*ว่าด้วยการปลุกจักระในกุณฑาลินีโยคะ (ต่อ)*
ตันตระคือโยคะแห่งการปลุกให้ “รู้” ปลุกให้ “ตื่น” การฝึกฝนในตันตระ ด้วยวิธีการฝึกและอุบายต่างๆ นั้น ล้วนมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการ “รู้” และการ “ตื่น” ทั้งสิ้น หากคัมภีร์โยคะสูตรของปตัญชลีคือ แนวทางการฝึกแบบเจโตวิมุติคัมภีร์ตันตระ โดยเฉพาะคัมภีร์วิกยานไภราพตันตระก็คือแนวทางการฝึกแบบปัญญาวิมุตินั่นเอง โดยที่ไม่ว่าจะฝึกในแนวทางไหน ก็มี กุณฑาลินีโยคะ เป็นพื้นฐานเบื้องต้นร่วมกัน โดยเฉพาะในขั้นตอนอาสนะ ปราณายามะ มุทรพันธะ กิริยา และการปลุกจักระต่างๆ เหมือนกันทั้งสิ้น ก่อนที่จะแตกต่างกันเมื่อก้าวเข้าสู่การฝึกขั้นสูง
สิ่งที่ตันตระมุ่งจะทำก็คือ การนำเสนอ วิธีการอันเป็นเลิศให้แก่ผู้ฝึก เพื่อช่วยผู้ฝึกให้สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเอง จนกระทั่งดวงตาของเขาสามารถมองเห็นแสงสว่างด้วยตัวเองได้ แต่ตันตระจะไม่ยอมพูดใดๆ ทั้งสิ้น เกี่ยวกับแสงสว่างว่าหมายถึงอะไร สิ่งที่ตันตระสอนก็คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถมองเห็นแสงสว่างได้ เพราะนี่แหละคือคำตอบที่แท้จริงเกี่ยวกับแสงสว่าง...
ต่อไปจะขอถ่ายทอดเคล็ดการฝึกปลุกจักระในกุณฑาลินีโยคะอย่างเป็นระบบ ต่อจากที่ได้ถ่ายทอดไปแล้ว
(5) หลังจากที่ผู้ฝึกได้ปลุกจักระที่ 3 หรือจักระมณีปุระตรงบริเวณด้านในของช่องกระดูกไขสันหลังด้านหลังของสะดืออย่างต่อเนื่อง เป็นเวลาหนึ่งเดือนขึ้นไปแล้ว จึงค่อยเริ่มการฝึกสมาธิสำหรับปลุกจักระที่ 4 (อนาหตะ) เป็นลำดับต่อไป
ในคัมภีร์ของกุณฑาลินีโยคะได้กล่าวว่า จักระอนาหตะนี้เป็นศูนย์รวมพลังที่มีความสำคัญมากเป็นพิเศษ เพราะที่ตั้งของจักระนี้เป็นศูนย์รวมของระบบประสาทที่ควบคุมการทำหน้าที่ของหัวใจ ณ ที่จักระนี้มีจังหวะของการสั่นสะเทือนติดต่อกันไป โดยไม่มีการหยุด และทำให้เกิดเสียงชนิดหนึ่งเป็นเสียงที่เกิดขึ้นภายใน โดยเกิดขึ้นติดต่อกันไม่หยุดเลย คำว่า “อนาหตะ” เองก็มีความหมายว่า “หยุดไม่ได้”
จักระที่ 4 เป็นศูนย์รวมพลังที่มีความสามารถเป็นพิเศษเกี่ยวกับ การนึกปรารถนาสิ่งใด ก็จะได้สิ่งนั้นสมดังความปรารถนา ความจริงถ้าผู้ฝึกได้ฝึกจิตจนถึงจักระที่ 3 แล้ว เขาก็จะกลายเป็นผู้ที่มีพลังอำนาจที่จะจัดการ และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี แต่ยังไม่สามารถชำระล้างบุพกรรม หรือกรรมต่างๆ ในอดีตชาติให้หมดสิ้นในเวลาอันสั้นได้
การฝึกถึงจักระที่ 3 จึงยังอยู่ภายใต้กฎทางโลกของมนุษย์ แม้แต่จิตใจ ร่างกาย และประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของผู้นั้น ก็ยังอยู่ในขอบเขตของสามัญมนุษย์ แต่ถ้าฝึกจิตจนถึงจักระที่ 4 มันจะเกือบเข้าขอบเขตที่เหนือเหตุผล เหนือมิติ ไม่อยู่ในวิสัยของชาวโลกเข้าไปทุกทีแล้ว หรือเข้าใกล้โลกุตตรธรรมเข้าไปทุกทีแล้ว
กรรมเก่านั้นเป็นสิ่งที่มีจริง แต่สามารถทำให้หลุดพ้นออกมาได้ ถ้าผู้นั้นสามารถพัฒนาจิตมาถึงจักระที่ 3 ขึ้นไป มันเหมือนกับการขว้างก้อนหินขึ้นไปบนท้องฟ้า ซึ่งขึ้นอยู่กับแรงที่ขว้างขึ้นไปกับแรงดึงดูดของโลก ถ้าขว้างแรงพอก็อาจหลุดพ้นจากแรงดึงดูดของโลกไปได้ ปัจจัยที่จะทำให้เป็นเช่นนั้นได้ ก็คือ การสั่งสม “พลังบุญ” และ “พลังจิต” ของผู้นั้น
เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ฝึกสามารถฝึกถึงจักระที่ 4 หรืออนาหตะได้ ความสำเร็จของเขาจะอยู่แค่เอื้อมเท่านั้น เพราะมีแต่เมื่อผู้นั้นได้ฝึกถึงจักระที่ 4 แล้วเท่านั้น คนผู้นั้นถึงจะกลายเป็นกุณฑาลินีโยคะที่แท้จริง ในขณะที่ถ้าผู้นั้นยังฝึกแค่จักระที่ 1 จักระที่ 2 และจักระที่ 3 อยู่ ผู้นั้นก็ยังเป็นแค่ผู้ฝึกกุณฑาลินีโยคะเท่านั้น
ความตั้งใจจริงทำจริง การฝึกฝนอย่างจริงจัง อย่างตั้งใจด้วยพลังอำนาจจิตที่มีสติบริบูรณ์ ในการฝึกจิตผ่านขั้นตอนจักระที่ 1 จักระที่ 2 และจักระที่ 3 ตามลำดับ พอจิตมาถึงจักระที่ 4 แล้ว จิตของผู้นั้นย่อมมีความสมบูรณ์พร้อมเป็นอย่างมากแล้ว
ความต่างระหว่างจักระมณีปุระกับจักระอนาหตะนั้น อยู่ที่จักระมณีปุระยังถูกผูกมัดโดยกรรมเก่า แม้จะข้ามพ้นกรรมเก่าได้เป็นบางส่วนก็ตาม ส่วนจักระอนาหตะนั้นสามารถข้ามพ้นเป็นอิสระจากกรรมเก่าได้ ไม่แต่เท่านั้น ผู้นั้นยังสามารถใช้เจตนารมณ์ของตนไปบรรลุความปรารถนาในโลกแห่งกรรมได้ด้วย โดยผ่านการใช้จักระอนาหตะนี้ จึงเห็นได้ว่า ในขณะที่จักระมณีปุระจะเป็นแค่ฝ่ายรับกรรมที่ได้มาเท่านั้น แต่ยังไม่มีพลังอำนาจในการบรรลุความปรารถนา ซึ่งต่างจากจักระอนาหตะโดยสิ้นเชิง
ในคัมภีร์โยคะโบราณจึงกล่าวว่า ณ ที่ตั้งของจักระอนาหตะนี้มีต้นไม้ที่เขียวเสมออยู่ชื่อ ต้นกัลปพฤกษ์ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ขอสิ่งที่ปรารถนาอะไรก็จะได้ตามนั้น ไม่ว่าจะปรารถนาในสิ่งดีหรือสิ่งร้าย ตรงนี้แหละคือประเด็นที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่คิดจะปลุกจักระที่ 4 ต้องระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ และต้องมีสติเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลาในการใช้ชีวิต
เพราะลองคิดดูสิว่า ถ้าผู้นั้นฝึกจิตมาจนถึงขั้นนึกปรารถนาอะไรก็จะได้สมปรารถนาตามนั้นแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าหากความคิดของเขาเป็นไปในทางลบ เพราะมันจะเกิดขึ้นจริงๆ ตามนั้น ผู้ฝึกจักระที่ 4 จึงต้องตั้งอธิษฐานให้สัจจะกับตัวเองว่าจะมีความคิด และการกระทำในสิ่งที่ดีในเชิงบวก เชิงสร้างสรรค์ที่มีคุณประโยชน์ต่อมนุษยชาติเท่านั้น เพราะถ้ามีความคิดที่ร้ายๆ แล้ว คนผู้นั้นจะสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายให้แก่โลกมนุษย์ และแก่ตัวเองอันเนื่องมาจากพลังจิตของเขา
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้ที่คิดจะปลุกจักระที่ 4 จึงต้องเป็นคนมองโลกในแง่ดีเสมอ จะเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายไม่ได้เป็นอันขาด เขาจะต้องสามารถปรองดองกับผู้คนได้ ต่อให้โลกภายนอกเลวร้ายต่ำทรามเพียงใด แต่โลกภายในของเขาจะต้องเปี่ยมด้วยสันติอยู่เสมอ ไม่ว่าใครก็ตามที่เคยเป็นศัตรูกับเขาหรือกำลังเป็นอยู่ เขาจะต้องให้อภัย แผ่ความรัก ความเมตตาออกไป มีความรัก ความจริงใจ และความหวังดีต่อทุกคน และสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้อย่างไม่มีประมาณ
เขาจะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยม คบหาผู้คนด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เขาจะคบกับคนที่มีความคิดจิตใจที่สูงส่งเช่นเดียวกับตัวเขา เขาจะกลายเป็นคนที่มีพลังในการคิด การพูด และการเขียน เขาจะเป็นคนที่เปี่ยมไปด้วยความเชื่อมั่น มีความเจริญรุ่งเรืองทั้งในทางโลกและทางธรรม และเขาจะเป็นผู้นำที่ดี ข้างต้นนี้แหละคือเคล็ดลับของการฝึกปลุกจักระที่ 4 ให้สำเร็จ และมีแต่บุคคลที่มีคุณสมบัติข้างต้นเช่นนี้เท่านั้น ถึงจะคู่กับการฝึกจักระที่ 4 หรือจักระอนาหตะนี้ได้
เขาผู้นั้นจะต้องหมั่นระลึกในใจ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่เสมอว่า
“โลกทั้งหมดอยู่ในตัวเรา
ตัวเราอยู่ในคนทั้งปวง
คนทั้งมวลล้วนอยู่ในตัวเรา”
ผู้ที่ฝึกจักระที่ 4 จนจิตเข้าถึงความสงบสุขภายในอยู่เสมอแล้ว จะบรรลุความสมบูรณ์ 3 ระดับคือ
(ก) ระดับร่างกาย เขาจะมีร่างกายที่แข็งแรง สะอาด บริสุทธิ์ มีพลัง
(ข) ระดับจิตใจ เขาจะตั้งอยู่ในคุณธรรม มีความยุติธรรมเที่ยงธรรม มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คิด พูด ทำแต่ในสิ่งที่ดี ที่ประเสริฐและสร้างสรรค์
(ค) ระดับจิตวิญญาณ จิตวิญญาณของเขาจะละเอียด สุขุม สะอาด สว่าง สงบ และเยือกเย็น (ยังมีต่อ)
www.dragon-press.com
ตันตระคือโยคะแห่งการปลุกให้ “รู้” ปลุกให้ “ตื่น” การฝึกฝนในตันตระ ด้วยวิธีการฝึกและอุบายต่างๆ นั้น ล้วนมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการ “รู้” และการ “ตื่น” ทั้งสิ้น หากคัมภีร์โยคะสูตรของปตัญชลีคือ แนวทางการฝึกแบบเจโตวิมุติคัมภีร์ตันตระ โดยเฉพาะคัมภีร์วิกยานไภราพตันตระก็คือแนวทางการฝึกแบบปัญญาวิมุตินั่นเอง โดยที่ไม่ว่าจะฝึกในแนวทางไหน ก็มี กุณฑาลินีโยคะ เป็นพื้นฐานเบื้องต้นร่วมกัน โดยเฉพาะในขั้นตอนอาสนะ ปราณายามะ มุทรพันธะ กิริยา และการปลุกจักระต่างๆ เหมือนกันทั้งสิ้น ก่อนที่จะแตกต่างกันเมื่อก้าวเข้าสู่การฝึกขั้นสูง
สิ่งที่ตันตระมุ่งจะทำก็คือ การนำเสนอ วิธีการอันเป็นเลิศให้แก่ผู้ฝึก เพื่อช่วยผู้ฝึกให้สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเอง จนกระทั่งดวงตาของเขาสามารถมองเห็นแสงสว่างด้วยตัวเองได้ แต่ตันตระจะไม่ยอมพูดใดๆ ทั้งสิ้น เกี่ยวกับแสงสว่างว่าหมายถึงอะไร สิ่งที่ตันตระสอนก็คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถมองเห็นแสงสว่างได้ เพราะนี่แหละคือคำตอบที่แท้จริงเกี่ยวกับแสงสว่าง...
ต่อไปจะขอถ่ายทอดเคล็ดการฝึกปลุกจักระในกุณฑาลินีโยคะอย่างเป็นระบบ ต่อจากที่ได้ถ่ายทอดไปแล้ว
(5) หลังจากที่ผู้ฝึกได้ปลุกจักระที่ 3 หรือจักระมณีปุระตรงบริเวณด้านในของช่องกระดูกไขสันหลังด้านหลังของสะดืออย่างต่อเนื่อง เป็นเวลาหนึ่งเดือนขึ้นไปแล้ว จึงค่อยเริ่มการฝึกสมาธิสำหรับปลุกจักระที่ 4 (อนาหตะ) เป็นลำดับต่อไป
ในคัมภีร์ของกุณฑาลินีโยคะได้กล่าวว่า จักระอนาหตะนี้เป็นศูนย์รวมพลังที่มีความสำคัญมากเป็นพิเศษ เพราะที่ตั้งของจักระนี้เป็นศูนย์รวมของระบบประสาทที่ควบคุมการทำหน้าที่ของหัวใจ ณ ที่จักระนี้มีจังหวะของการสั่นสะเทือนติดต่อกันไป โดยไม่มีการหยุด และทำให้เกิดเสียงชนิดหนึ่งเป็นเสียงที่เกิดขึ้นภายใน โดยเกิดขึ้นติดต่อกันไม่หยุดเลย คำว่า “อนาหตะ” เองก็มีความหมายว่า “หยุดไม่ได้”
จักระที่ 4 เป็นศูนย์รวมพลังที่มีความสามารถเป็นพิเศษเกี่ยวกับ การนึกปรารถนาสิ่งใด ก็จะได้สิ่งนั้นสมดังความปรารถนา ความจริงถ้าผู้ฝึกได้ฝึกจิตจนถึงจักระที่ 3 แล้ว เขาก็จะกลายเป็นผู้ที่มีพลังอำนาจที่จะจัดการ และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี แต่ยังไม่สามารถชำระล้างบุพกรรม หรือกรรมต่างๆ ในอดีตชาติให้หมดสิ้นในเวลาอันสั้นได้
การฝึกถึงจักระที่ 3 จึงยังอยู่ภายใต้กฎทางโลกของมนุษย์ แม้แต่จิตใจ ร่างกาย และประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของผู้นั้น ก็ยังอยู่ในขอบเขตของสามัญมนุษย์ แต่ถ้าฝึกจิตจนถึงจักระที่ 4 มันจะเกือบเข้าขอบเขตที่เหนือเหตุผล เหนือมิติ ไม่อยู่ในวิสัยของชาวโลกเข้าไปทุกทีแล้ว หรือเข้าใกล้โลกุตตรธรรมเข้าไปทุกทีแล้ว
กรรมเก่านั้นเป็นสิ่งที่มีจริง แต่สามารถทำให้หลุดพ้นออกมาได้ ถ้าผู้นั้นสามารถพัฒนาจิตมาถึงจักระที่ 3 ขึ้นไป มันเหมือนกับการขว้างก้อนหินขึ้นไปบนท้องฟ้า ซึ่งขึ้นอยู่กับแรงที่ขว้างขึ้นไปกับแรงดึงดูดของโลก ถ้าขว้างแรงพอก็อาจหลุดพ้นจากแรงดึงดูดของโลกไปได้ ปัจจัยที่จะทำให้เป็นเช่นนั้นได้ ก็คือ การสั่งสม “พลังบุญ” และ “พลังจิต” ของผู้นั้น
เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ฝึกสามารถฝึกถึงจักระที่ 4 หรืออนาหตะได้ ความสำเร็จของเขาจะอยู่แค่เอื้อมเท่านั้น เพราะมีแต่เมื่อผู้นั้นได้ฝึกถึงจักระที่ 4 แล้วเท่านั้น คนผู้นั้นถึงจะกลายเป็นกุณฑาลินีโยคะที่แท้จริง ในขณะที่ถ้าผู้นั้นยังฝึกแค่จักระที่ 1 จักระที่ 2 และจักระที่ 3 อยู่ ผู้นั้นก็ยังเป็นแค่ผู้ฝึกกุณฑาลินีโยคะเท่านั้น
ความตั้งใจจริงทำจริง การฝึกฝนอย่างจริงจัง อย่างตั้งใจด้วยพลังอำนาจจิตที่มีสติบริบูรณ์ ในการฝึกจิตผ่านขั้นตอนจักระที่ 1 จักระที่ 2 และจักระที่ 3 ตามลำดับ พอจิตมาถึงจักระที่ 4 แล้ว จิตของผู้นั้นย่อมมีความสมบูรณ์พร้อมเป็นอย่างมากแล้ว
ความต่างระหว่างจักระมณีปุระกับจักระอนาหตะนั้น อยู่ที่จักระมณีปุระยังถูกผูกมัดโดยกรรมเก่า แม้จะข้ามพ้นกรรมเก่าได้เป็นบางส่วนก็ตาม ส่วนจักระอนาหตะนั้นสามารถข้ามพ้นเป็นอิสระจากกรรมเก่าได้ ไม่แต่เท่านั้น ผู้นั้นยังสามารถใช้เจตนารมณ์ของตนไปบรรลุความปรารถนาในโลกแห่งกรรมได้ด้วย โดยผ่านการใช้จักระอนาหตะนี้ จึงเห็นได้ว่า ในขณะที่จักระมณีปุระจะเป็นแค่ฝ่ายรับกรรมที่ได้มาเท่านั้น แต่ยังไม่มีพลังอำนาจในการบรรลุความปรารถนา ซึ่งต่างจากจักระอนาหตะโดยสิ้นเชิง
ในคัมภีร์โยคะโบราณจึงกล่าวว่า ณ ที่ตั้งของจักระอนาหตะนี้มีต้นไม้ที่เขียวเสมออยู่ชื่อ ต้นกัลปพฤกษ์ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ขอสิ่งที่ปรารถนาอะไรก็จะได้ตามนั้น ไม่ว่าจะปรารถนาในสิ่งดีหรือสิ่งร้าย ตรงนี้แหละคือประเด็นที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่คิดจะปลุกจักระที่ 4 ต้องระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ และต้องมีสติเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลาในการใช้ชีวิต
เพราะลองคิดดูสิว่า ถ้าผู้นั้นฝึกจิตมาจนถึงขั้นนึกปรารถนาอะไรก็จะได้สมปรารถนาตามนั้นแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าหากความคิดของเขาเป็นไปในทางลบ เพราะมันจะเกิดขึ้นจริงๆ ตามนั้น ผู้ฝึกจักระที่ 4 จึงต้องตั้งอธิษฐานให้สัจจะกับตัวเองว่าจะมีความคิด และการกระทำในสิ่งที่ดีในเชิงบวก เชิงสร้างสรรค์ที่มีคุณประโยชน์ต่อมนุษยชาติเท่านั้น เพราะถ้ามีความคิดที่ร้ายๆ แล้ว คนผู้นั้นจะสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายให้แก่โลกมนุษย์ และแก่ตัวเองอันเนื่องมาจากพลังจิตของเขา
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้ที่คิดจะปลุกจักระที่ 4 จึงต้องเป็นคนมองโลกในแง่ดีเสมอ จะเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายไม่ได้เป็นอันขาด เขาจะต้องสามารถปรองดองกับผู้คนได้ ต่อให้โลกภายนอกเลวร้ายต่ำทรามเพียงใด แต่โลกภายในของเขาจะต้องเปี่ยมด้วยสันติอยู่เสมอ ไม่ว่าใครก็ตามที่เคยเป็นศัตรูกับเขาหรือกำลังเป็นอยู่ เขาจะต้องให้อภัย แผ่ความรัก ความเมตตาออกไป มีความรัก ความจริงใจ และความหวังดีต่อทุกคน และสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้อย่างไม่มีประมาณ
เขาจะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยม คบหาผู้คนด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เขาจะคบกับคนที่มีความคิดจิตใจที่สูงส่งเช่นเดียวกับตัวเขา เขาจะกลายเป็นคนที่มีพลังในการคิด การพูด และการเขียน เขาจะเป็นคนที่เปี่ยมไปด้วยความเชื่อมั่น มีความเจริญรุ่งเรืองทั้งในทางโลกและทางธรรม และเขาจะเป็นผู้นำที่ดี ข้างต้นนี้แหละคือเคล็ดลับของการฝึกปลุกจักระที่ 4 ให้สำเร็จ และมีแต่บุคคลที่มีคุณสมบัติข้างต้นเช่นนี้เท่านั้น ถึงจะคู่กับการฝึกจักระที่ 4 หรือจักระอนาหตะนี้ได้
เขาผู้นั้นจะต้องหมั่นระลึกในใจ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่เสมอว่า
“โลกทั้งหมดอยู่ในตัวเรา
ตัวเราอยู่ในคนทั้งปวง
คนทั้งมวลล้วนอยู่ในตัวเรา”
ผู้ที่ฝึกจักระที่ 4 จนจิตเข้าถึงความสงบสุขภายในอยู่เสมอแล้ว จะบรรลุความสมบูรณ์ 3 ระดับคือ
(ก) ระดับร่างกาย เขาจะมีร่างกายที่แข็งแรง สะอาด บริสุทธิ์ มีพลัง
(ข) ระดับจิตใจ เขาจะตั้งอยู่ในคุณธรรม มีความยุติธรรมเที่ยงธรรม มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คิด พูด ทำแต่ในสิ่งที่ดี ที่ประเสริฐและสร้างสรรค์
(ค) ระดับจิตวิญญาณ จิตวิญญาณของเขาจะละเอียด สุขุม สะอาด สว่าง สงบ และเยือกเย็น (ยังมีต่อ)
www.dragon-press.com