ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -ปรากฏโฉมออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557” จากฝีมือทำคลอดของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และความร่วมมือของเหล่า “เนติบริกร” ยอดฝีมือทั้ง “นายวิษณุ เครืองาม” และ “ศ.พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย”
รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวฉบับนี้ถือว่า มีความไม่ธรรมดา ยิ่งถ้าหากนำไปเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญชั่วคราวในปี พ.ศ.2549 ของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ด้วยแล้วยิ่งเห็นได้ชัดว่า ได้อุดช่องว่างและช่องโหว่เอาไว้แบบเบ็ดเสร็จ
โดยเฉพาะอำนาจของคณะรัฐประหารหรือ คสช.ที่ยังคงเป็น “อำนาจรัฏฐาธิปัตย์” สูงสุดของประเทศ หรือพูดง่ายๆ คือมีอำนาจเหนืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และรวมกระทั่งถึง “อำนาจตุลาการ” อีกต่างหาก
รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 มีเนื้อหาทั้งหมด 48 มาตรา ขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับบิ๊กบังมี 39 มาตรา ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้วสาระส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามปกติของรัฐธรรมนูญหลังการทำรัฐประหาร แต่จุดที่สำคัญและต้องขีดเส้นใต้เอาไว้มี 3 มาตราสำคัญ
มาตรา 19 วรรค 3 ให้อำนาจ คสช.ปลดนายกรัฐมนตรีได้
มาตรา 42 ให้อำนาจ คสช.ปลดคณะรัฐมนตรี รวมทั้งมีสิทธิสั่งให้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง คสช.กับคณะรัฐมนตรีได้ในทุกๆ เรื่อง
“เพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ต่อไปในกรณีที่เห็นสมควร หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือนายกรัฐมนตรีอาจขอให้มีการประชุมร่วมกันของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีเพื่อร่วมพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาใด ๆ อันเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ รวมตลอดทั้งการปรึกษาหารือเป็นครั้งคราวในเรื่องอื่นใดก็ได้”
นั่นคือสาระของมาตรา 42
แต่มาตราที่เด็ดที่สุดเห็นจะหนีไม่พ้นมาตรา 44 เพราะมาตรานี้ให้อำนาจของ คสช.มีเหนือทุกอำนาจในประเทศที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ไว้
มาตรา 44 เขียนเอาไว้ว่า ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอํานาจสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทําการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทํานั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหารหรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคําสั่งหรือการกระทํา รวมทั้งการปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว เป็นคําสั่งหรือการกระทํา หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดําเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
แปลไทยเป็นไทยก็คือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้อำนาจของหัวหน้า คสช.เป็นไปอย่างกว้างขวางในทุกอำนาจอธิปไตยคืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ
ยิ่งถ้าหัวหน้า คสช.เป็นคนเดียวกับนายกรัฐมนตรีด้วยแล้วก็ยิ่งเห็นชัดว่า ขอบข่ายอำนาจกว้างขวางแค่ไหน
ทั้งนี้ ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า ที่ผ่านมาก่อนมีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว คสช. ใช้เพียงอำนาจในทางนิติบัญญัติ คือการออกประกาศ และคำสั่งต่างๆ และใช้อำนาจทางบริหาร คือการแต่งตั้ง โยกย้าย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่หน่วยงาน องค์กรต่างๆ แต่อำนาจเหล่านี้ก็ยังไม่ใช่อำนาจตุลาการ แต่มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ครอบคลุมถึงอำนาจตุลาการด้วย
ถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่หัวหน้า คสช.และนายกรัฐมนตรีจะเป็นคนๆ เดียวกัน
ตอบทันทีว่า ได้ ดังเช่นที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้า คสช. สามารถควบตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้ห้าม อีกทั้งไม่มีข้อบกพร่อง ซึ่งตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ สามารถแก้ปัญหาประเทศได้ในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันก็ยอมรับด้วยว่า คสช.ส่วนหนึ่งอาจเข้ามาเป็นคณะรัฐมนตรี รวมถึงคณะที่ปรึกษา คสช. เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามไว้ แต่ส่วนของคณะรัฐมนตรีระหว่างทหารและพลเรือนไม่สามารถระบุได้ ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถและความเหมาะสม
กระนั้นก็ดี เมื่อตีความอย่างละเอียดก็มีความเป็นไปได้อีกเช่นกันว่า พล.อ.ประยุทธ์อาจไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็ได้ เพราะในเมื่อรัฐธรรมนูญเขียนเอาไว้ชัดเจนว่า อำนาจของ คสช.มีเหนือทุกอำนาจ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นที่จะต้องเปลืองตัวรับตำแหน่งนี้เนื่องจากจะทำให้ตกเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์ได้
และแน่นอนว่า เมื่อเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อึงมี่ทั้งแผ่นดิน คสช.จึงจำต้องมีคำสั่งให้ทีมผู้จัดทำรัฐธรรมนูญออกมาชี้แจงและอธิบายรายละเอียดในวันถัดมา
“มาตรา 44 ไม่ได้ให้อำนาจ คสช.ในการแทรกแซงฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือฝ่ายตุลาการ รวมทั้งไม่ได้มีอำนาจที่จะไปสั่งการรัฐบาล หรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แต่อย่างใด ทั้งนี้ การใช้มาตรา 44 ต้องเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ซึ่งมีทั้งทางบวกและทางลบ ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป หากกระบวนการของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติต้องใช้ระยะเวลานาน หัวหน้า คสช.ก็อาจจะออกคำสั่งหรือประกาศเพื่อที่จะแก้ไขเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคง อย่างไรก็ตามคงไม่ไปไกลถึงขนาดจอมพลสฤษดิ์ที่ไปยุ่งเกี่ยวกับคดีอาญาปกติ
ผมมีความเชื่อมั่นว่าท่านหัวหน้า คสช.ในขณะที่ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ท่านเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ทำได้มากกว่ามาตรา 44 แต่ก็ยังไม่เคยทำ หรือไปลงโทษใครในลักษณะที่ว่าเลย แม้กระทั่งการย้ายข้าราชการก็ทำเพื่อความเหมาะสม ผมกลับมั่นใจว่ามาตรา 44 จะช่วยสร้างสรรค์และคุ้มครองดูแลประเทศไทยในเรื่องความสงบเรียบร้อยมากกว่า” ศ.พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ที่ปรึกษาหัวหน้า คสช.แจกแจง
ขณะที่ ดร.วิษณุ เครืองาม อีกหนึ่งที่ปรึกษาหัวหน้า คสช.กล่าวเสริมว่า “ เรื่องของการใช้อำนาจพิเศษเป็นผลที่ตามมาจากการคง คสช.ไว้ หาก คสช.ไม่มีแล้วก็ไม่มีความจำเป็น การที่ให้มี คสช.อยู่ก็เพื่อให้ทำหน้าที่บางอย่างที่คณะรัฐมนตรีอาจจะกระทำได้ลำบาก ทั้งแบบแผนของการมีมาตรา 44 นี้มีมาในอดีตทุกครั้งที่มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว โดยมองว่าการที่องค์กรยึดอำนาจยังคงต้องอยู่ต่อ แล้วไม่มีอำนาจพิเศษไว้ในมือ ในบางสถานการณ์ก็ไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ ลงท้ายก็ต้องเกิดการยึดอำนาจซ้อนขึ้นมาอีก อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามในอนาคตว่า คสช.จะใช้ประกาศิตนี้ในทางสร้างสรรค์หรือทำลาย ส่งเสริมหรือกำราบ เป็นเหมือนดาบที่มีสองคม เพราะ คสช.อยู่ภายใต้การจับตาดูของทุกฝ่ายอยู่แล้ว ”
เป็นคำอธิบายจาก 2 เนติบริกรที่ชัดเจนมาก เพราะทั้งคู่มิได้ปฏิเสธอำนาจล้นฟ้าของ คมช. เพียงแต่ออกตัวรับประกันว่า คสช.จะไม่กระทำอะไรที่เกินเลยเท่านั้น
ส่วนข้ออ้างว่า เพื่อป้องกันการยึดอำนาจซ้อนที่ออกจากปากของ ดร.วิษณุ เครือข่าย ฟังดูแล้ว ไม่มีตรรกะที่เป็นเหตุเป็นผล เพราะถ้าจะมีการยึดอำนาจซ้อนจริง ถามว่า มาตรา 44 จะช่วยอะไรได้ เปรียบเทียบก็เหมือนการที่ คสช.ทำรัฐประหารรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2540 ก็ระบุโทษไว้ชัดเจน แต่ คสช.ก็ยังสามารถทำรัฐประหารได้
กระนั้นก็ดี การที่รัฐธรรมนูญฉบับบิ๊กตู่เขียนเอาไว้เช่นนี้ ถ้าจะว่าไปแล้วก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่ดี ใครจะบอกว่ามีอำนาจล้นฟ้า มีอำนาจเหนือทุกสถาบัน หรือที่มีการหยอกล้อกันว่า คสช.พ่อทุกสถาบัน ก็เป็นข้อกล่าวหาที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น เพราะในเมื่อ คสช.ทำรัฐประหารก็ย่อมหมายความว่า คสช.ต้องรับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 อยู่แล้ว และยิ่งเมื่อเขียนย้ำเอาไว้ถึงอำนาจอันเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในรัฐธรรมนูญ ก็ย่อมเป็นหลัก รับประกันได้ว่า คสช.พร้อมรับผิดชอบทุกสิ่งภายใต้รัฐบาลใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ไม่ว่าใครจะเป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ก็ตาม
จะล้างระบอบทักษิณหรือไม่ ก็เป็นอำนาจของ คสช.
จะปฏิรูปพลังงานหรือไม่ ก็เป็นอำนจของ คสช.
เพราะ คสช.แอ่นอกประกาศต่อหน้าธารกำนัลผ่านรัฐธรรมนูญแล้วว่า ขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
กระนั้นก็ดี ไม่รู้ว่าประจวบเหมาะหรือบังเอิญหรือไม่ เพราะหลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) ปี 2557 ก็เกิดกรณี “พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ” อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติขึ้น เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ลงนามในคำสั่งให้ยกโทษปลดออกจากราชการ
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนพิเศษ 139 ง วันที่ 23 ก.ค. 2557 ได้ตีพิมพ์คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 93/2557 เรื่องยกโทษปลดออกจากราชการ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ระบุว่า โดยที่ศาลปกครองกลางได้มีคําพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 99/2554 ลงวันที่ 28 ก.พ. 2557 ให้นายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับแจ้งมติของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ในการประชุมครั้งที่ 17/2552 เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2552 และครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2553 ที่ให้สั่งยกโทษปลด พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ออกจากราชการตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 228/2552 ลงวันที่ 19 ต.ค. 2552 ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คําพิพากษาถึงที่สุดนั้น
เพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามคําพิพากษาศาลปกครองกลางซึ่งถึงที่สุดข้างต้น หัวหน้า คสช. ในฐานะผู้ใช้อํานาจนายกรัฐมนตรี ตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 10/2557 เรื่อง ให้อํานาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เป็นอํานาจหน้าที่ของหัวหน้า คสช. ลงวันที่ 22 พ.ค. 2557 จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 (1) และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ประกอบกับข้อ 18 (2) (ง) ข้อ 21 และข้อ 23 แห่งกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2547 มีคําสั่งให้ยกโทษปลด พล.ต.อ.พัชรวาท ออกจากราชการตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ ที่ 228/2552 ลงวันที่ 19 ต.ค. 2552 ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 17 ก.ค. 2557
ลงชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.
ทั้งนี้ เรื่องราวทั้งหมดอันเป็นที่มาของประกาศ คสช.เกิดขึ้นมาจากการที่ พล.ต.อ.พัชรวาท ถูกกล่าวหาว่าได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อาวุธปราบปรามผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่กำลังชุมนุมในพื้นที่บริเวณหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 ซึ่งพบว่าตำรวจมีการใช้ระเบิดแก๊สน้ำตาแบบยิง และตำรวจจงใจยิงใส่ผู้ชุมนุมโดยตรงซึ่งผิดหลักการสากล ทำให้ น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ เสียชีวิต มีผู้บาดเจ็บและพิการจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2552 โดย พล.ต.อ.พัชรวาทมีมูลความผิดทางอาญา และความผิดวินัยร้ายแรง ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ มาตรา 79 กระทั่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ลงนามคำสั่งให้ พล.ต.อ.พัชรวาท ไปช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี หลังการชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช.ผ่านไป 2 วัน แต่เจ้าตัวได้ยื่นจดหมายลาออกจากตำแหน่ง โดยให้เหตุผลว่าต้องการพักผ่อน
ต่อมา พล.ต.อ.พัชรวาทได้ยื่นอุทธรณ์ต่อ ก.ตร. พร้อมกับ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) และ พล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ อดีต ผบก.ภ.อุดรธานี กระทั่งวันที่ 12 ก.พ. 2553 ที่ประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 2/2553 รับรองมติที่ ก.ตร. รับอุทธรณ์ พล.ต.อ.พัชรวาท, พล.ต.ท.สุชาติ และพล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ กลับเข้ารับราชการตามเดิม โดย พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการ ผบ.ตร. (ในขณะนั้น) ให้เรียกตัว พล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ กลับเข้ารับราชการตามเดิม ส่วน พล.ต.อ.พัชรวาท ต้องส่งเรื่องให้นายอภิสิทธิ์ แต่นายอภิสิทธิ์ได้ส่งเรื่องสอบถามกลับมายัง ก.ตร. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กระทั่งกฤษฎีกายืนยันกลับไปว่านายอภิสิทธิ์ต้องปฏิบัติตามมติ ก.ตร. นายอภิสิทธิ์จึงสอบถามกลับไปที่ ป.ป.ช.อีกครั้ง กระทั่งหลังรัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภา พล.ต.อ.พัชรวาท ตัดสินใจยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อให้พิพากษายกเลิกคำสั่งปลด และให้นายกฯ เร่งคืนตำแหน่ง เนื่องจากมีผลทางประวัติการทำงาน กระทั่งศาลปกครองกลางมีคำสั่งดังกล่าว แต่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ได้ดำเนินการ กระทั่งในยุคที่ พล.อ.ประยุทธ์เป็นหัวหน้า คสช. จึงได้ดำเนินการคืนตำแหน่ง ผบ.ตร.ให้ พล.ต.อ.พัชรวาทในที่สุด
ไม่น่าแปลกใจที่เสียงวิพากษ์วิจารณ์จะดังขรมทั้งแผ่นดินว่า พล.อ.ประยุทธ์คืนความสุขให้ พล.ต.อ.พัชรวาท เพราะต้องไม่ลืมว่า พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ คือน้องชายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์ ซึ่งขณะนี้นั่งเป็นประธานที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แม้ว่าคำสั่งดังกล่าวจะเป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางซึ่งถึงที่สุดแล้วก็ตาม
จากกรณีของ พล.ต.อ.พัชรวาท งานนี้ คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการจับตาและตรวจสอบ คสช.ว่า จะมีการใช้อำนาจทั้ง 3 อำนาจคืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการไปในทิศทางใดบ้าง โดยเฉพาะอำนาจตุลาการ
เนื่องจากทิศทางการทำงานของ คสช.ที่ผ่านมาส่งสัญญาณให้เห็นชัดเจนว่า ต้องการให้เกิดการปรองดองของทุกสีเสื้อ ดังตัวอย่างเช่นการจัดการมหกรรมปรองดองสมานฉันท์ คืนความสุขให้คนในชาติ ซึ่ง คสช.จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่อลังการที่ทุ่งพระสุเมรุ สนามหลวง
ส่วนเรื่องสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปร.)คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ถามว่า ใครจะเข้าวินเข้าป้ายบ้าง ตอบได้เลยว่า ต้องเป็นคนที่ คสช.ไว้ใจ
บ้างก็ว่า ดร.วิษณุ เครืองามจะรั้งตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ถ้านายมีชัย ฤชุพันธุ์ไม่รับ
บ้างก็ว่า ศ.พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย จะรั้งตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ถามว่า ใน สนช.และ สปร.เป็นทหารเยอะไหม ตอบได้เลยว่า มาก เพราะทหารคือคนที่ คสช.ไว้ใจ
แล้วก็อย่าแปลกใจว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาปฏิรูปแห่งชาติจะปรากฏรายชื่อของสมาชิกพรรคการเมืองรวมอยู่ด้วย เพราะ ดร.วิษณุเขาสาธยายแล้วว่า ห้ามแค่เป็นผู้ที่มีตำแหน่งในพรรค ส่วนคนที่เป็นสมาชิกพรรคไม่ได้ห้าม ซึ่งยิ่งในยุคที่ คสช.ต้องการการปรองดองเยี่ยงนี้ด้วยแล้ว นี่จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่สุดแสนจะสามัญ
และถามว่าสุดท้ายแล้วบ้านเมืองจะเดินไปในทิศทางใด
ตอบได้ทันทีแบบไม่ลังเลว่า อยู่ที่ คสช.และชายชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ของประเทศไทยอยู่ในมือของ คสช.และพล.อ.ประยุทธ์ตามคำรับรองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวฉบับนี้ถือว่า มีความไม่ธรรมดา ยิ่งถ้าหากนำไปเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญชั่วคราวในปี พ.ศ.2549 ของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ด้วยแล้วยิ่งเห็นได้ชัดว่า ได้อุดช่องว่างและช่องโหว่เอาไว้แบบเบ็ดเสร็จ
โดยเฉพาะอำนาจของคณะรัฐประหารหรือ คสช.ที่ยังคงเป็น “อำนาจรัฏฐาธิปัตย์” สูงสุดของประเทศ หรือพูดง่ายๆ คือมีอำนาจเหนืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และรวมกระทั่งถึง “อำนาจตุลาการ” อีกต่างหาก
รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 มีเนื้อหาทั้งหมด 48 มาตรา ขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับบิ๊กบังมี 39 มาตรา ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้วสาระส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามปกติของรัฐธรรมนูญหลังการทำรัฐประหาร แต่จุดที่สำคัญและต้องขีดเส้นใต้เอาไว้มี 3 มาตราสำคัญ
มาตรา 19 วรรค 3 ให้อำนาจ คสช.ปลดนายกรัฐมนตรีได้
มาตรา 42 ให้อำนาจ คสช.ปลดคณะรัฐมนตรี รวมทั้งมีสิทธิสั่งให้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง คสช.กับคณะรัฐมนตรีได้ในทุกๆ เรื่อง
“เพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ต่อไปในกรณีที่เห็นสมควร หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือนายกรัฐมนตรีอาจขอให้มีการประชุมร่วมกันของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีเพื่อร่วมพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาใด ๆ อันเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ รวมตลอดทั้งการปรึกษาหารือเป็นครั้งคราวในเรื่องอื่นใดก็ได้”
นั่นคือสาระของมาตรา 42
แต่มาตราที่เด็ดที่สุดเห็นจะหนีไม่พ้นมาตรา 44 เพราะมาตรานี้ให้อำนาจของ คสช.มีเหนือทุกอำนาจในประเทศที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ไว้
มาตรา 44 เขียนเอาไว้ว่า ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอํานาจสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทําการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทํานั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหารหรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคําสั่งหรือการกระทํา รวมทั้งการปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว เป็นคําสั่งหรือการกระทํา หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดําเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
แปลไทยเป็นไทยก็คือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้อำนาจของหัวหน้า คสช.เป็นไปอย่างกว้างขวางในทุกอำนาจอธิปไตยคืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ
ยิ่งถ้าหัวหน้า คสช.เป็นคนเดียวกับนายกรัฐมนตรีด้วยแล้วก็ยิ่งเห็นชัดว่า ขอบข่ายอำนาจกว้างขวางแค่ไหน
ทั้งนี้ ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า ที่ผ่านมาก่อนมีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว คสช. ใช้เพียงอำนาจในทางนิติบัญญัติ คือการออกประกาศ และคำสั่งต่างๆ และใช้อำนาจทางบริหาร คือการแต่งตั้ง โยกย้าย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่หน่วยงาน องค์กรต่างๆ แต่อำนาจเหล่านี้ก็ยังไม่ใช่อำนาจตุลาการ แต่มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ครอบคลุมถึงอำนาจตุลาการด้วย
ถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่หัวหน้า คสช.และนายกรัฐมนตรีจะเป็นคนๆ เดียวกัน
ตอบทันทีว่า ได้ ดังเช่นที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้า คสช. สามารถควบตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้ห้าม อีกทั้งไม่มีข้อบกพร่อง ซึ่งตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ สามารถแก้ปัญหาประเทศได้ในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันก็ยอมรับด้วยว่า คสช.ส่วนหนึ่งอาจเข้ามาเป็นคณะรัฐมนตรี รวมถึงคณะที่ปรึกษา คสช. เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามไว้ แต่ส่วนของคณะรัฐมนตรีระหว่างทหารและพลเรือนไม่สามารถระบุได้ ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถและความเหมาะสม
กระนั้นก็ดี เมื่อตีความอย่างละเอียดก็มีความเป็นไปได้อีกเช่นกันว่า พล.อ.ประยุทธ์อาจไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็ได้ เพราะในเมื่อรัฐธรรมนูญเขียนเอาไว้ชัดเจนว่า อำนาจของ คสช.มีเหนือทุกอำนาจ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นที่จะต้องเปลืองตัวรับตำแหน่งนี้เนื่องจากจะทำให้ตกเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์ได้
และแน่นอนว่า เมื่อเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อึงมี่ทั้งแผ่นดิน คสช.จึงจำต้องมีคำสั่งให้ทีมผู้จัดทำรัฐธรรมนูญออกมาชี้แจงและอธิบายรายละเอียดในวันถัดมา
“มาตรา 44 ไม่ได้ให้อำนาจ คสช.ในการแทรกแซงฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือฝ่ายตุลาการ รวมทั้งไม่ได้มีอำนาจที่จะไปสั่งการรัฐบาล หรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แต่อย่างใด ทั้งนี้ การใช้มาตรา 44 ต้องเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ซึ่งมีทั้งทางบวกและทางลบ ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป หากกระบวนการของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติต้องใช้ระยะเวลานาน หัวหน้า คสช.ก็อาจจะออกคำสั่งหรือประกาศเพื่อที่จะแก้ไขเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคง อย่างไรก็ตามคงไม่ไปไกลถึงขนาดจอมพลสฤษดิ์ที่ไปยุ่งเกี่ยวกับคดีอาญาปกติ
ผมมีความเชื่อมั่นว่าท่านหัวหน้า คสช.ในขณะที่ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ท่านเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ทำได้มากกว่ามาตรา 44 แต่ก็ยังไม่เคยทำ หรือไปลงโทษใครในลักษณะที่ว่าเลย แม้กระทั่งการย้ายข้าราชการก็ทำเพื่อความเหมาะสม ผมกลับมั่นใจว่ามาตรา 44 จะช่วยสร้างสรรค์และคุ้มครองดูแลประเทศไทยในเรื่องความสงบเรียบร้อยมากกว่า” ศ.พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ที่ปรึกษาหัวหน้า คสช.แจกแจง
ขณะที่ ดร.วิษณุ เครืองาม อีกหนึ่งที่ปรึกษาหัวหน้า คสช.กล่าวเสริมว่า “ เรื่องของการใช้อำนาจพิเศษเป็นผลที่ตามมาจากการคง คสช.ไว้ หาก คสช.ไม่มีแล้วก็ไม่มีความจำเป็น การที่ให้มี คสช.อยู่ก็เพื่อให้ทำหน้าที่บางอย่างที่คณะรัฐมนตรีอาจจะกระทำได้ลำบาก ทั้งแบบแผนของการมีมาตรา 44 นี้มีมาในอดีตทุกครั้งที่มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว โดยมองว่าการที่องค์กรยึดอำนาจยังคงต้องอยู่ต่อ แล้วไม่มีอำนาจพิเศษไว้ในมือ ในบางสถานการณ์ก็ไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ ลงท้ายก็ต้องเกิดการยึดอำนาจซ้อนขึ้นมาอีก อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามในอนาคตว่า คสช.จะใช้ประกาศิตนี้ในทางสร้างสรรค์หรือทำลาย ส่งเสริมหรือกำราบ เป็นเหมือนดาบที่มีสองคม เพราะ คสช.อยู่ภายใต้การจับตาดูของทุกฝ่ายอยู่แล้ว ”
เป็นคำอธิบายจาก 2 เนติบริกรที่ชัดเจนมาก เพราะทั้งคู่มิได้ปฏิเสธอำนาจล้นฟ้าของ คมช. เพียงแต่ออกตัวรับประกันว่า คสช.จะไม่กระทำอะไรที่เกินเลยเท่านั้น
ส่วนข้ออ้างว่า เพื่อป้องกันการยึดอำนาจซ้อนที่ออกจากปากของ ดร.วิษณุ เครือข่าย ฟังดูแล้ว ไม่มีตรรกะที่เป็นเหตุเป็นผล เพราะถ้าจะมีการยึดอำนาจซ้อนจริง ถามว่า มาตรา 44 จะช่วยอะไรได้ เปรียบเทียบก็เหมือนการที่ คสช.ทำรัฐประหารรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2540 ก็ระบุโทษไว้ชัดเจน แต่ คสช.ก็ยังสามารถทำรัฐประหารได้
กระนั้นก็ดี การที่รัฐธรรมนูญฉบับบิ๊กตู่เขียนเอาไว้เช่นนี้ ถ้าจะว่าไปแล้วก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่ดี ใครจะบอกว่ามีอำนาจล้นฟ้า มีอำนาจเหนือทุกสถาบัน หรือที่มีการหยอกล้อกันว่า คสช.พ่อทุกสถาบัน ก็เป็นข้อกล่าวหาที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น เพราะในเมื่อ คสช.ทำรัฐประหารก็ย่อมหมายความว่า คสช.ต้องรับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 อยู่แล้ว และยิ่งเมื่อเขียนย้ำเอาไว้ถึงอำนาจอันเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในรัฐธรรมนูญ ก็ย่อมเป็นหลัก รับประกันได้ว่า คสช.พร้อมรับผิดชอบทุกสิ่งภายใต้รัฐบาลใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ไม่ว่าใครจะเป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ก็ตาม
จะล้างระบอบทักษิณหรือไม่ ก็เป็นอำนาจของ คสช.
จะปฏิรูปพลังงานหรือไม่ ก็เป็นอำนจของ คสช.
เพราะ คสช.แอ่นอกประกาศต่อหน้าธารกำนัลผ่านรัฐธรรมนูญแล้วว่า ขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
กระนั้นก็ดี ไม่รู้ว่าประจวบเหมาะหรือบังเอิญหรือไม่ เพราะหลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) ปี 2557 ก็เกิดกรณี “พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ” อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติขึ้น เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ลงนามในคำสั่งให้ยกโทษปลดออกจากราชการ
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนพิเศษ 139 ง วันที่ 23 ก.ค. 2557 ได้ตีพิมพ์คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 93/2557 เรื่องยกโทษปลดออกจากราชการ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ระบุว่า โดยที่ศาลปกครองกลางได้มีคําพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 99/2554 ลงวันที่ 28 ก.พ. 2557 ให้นายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับแจ้งมติของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ในการประชุมครั้งที่ 17/2552 เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2552 และครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2553 ที่ให้สั่งยกโทษปลด พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ออกจากราชการตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 228/2552 ลงวันที่ 19 ต.ค. 2552 ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คําพิพากษาถึงที่สุดนั้น
เพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามคําพิพากษาศาลปกครองกลางซึ่งถึงที่สุดข้างต้น หัวหน้า คสช. ในฐานะผู้ใช้อํานาจนายกรัฐมนตรี ตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 10/2557 เรื่อง ให้อํานาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เป็นอํานาจหน้าที่ของหัวหน้า คสช. ลงวันที่ 22 พ.ค. 2557 จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 (1) และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ประกอบกับข้อ 18 (2) (ง) ข้อ 21 และข้อ 23 แห่งกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2547 มีคําสั่งให้ยกโทษปลด พล.ต.อ.พัชรวาท ออกจากราชการตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ ที่ 228/2552 ลงวันที่ 19 ต.ค. 2552 ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 17 ก.ค. 2557
ลงชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.
ทั้งนี้ เรื่องราวทั้งหมดอันเป็นที่มาของประกาศ คสช.เกิดขึ้นมาจากการที่ พล.ต.อ.พัชรวาท ถูกกล่าวหาว่าได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อาวุธปราบปรามผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่กำลังชุมนุมในพื้นที่บริเวณหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 ซึ่งพบว่าตำรวจมีการใช้ระเบิดแก๊สน้ำตาแบบยิง และตำรวจจงใจยิงใส่ผู้ชุมนุมโดยตรงซึ่งผิดหลักการสากล ทำให้ น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ เสียชีวิต มีผู้บาดเจ็บและพิการจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2552 โดย พล.ต.อ.พัชรวาทมีมูลความผิดทางอาญา และความผิดวินัยร้ายแรง ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ มาตรา 79 กระทั่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ลงนามคำสั่งให้ พล.ต.อ.พัชรวาท ไปช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี หลังการชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช.ผ่านไป 2 วัน แต่เจ้าตัวได้ยื่นจดหมายลาออกจากตำแหน่ง โดยให้เหตุผลว่าต้องการพักผ่อน
ต่อมา พล.ต.อ.พัชรวาทได้ยื่นอุทธรณ์ต่อ ก.ตร. พร้อมกับ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) และ พล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ อดีต ผบก.ภ.อุดรธานี กระทั่งวันที่ 12 ก.พ. 2553 ที่ประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 2/2553 รับรองมติที่ ก.ตร. รับอุทธรณ์ พล.ต.อ.พัชรวาท, พล.ต.ท.สุชาติ และพล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ กลับเข้ารับราชการตามเดิม โดย พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการ ผบ.ตร. (ในขณะนั้น) ให้เรียกตัว พล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ กลับเข้ารับราชการตามเดิม ส่วน พล.ต.อ.พัชรวาท ต้องส่งเรื่องให้นายอภิสิทธิ์ แต่นายอภิสิทธิ์ได้ส่งเรื่องสอบถามกลับมายัง ก.ตร. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กระทั่งกฤษฎีกายืนยันกลับไปว่านายอภิสิทธิ์ต้องปฏิบัติตามมติ ก.ตร. นายอภิสิทธิ์จึงสอบถามกลับไปที่ ป.ป.ช.อีกครั้ง กระทั่งหลังรัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภา พล.ต.อ.พัชรวาท ตัดสินใจยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อให้พิพากษายกเลิกคำสั่งปลด และให้นายกฯ เร่งคืนตำแหน่ง เนื่องจากมีผลทางประวัติการทำงาน กระทั่งศาลปกครองกลางมีคำสั่งดังกล่าว แต่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ได้ดำเนินการ กระทั่งในยุคที่ พล.อ.ประยุทธ์เป็นหัวหน้า คสช. จึงได้ดำเนินการคืนตำแหน่ง ผบ.ตร.ให้ พล.ต.อ.พัชรวาทในที่สุด
ไม่น่าแปลกใจที่เสียงวิพากษ์วิจารณ์จะดังขรมทั้งแผ่นดินว่า พล.อ.ประยุทธ์คืนความสุขให้ พล.ต.อ.พัชรวาท เพราะต้องไม่ลืมว่า พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ คือน้องชายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์ ซึ่งขณะนี้นั่งเป็นประธานที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แม้ว่าคำสั่งดังกล่าวจะเป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางซึ่งถึงที่สุดแล้วก็ตาม
จากกรณีของ พล.ต.อ.พัชรวาท งานนี้ คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการจับตาและตรวจสอบ คสช.ว่า จะมีการใช้อำนาจทั้ง 3 อำนาจคืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการไปในทิศทางใดบ้าง โดยเฉพาะอำนาจตุลาการ
เนื่องจากทิศทางการทำงานของ คสช.ที่ผ่านมาส่งสัญญาณให้เห็นชัดเจนว่า ต้องการให้เกิดการปรองดองของทุกสีเสื้อ ดังตัวอย่างเช่นการจัดการมหกรรมปรองดองสมานฉันท์ คืนความสุขให้คนในชาติ ซึ่ง คสช.จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่อลังการที่ทุ่งพระสุเมรุ สนามหลวง
ส่วนเรื่องสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปร.)คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ถามว่า ใครจะเข้าวินเข้าป้ายบ้าง ตอบได้เลยว่า ต้องเป็นคนที่ คสช.ไว้ใจ
บ้างก็ว่า ดร.วิษณุ เครืองามจะรั้งตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ถ้านายมีชัย ฤชุพันธุ์ไม่รับ
บ้างก็ว่า ศ.พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย จะรั้งตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ถามว่า ใน สนช.และ สปร.เป็นทหารเยอะไหม ตอบได้เลยว่า มาก เพราะทหารคือคนที่ คสช.ไว้ใจ
แล้วก็อย่าแปลกใจว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาปฏิรูปแห่งชาติจะปรากฏรายชื่อของสมาชิกพรรคการเมืองรวมอยู่ด้วย เพราะ ดร.วิษณุเขาสาธยายแล้วว่า ห้ามแค่เป็นผู้ที่มีตำแหน่งในพรรค ส่วนคนที่เป็นสมาชิกพรรคไม่ได้ห้าม ซึ่งยิ่งในยุคที่ คสช.ต้องการการปรองดองเยี่ยงนี้ด้วยแล้ว นี่จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่สุดแสนจะสามัญ
และถามว่าสุดท้ายแล้วบ้านเมืองจะเดินไปในทิศทางใด
ตอบได้ทันทีแบบไม่ลังเลว่า อยู่ที่ คสช.และชายชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ของประเทศไทยอยู่ในมือของ คสช.และพล.อ.ประยุทธ์ตามคำรับรองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว