ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -และแล้ว พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.)ก็ได้สุขสมอารมณ์หมาย เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ลงนามในคำสั่งที่ 93/2557 ลงวันที่ 17 ก.ค.2557 เรื่อง “ยกโทษปลดออกจากราชการ” โดยมีใจความสำคัญคือ ให้ยกโทษปลด พล.ต.อ.พัชรวาทออกจากราชการตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 228/2552 ลงวันที่ 19 ต.ค.2552
คําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว มีขึ้นตามที่คณะกรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เข้าทำการสอบสวนเหตุการณ์สลายการชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บริเวณหน้ารัฐสภาและโดยรอบ เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551 ซึ่งพบว่าตำรวจได้ใช้แก๊สน้ำตาแบบยิงและจงใจยิงใส่ผู้ชุมนุมโดยตรงซึ่งผิดหลักการสากล ทำให้ น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ และ พ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี เสียชีวิต มีผู้บาดเจ็บและพิการรวมจำนวน 400 กว่าคน ป.ป.ช.จึงชี้มูลความผิดเมื่อวันที่ 7 ก.ย.2552 โดย พล.ต.อ.พัชรวาท และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าโดยมิชอบ และความผิดวินัยร้ายแรง ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ มาตรา 79 รวมทั้งได้ชี้มูลความผิด นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมสตรี และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ฐานกระทำผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย โดยกรณีของ พล.ต.อ.พัชรวาทนั้น คณะกรรมการพิจารณาโทษมีมติให้ปลดออกจากตำแหน่ง และได้เสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จึงลงนามในคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 228/2552 ลงวันที่ 19 ต.ค.2552 ให้ พล.ต.อ.พัชรวาทออกจากราชการ
ต่อมา พล.ต.อ.พัชรวาทได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) วันที่ 12 ก.พ. 2553 ที่ประชุม ก.ตร.ครั้งที่ 2/2553 รับรองมติที่ ก.ตร. รับอุทธรณ์ พล.ต.อ.พัชรวาท, พล.ต.ท.สุชาติ กลับเข้ารับราชการตามเดิม โดยต้องส่งเรื่องให้นายอภิสิทธิ์พิจารณาอีกครั้ง แต่นายอภิสิทธิ์ได้สอบถามกลับมายัง ก.ตร. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กระทั่งกฤษฎีกายืนยันกลับไปว่านายอภิสิทธิ์ต้องปฏิบัติตามมติ ก.ตร. นายอภิสิทธิ์จึงสอบถามกลับไปที่ ป.ป.ช.อีกครั้ง
หลังจากรัฐบาลนายอภิสิทธิ์สั่งยุบสภาในปี 2554 พล.ต.อ.พัชรวาทได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อให้พิพากษายกเลิกคำสั่งปลดออกจากราชการ และให้นายกฯ เร่งคืนตำแหน่ง
วันที่ 28 ก.พ.2557 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาว่านายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรในกรณีที่ไม่ยอมปฏิบัติตามมติ ก.ตร. โดยให้นายกรัฐมนตรีต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับจากวันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด โดยศาลฯ เห็นว่านายกรัฐมนตรีได้มีการหารือคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วถึง 3 ครั้ง จนได้รับแจ้งผลครั้งหลังสุดในวันที่ 18 พ.ย. 53 ก็เป็นระยะเวลาพอสมควรที่นายกฯ จะต้องพิจารณาปัญหาข้อกฎหมายแล้ว แต่นายกรัฐมนตรีกลับมีคำสั่งให้สอบถามไปยัง ป.ป.ช.อีก ทั้งที่ไม่มีความจำเป็น เพราะ ป.ป.ช.เป็นผู้ที่ชี้มูล พล.ต.อ.พัชรวาทจึงย่อมคาดหมายผลการตอบข้อหารือที่ร้องขอได้อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลปกครองดังกล่าว ทำให้เกิดความเข้าใจว่า ศาลปกครองมีคำสั่งให้นายกฯ ปฏิบัติตามมติ ก.ตร.คือยกโทษปลดออกพร้อมคืนตำแหน่งให้ พล.ต.อ.พัชรวาท นายไพโรจน์ มินเด็น ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้นประจำศาลปกครองสูงสุดในฐานะโฆษกสำนักงานศาลปกครอง จึงชี้แจงว่า เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในคำพิพากษา โดยคำพิพากษาศาลปกครองกลางในวันนั้นไม่ได้มีคำสั่งให้นายกรัฐมนตรีต้องปฏิบัติตามมติ ก.ตร.ที่ให้ยกเลิกคำสั่งปลด พล.ต.อ.พัชรวาท แต่ศาลเห็นว่าสมควรที่นายกรัฐมนตรีจะต้องพิจารณาตัดสินใจได้แล้ว หลังจากได้รับแจ้งมติจาก ก.ตร. โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
“กรณีนี้องค์คณะตุลาการสั่งว่าให้นายกฯ ไปตัดสินใจ ว่าจะทำอย่างไรกับมติของ ก.ตร. จะยกเลิกคำสั่งปลด พล.ต.อ.พัชรวาทตามที่ ก.ตร.เสนอ หรือ จะดำเนินการโต้แย้ง ก็ให้รีบดำเนินการ เพราะระยะเวลามันล่วงเลยมามาก จนถือว่านายกฯ ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า โดยศาลไม่ได้ไปวินิจฉัยมติของ ก.ตร.ว่าถูกหรือผิด เนื่องจากไม่ได้มีการร้องในประเด็นนี้”นายไพโรจน์กล่าว เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2557
มาดูคำสั่ง คสช.ที่ 93/2557 ที่ให้ยกเลิกคำสั่งปลด พล.ต.อ.พัชรวาทนั้น ได้อ้างถึงคําพิพากษาศาลปกครองกลางในคดีหมายเลขแดงที่ 99/2554 ลงวันที่ 28 ก.พ. 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ในฐานะผู้ใช้อํานาจนายกรัฐมนตรี ตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 10/2557 เรื่อง ให้อํานาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เป็นอํานาจหน้าที่ของหัวหน้า คสช. ลงวันที่ 22 พ.ค. 2557 และอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 (1) และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ประกอบกับข้อ 18 (2) (ง) ข้อ 21 และข้อ 23 แห่งกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2547 มีคําสั่งให้ยกโทษปลด พล.ต.อ.พัชรวาทออกจากราชการตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรีที่ 228/2552
หากย้อนไปดูคำให้สัมภาษณ์ของโฆษกศาลปกครอง เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2557 ที่ออกมาย้ำว่า องค์คณะตุลาการเพียงแต่สั่งให้นายกฯ ไปตัดสินใจ ว่าจะทำอย่างไรกับมติของ ก.ตร. จะยกเลิกคำสั่งปลด พล.ต.อ.พัชรวาทตามที่ ก.ตร.เสนอ หรือจะดำเนินการโต้แย้งก็ให้รีบดำเนินการ ก็เป็นที่ชัดเจนว่า การที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ออกคำสั่ง คสช. ดังกล่าว เป็นการใช้อำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วว่าสมควรยกโทษปลดออกให้กับ พล.ต.อ.พัชรวาท ตามที่ ก.ตร.มีมติ ไม่ใช่เป็นกรณีที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาสั่งให้นายกฯ ต้องปฏิบัติตามมติ ก.ตร.ที่ให้ยกโทษปลดออก พล.ต.อ.พัชรวาทแต่อย่างใด
ส่วนการพิจารณายกโทษดังกล่าว จะเกี่ยวข้องกับการที่ พล.ต.อ.พัชรวาท เป็นน้องชายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานที่ปรึกษา คสช.และพี่ใหญ่แห่ง “บูรพาพยัคฆ์”หรือไม่นั้น พล.อ.ประยุทธ์ย่อมรู้อยู่แก่ใจของตัวเอง และในภาวะการณ์บ้านเมืองที่ คสช.กำลังใช้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์อย่างเข้มข้นเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยเช่นนี้ คงไม่มีใครบังอาจออกมาแสดงความสงสัย
กระนั้นก็ดี สิ่งที่ คสช.ไม่อาจจะใช้อำนาจใดๆ กดทับเอาไว้ได้ ก็คือเสียงเรียกร้องความเป็นธรรมจากพี่น้องพันธมิตรฯ ที่ได้รับผลกระทบกรณีการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551 โดยเฉพาะญาติมิตรคนใกล้ชิดของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ซึ่งไม่เพียงแต่เหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ต.ค. แต่ยังมีเหตุการณ์ต่อเนื่อง กรณีคนร้ายยิงระเบิดเอ็ม 79 เข้าใส่ในทำเนียบรัฐบาลและบริเวณโดยรอบ จนมีผู้เสียชีวิตรวมแล้วนับสิบราย บาดเจ็บอีกหลายพันคน
เหตุการณ์เหล่านี้ ล่วงเลยมาเป็นเวลา 6 ปีเต็ม แต่ยังไม่มีการจับคนร้ายมารับโทษทัณฑ์ตามกฎหมายได้แม้แต่คนเดียว ในเมื่อหัวหน้า คสช.ได้ใช้ดุลพินิจของตัวเองยกเลิกคำสั่งปลด พล.ต.อ.พัชรวาทและคืนตำแหน่ง ผบ.ตร.ให้แล้ว หากในหัวใจของหัวหน้า คสช.ยังมีความเป็นธรรมอยู่บ้าง ควรอย่างยิ่งที่ คสช.จะต้องออกคำสั่งให้มีการรื้อฟื้นคดี 7 ตุลาฯ และเหตุการณ์ต่อเนื่อง แล้วเร่งดำเนินการสืบหาตัวคนร้ายมาลงโทษ เพื่อคืนความยุติธรรมให้แก่เหยื่อผู้ถูกกระทำเหล่านั้น
ไม่เช่นนั้นแล้ว คสช.ก็จะไม่สามารถสร้างบรรยากาศแห่งความสงบเรียบร้อย ได้อย่างถาวรและยั่งยืน ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้
คําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว มีขึ้นตามที่คณะกรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เข้าทำการสอบสวนเหตุการณ์สลายการชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บริเวณหน้ารัฐสภาและโดยรอบ เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551 ซึ่งพบว่าตำรวจได้ใช้แก๊สน้ำตาแบบยิงและจงใจยิงใส่ผู้ชุมนุมโดยตรงซึ่งผิดหลักการสากล ทำให้ น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ และ พ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี เสียชีวิต มีผู้บาดเจ็บและพิการรวมจำนวน 400 กว่าคน ป.ป.ช.จึงชี้มูลความผิดเมื่อวันที่ 7 ก.ย.2552 โดย พล.ต.อ.พัชรวาท และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าโดยมิชอบ และความผิดวินัยร้ายแรง ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ มาตรา 79 รวมทั้งได้ชี้มูลความผิด นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมสตรี และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ฐานกระทำผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย โดยกรณีของ พล.ต.อ.พัชรวาทนั้น คณะกรรมการพิจารณาโทษมีมติให้ปลดออกจากตำแหน่ง และได้เสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จึงลงนามในคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 228/2552 ลงวันที่ 19 ต.ค.2552 ให้ พล.ต.อ.พัชรวาทออกจากราชการ
ต่อมา พล.ต.อ.พัชรวาทได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) วันที่ 12 ก.พ. 2553 ที่ประชุม ก.ตร.ครั้งที่ 2/2553 รับรองมติที่ ก.ตร. รับอุทธรณ์ พล.ต.อ.พัชรวาท, พล.ต.ท.สุชาติ กลับเข้ารับราชการตามเดิม โดยต้องส่งเรื่องให้นายอภิสิทธิ์พิจารณาอีกครั้ง แต่นายอภิสิทธิ์ได้สอบถามกลับมายัง ก.ตร. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กระทั่งกฤษฎีกายืนยันกลับไปว่านายอภิสิทธิ์ต้องปฏิบัติตามมติ ก.ตร. นายอภิสิทธิ์จึงสอบถามกลับไปที่ ป.ป.ช.อีกครั้ง
หลังจากรัฐบาลนายอภิสิทธิ์สั่งยุบสภาในปี 2554 พล.ต.อ.พัชรวาทได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อให้พิพากษายกเลิกคำสั่งปลดออกจากราชการ และให้นายกฯ เร่งคืนตำแหน่ง
วันที่ 28 ก.พ.2557 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาว่านายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรในกรณีที่ไม่ยอมปฏิบัติตามมติ ก.ตร. โดยให้นายกรัฐมนตรีต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับจากวันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด โดยศาลฯ เห็นว่านายกรัฐมนตรีได้มีการหารือคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วถึง 3 ครั้ง จนได้รับแจ้งผลครั้งหลังสุดในวันที่ 18 พ.ย. 53 ก็เป็นระยะเวลาพอสมควรที่นายกฯ จะต้องพิจารณาปัญหาข้อกฎหมายแล้ว แต่นายกรัฐมนตรีกลับมีคำสั่งให้สอบถามไปยัง ป.ป.ช.อีก ทั้งที่ไม่มีความจำเป็น เพราะ ป.ป.ช.เป็นผู้ที่ชี้มูล พล.ต.อ.พัชรวาทจึงย่อมคาดหมายผลการตอบข้อหารือที่ร้องขอได้อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลปกครองดังกล่าว ทำให้เกิดความเข้าใจว่า ศาลปกครองมีคำสั่งให้นายกฯ ปฏิบัติตามมติ ก.ตร.คือยกโทษปลดออกพร้อมคืนตำแหน่งให้ พล.ต.อ.พัชรวาท นายไพโรจน์ มินเด็น ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้นประจำศาลปกครองสูงสุดในฐานะโฆษกสำนักงานศาลปกครอง จึงชี้แจงว่า เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในคำพิพากษา โดยคำพิพากษาศาลปกครองกลางในวันนั้นไม่ได้มีคำสั่งให้นายกรัฐมนตรีต้องปฏิบัติตามมติ ก.ตร.ที่ให้ยกเลิกคำสั่งปลด พล.ต.อ.พัชรวาท แต่ศาลเห็นว่าสมควรที่นายกรัฐมนตรีจะต้องพิจารณาตัดสินใจได้แล้ว หลังจากได้รับแจ้งมติจาก ก.ตร. โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
“กรณีนี้องค์คณะตุลาการสั่งว่าให้นายกฯ ไปตัดสินใจ ว่าจะทำอย่างไรกับมติของ ก.ตร. จะยกเลิกคำสั่งปลด พล.ต.อ.พัชรวาทตามที่ ก.ตร.เสนอ หรือ จะดำเนินการโต้แย้ง ก็ให้รีบดำเนินการ เพราะระยะเวลามันล่วงเลยมามาก จนถือว่านายกฯ ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า โดยศาลไม่ได้ไปวินิจฉัยมติของ ก.ตร.ว่าถูกหรือผิด เนื่องจากไม่ได้มีการร้องในประเด็นนี้”นายไพโรจน์กล่าว เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2557
มาดูคำสั่ง คสช.ที่ 93/2557 ที่ให้ยกเลิกคำสั่งปลด พล.ต.อ.พัชรวาทนั้น ได้อ้างถึงคําพิพากษาศาลปกครองกลางในคดีหมายเลขแดงที่ 99/2554 ลงวันที่ 28 ก.พ. 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ในฐานะผู้ใช้อํานาจนายกรัฐมนตรี ตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 10/2557 เรื่อง ให้อํานาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เป็นอํานาจหน้าที่ของหัวหน้า คสช. ลงวันที่ 22 พ.ค. 2557 และอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 (1) และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ประกอบกับข้อ 18 (2) (ง) ข้อ 21 และข้อ 23 แห่งกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2547 มีคําสั่งให้ยกโทษปลด พล.ต.อ.พัชรวาทออกจากราชการตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรีที่ 228/2552
หากย้อนไปดูคำให้สัมภาษณ์ของโฆษกศาลปกครอง เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2557 ที่ออกมาย้ำว่า องค์คณะตุลาการเพียงแต่สั่งให้นายกฯ ไปตัดสินใจ ว่าจะทำอย่างไรกับมติของ ก.ตร. จะยกเลิกคำสั่งปลด พล.ต.อ.พัชรวาทตามที่ ก.ตร.เสนอ หรือจะดำเนินการโต้แย้งก็ให้รีบดำเนินการ ก็เป็นที่ชัดเจนว่า การที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ออกคำสั่ง คสช. ดังกล่าว เป็นการใช้อำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วว่าสมควรยกโทษปลดออกให้กับ พล.ต.อ.พัชรวาท ตามที่ ก.ตร.มีมติ ไม่ใช่เป็นกรณีที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาสั่งให้นายกฯ ต้องปฏิบัติตามมติ ก.ตร.ที่ให้ยกโทษปลดออก พล.ต.อ.พัชรวาทแต่อย่างใด
ส่วนการพิจารณายกโทษดังกล่าว จะเกี่ยวข้องกับการที่ พล.ต.อ.พัชรวาท เป็นน้องชายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานที่ปรึกษา คสช.และพี่ใหญ่แห่ง “บูรพาพยัคฆ์”หรือไม่นั้น พล.อ.ประยุทธ์ย่อมรู้อยู่แก่ใจของตัวเอง และในภาวะการณ์บ้านเมืองที่ คสช.กำลังใช้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์อย่างเข้มข้นเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยเช่นนี้ คงไม่มีใครบังอาจออกมาแสดงความสงสัย
กระนั้นก็ดี สิ่งที่ คสช.ไม่อาจจะใช้อำนาจใดๆ กดทับเอาไว้ได้ ก็คือเสียงเรียกร้องความเป็นธรรมจากพี่น้องพันธมิตรฯ ที่ได้รับผลกระทบกรณีการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551 โดยเฉพาะญาติมิตรคนใกล้ชิดของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ซึ่งไม่เพียงแต่เหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ต.ค. แต่ยังมีเหตุการณ์ต่อเนื่อง กรณีคนร้ายยิงระเบิดเอ็ม 79 เข้าใส่ในทำเนียบรัฐบาลและบริเวณโดยรอบ จนมีผู้เสียชีวิตรวมแล้วนับสิบราย บาดเจ็บอีกหลายพันคน
เหตุการณ์เหล่านี้ ล่วงเลยมาเป็นเวลา 6 ปีเต็ม แต่ยังไม่มีการจับคนร้ายมารับโทษทัณฑ์ตามกฎหมายได้แม้แต่คนเดียว ในเมื่อหัวหน้า คสช.ได้ใช้ดุลพินิจของตัวเองยกเลิกคำสั่งปลด พล.ต.อ.พัชรวาทและคืนตำแหน่ง ผบ.ตร.ให้แล้ว หากในหัวใจของหัวหน้า คสช.ยังมีความเป็นธรรมอยู่บ้าง ควรอย่างยิ่งที่ คสช.จะต้องออกคำสั่งให้มีการรื้อฟื้นคดี 7 ตุลาฯ และเหตุการณ์ต่อเนื่อง แล้วเร่งดำเนินการสืบหาตัวคนร้ายมาลงโทษ เพื่อคืนความยุติธรรมให้แก่เหยื่อผู้ถูกกระทำเหล่านั้น
ไม่เช่นนั้นแล้ว คสช.ก็จะไม่สามารถสร้างบรรยากาศแห่งความสงบเรียบร้อย ได้อย่างถาวรและยั่งยืน ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้