โดย : ดร.สุวินัย ภรณวลัย
www.dragon-press.com
*เคล็ดการฝึก “กิริยา” ในกุณฑาลินีโยคะ (ต่อ)*
กิริยาท่าที่ 11 “ศักติ จาลนิ” (ปิดทวาร ชักนำปราณ)
กิริยาท่านี้ ควรฝึกในท่าสิทธะอาสนะ หรือปัทมะอาสนะ ให้ปิดตาตลอดการฝึก และห่อลิ้นทำ เขจรีมุทรา จากนั้นหายใจออกให้ผมส่งกระแสจิตจดจ่อไปที่จักระที่ 1 (จักระมูลธาร) ก้มหน้าเล็กน้อยพร้อมกับดึงลมปราณจากจักระที่ 1 ขึ้นไปทางช่องลมปราณด้านหน้าของลำตัว พร้อมๆ กับการหายใจเข้าแบบอุชชายี เมื่อชักนำปราณไปถึงจุดพินธุ ค่อยๆ ยกศีรษะตามขึ้นไปด้วย โดยให้ศีรษะตั้งตรงตอนที่ชักนำปราณไปถึงจุดพินธุพอดี จากนั้นให้กักลมหายใจพร้อมกับปิดทวารทั้ง 7 คือ สองหู สองตา สองรูจมูก และหนึ่งริมฝีปากด้วยนิ้วทั้งห้าทั้งสองข้าง ในระหว่างนั้น ให้ขับเคลื่อนปราณให้ไหลเวียนเป็นวงโคจร โดยไหลลงจากช่องปราณด้านหลังของลำตัวไปถึงจักระที่ 1 และไหลขึ้นจากจักระที่ 1 ขึ้นไปตามช่องปราณด้านหน้าของลำตัวไปยังจุดพินธุ จากจุดพินธุไหลลงไปยังจักระที่ 6 แล้วไหลลงผ่านช่องปราณด้านหลังของลำตัว ไหลวนเวียนอยู่เช่นนี้ไม่ขาดสาย ในระหว่างที่กักลมหายใจอยู่จนกระทั่งไม่อาจกักลมหายใจได้อีกต่อไป จึงค่อยคลายนิ้วทั้งหมดออกจากการปิดทวารทั้ง 7 วางฝ่ามือลงที่หัวเข่า กำหนดจิตไปที่จุดพินธุพร้อมกับค่อยๆ ระบายลมหายใจออกแบบอุชชายี แล้วชักนำจิตลงไปที่จักระที่ 1 อีกครั้ง เพื่อเตรียมฝึกรอบต่อไป ทั้งนี้ควรฝึกกิริยานี้ให้ได้ 5 รอบขึ้นไป หรือ 5 ลมหายใจต่อเนื่องกันไป
กิริยาท่าที่ 12 “ศามภวี” (ท่าบัวบาน)
กิริยาท่านี้ ควรฝึกในท่าสิทธะอาสนะหรือปัทมะอาสนะ ปิดตาและห่อลิ้นทำเขจรีมุทรา ให้จินตนาการว่ามีดอกบัวที่ยังหุบอยู่ตั้งอยู่บนจักระที่ 7 กลางกระหม่อม โดยที่ก้านของดอกบัวนี้ทอดยาวลงมาตามช่องปราณด้านหลังของลำตัว โดยรากของดอกบัวอยู่ที่จักระที่ 1 จากนั้นให้หายใจเข้าแบบอุชชายี พร้อมทั้งชักนำจิตไต่ขึ้นจากจักระที่ 1 ขึ้นไปตามช่องปราณด้านหลังของลำตัว จนมาสุดที่จักระที่ 7 (สหัสธาร) พอมาถึงจักระที่ 7 แล้วให้กักลมอยู่ ณ ตำแหน่งดอกบัวหุบดอกนั้น พร้อมกับจินตนาการว่า ดอกบัวดอกนี้ค่อยๆ บานออกมาอย่างช้าๆ โดยที่ตัวเองก็ค่อยๆ ระบายลมหายใจออกแบบอุชชายีออกมาอย่างช้าๆ พร้อมกันด้วย ชักนำจิตกลับไปที่จักระที่ 1 อีกครั้ง โดยจินตนาการว่าดอกบัวบนจักระที่ 7 กลับมาหุบอีกตามเดิม เพื่อเตรียมที่จะฝึกท่าบัวบานนี้อีก ให้ฝึกอย่างนี้ 11 ครั้งก่อนที่จะออกจากสมาธิ
กิริยาท่าที่ 13 “อมฤตพาน” (ท่ากระตุ้นน้ำอมฤตในกาย)
กิริยาท่านี้ควรฝึกในท่าสิทธะอาสนะหรือปัทมะอาสนะ หลับตาและห่อลิ้นทำเขจรีมุทรา กำหนดจิตไปที่จักระที่ 3 (มณีปุระ) ตรงสะดือ จากนั้นค่อยๆ หายใจเข้าแบบอุชชายี ดึงปราณจากจักระที่ 3 ผ่านช่องปราณด้านหลังของลำตัวขึ้นไปที่จักระที่ 5 กักลมหายใจ ขณะที่ค่อยๆ เคลื่อนปราณจากจักระที่ 5 ไปที่จักระลลนาที่ช่องเพดานปากบน จากนั้นค่อยๆ ระบายลมหายใจออกแบบอุชชายี พอระบายลมหายใจออกหมด ให้กำหนดจิตไปที่จักระที่ 3 อีกเพื่อเริ่มทำกิริยาท่านี้ใหม่ ให้ทำทั้งหมด 9 ครั้ง
กิริยาท่าที่ 14 “จักระเภทาน” (ทะลวงจักระ)
กิริยาท่านี้ควรฝึกในท่าสิทธะอาสนะหรือปัทมะอาสนะปิดตา ห่อลิ้นทำเขจรีมุทรา และหายใจแบบอุชชายีทั้งเข้าและออก เริ่มจากหายใจออก ส่งจิตไปที่จักระที่ 2 ตรงช่องปราณด้านหลังของลำตัว ซึ่งตรงกับบริเวณก้นกบ จากนั้นหายใจเข้าชักนำจิตไปที่จักระที่ 1 บริเวณรอยฝีเย็บ ก่อนที่จะชักนำจิตผ่านช่องปราณด้านหน้าของลำตัวขึ้นไป ผ่านจักระต่างๆ ก่อนไปสิ้นสุดที่จักระที่ 5 แล้วค่อยระบายลมหายใจออก พร้อมๆ กับส่งจิตไปที่จุดพินธุ แล้วส่งไปยังจักระที่ 6 ก่อนที่จะส่งจิตลงตามช่องปราณด้านหลังของลำตัว ผ่านจักระต่างๆ จนกระทั่งกลับมายังจักระที่ 2 ที่บริเวณก้นกบอีกครั้ง ถือเป็น 1 รอบให้ฝึกอย่างนี้ 59 รอบหรือจนกว่าจะออกจากสมาธิ
กิริยาท่าที่ 15 “ปราณ อหุติ” (รับพลังศักดิ์สิทธิ์)
กิริยาท่านี้ ควรฝึกในท่าสิทธะอาสนะหรือปัทมะอาสนะปิดตา หายใจตามปกติ จงรู้สึกสัมผัสอันอ่อนโยนราวกับว่ามีมือศักดิ์สิทธิ์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตัวเองเคารพบูชา วางอยู่บนศีรษะของตัวเอง และมือศักดิ์สิทธิ์นี้กำลังถ่ายพลังปราณเข้าสู่ร่างกายและจิตใจของเราผ่านจักระที่ 7 จักระที่ 6 จักระที่ 5 ไปตามช่องปราณด้านหลังของลำตัว ผ่านจักระที่ 4 จักระที่ 3 จักระที่ 2 จนมาถึงจักระที่ 1 หรือจักระมูลธาร เมื่อปราณไหลมาถึงจักระที่ 1 แล้วให้ผู้ฝึกหันไปฝึกกิริยาท่าอื่นทันที โดยไม่ต้องฝึกกิริยาท่านี้ซ้ำ
กิริยาท่าที่ 16 “อุทธาน” (ดูพลังกุณฑาลินี)
กิริยาท่านี้ ควรฝึกในท่าสิทธะอาสนะ หรือปัทมะอาสนะปิดตา หายใจตามปกติ ส่งจิตไปที่จักระที่ 1 จินตนาการว่าพลังกุณฑาลินีที่จักระที่ 1 พยายามเคลื่อนตัวขึ้นสู่ข้างบน ให้เฝ้าดูว่าพลังกุณฑาลินีนี้ขึ้นมาได้ถึงจักระใด โดยแค่เฝ้าดูเฉยๆ ไม่ต้องไปบีบเค้นมัน ให้ฝึกแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าพลังกุณฑาลินีจะขึ้นไปถึงจักระที่ 7 ได้เอง
กิริยาท่าที่ 17 “สวารูปาดารชัน” (ดูตัวเอง)
กิริยาท่านี้ ควรฝึกในท่าสิทธะอาสนะหรือปัทมะอาสนะปิดตา ตระหนักรู้ใน กายเนื้อ กายนี้ของตนเอง ร่างกายต้องไม่ขยับเขยื้อนให้แน่นิ่งอยู่เช่นนั้นราวกับตัวเองเป็นหินผา พอตระหนักรู้และ “ดู” กายของตน ที่แน่นิ่งได้แล้ว ต่อไปให้หันมาตระหนักรู้ในลมหายใจตาม ดู “ลม” หายใจเข้าออกของตนแทน โดยที่กายของตนจะต้องแน่นิ่งดุจหินผาไม่เปลี่ยนแปลง ให้ฝึกจนกระทั่งร่างกายของตัวเองแน่นิ่ง จนตัวเองก็ยากที่จะขยับมันได้แล้ว ให้หันไปฝึกกิริยาท่าต่อไปทันที
กิริยาท่าที่ 18 “ลึงค ศัลจาลนะ” (ฝึกกายทิพย์)
ให้อยู่ในท่าที่ร่างกายแข็งทื่อต่อจากกิริยาท่าที่แล้ว โดยยังหลับตาอยู่ ในตอนนี้ผู้ฝึกจะหายใจเข้าออกแบบอุชชายีเอง และก็ห่อลิ้นเองแบบเขจรีมุทราด้วย ความใส่ใจจดจ่อของผู้ฝึกจะอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกอย่างเดียวเท่านั้น ในตอนหายใจเข้า ผู้ฝึกจะรู้สึกว่ากายของตนกำลังขยายออกไป และในตอนหายใจออกผู้ฝึกจะรู้สึกว่ากายของตนกำลังหดตัวลง ความรู้สึกที่ว่านี้ เกิดจาก “กายทิพย์” ของผู้ฝึก ขยายขึ้นตอนหายใจเข้าและหดตัวลงตอนหายใจออกนั่นเอง ให้ฝึกจนกระทั่งตอนหายใจเข้า “กายทิพย์” ของตนขยายแผ่กว้างออกไปไม่มีประมาณ และตอนหายใจออก “กายทิพย์” ของตนหดเล็กลงเหลือแค่เป็นจุดแห่งแสงเท่านั้น ถ้าฝึกได้ถึงขั้นนี้แล้วถึงจะฝึกกิริยาท่าต่อไปได้
กิริยาท่าที่ 19 “ธารณะ” (ฝึกฌาน)
การฝึกธารณะ ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อจากปรัตยาหาระ จะทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ฝึกสามารถตระหนักถึง “กายทิพย์” ของตนว่าเป็นจุดแห่งแสงตามกิริยาท่าที่ 18 ได้แล้วเท่านั้น จากนั้นผู้ฝึกก็แค่จดจ่ออยู่ที่จุดแห่งแสงนี้ (ตรงบริเวณหว่างคิ้ว หรือจักระที่ 6) ต่อไป จนกระทั่งเข้าสู่สภาวะของฌานสมาบัติได้ในที่สุด
www.dragon-press.com
*เคล็ดการฝึก “กิริยา” ในกุณฑาลินีโยคะ (ต่อ)*
กิริยาท่าที่ 11 “ศักติ จาลนิ” (ปิดทวาร ชักนำปราณ)
กิริยาท่านี้ ควรฝึกในท่าสิทธะอาสนะ หรือปัทมะอาสนะ ให้ปิดตาตลอดการฝึก และห่อลิ้นทำ เขจรีมุทรา จากนั้นหายใจออกให้ผมส่งกระแสจิตจดจ่อไปที่จักระที่ 1 (จักระมูลธาร) ก้มหน้าเล็กน้อยพร้อมกับดึงลมปราณจากจักระที่ 1 ขึ้นไปทางช่องลมปราณด้านหน้าของลำตัว พร้อมๆ กับการหายใจเข้าแบบอุชชายี เมื่อชักนำปราณไปถึงจุดพินธุ ค่อยๆ ยกศีรษะตามขึ้นไปด้วย โดยให้ศีรษะตั้งตรงตอนที่ชักนำปราณไปถึงจุดพินธุพอดี จากนั้นให้กักลมหายใจพร้อมกับปิดทวารทั้ง 7 คือ สองหู สองตา สองรูจมูก และหนึ่งริมฝีปากด้วยนิ้วทั้งห้าทั้งสองข้าง ในระหว่างนั้น ให้ขับเคลื่อนปราณให้ไหลเวียนเป็นวงโคจร โดยไหลลงจากช่องปราณด้านหลังของลำตัวไปถึงจักระที่ 1 และไหลขึ้นจากจักระที่ 1 ขึ้นไปตามช่องปราณด้านหน้าของลำตัวไปยังจุดพินธุ จากจุดพินธุไหลลงไปยังจักระที่ 6 แล้วไหลลงผ่านช่องปราณด้านหลังของลำตัว ไหลวนเวียนอยู่เช่นนี้ไม่ขาดสาย ในระหว่างที่กักลมหายใจอยู่จนกระทั่งไม่อาจกักลมหายใจได้อีกต่อไป จึงค่อยคลายนิ้วทั้งหมดออกจากการปิดทวารทั้ง 7 วางฝ่ามือลงที่หัวเข่า กำหนดจิตไปที่จุดพินธุพร้อมกับค่อยๆ ระบายลมหายใจออกแบบอุชชายี แล้วชักนำจิตลงไปที่จักระที่ 1 อีกครั้ง เพื่อเตรียมฝึกรอบต่อไป ทั้งนี้ควรฝึกกิริยานี้ให้ได้ 5 รอบขึ้นไป หรือ 5 ลมหายใจต่อเนื่องกันไป
กิริยาท่าที่ 12 “ศามภวี” (ท่าบัวบาน)
กิริยาท่านี้ ควรฝึกในท่าสิทธะอาสนะหรือปัทมะอาสนะ ปิดตาและห่อลิ้นทำเขจรีมุทรา ให้จินตนาการว่ามีดอกบัวที่ยังหุบอยู่ตั้งอยู่บนจักระที่ 7 กลางกระหม่อม โดยที่ก้านของดอกบัวนี้ทอดยาวลงมาตามช่องปราณด้านหลังของลำตัว โดยรากของดอกบัวอยู่ที่จักระที่ 1 จากนั้นให้หายใจเข้าแบบอุชชายี พร้อมทั้งชักนำจิตไต่ขึ้นจากจักระที่ 1 ขึ้นไปตามช่องปราณด้านหลังของลำตัว จนมาสุดที่จักระที่ 7 (สหัสธาร) พอมาถึงจักระที่ 7 แล้วให้กักลมอยู่ ณ ตำแหน่งดอกบัวหุบดอกนั้น พร้อมกับจินตนาการว่า ดอกบัวดอกนี้ค่อยๆ บานออกมาอย่างช้าๆ โดยที่ตัวเองก็ค่อยๆ ระบายลมหายใจออกแบบอุชชายีออกมาอย่างช้าๆ พร้อมกันด้วย ชักนำจิตกลับไปที่จักระที่ 1 อีกครั้ง โดยจินตนาการว่าดอกบัวบนจักระที่ 7 กลับมาหุบอีกตามเดิม เพื่อเตรียมที่จะฝึกท่าบัวบานนี้อีก ให้ฝึกอย่างนี้ 11 ครั้งก่อนที่จะออกจากสมาธิ
กิริยาท่าที่ 13 “อมฤตพาน” (ท่ากระตุ้นน้ำอมฤตในกาย)
กิริยาท่านี้ควรฝึกในท่าสิทธะอาสนะหรือปัทมะอาสนะ หลับตาและห่อลิ้นทำเขจรีมุทรา กำหนดจิตไปที่จักระที่ 3 (มณีปุระ) ตรงสะดือ จากนั้นค่อยๆ หายใจเข้าแบบอุชชายี ดึงปราณจากจักระที่ 3 ผ่านช่องปราณด้านหลังของลำตัวขึ้นไปที่จักระที่ 5 กักลมหายใจ ขณะที่ค่อยๆ เคลื่อนปราณจากจักระที่ 5 ไปที่จักระลลนาที่ช่องเพดานปากบน จากนั้นค่อยๆ ระบายลมหายใจออกแบบอุชชายี พอระบายลมหายใจออกหมด ให้กำหนดจิตไปที่จักระที่ 3 อีกเพื่อเริ่มทำกิริยาท่านี้ใหม่ ให้ทำทั้งหมด 9 ครั้ง
กิริยาท่าที่ 14 “จักระเภทาน” (ทะลวงจักระ)
กิริยาท่านี้ควรฝึกในท่าสิทธะอาสนะหรือปัทมะอาสนะปิดตา ห่อลิ้นทำเขจรีมุทรา และหายใจแบบอุชชายีทั้งเข้าและออก เริ่มจากหายใจออก ส่งจิตไปที่จักระที่ 2 ตรงช่องปราณด้านหลังของลำตัว ซึ่งตรงกับบริเวณก้นกบ จากนั้นหายใจเข้าชักนำจิตไปที่จักระที่ 1 บริเวณรอยฝีเย็บ ก่อนที่จะชักนำจิตผ่านช่องปราณด้านหน้าของลำตัวขึ้นไป ผ่านจักระต่างๆ ก่อนไปสิ้นสุดที่จักระที่ 5 แล้วค่อยระบายลมหายใจออก พร้อมๆ กับส่งจิตไปที่จุดพินธุ แล้วส่งไปยังจักระที่ 6 ก่อนที่จะส่งจิตลงตามช่องปราณด้านหลังของลำตัว ผ่านจักระต่างๆ จนกระทั่งกลับมายังจักระที่ 2 ที่บริเวณก้นกบอีกครั้ง ถือเป็น 1 รอบให้ฝึกอย่างนี้ 59 รอบหรือจนกว่าจะออกจากสมาธิ
กิริยาท่าที่ 15 “ปราณ อหุติ” (รับพลังศักดิ์สิทธิ์)
กิริยาท่านี้ ควรฝึกในท่าสิทธะอาสนะหรือปัทมะอาสนะปิดตา หายใจตามปกติ จงรู้สึกสัมผัสอันอ่อนโยนราวกับว่ามีมือศักดิ์สิทธิ์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตัวเองเคารพบูชา วางอยู่บนศีรษะของตัวเอง และมือศักดิ์สิทธิ์นี้กำลังถ่ายพลังปราณเข้าสู่ร่างกายและจิตใจของเราผ่านจักระที่ 7 จักระที่ 6 จักระที่ 5 ไปตามช่องปราณด้านหลังของลำตัว ผ่านจักระที่ 4 จักระที่ 3 จักระที่ 2 จนมาถึงจักระที่ 1 หรือจักระมูลธาร เมื่อปราณไหลมาถึงจักระที่ 1 แล้วให้ผู้ฝึกหันไปฝึกกิริยาท่าอื่นทันที โดยไม่ต้องฝึกกิริยาท่านี้ซ้ำ
กิริยาท่าที่ 16 “อุทธาน” (ดูพลังกุณฑาลินี)
กิริยาท่านี้ ควรฝึกในท่าสิทธะอาสนะ หรือปัทมะอาสนะปิดตา หายใจตามปกติ ส่งจิตไปที่จักระที่ 1 จินตนาการว่าพลังกุณฑาลินีที่จักระที่ 1 พยายามเคลื่อนตัวขึ้นสู่ข้างบน ให้เฝ้าดูว่าพลังกุณฑาลินีนี้ขึ้นมาได้ถึงจักระใด โดยแค่เฝ้าดูเฉยๆ ไม่ต้องไปบีบเค้นมัน ให้ฝึกแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าพลังกุณฑาลินีจะขึ้นไปถึงจักระที่ 7 ได้เอง
กิริยาท่าที่ 17 “สวารูปาดารชัน” (ดูตัวเอง)
กิริยาท่านี้ ควรฝึกในท่าสิทธะอาสนะหรือปัทมะอาสนะปิดตา ตระหนักรู้ใน กายเนื้อ กายนี้ของตนเอง ร่างกายต้องไม่ขยับเขยื้อนให้แน่นิ่งอยู่เช่นนั้นราวกับตัวเองเป็นหินผา พอตระหนักรู้และ “ดู” กายของตน ที่แน่นิ่งได้แล้ว ต่อไปให้หันมาตระหนักรู้ในลมหายใจตาม ดู “ลม” หายใจเข้าออกของตนแทน โดยที่กายของตนจะต้องแน่นิ่งดุจหินผาไม่เปลี่ยนแปลง ให้ฝึกจนกระทั่งร่างกายของตัวเองแน่นิ่ง จนตัวเองก็ยากที่จะขยับมันได้แล้ว ให้หันไปฝึกกิริยาท่าต่อไปทันที
กิริยาท่าที่ 18 “ลึงค ศัลจาลนะ” (ฝึกกายทิพย์)
ให้อยู่ในท่าที่ร่างกายแข็งทื่อต่อจากกิริยาท่าที่แล้ว โดยยังหลับตาอยู่ ในตอนนี้ผู้ฝึกจะหายใจเข้าออกแบบอุชชายีเอง และก็ห่อลิ้นเองแบบเขจรีมุทราด้วย ความใส่ใจจดจ่อของผู้ฝึกจะอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกอย่างเดียวเท่านั้น ในตอนหายใจเข้า ผู้ฝึกจะรู้สึกว่ากายของตนกำลังขยายออกไป และในตอนหายใจออกผู้ฝึกจะรู้สึกว่ากายของตนกำลังหดตัวลง ความรู้สึกที่ว่านี้ เกิดจาก “กายทิพย์” ของผู้ฝึก ขยายขึ้นตอนหายใจเข้าและหดตัวลงตอนหายใจออกนั่นเอง ให้ฝึกจนกระทั่งตอนหายใจเข้า “กายทิพย์” ของตนขยายแผ่กว้างออกไปไม่มีประมาณ และตอนหายใจออก “กายทิพย์” ของตนหดเล็กลงเหลือแค่เป็นจุดแห่งแสงเท่านั้น ถ้าฝึกได้ถึงขั้นนี้แล้วถึงจะฝึกกิริยาท่าต่อไปได้
กิริยาท่าที่ 19 “ธารณะ” (ฝึกฌาน)
การฝึกธารณะ ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อจากปรัตยาหาระ จะทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ฝึกสามารถตระหนักถึง “กายทิพย์” ของตนว่าเป็นจุดแห่งแสงตามกิริยาท่าที่ 18 ได้แล้วเท่านั้น จากนั้นผู้ฝึกก็แค่จดจ่ออยู่ที่จุดแห่งแสงนี้ (ตรงบริเวณหว่างคิ้ว หรือจักระที่ 6) ต่อไป จนกระทั่งเข้าสู่สภาวะของฌานสมาบัติได้ในที่สุด