*ว่าด้วยการปลุกจักระในกุณฑาลินีโยคะ (ต่อ)*
เคล็ดในการปลุกจักระที่ 3 หรือจักระมณีปุระมีอยู่ 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้...
ขั้นตอนที่หนึ่ง ก่อนที่จะเริ่มฝึกขั้นตอนที่หนึ่งนี้ ผู้ฝึกควรทำการนวดฝ่าเท้ากับนวดบริเวณรอบๆ ดวงตาก่อน เพราะจักระที่ 3 เชื่อมโยงโดยตรงกับดวงตา และยังเชื่อมต่อไปถึงฝ่าเท้าด้วย จากนั้นจึงเริ่มฝึกขั้นตอนที่หนึ่ง ในที่มืดสลัว โดยนั่งขัดสมาธิในท่า สิทธะอาสนะ ใช้ส้นเท้ากดตรงกล้ามเนื้อบริเวณรอยฝีเย็บ อีกข้างหนึ่งวางบนหน้าขา นั่งตัวตรงสองมืออยู่ในท่าชินมุทรา (หงายฝ่ามือแตะบนหัวเข่า โดยเอานิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้แตะกันเบาๆ เป็นรูปวงกลม) จากนั้นจงหลับตาเพียงแผ่วเบา ในขณะนั่งสมาธิ ให้ส่งสมาธิจิตไปที่จักระที่ 1 หรือจักระมูลธารบริเวณรอยฝีเย็บ จดจ่ออยู่ที่บริเวณนี้ ต่อไปเมื่อหายใจเข้าให้ขมิบบีบกล้ามเนื้อบริเวณจักระที่ 1 หายใจออกให้คลายกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ทำเช่นนี้สลับกันไป ด้วยความตั้งใจราวๆ 5-10 นาที ตายังคงหลับอยู่
ขั้นตอนที่สอง ต่อไปให้เริ่มฝึกกระตุ้นจักระที่ 2 หรือจักระสวาธิษฐาน โดยการหายใจเข้าให้ส่วนล่างของท้องน้อยพองออกหายใจออกให้ส่วนล่างของท้องน้อยแฟบบีบตัว จากนั้นให้ส่งสมาธิจิตไปที่บริเวณอวัยวะเพศ ฝึกจดจ่อเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ราวๆ 5-10 นาที สิ่งสำคัญคือต้องรู้สึกตัวตลอดว่า อวัยวะในบริเวณท้องน้อยทั้งหมดบีบตัว และคลายตัวสลับกันไปตามจังหวะการหายใจออก และการหายใจเข้า
ขั้นตอนที่สาม นั่งท่าเดิม สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ให้ท้องน้อยพองขยายออก และบังคับลมหายใจขึ้นไปถึงทรวงอกให้ทรวงอกขยาย และให้กล้ามเนื้อบริเวณสะดือขยายออก โดยจินตนาว่า “ปราณา” ไหลจากลำคอไปที่สะดือ พร้อมๆ กับที่ “อปานา” ก็ไหลขึ้นจากจักระที่ 1 มาที่สะดือแล้วมาบรรจบกันที่จักระที่ 3 นี้
จากนั้นให้กักลมหายใจ เพ่งจิตไปที่บริเวณสะดือหรือทำ “อุทิยานะพันธะ” โดยค่อยๆ เพิ่มเวลาที่กักลมหายใจให้นานขึ้นเรื่อยๆ เท่าที่จะทำได้ จากนั้นค่อยระบายลมหายใจออก ให้ฝึกเช่นนี้ราวๆ 10 นาที
ขั้นตอนที่สี่ เปลี่ยนท่านั่งจากท่าสิทธะอาสนะมาเป็นท่าคุกเข่าหรือวัชระอาสนะ ให้เข่าห่างกันเล็กน้อย มือทั้งสองประสานกันแล้วนำมาวางบนต้นขา หลับตาเพียงแผ่วเบา สงบจิตใจ จากนั้นใช้ตาที่หลับส่งสมาธิไปที่ปลายจมูก สูดหายใจเข้า ท้องค่อยๆ พอง หายใจออกท้องค่อยๆ แฟบ จิตต้องจดจ่ออยู่ที่ปลายจมูกตนเองตลอดเวลา
จากนั้นจงลืมตาอย่างแผ่วเบา มองปลายจมูกตนเอง พยายามให้รู้สึกตัวว่า กำลังจ้องปลายจมูกตนเองอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งรู้สึกเมื่อยล้าสายตา จึงค่อยหลับตาลงอีกครั้งหนึ่ง ส่งสมาธิไปที่ปลายจมูกต่อ ให้ทำเช่นนี้สลับกันไปราวๆ 10 นาที จากนั้นให้กลับไปนั่งท่าสิทธะอาสนะใหม่ แล้วฝึก “อุทิยานะพันธะ” ตามขั้นตอนที่สามอีกครั้ง คราวนี้ให้ทำราวๆ 20-30 นาที จึงค่อยลืมตาช้าๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และออกจากสมาธิ
เหตุที่ต้องฝึกขั้นตอนที่หนึ่ง และขั้นตอนที่สองก่อนก็เพื่อไปกระตุ้นจักระที่ 1 กับจักระที่ 2 ที่อยู่ต่ำกว่าก่อนนั่นเอง แต่ขั้นตอนที่สามต่างหากที่เป็นหัวใจของการฝึกเพื่อปลุกจักระที่ 3 นี้ แต่ที่ต้องมีขั้นตอนที่สี่ด้วยก็เพื่อบริหารดวงตากับกระตุ้นฝ่าเท้า (ด้วยท่านั่งคุกเข่า) ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งมีผลต่อการกระตุ้นจักระที่ 3 ในทางอ้อมด้วยนั่นเอง
อนึ่ง นอกจากวิธีฝึกเพื่อปลุกจักระที่ 3 ด้วย “อุทิยานะพันธะ” ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีวิธีฝึกอย่างอื่นที่ควรฝึกควบคู่กันไปด้วย นั่นคือ วิธีฝึกเพ่ง ที่เรียกกันว่า ตรัทกะ โดยจะฝึกเพ่งเทียน หรือเพ่งลูกแก้วก็ได้ เคล็ดในการฝึกเพ่ง (ตรัทกะ) ของโยคะ มีดังนี้...
ฝึกในที่มืดสลัว นั่งในท่าสิทธะอาสนะ จุดเทียนและวางในระดับสายตา ให้ห่างจากใบหน้าราวๆ 45-60 ซม. นั่งตัวตรง หลังตรง ผ่อนคลายทั่วตัว หลับตาเบาๆ ให้นึกว่าร่างนี้ของตนเป็นประดุจรูปปั้นที่ไม่เคลื่อนไหว จิตจดจ่ออยู่กับกายนี้อย่างแน่วแน่ พอทำได้แล้วคือหมายความว่า สามารถอยู่นิ่งๆ ในท่านั่งนี้โดยไม่ขยับเขยื้อนร่างกายทุกส่วนได้แล้ว จึงค่อยลืมตาเพ่งไปยังส่วนที่สว่างที่สุดของเปลวเทียน
จงพยายามเพ่งให้นานโดยไม่ขยับ นัยน์ตาหรือกะพริบตาให้ทำจนกว่าผู้ฝึกจะลืมเลือนความรู้สึกของร่างกายส่วนอื่นๆ จิตของผู้ฝึกมารวมอยู่ที่ดวงตาอย่างเดียวเท่านั้น แล้วให้ดวงตาเพ่งไปที่จุดใดจุดหนึ่งที่เดียว ในกรณีนี้คือเปลวเทียนเมื่อฝึกเพ่งไปหลายนาทีจนดวงตาเริ่มเมื่อยล้า หรือมีน้ำตาไหลก็จงหลับตาเพียงเบาๆ แต่ห้ามขยับร่างกายส่วนอื่นเด็ดขาด
ให้ฝึกเพ่งจนกระทั่งเป็นนิมิต คือแม้จะหลับตาแล้วก็ยังเห็นภาพของเปลวเทียนเบื้องหน้าปรากฏบริเวณกึ่งกลางหน้าผาก หรือหว่างคิ้วอยู่ชั่วขณะ ก่อนที่ภาพนิมิตนั้นจะเลือนหายไป เมื่อภาพนิมิตเลือนหายไป ก็ให้ลืมตาขึ้นเพ่งเปลวเทียนใหม่ โดยให้ฝึกเพ่งราวๆ 15-20 นาที การฝึกเพ่ง (ตรัทกะ) ของโยคะนี้คือ การฝึกกสิณ นั่นเอง
ช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดในการฝึกเพ่ง (ตรัทกะ) คือช่วงระหว่างตีสี่ถึงหกโมงเช้า การฝึกเพ่ง (ตรัทกะ) ของโยคะนี้สำคัญมากสำหรับผู้ต้องการฝึกพลังจิต เพราะวิธีนี้เป็นวิธีฝึกที่ทรงพลังมากในการควบคุมคลื่นความคิดที่ฟุ้งซ่านของคนเรา การฝึกเพ่งนี้ไม่จำเป็นต้องฝึกเพ่งเปลวเทียนเสมอไป จะฝึกเพ่งดวงสี ลูกแก้ว น้ำ ปลายจมูกตนเอง หรือจุดเล็กๆ จุดหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับจริตของแต่ละคน แต่การฝึกเพ่งเปลวเทียนเป็นการฝึกที่ง่ายและแพร่หลายที่สุด
* * *
ขออธิบายเรื่อง “วิถีของตันตระ” ต่อ...รูปแบบการนำเสนอของคัมภีร์วิกยานไภราพตันตระนั้น จะเป็นการถามตอบระหว่างพระอุมา คนรักของพระศิวะที่ถามพระศิวะเสมอ โดยที่คำถามของพระอุมาจะเป็นคำถามในเชิงปรัชญาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นตัวตนที่แท้จริงของพระศิวะคือใคร? สรรพสิ่งถือกำเนิดมาจากสิ่งใด? ใครคือผู้ที่อยู่ ณ ศูนย์กลางแห่งจักรวาล? จะข้ามพ้นรูปกับนาม เวลากับพื้นที่ได้อย่างไร? เหล่านี้เป็นต้น ขณะที่ในคัมภีร์ตันตระนี้ พระศิวะไม่ได้ตอบคำถามเหล่านี้ในเชิงปรัชญาเลยแม้แต่ข้อเดียว แต่พระศิวะกลับสามารถขจัดข้อสงสัยทั้งปวงของพระอุมาหญิงคนรักได้อย่างหมดจดในเชิงตันตระ ด้วยวิธีการที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งมีแต่บรมครูแห่งโยคะ (ตันตระโยคะ) อย่างพระศิวะเท่านั้นที่สามารถทำได้
“โอ พระศิวะท่านเอย ตัวตนที่แท้จริงของพระองค์นั้นเป็นฉันใดกันแน่” พระอุมาถามพระศิวะด้วยคำถามนี้เป็นคำถามแรก แต่พระศิวะไม่ตอบคำถามอันนี้ พระองค์กลับให้ “วิธีฝึก” แทนคำตอบในเชิงปรัชญาที่สามารถเกิดความสงสัยต่อไปได้อีกไม่รู้จักจบสิ้น เพราะพระศิวะทรงรู้ดีว่า ถ้าหากพระอุมาได้ผ่านประสบการณ์การฝึกแบบตันตระที่พระองค์ถ่ายทอดให้แบบตัวต่อตัว และแบบเฉพาะตนแล้ว นางจะต้องเข้าใจคำตอบนั้นด้วยตัวของนางเองได้อย่างแน่นอน พระศิวะจึงไม่คิดที่จะตอบคำถามที่ว่า “ตัวเองเป็นใคร” แต่พระองค์กลับให้ วิธีฝึก แทนเป็นการตอบคำถามทางอ้อม และขจัดความสงสัยได้ชะงัดที่สุด อนึ่ง วิธีการฝึกแบบตันตระที่จะกล่าวต่อไปหลังจากนี้ จะฝึกได้ก็ต่อเมื่อผู้นั้นได้ผ่านการฝึกปลุกจักระต่างๆ ทั้ง 7 มาแล้วเท่านั้น (ยังมีต่อ)
www.dragon-press.com
เคล็ดในการปลุกจักระที่ 3 หรือจักระมณีปุระมีอยู่ 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้...
ขั้นตอนที่หนึ่ง ก่อนที่จะเริ่มฝึกขั้นตอนที่หนึ่งนี้ ผู้ฝึกควรทำการนวดฝ่าเท้ากับนวดบริเวณรอบๆ ดวงตาก่อน เพราะจักระที่ 3 เชื่อมโยงโดยตรงกับดวงตา และยังเชื่อมต่อไปถึงฝ่าเท้าด้วย จากนั้นจึงเริ่มฝึกขั้นตอนที่หนึ่ง ในที่มืดสลัว โดยนั่งขัดสมาธิในท่า สิทธะอาสนะ ใช้ส้นเท้ากดตรงกล้ามเนื้อบริเวณรอยฝีเย็บ อีกข้างหนึ่งวางบนหน้าขา นั่งตัวตรงสองมืออยู่ในท่าชินมุทรา (หงายฝ่ามือแตะบนหัวเข่า โดยเอานิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้แตะกันเบาๆ เป็นรูปวงกลม) จากนั้นจงหลับตาเพียงแผ่วเบา ในขณะนั่งสมาธิ ให้ส่งสมาธิจิตไปที่จักระที่ 1 หรือจักระมูลธารบริเวณรอยฝีเย็บ จดจ่ออยู่ที่บริเวณนี้ ต่อไปเมื่อหายใจเข้าให้ขมิบบีบกล้ามเนื้อบริเวณจักระที่ 1 หายใจออกให้คลายกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ทำเช่นนี้สลับกันไป ด้วยความตั้งใจราวๆ 5-10 นาที ตายังคงหลับอยู่
ขั้นตอนที่สอง ต่อไปให้เริ่มฝึกกระตุ้นจักระที่ 2 หรือจักระสวาธิษฐาน โดยการหายใจเข้าให้ส่วนล่างของท้องน้อยพองออกหายใจออกให้ส่วนล่างของท้องน้อยแฟบบีบตัว จากนั้นให้ส่งสมาธิจิตไปที่บริเวณอวัยวะเพศ ฝึกจดจ่อเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ราวๆ 5-10 นาที สิ่งสำคัญคือต้องรู้สึกตัวตลอดว่า อวัยวะในบริเวณท้องน้อยทั้งหมดบีบตัว และคลายตัวสลับกันไปตามจังหวะการหายใจออก และการหายใจเข้า
ขั้นตอนที่สาม นั่งท่าเดิม สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ให้ท้องน้อยพองขยายออก และบังคับลมหายใจขึ้นไปถึงทรวงอกให้ทรวงอกขยาย และให้กล้ามเนื้อบริเวณสะดือขยายออก โดยจินตนาว่า “ปราณา” ไหลจากลำคอไปที่สะดือ พร้อมๆ กับที่ “อปานา” ก็ไหลขึ้นจากจักระที่ 1 มาที่สะดือแล้วมาบรรจบกันที่จักระที่ 3 นี้
จากนั้นให้กักลมหายใจ เพ่งจิตไปที่บริเวณสะดือหรือทำ “อุทิยานะพันธะ” โดยค่อยๆ เพิ่มเวลาที่กักลมหายใจให้นานขึ้นเรื่อยๆ เท่าที่จะทำได้ จากนั้นค่อยระบายลมหายใจออก ให้ฝึกเช่นนี้ราวๆ 10 นาที
ขั้นตอนที่สี่ เปลี่ยนท่านั่งจากท่าสิทธะอาสนะมาเป็นท่าคุกเข่าหรือวัชระอาสนะ ให้เข่าห่างกันเล็กน้อย มือทั้งสองประสานกันแล้วนำมาวางบนต้นขา หลับตาเพียงแผ่วเบา สงบจิตใจ จากนั้นใช้ตาที่หลับส่งสมาธิไปที่ปลายจมูก สูดหายใจเข้า ท้องค่อยๆ พอง หายใจออกท้องค่อยๆ แฟบ จิตต้องจดจ่ออยู่ที่ปลายจมูกตนเองตลอดเวลา
จากนั้นจงลืมตาอย่างแผ่วเบา มองปลายจมูกตนเอง พยายามให้รู้สึกตัวว่า กำลังจ้องปลายจมูกตนเองอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งรู้สึกเมื่อยล้าสายตา จึงค่อยหลับตาลงอีกครั้งหนึ่ง ส่งสมาธิไปที่ปลายจมูกต่อ ให้ทำเช่นนี้สลับกันไปราวๆ 10 นาที จากนั้นให้กลับไปนั่งท่าสิทธะอาสนะใหม่ แล้วฝึก “อุทิยานะพันธะ” ตามขั้นตอนที่สามอีกครั้ง คราวนี้ให้ทำราวๆ 20-30 นาที จึงค่อยลืมตาช้าๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และออกจากสมาธิ
เหตุที่ต้องฝึกขั้นตอนที่หนึ่ง และขั้นตอนที่สองก่อนก็เพื่อไปกระตุ้นจักระที่ 1 กับจักระที่ 2 ที่อยู่ต่ำกว่าก่อนนั่นเอง แต่ขั้นตอนที่สามต่างหากที่เป็นหัวใจของการฝึกเพื่อปลุกจักระที่ 3 นี้ แต่ที่ต้องมีขั้นตอนที่สี่ด้วยก็เพื่อบริหารดวงตากับกระตุ้นฝ่าเท้า (ด้วยท่านั่งคุกเข่า) ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งมีผลต่อการกระตุ้นจักระที่ 3 ในทางอ้อมด้วยนั่นเอง
อนึ่ง นอกจากวิธีฝึกเพื่อปลุกจักระที่ 3 ด้วย “อุทิยานะพันธะ” ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีวิธีฝึกอย่างอื่นที่ควรฝึกควบคู่กันไปด้วย นั่นคือ วิธีฝึกเพ่ง ที่เรียกกันว่า ตรัทกะ โดยจะฝึกเพ่งเทียน หรือเพ่งลูกแก้วก็ได้ เคล็ดในการฝึกเพ่ง (ตรัทกะ) ของโยคะ มีดังนี้...
ฝึกในที่มืดสลัว นั่งในท่าสิทธะอาสนะ จุดเทียนและวางในระดับสายตา ให้ห่างจากใบหน้าราวๆ 45-60 ซม. นั่งตัวตรง หลังตรง ผ่อนคลายทั่วตัว หลับตาเบาๆ ให้นึกว่าร่างนี้ของตนเป็นประดุจรูปปั้นที่ไม่เคลื่อนไหว จิตจดจ่ออยู่กับกายนี้อย่างแน่วแน่ พอทำได้แล้วคือหมายความว่า สามารถอยู่นิ่งๆ ในท่านั่งนี้โดยไม่ขยับเขยื้อนร่างกายทุกส่วนได้แล้ว จึงค่อยลืมตาเพ่งไปยังส่วนที่สว่างที่สุดของเปลวเทียน
จงพยายามเพ่งให้นานโดยไม่ขยับ นัยน์ตาหรือกะพริบตาให้ทำจนกว่าผู้ฝึกจะลืมเลือนความรู้สึกของร่างกายส่วนอื่นๆ จิตของผู้ฝึกมารวมอยู่ที่ดวงตาอย่างเดียวเท่านั้น แล้วให้ดวงตาเพ่งไปที่จุดใดจุดหนึ่งที่เดียว ในกรณีนี้คือเปลวเทียนเมื่อฝึกเพ่งไปหลายนาทีจนดวงตาเริ่มเมื่อยล้า หรือมีน้ำตาไหลก็จงหลับตาเพียงเบาๆ แต่ห้ามขยับร่างกายส่วนอื่นเด็ดขาด
ให้ฝึกเพ่งจนกระทั่งเป็นนิมิต คือแม้จะหลับตาแล้วก็ยังเห็นภาพของเปลวเทียนเบื้องหน้าปรากฏบริเวณกึ่งกลางหน้าผาก หรือหว่างคิ้วอยู่ชั่วขณะ ก่อนที่ภาพนิมิตนั้นจะเลือนหายไป เมื่อภาพนิมิตเลือนหายไป ก็ให้ลืมตาขึ้นเพ่งเปลวเทียนใหม่ โดยให้ฝึกเพ่งราวๆ 15-20 นาที การฝึกเพ่ง (ตรัทกะ) ของโยคะนี้คือ การฝึกกสิณ นั่นเอง
ช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดในการฝึกเพ่ง (ตรัทกะ) คือช่วงระหว่างตีสี่ถึงหกโมงเช้า การฝึกเพ่ง (ตรัทกะ) ของโยคะนี้สำคัญมากสำหรับผู้ต้องการฝึกพลังจิต เพราะวิธีนี้เป็นวิธีฝึกที่ทรงพลังมากในการควบคุมคลื่นความคิดที่ฟุ้งซ่านของคนเรา การฝึกเพ่งนี้ไม่จำเป็นต้องฝึกเพ่งเปลวเทียนเสมอไป จะฝึกเพ่งดวงสี ลูกแก้ว น้ำ ปลายจมูกตนเอง หรือจุดเล็กๆ จุดหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับจริตของแต่ละคน แต่การฝึกเพ่งเปลวเทียนเป็นการฝึกที่ง่ายและแพร่หลายที่สุด
* * *
ขออธิบายเรื่อง “วิถีของตันตระ” ต่อ...รูปแบบการนำเสนอของคัมภีร์วิกยานไภราพตันตระนั้น จะเป็นการถามตอบระหว่างพระอุมา คนรักของพระศิวะที่ถามพระศิวะเสมอ โดยที่คำถามของพระอุมาจะเป็นคำถามในเชิงปรัชญาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นตัวตนที่แท้จริงของพระศิวะคือใคร? สรรพสิ่งถือกำเนิดมาจากสิ่งใด? ใครคือผู้ที่อยู่ ณ ศูนย์กลางแห่งจักรวาล? จะข้ามพ้นรูปกับนาม เวลากับพื้นที่ได้อย่างไร? เหล่านี้เป็นต้น ขณะที่ในคัมภีร์ตันตระนี้ พระศิวะไม่ได้ตอบคำถามเหล่านี้ในเชิงปรัชญาเลยแม้แต่ข้อเดียว แต่พระศิวะกลับสามารถขจัดข้อสงสัยทั้งปวงของพระอุมาหญิงคนรักได้อย่างหมดจดในเชิงตันตระ ด้วยวิธีการที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งมีแต่บรมครูแห่งโยคะ (ตันตระโยคะ) อย่างพระศิวะเท่านั้นที่สามารถทำได้
“โอ พระศิวะท่านเอย ตัวตนที่แท้จริงของพระองค์นั้นเป็นฉันใดกันแน่” พระอุมาถามพระศิวะด้วยคำถามนี้เป็นคำถามแรก แต่พระศิวะไม่ตอบคำถามอันนี้ พระองค์กลับให้ “วิธีฝึก” แทนคำตอบในเชิงปรัชญาที่สามารถเกิดความสงสัยต่อไปได้อีกไม่รู้จักจบสิ้น เพราะพระศิวะทรงรู้ดีว่า ถ้าหากพระอุมาได้ผ่านประสบการณ์การฝึกแบบตันตระที่พระองค์ถ่ายทอดให้แบบตัวต่อตัว และแบบเฉพาะตนแล้ว นางจะต้องเข้าใจคำตอบนั้นด้วยตัวของนางเองได้อย่างแน่นอน พระศิวะจึงไม่คิดที่จะตอบคำถามที่ว่า “ตัวเองเป็นใคร” แต่พระองค์กลับให้ วิธีฝึก แทนเป็นการตอบคำถามทางอ้อม และขจัดความสงสัยได้ชะงัดที่สุด อนึ่ง วิธีการฝึกแบบตันตระที่จะกล่าวต่อไปหลังจากนี้ จะฝึกได้ก็ต่อเมื่อผู้นั้นได้ผ่านการฝึกปลุกจักระต่างๆ ทั้ง 7 มาแล้วเท่านั้น (ยังมีต่อ)
www.dragon-press.com