรรมการ สปสช. ที่มาจากตัวแทนองคฺกรปกครองส่วนท้องถิ่น 16. นางสาวทัศนา บุญทอง นายกสภาพยาบาล 17. นายกิตติ พิทักษ์นิตินันท์ ตัวแทนวิชาชีพทันตกรรม 18. นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ อดีต บอร์ด สปสช. สองสมัย 19 นางยุพดี ศิริสินสุข อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬา กรรมการ สปสช. ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านผู้ติดเชื้อเอชไอวี 20.. นพ. สุวิทย์ วิบุลย์ผลประเสริฐ กรรมการ สปสช. ตัวแทนองค์กรเอกชน ด้านผู้สูงอายุ 21. นพ. ชาตรี ชื่นบาน ประธานกรรมการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานการบริหารสาธารรสุข 22. นพ. พลเดช ปิ่นประทีป จากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งทำงานด้านประชาสังคมมายาวนาน 23 ตัวแทนหน่วยงานปกครองท้องถิ่นพิเศษ คือ นางวันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกทม. 24 และ 25 นายมรุต จิระเศรษฐสิริ และนายสมเกียรติ ขำนุรักษ์ จากกระทรวงสาธารณสุข เป็นฝ่ายเลขา 26 และ 27 นายประจักษวิช เล็บนาค รองเลขาธิการ สปสช และ นายพรหมมินทร์ หอมหวน ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สปสช. เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

ดูรายชื่อแล้ว กรรมการแก้ไกฎหมายที่มาจากกระทรวงสาธารณสุข ก็มีเพียงแค่ นพ. เสรี กับปลัดกระทรวงเท่านั้น ไม่นับฝ่ายเลขานุการ ในขณะที่ฝ่าย สปสช. มีถึง 7 คนทั้งที่เป็นบอร์ดปัจจุบัน และเคยเป็น อีกสองคน คือ นพ. พลเดช และนายวรากรณ์ ก็เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่ในภาคประชาสังคม มีจุดยืนที่ขัดเจน ยากที่จะคล้อยตาม ความเห็นที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

การแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพ จึงน่าจะผ่านการพิจารณาจากกรรมการทั้ง 27 คนอย่างรอบด้านว่า จะแก้ไขระบบหลักประกันสุขภาพ ที่มีปัญหา กระทบต่อการทำงานของแพทย์ พยาบาล และการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ โดยไม่กระทบต่อสิทธิของประชาชน


กำลังโหลดความคิดเห็น