xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

“ยิ่งลักษณ์” อย่างหนา ท่องเที่ยววูบ เศรษฐกิจโคม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์-ปฏิเสธไม่ได้ว่าราคาที่ต้องจ่ายให้กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองทุกครั้งก็คือ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ซึ่งคราวนี้ก็เป็นเช่นนั้น ล่าสุดมีการประเมินกันคร่าวๆ ว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ปักหัวดำดิ่งต่อเนื่องกันมาผสมโรงกับบรรยากาศชุมนุมการเมืองในขณะนี้หดเป้าต่ำกว่า 3% แน่ๆ แต่จะรูดลงไปขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับจะจบเร็วหรือลากยาว หากเป็นประการหลังคาดการณ์ล่วงหน้าได้เลยว่าปีหน้าเศรษฐกิจก็ยังจะโงหัวไม่ขึ้น

 ไหนๆ ก็เดิมพันสูง และประเทศชาติก็เสียเวลามาหลายปี เสียภาพพจน์จากการบริหารประเทศของรัฐบาลที่โกงกินจนประเทศชาติประชาชนเหลือ แต่โครงกระดูกกันแล้ว งานนี้ก็ต้องเอาให้จบ เอาให้สามารถเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าด้วยการปฏิรูปประเทศใหม่ให้ได้ เพราะไม่อย่างนั้นผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาวซึ่งหมายถึงความเป็นอยู่ของ ประชาชนคนไทยก็ยังต้องลำบากยากเข็ญจมปลักหรือวนเวียนอยู่กับรัฐบาลขี้โกง ซึ่งปีนี้ดัชนีชี้วัดคอร์รัปชั่นขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ออกมาฟ้องชัดๆ โดยจัดให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการทุจริตโกงกินในอันดับที่ 102 จากปีที่แล้วซึ่งอยู่อันดับที่ 88 จากทั้งหมด 177 ประเทศ

  ประชาชน คนไทยภายใต้ระบอบทักษิณ นอกจากจะลำบากจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำแล้ว ยังเจอรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขูดรีดภาษีหรือไปกู้หนี้ยืมมาสินเพื่อโกงกินกันอีกต่างหาก
 
กล่าวสำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจเฉพาะหน้า ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเจอแจ๊ตพอตหนักกว่าภาคธุรกิจอื่นๆ เพราะช่วงนี้เป็นฤดูกาลท่องเที่ยวหรือไฮซีซั่นส์พอดี หลายประเทศทั่วโลกประมาณ 30 กว่าประเทศ ได้ออกคำเตือนถึงการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยในช่วงนี้ โดยเริ่มการเตือนภัยจากระดับ 2 และกำลังเล็งเพิ่มระดับการเตือนเพราะภาพการสลายม็อบของรัฐบาลที่ปรากฏต่อสาธารณชนทั่วโลก ทั้งแก๊สน้ำยา กระสุนยาง และกระสุนจริงที่ยิงใส่ผู้ชุมนุมจนบาดเจ็บล้มตายกัน ซึ่งตัวเลขของศูนย์เอราวัณ สรุปยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง 5 ราย มีผู้บาดเจ็บตั้งแต่ 30 พ.ย. - 3 ธ.ค. 2556 จำนวน 285 คน
 
อันที่จริง การชุมนุมทางการเมืองเกิดขึ้นเกือบทุกประเทศทั่วโลก และไม่จำเป็นว่าจะต้องจบลงด้วยความรุนแรง บาดเจ็บ ล้มตาย กันทุกครั้ง ประเทศที่มีอารยะรัฐบาลที่มีคุณธรรม นักการเมืองมีจริยธรรม ไม่ใช่อย่างหนาตราช้างอย่างรัฐบาลของประเทศไทย ก็ยอมลาออก เปิดทางให้ประชาชนใช้สิทธิ์ ใช้เสียง ออกแบบการบริหารประเทศใหม่ ก็มีถมเถไป
 
สำหรับการเตือนภัยนักท่องเที่ยวรอบนี้ สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประเมินว่า หากลากยาวหรือมีการยกระดับการเตือนภัยจากระดับ 2 เป็นระดับ 5 จะทำให้นักท่องเที่ยวหายไปราว 8-10% หรือประมาณ 5 แสนคน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท ดังนั้นหากการชุมนุมทางการเมืองไม่สามารถเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของ ประเทศได้ก็ถือว่าสูญเปล่า แต่ถ้ามีก้าวใหม่ที่ดีขึ้น มีรัฐบาลที่ดีขึ้น มีตำรวจที่ดีขึ้น ไม่รีดไถนักท่องเที่ยว มีกระทรวงท่องเที่ยวฯ ที่ไม่แค่ส่งเสริมการท่องเที่ยว แต่ต้องประสานและกำกับดูแลทุกภาคส่วนที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เพื่อไม่ให้นักท่องเที่ยวถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกทิ้งอย่างที่เกิดขึ้น ก็นับว่าคุ้ม
 
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ชุมนุมทางการเมืองไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะแต่การท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังกระทบไปถึงการอุปโภคบริโภคและการลงทุนด้วย ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยฉุดการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ดำดิ่ง โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ออกมาประเมินแล้วว่า จีดีพีปีนี้อาจโตต่ำกว่า 3%
 
เช่นเดียวกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ที่ประเมินว่า การชุมนุมของกลุ่มต่อต้านระบอบทักษิณ การปิดส่วนราชการหลายแห่งส่งผลต่อการเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงไตรมาส 4 อาจทำได้เพียงร้อยละ 28 การท่องเที่ยวเริ่มมีปัญหา จึงคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2556 จะขยายตัวได้ไม่ถึงร้อยละ 3 และหากปัญหาการเมืองยืดเยื้อจะส่งผลกระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน และมีผลต่อการปรับลดอันดับเครดิตของประเทศ กระทบต่อแผนการกู้เงินลงทุน 2 ล้านล้านบาท ให้มีต้นทุนสูงขึ้น และเมื่อเงินลงทุนภาครัฐและเอกชน มีปัญหาจะทำให้เศรษฐกิจในปี 2557 ขยายตัวได้ไม่ถึงร้อยละ 5 ตามที่คาดไว้

  กระทบกันเป็นลูกโซ่ ยาวถึงปีหน้า 2557 สาหัสต่อเนื่องแน่ๆ ซึ่งในสายตาของนักวิชาการ ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยืนยันว่า ปัจจัยทางการเมืองจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยไปจนถึงปี 2557 เนื่องจากไม่ว่ารัฐบาลจะยุบสภาหรือนายกรัฐมนตรีลาออกปัญหาก็ยังไม่จบซึ่งต้องใช้กระบวนการเจรจา ดังนั้นโอกาสที่เศรษฐกิจไทยปี 2557 จะโตไม่ถึง 4% ก็จะมีสูง ส่วนเศรษฐกิจปีนี้ก็คงโตได้ไม่ถึง 3%
 
 “เรา เจอทั้งเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ค่อยฟื้นตัวแล้วเรายังมีปัญหาภายในเองโดยเฉพาะ การเมืองทำให้การทำงานหรือการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของรัฐไม่ดีเท่า ที่ควร รัฐบาลก็ไม่สามารถขับเคลื่อนการใช้จ่ายของภาครัฐได้ ซึ่งหากการเมืองไม่ยืดเยื้อและรัฐเดินหน้าเมกะโปรเจ็กต์ 2 ล้านล้านบาท ที่หลายโครงการเป็นเรื่องดีเศรษฐกิจไทยปีหน้าคงโตได้ 4% แต่ดูแล้วการเมืองยังไม่น่าจบเร็ว” ศ.ดร.พรายพล กล่าว

 นอกจากนั้นแล้ว นโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ยังช่วยซ้ำเติมให้เศรษฐกิจไทยย่ำแย่อีกด้วย โดยเฉพาะภาคส่งออกที่ปีนี้ไม่เพียงได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นจากปัจจัยภายในที่เกิดจากนโยบายรัฐบาลที่ส่งผลให้ขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยลดลง และจะยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง คือ นโยบายการขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวัน เท่ากันทั่วประเทศ และนโยบายการจำนำราคาข้าวและพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ ซึ่งเหล่านี้มีผลให้ต้นของไทยสูงกว่าคู่แข่ง

ขณะที่ตลาดทุนไทยก็อ่อนไหวต่อสถานการณ์ทางการเมือง ดังที่นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย และนายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ชี้ว่า ตลาดหุ้นไทยยังปรับตัวลดลงต่อ เนื่องจากนักลงทุนยังกังวลต่อสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่คลี่คลาย และเกิดการชุมนุมวุ่นวายในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงมาแล้ว 100 จุด นับตั้งแต่เกิดการชุมนุมทางการเมือง นักลงทุนต่างชาติยังเทขายออกมาอย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเสี่ยง ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่มีการชุมนุมทางการเมือง นักลงทุนต่างประเทศขายหุ้นออกมารวม 17,000 ล้านบาท โดยตัวเลขเดือน พ.ย. 2556 รวมขายกว่า 50,000 ล้านบาท ทั้งปี 2556 ขายไปแล้ว 150,000 ล้านบาท หากปัญหาไม่จบโดยเร็วจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้คงโตไม่ถึง 3% หรืออาจโตได้ 2% เท่านั้น

 ตอก ย้ำสถานการณ์เศรษฐกิจง่อนแง่นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเสียงจากนายบัณฑูร ลำซ่ำ ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย เห็นพ้องว่า สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อภาวะ เศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว ซึ่งปัจจุบันเกิดผลกระทบขึ้นแล้วต่อตลาดหุ้นและการลงทุนในกองทุนฯ ต่างๆ ที่ชะลอตัวลงเนื่องจากนักลงทุนรอดูความชัดเจนของสถานการณ์ทางการเมือง ขณะเดียวกันการชุมนุมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อ มั่นของนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยภาคธุรกิจจะได้รับผลกระทบ ทันทีโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็ก เอสเอ็มอี ที่คาดว่าจะมียอดขายในช่วงไตรมาสสุดท้าย ซึ่งสร้างรายได้สูงสุดในรอบปี และหากสถานการณ์ชุมนุมยืดเยื้อออกไปเศรษฐกิจก็จะได้รับผลกระทบในระยะยาว
 
แต่จะอย่างไรก็ตาม คนไทยคงต้องเลือก เอาว่าจะเอาการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้ากระเป๋าพวก นักการเมืองขี้โกงเช่นที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ โดยประชาชนหาเช้ากินค่ำยังยากจนลืมตาอ้าปากไม่ได้เหมือนเดิม หรือจะยอมสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจในระยะสั้นแลกกับอนาคตของประเทศไทยที่เปิด โอกาสให้ประชาชน นักธุรกิจรายใหญ่ รายเล็ก รายน้อย ทุกหมู่เหล่า มีโอกาสทำมาหากินอย่างเสมอหน้าโดยไม่ถูกกีดกันหากไม่ได้อยู่ในกลุ่มแก๊งค์ นักการเมืองที่มีอำนาจอีกต่อไป


กำลังโหลดความคิดเห็น