เป็นคำถามและความเคลือบแคลงที่เกิดขึ้นมาท่ามกลางกระแสสังคมในขณะนี้ว่า มีการฮั้วเกิดขึ้นในโครงการประมูลโครงการหนึ่งของรัฐหรือไม่ ซึ่งการฮั้วหรือไม่เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณาต่อไป แต่ขออธิบายหลักเกณฑ์ตามกฎหมายเกี่ยวกับการฮั้วเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ที่สนใจทั่วไป ประกอบกับมีโครงการของรัฐจำนวนมากที่จำเป็นจะต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ หลายโครงการเป็นโครงการที่รัฐต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินการ ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายการฮั้วนั้น จึงน่าจะเป็นประโยชน์แก่สังคมโดยรวม
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า “ฮั้ว” คืออะไร ตามพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คำว่า “ฮั้ว” หมายถึง รวมหัวกัน ร่วมกันกระทำการ สมยอมกันในการเสนอราคาเพื่อมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม
เนื่องจากการจัดหาสินค้าและบริการไม่ว่าด้วยวิธีการจัดซื้อหรือการจัดจ้างหรือวิธีอื่นใด ของหน่วยงานของรัฐทุกแห่งนั้นเป็นการดำเนินการโดยใช้เงินงบประมาณ เงินกู้ เงินช่วยเหลือ หรือรายได้ของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นเงินของแผ่นดิน รวมทั้งการที่รัฐให้สิทธิในการดำเนินกิจการบางอย่างโดยการให้สัมปทานอนุญาต หรือกรณีอื่นใดในลักษณะเดียวกันก็เป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะอันเป็นกิจการของรัฐ ดังนั้น การจัดหาสินค้าและบริการรวมทั้งการให้สิทธิดังกล่าว จึงต้องกระทำอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมและมีการแข่งขันกันอย่างเสรีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ แต่เนื่องจากการดำเนินการที่ผ่านมามีการกระทำในลักษณะการสมยอมในการเสนอราคา และมีพฤติการณ์ต่าง ๆ อันทำให้มิได้มีการแข่งขันกันเสนอประโยชน์สูงสุดให้แก่หน่วยงานของรัฐอย่าง แท้จริงและเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ นอกจากนั้น ในบางกรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็มีส่วนร่วมหรือ มีส่วนสนับสนุนในการทำความผิด หรือละเว้นไม่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ อันมีผลทำให้ปัญหาในเรื่องนี้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จึงสมควรกำหนดให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดเพื่อเป็นการปราบปรามการกระทำ ในลักษณะดังกล่าว รวมทั้งกำหนดลักษณะความผิดและกลไกในการดำเนินการเอาผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้การปราบปรามดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ขึ้นมา
ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว “การเสนอราคา” หมายความว่า การยื่นข้อเสนอเพื่อเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐอันเกี่ยวกับการซื้อ การจ้าง การแลกเปลี่ยน การเช่า การจำหน่ายทรัพย์สิน การได้รับสัมปทานหรือการได้รับสิทธิใด ๆ และ “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือหน่วยงานอื่นใดที่ดำเนินกิจการของรัฐตามกฎหมายและได้รับเงินอุดหนุนหรือเงินหรือทรัพย์สินลงทุนจากรัฐ
สำหรับการบังคับใช้นั้นพระราชบัญญัติฉบับนี้บังคับใช้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมืองอื่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา และผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น อีกทั้งยังบังคับใช้กับภาคเอกชนที่เป็นคู่สัญญากับรัฐและประชาชนทั่วไปที่มีส่วนร่วมกระทำผิด
การสมยอมการเสนอราคาตามพระราชบัญญัติฉบับนี้มีหลายรูปแบบ เช่น การสมยอมราคา “ฮั้ว” โดยการตกลงร่วมกันในการเสนอราคา เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือโดยการกีดกันมิให้มีการเสนอสินค้าหรือบริการอื่นต่อหน่วยงานของรัฐ หรือโดยการเอาเปรียบแก่หน่วยงานของรัฐอันมิใช่เป็นไปในทางการประกอบธุรกิจปกติ ผู้ที่เป็นธุระในการชักชวนให้ผู้อื่นร่วมตกลงกันสมยอมราคาต้องรับโทษเช่นเดียวกัน เช่น กรณีที่มีผู้เสนอราคา 3 ราย โดยผู้เสนอราคาทั้งหมดทั้ง 3 รายได้ตกลงกันว่าจะเสนอราคาโดยมุ่งหมายให้รายใดรายหนึ่งเป็นผู้ได้งาน โดยผู้เสนอราคารายที่ 1 และที่ 2 จะแกล้งเสนอราคาให้สูงกว่าผู้เสนอราคารายที่ 3 เพื่อให้ผู้เสนอราคารายที่ 3 ซึ่งเสนอราคาต่ำสุดแต่ยังเป็นราคาที่สูงกว่าราคากลางเป็นผู้ได้งานตามที่ตกลงกันไว้เป็นเหตุให้หน่วยงานของรัฐเสียเปรียบ
การจัดฮั้วกัน โดยการให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้อื่นเพื่อประโยชน์ในการเสนอราคา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะจูงใจให้ผู้นั้นร่วมดำเนินการใด ๆ อันเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้นั้นทำการเสนอราคาสูงหรือต่ำจนเห็นได้ชัดว่าไม่เป็นไปตามลักษณะสินค้า บริการ หรือสิทธิที่จะได้รับ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้นั้นไม่เข้าร่วมในการเสนอราคาหรือถอนการเสนอราคา นอกจากนั้นหากผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อจัดให้มีการฮั้วกันให้ถือว่าเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วย
การข่มขืนใจผู้อื่นให้จำยอม หมายถึงการข่มขืนใจผู้อื่นให้จำยอมร่วมดำเนินการใด ๆ ในการเสนอราคาหรือไม่เข้าร่วมในการเสนอราคา หรือถอนการเสนอราคา หรือต้องทำการเสนอราคาตามที่กำหนด โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ ให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น
การใช้อุบายหลอกลวงหรือกระทำการโดยวิธีอื่นใดเป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเข้าทำการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมหรือให้มีการเสนอราคาโดยหลงผิด เช่น ผู้จะเข้าเสนอราคาในการประกวดราคางานของหน่วยงานของรัฐหน่วยงานหนึ่ง แกล้งบอกข่าวให้ผู้เสนอราคารายอื่นๆหลงเชื่อว่า หน่วยงานของรัฐนั้นไม่มีการประกาศประกวดราคา หรือหลอกผู้เข้าเสนอราคาให้ไปยื่นซองที่อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเข้าเสนอราคา
การเสนอราคาต่ำหรือให้ผลประโยชน์สูงกว่าปกติเป็นเหตุให้ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้ หมายถึง ผู้ใดโดยทุจริตทำการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐโดยรู้ว่าราคาที่เสนอนั้นต่ำมาก เกินกว่าปกติจนเห็นได้ชัดว่าไม่เป็นไปตามลักษณะสินค้าหรือบริการ หรือเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่หน่วยงานของรัฐสูงกว่าความเป็นจริงตามสิทธิ ที่จะได้รับ โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการกีดกันการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมและการกระทำเช่นว่านั้น เป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาได้ เช่น ในการประกวดราคางานหน่วยงานของรัฐหน่วยงานหนึ่งกำหนดราคากลางไว้ 5 ล้านบาท ผู้เสนอราคารายหนึ่งได้เสนอราคาก่อสร้างเพียง 4 ล้านบาท โดยรู้อยู่แล้วว่าในวงเงินดังกล่าวไม่สามารถก่อสร้างได้ถูกต้องตามแบบแต่ต้องการได้งานและเป็นผู้เข้าทำสัญญากับหน่วยงานรัฐเท่านั้น แม้การก่อสร้างจะไม่ถูกต้องตามแบบแต่จะใช้วิธีติดสินบนกรรมการตรวจการจ้างให้ยอมรับงานก่อสร้างนี้
การทุจริตในการออกแบบ กำหนดราคา กำหนดเงื่อนไข หากเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใด หรือผู้ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานของรัฐผู้ใด โดยทุจริตทำการออกแบบ กำหนดราคา กำหนดเงื่อนไข หรือกำหนดผลประโยชน์ตอบแทน อันเป็นมาตรฐานในการเสนอราคาโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม หรือเพื่อช่วยเหลือให้ผู้เสนอราคารายใดได้มีสิทธิเข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐโดยไม่เป็นธรรม หรือเพื่อกีดกันผู้เสนอราคารายใดมิให้มีโอกาสเข้าแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม เช่น กำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่ต้องการจัดหาให้แคบอยู่เฉพาะพัสดุที่เป็นของผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใด กำหนดคุณสมบัติผู้จะเข้าเสนอราคาอย่างจำกัด เช่น เรื่องระยะเวลาประสบการณ์ทำงาน หรือต้องมีทุนจดทะเบียนสูงมาก เป็นต้น
นอกจากนั้นหากเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหรือหน้าที่ในการอนุมัติ การพิจารณาหรือการดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอราคาครั้งใด รู้หรือมีพฤติการณ์ปรากฏแจ้งชัดว่าควรรู้ว่าการเสนอราคาในครั้งนั้นมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ละเว้นไม่ดำเนินการเพื่อให้มีการยกเลิกการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอราคาในครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความผิดฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
ผู้ที่มีอำนาจตรวจสอบการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้คือ คณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยผู้ที่พบเห็นการกระทำความผิดสามารถร้องเรียนโดยระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้เสียหายหรือผู้กล่าวหา ชื่อตำแหน่งและสังกัดของผู้ถูกกล่าวหา ข้อกล่าวหาและพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดตามข้อกล่าวหาพร้อมพยานหลักฐาน ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทำการตรวจสอบ หากพบว่าผู้ถูกกล่าวหาการกระทำความผิดจริงให้ดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลให้พิพากษาลงโทษตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งมีทั้งโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีจนถึงจำคุกตลอดชีวิตและโทษปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาทจนถึง 4 แสนบาทหรือโทษปรับในบางกรณีอาจสูงถึงร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาสูงสุดระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดนั้น หรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่าขึ้นอยู่กับฐานความผิดของผู้กระทำ
ตัวอย่างคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐที่น่าสนใจ
คำพิพากษาศาลจังหวัดบุรีรัมย์ คดีหมายเลขดำที่ 440/2554 คดีหมายเลขแดงที่ 3241/2554 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ โจทก์ กับ ประธานกรรมการบริหาร คณะผู้บริหารและพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่ง จำเลย ในความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ โดยศาลพิพากษาว่าจำเลยทั้งสามกระทำความผิดจริง เนื่องจากการประกาศสอบราคาจ้างเหมาก่อสร้างถนน โดยระยะเวลาประกาศสอบราคาไม่ครบ 10 วันก่อนเปิดซองสอบราคาและไม่มีการส่งประกาศไปยังผู้มีอาชีพรับเหมาก่อสร้าง จึงเป็นการผิดระเบียบว่าด้วยพัสดุ นอกจากนั้นยังมอบหมายงานให้แก่ผู้เสนอราคาต่ำเป็นอันดับสาม ในขณะที่ผู้เสนอราคาต่ำสุดไม่ได้งาน โดยให้เหตุผลว่าใบแสดงบัญชีปริมาณงานและราคากรอกรายละเอียดไม่สมบูรณ์ในการพิจารณาคดีในเบื้องต้นจำเลยให้การปฏิเสธต่อมาได้ขอถอนคำให้การปฏิเสธและให้การใหม่เป็นรับสารภาพ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยมุ่งหมายไม่ให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมเพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้ทำการเสนอราคาและเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์การบริหารส่วนตำบล จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา12,13 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 เนื่องจากจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้ คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปีในฐานะประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล และจำคุกจำเลยที่ 2 และที่ 3 คนละ 4 ปี
ต่อมาจำเลยทั้งสามยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำคุกคนละ 3 ปี 6 เดือน จำเลยที่ 2 จำคุก 2 ปี 6 เดือน ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
ในขณะที่คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสี่สิบสี่คนในคดีหมายเลขดำ อม.4/2551 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 7/2552 คดีทุจริตโครงการประมูลจัดซื้อต้นกล้ายางพาราโดยมีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 4, 9, 10, 11, 12 และ13
โดยมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 30 ถึงที่ 32 ได้นำหลักฐานแสดงคุณสมบัติของการประกวดราคาอันเป็นเท็จมาแสดงว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติตามประกาศประกวดราคาอันเป็นการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า แม้จำเลยที่ 30 ถึงที่ 32 จะชนะการประกวดราคาก็ต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอีกว่าจำเลยดังกล่าวมีความเหมาะสมและสามารถที่จะดำเนินงานตามประกวดราคาจ้างให้เสร็จสมบรูณ์ ทั้งเงินและทรัพย์สินที่จะได้ไปก็เป็นค่าตอบแทนอันเนื่องมาจากการจ้างไม่ใช่การหลอกลวง ซึ่งคดีนี้จำเลยที่ 30 ถึงที่ 32 ไม่ได้เป็นผู้ชนะการประกวดราคาและไม่ได้เข้าทำสัญญาจ้าง อย่างไรก็ตามการที่ผู้เสนอราคานำหลักฐานอันเป็นเท็จมาแสดงในการเสนอราคานั้น พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ไม่ได้บัญญัติความผิดดังกล่าวในทางอาญาไว้โดยตรง เพียงแต่มีบัญญัติในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และเมื่อฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 30 ถึงที่ 32 เป็นการหลอกลวงกรมวิชาการเกษตร เพื่อจะได้ทรัพย์สินนั้นไปจากผู้หลอกลวงหรือทำให้กรมวิชาการเกษตรทำหรือถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ ประกอบกับเงินที่จำเลยที่ 30 ได้รับไปก็เป็นเงินค่าจ้างตอบแทนอันเนื่องมาจากการผลิตต้นยางชำถุงให้แก่กรมวิชาการเกษตร ตามสัญญาจ้างผลิตต้นยางชำถุงระหว่างกรมวิชาการเกษตรกับจำเลยที่ 30 มิได้เกิดจากผลของการหลอกลวงโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง การกระทำของจำเลยที่ 30 ถึงที่ 32 หาใช่เป็นการฉ้อโกง หรือตกลงร่วมกันเสนอราคาเพื่อให้จำเลยที่ 30 มีสิทธิเข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ อันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542
สำหรับประเด็นปัญหาว่า จำเลยที่ 27 ถึงที่ 44 ร่วมกันยื่นซองเสนอราคาผลิตกล้ายางชำถุง โดยจำเลยที่ 30 ถึงที่ 32 มีความสัมพันธ์ในเชิงบริหาร เชิงทุน และในเชิงถือหุ้นไขว้กันในลักษณะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นการขัดขวางการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมและมีผลประโยชน์ร่วมกันโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบและกฎหมายหรือไม่ปัญหานี้กรมวิชาการเกษตรได้หารือไปยังอัยการสูงสุดแล้ว ก่อนที่จะพิจารณาผลการประกวดราคาและเข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 30 ซึ่งอัยการสูงสุดตอบข้อหารือมาว่าการที่กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทที่เสนอราคาตามที่หารือไปเป็นกรรมการ และหรือถือหุ้นในนิติบุคคลอื่นซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการยื่นเสนอราคาต่อส่วนราชการในคราวเดียวกันนี้ ไม่เป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน นอกจากนี้กรมวิชาการเกษตรยังได้หารือไปยังคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) กรมบัญชีกลาง ซึ่งกรมบัญชีกลางตอบข้อหารือในทำนองเดียวกับอัยการสูงสุดว่าจำเลยที่ 30 ถึง 32 ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันปรากฏตามหนังสือตอบข้อหารือ จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 27 ถึงที่ 44 ร่วมกันยื่นซองเสนอราคาผลิตกล้ายางชำถุง โดยจำเลยที่ 30 ถึงที่ 32 มีความสัมพันธ์ในเชิงบริหาร เชิงทุน และในเชิงถือหุ้นไขว้กันในลักษณะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นการขัดขวางการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมและมีผลประโยชน์ร่วมกันโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบและกฎหมาย
และประเด็นปัญหาว่าจำเลยที่ 27 ถึงที่ 44 ร่วมกันกระทำการโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยจำเลยที่ 30 เจตนาปกปิดเกี่ยวกับพื้นที่สำหรับใช้เป็นแปลงเพาะต้นกล้ายาง โดยนำเอกสารที่มีข้อความเท็จมาแสดง และจำเลยที่ 31 และ 32 นำหลักฐานแสดงคุณสมบัติของการประกวดราคาอันเป็นเท็จมาแสดงว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติตามประกวดราคา อันเป็นการหลอกลวงเพื่อให้จำเลยที่ 30 ได้เข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นการกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2542 และความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้องของโจทก์หรือไม่ จากการไต่สวนได้ความว่าจำเลยที่ 31 และ 32 มีเจตนาที่จะเข้าร่วมในการเสนอราคาโดยได้มีการรวบรวมแปลงกล้ายางและแปลงกิ่งพันธุ์ได้ครบจำนวนที่กำหนดไว้ในประกาศประกวดราคา ซึ่งการประกวดราคาครั้งนี้มีผู้ซื้อซองประกวดราคาไปรวม 11 รายและมีผู้ยื่นซองเสนอราคาถึง 5 ราย ไม่ใช่มีเฉพาะจำเลยที่ 31 และ 32 เท่านั้น และไม่ปรากฏว่าแต่ละรายทราบว่ารายใดจะเสนอราคาเท่าใด พยานหลักฐานเท่าที่ได้ไต่สวนมายังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 30 มีเจตนาปกปิดเกี่ยวกับพื้นที่สำหรับใช้เป็นแปลงเพาะต้นกล้า โดยนำเอกสารเท็จมาแสดง โดยจำเลยที่ 30 ถึง 32 ตกลงร่วมกันในการเสนอราคาเพื่อให้จำเลยที่ 30 มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐหลีกเลี่ยงการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมแต่อย่างใด
เห็นได้ว่าการสมยอมทางการค้าหรือ ฮั้ว นั้นเป็นการทุจริตที่ร้ายแรง หากปล่อยให้เกิดการสมยอมเสนอราคากันกำหนดราคาอันเป็นการเอาเปรียบหน่วยงานของรัฐ หลีกเลี่ยงการแข่งขันกันอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้เสนอราคารายหนึ่งรายใดหรือเพื่อผลประโยชน์ระหว่างผู้เสนอราคาด้วยกัน จะส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมทางการค้าและขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน อีกทั้งยังก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ดังนั้นทุกส่วนของสังคมไทยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนต้องให้ความสนใจและร่วมมือกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษและรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม
สราวุธ เบญจกุล
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า “ฮั้ว” คืออะไร ตามพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คำว่า “ฮั้ว” หมายถึง รวมหัวกัน ร่วมกันกระทำการ สมยอมกันในการเสนอราคาเพื่อมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม
เนื่องจากการจัดหาสินค้าและบริการไม่ว่าด้วยวิธีการจัดซื้อหรือการจัดจ้างหรือวิธีอื่นใด ของหน่วยงานของรัฐทุกแห่งนั้นเป็นการดำเนินการโดยใช้เงินงบประมาณ เงินกู้ เงินช่วยเหลือ หรือรายได้ของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นเงินของแผ่นดิน รวมทั้งการที่รัฐให้สิทธิในการดำเนินกิจการบางอย่างโดยการให้สัมปทานอนุญาต หรือกรณีอื่นใดในลักษณะเดียวกันก็เป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะอันเป็นกิจการของรัฐ ดังนั้น การจัดหาสินค้าและบริการรวมทั้งการให้สิทธิดังกล่าว จึงต้องกระทำอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมและมีการแข่งขันกันอย่างเสรีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ แต่เนื่องจากการดำเนินการที่ผ่านมามีการกระทำในลักษณะการสมยอมในการเสนอราคา และมีพฤติการณ์ต่าง ๆ อันทำให้มิได้มีการแข่งขันกันเสนอประโยชน์สูงสุดให้แก่หน่วยงานของรัฐอย่าง แท้จริงและเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ นอกจากนั้น ในบางกรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็มีส่วนร่วมหรือ มีส่วนสนับสนุนในการทำความผิด หรือละเว้นไม่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ อันมีผลทำให้ปัญหาในเรื่องนี้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จึงสมควรกำหนดให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดเพื่อเป็นการปราบปรามการกระทำ ในลักษณะดังกล่าว รวมทั้งกำหนดลักษณะความผิดและกลไกในการดำเนินการเอาผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้การปราบปรามดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ขึ้นมา
ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว “การเสนอราคา” หมายความว่า การยื่นข้อเสนอเพื่อเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐอันเกี่ยวกับการซื้อ การจ้าง การแลกเปลี่ยน การเช่า การจำหน่ายทรัพย์สิน การได้รับสัมปทานหรือการได้รับสิทธิใด ๆ และ “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือหน่วยงานอื่นใดที่ดำเนินกิจการของรัฐตามกฎหมายและได้รับเงินอุดหนุนหรือเงินหรือทรัพย์สินลงทุนจากรัฐ
สำหรับการบังคับใช้นั้นพระราชบัญญัติฉบับนี้บังคับใช้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมืองอื่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา และผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น อีกทั้งยังบังคับใช้กับภาคเอกชนที่เป็นคู่สัญญากับรัฐและประชาชนทั่วไปที่มีส่วนร่วมกระทำผิด
การสมยอมการเสนอราคาตามพระราชบัญญัติฉบับนี้มีหลายรูปแบบ เช่น การสมยอมราคา “ฮั้ว” โดยการตกลงร่วมกันในการเสนอราคา เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือโดยการกีดกันมิให้มีการเสนอสินค้าหรือบริการอื่นต่อหน่วยงานของรัฐ หรือโดยการเอาเปรียบแก่หน่วยงานของรัฐอันมิใช่เป็นไปในทางการประกอบธุรกิจปกติ ผู้ที่เป็นธุระในการชักชวนให้ผู้อื่นร่วมตกลงกันสมยอมราคาต้องรับโทษเช่นเดียวกัน เช่น กรณีที่มีผู้เสนอราคา 3 ราย โดยผู้เสนอราคาทั้งหมดทั้ง 3 รายได้ตกลงกันว่าจะเสนอราคาโดยมุ่งหมายให้รายใดรายหนึ่งเป็นผู้ได้งาน โดยผู้เสนอราคารายที่ 1 และที่ 2 จะแกล้งเสนอราคาให้สูงกว่าผู้เสนอราคารายที่ 3 เพื่อให้ผู้เสนอราคารายที่ 3 ซึ่งเสนอราคาต่ำสุดแต่ยังเป็นราคาที่สูงกว่าราคากลางเป็นผู้ได้งานตามที่ตกลงกันไว้เป็นเหตุให้หน่วยงานของรัฐเสียเปรียบ
การจัดฮั้วกัน โดยการให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้อื่นเพื่อประโยชน์ในการเสนอราคา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะจูงใจให้ผู้นั้นร่วมดำเนินการใด ๆ อันเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้นั้นทำการเสนอราคาสูงหรือต่ำจนเห็นได้ชัดว่าไม่เป็นไปตามลักษณะสินค้า บริการ หรือสิทธิที่จะได้รับ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้นั้นไม่เข้าร่วมในการเสนอราคาหรือถอนการเสนอราคา นอกจากนั้นหากผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อจัดให้มีการฮั้วกันให้ถือว่าเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วย
การข่มขืนใจผู้อื่นให้จำยอม หมายถึงการข่มขืนใจผู้อื่นให้จำยอมร่วมดำเนินการใด ๆ ในการเสนอราคาหรือไม่เข้าร่วมในการเสนอราคา หรือถอนการเสนอราคา หรือต้องทำการเสนอราคาตามที่กำหนด โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ ให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น
การใช้อุบายหลอกลวงหรือกระทำการโดยวิธีอื่นใดเป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเข้าทำการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมหรือให้มีการเสนอราคาโดยหลงผิด เช่น ผู้จะเข้าเสนอราคาในการประกวดราคางานของหน่วยงานของรัฐหน่วยงานหนึ่ง แกล้งบอกข่าวให้ผู้เสนอราคารายอื่นๆหลงเชื่อว่า หน่วยงานของรัฐนั้นไม่มีการประกาศประกวดราคา หรือหลอกผู้เข้าเสนอราคาให้ไปยื่นซองที่อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเข้าเสนอราคา
การเสนอราคาต่ำหรือให้ผลประโยชน์สูงกว่าปกติเป็นเหตุให้ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้ หมายถึง ผู้ใดโดยทุจริตทำการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐโดยรู้ว่าราคาที่เสนอนั้นต่ำมาก เกินกว่าปกติจนเห็นได้ชัดว่าไม่เป็นไปตามลักษณะสินค้าหรือบริการ หรือเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่หน่วยงานของรัฐสูงกว่าความเป็นจริงตามสิทธิ ที่จะได้รับ โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการกีดกันการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมและการกระทำเช่นว่านั้น เป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาได้ เช่น ในการประกวดราคางานหน่วยงานของรัฐหน่วยงานหนึ่งกำหนดราคากลางไว้ 5 ล้านบาท ผู้เสนอราคารายหนึ่งได้เสนอราคาก่อสร้างเพียง 4 ล้านบาท โดยรู้อยู่แล้วว่าในวงเงินดังกล่าวไม่สามารถก่อสร้างได้ถูกต้องตามแบบแต่ต้องการได้งานและเป็นผู้เข้าทำสัญญากับหน่วยงานรัฐเท่านั้น แม้การก่อสร้างจะไม่ถูกต้องตามแบบแต่จะใช้วิธีติดสินบนกรรมการตรวจการจ้างให้ยอมรับงานก่อสร้างนี้
การทุจริตในการออกแบบ กำหนดราคา กำหนดเงื่อนไข หากเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใด หรือผู้ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานของรัฐผู้ใด โดยทุจริตทำการออกแบบ กำหนดราคา กำหนดเงื่อนไข หรือกำหนดผลประโยชน์ตอบแทน อันเป็นมาตรฐานในการเสนอราคาโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม หรือเพื่อช่วยเหลือให้ผู้เสนอราคารายใดได้มีสิทธิเข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐโดยไม่เป็นธรรม หรือเพื่อกีดกันผู้เสนอราคารายใดมิให้มีโอกาสเข้าแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม เช่น กำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่ต้องการจัดหาให้แคบอยู่เฉพาะพัสดุที่เป็นของผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใด กำหนดคุณสมบัติผู้จะเข้าเสนอราคาอย่างจำกัด เช่น เรื่องระยะเวลาประสบการณ์ทำงาน หรือต้องมีทุนจดทะเบียนสูงมาก เป็นต้น
นอกจากนั้นหากเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหรือหน้าที่ในการอนุมัติ การพิจารณาหรือการดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอราคาครั้งใด รู้หรือมีพฤติการณ์ปรากฏแจ้งชัดว่าควรรู้ว่าการเสนอราคาในครั้งนั้นมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ละเว้นไม่ดำเนินการเพื่อให้มีการยกเลิกการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอราคาในครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความผิดฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
ผู้ที่มีอำนาจตรวจสอบการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้คือ คณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยผู้ที่พบเห็นการกระทำความผิดสามารถร้องเรียนโดยระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้เสียหายหรือผู้กล่าวหา ชื่อตำแหน่งและสังกัดของผู้ถูกกล่าวหา ข้อกล่าวหาและพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดตามข้อกล่าวหาพร้อมพยานหลักฐาน ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทำการตรวจสอบ หากพบว่าผู้ถูกกล่าวหาการกระทำความผิดจริงให้ดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลให้พิพากษาลงโทษตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งมีทั้งโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีจนถึงจำคุกตลอดชีวิตและโทษปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาทจนถึง 4 แสนบาทหรือโทษปรับในบางกรณีอาจสูงถึงร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาสูงสุดระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดนั้น หรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่าขึ้นอยู่กับฐานความผิดของผู้กระทำ
ตัวอย่างคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐที่น่าสนใจ
คำพิพากษาศาลจังหวัดบุรีรัมย์ คดีหมายเลขดำที่ 440/2554 คดีหมายเลขแดงที่ 3241/2554 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ โจทก์ กับ ประธานกรรมการบริหาร คณะผู้บริหารและพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่ง จำเลย ในความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ โดยศาลพิพากษาว่าจำเลยทั้งสามกระทำความผิดจริง เนื่องจากการประกาศสอบราคาจ้างเหมาก่อสร้างถนน โดยระยะเวลาประกาศสอบราคาไม่ครบ 10 วันก่อนเปิดซองสอบราคาและไม่มีการส่งประกาศไปยังผู้มีอาชีพรับเหมาก่อสร้าง จึงเป็นการผิดระเบียบว่าด้วยพัสดุ นอกจากนั้นยังมอบหมายงานให้แก่ผู้เสนอราคาต่ำเป็นอันดับสาม ในขณะที่ผู้เสนอราคาต่ำสุดไม่ได้งาน โดยให้เหตุผลว่าใบแสดงบัญชีปริมาณงานและราคากรอกรายละเอียดไม่สมบูรณ์ในการพิจารณาคดีในเบื้องต้นจำเลยให้การปฏิเสธต่อมาได้ขอถอนคำให้การปฏิเสธและให้การใหม่เป็นรับสารภาพ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยมุ่งหมายไม่ให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมเพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้ทำการเสนอราคาและเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์การบริหารส่วนตำบล จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา12,13 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 เนื่องจากจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้ คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปีในฐานะประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล และจำคุกจำเลยที่ 2 และที่ 3 คนละ 4 ปี
ต่อมาจำเลยทั้งสามยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำคุกคนละ 3 ปี 6 เดือน จำเลยที่ 2 จำคุก 2 ปี 6 เดือน ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
ในขณะที่คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสี่สิบสี่คนในคดีหมายเลขดำ อม.4/2551 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 7/2552 คดีทุจริตโครงการประมูลจัดซื้อต้นกล้ายางพาราโดยมีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 4, 9, 10, 11, 12 และ13
โดยมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 30 ถึงที่ 32 ได้นำหลักฐานแสดงคุณสมบัติของการประกวดราคาอันเป็นเท็จมาแสดงว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติตามประกาศประกวดราคาอันเป็นการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า แม้จำเลยที่ 30 ถึงที่ 32 จะชนะการประกวดราคาก็ต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอีกว่าจำเลยดังกล่าวมีความเหมาะสมและสามารถที่จะดำเนินงานตามประกวดราคาจ้างให้เสร็จสมบรูณ์ ทั้งเงินและทรัพย์สินที่จะได้ไปก็เป็นค่าตอบแทนอันเนื่องมาจากการจ้างไม่ใช่การหลอกลวง ซึ่งคดีนี้จำเลยที่ 30 ถึงที่ 32 ไม่ได้เป็นผู้ชนะการประกวดราคาและไม่ได้เข้าทำสัญญาจ้าง อย่างไรก็ตามการที่ผู้เสนอราคานำหลักฐานอันเป็นเท็จมาแสดงในการเสนอราคานั้น พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ไม่ได้บัญญัติความผิดดังกล่าวในทางอาญาไว้โดยตรง เพียงแต่มีบัญญัติในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และเมื่อฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 30 ถึงที่ 32 เป็นการหลอกลวงกรมวิชาการเกษตร เพื่อจะได้ทรัพย์สินนั้นไปจากผู้หลอกลวงหรือทำให้กรมวิชาการเกษตรทำหรือถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ ประกอบกับเงินที่จำเลยที่ 30 ได้รับไปก็เป็นเงินค่าจ้างตอบแทนอันเนื่องมาจากการผลิตต้นยางชำถุงให้แก่กรมวิชาการเกษตร ตามสัญญาจ้างผลิตต้นยางชำถุงระหว่างกรมวิชาการเกษตรกับจำเลยที่ 30 มิได้เกิดจากผลของการหลอกลวงโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง การกระทำของจำเลยที่ 30 ถึงที่ 32 หาใช่เป็นการฉ้อโกง หรือตกลงร่วมกันเสนอราคาเพื่อให้จำเลยที่ 30 มีสิทธิเข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ อันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542
สำหรับประเด็นปัญหาว่า จำเลยที่ 27 ถึงที่ 44 ร่วมกันยื่นซองเสนอราคาผลิตกล้ายางชำถุง โดยจำเลยที่ 30 ถึงที่ 32 มีความสัมพันธ์ในเชิงบริหาร เชิงทุน และในเชิงถือหุ้นไขว้กันในลักษณะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นการขัดขวางการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมและมีผลประโยชน์ร่วมกันโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบและกฎหมายหรือไม่ปัญหานี้กรมวิชาการเกษตรได้หารือไปยังอัยการสูงสุดแล้ว ก่อนที่จะพิจารณาผลการประกวดราคาและเข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 30 ซึ่งอัยการสูงสุดตอบข้อหารือมาว่าการที่กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทที่เสนอราคาตามที่หารือไปเป็นกรรมการ และหรือถือหุ้นในนิติบุคคลอื่นซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการยื่นเสนอราคาต่อส่วนราชการในคราวเดียวกันนี้ ไม่เป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน นอกจากนี้กรมวิชาการเกษตรยังได้หารือไปยังคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) กรมบัญชีกลาง ซึ่งกรมบัญชีกลางตอบข้อหารือในทำนองเดียวกับอัยการสูงสุดว่าจำเลยที่ 30 ถึง 32 ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันปรากฏตามหนังสือตอบข้อหารือ จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 27 ถึงที่ 44 ร่วมกันยื่นซองเสนอราคาผลิตกล้ายางชำถุง โดยจำเลยที่ 30 ถึงที่ 32 มีความสัมพันธ์ในเชิงบริหาร เชิงทุน และในเชิงถือหุ้นไขว้กันในลักษณะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นการขัดขวางการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมและมีผลประโยชน์ร่วมกันโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบและกฎหมาย
และประเด็นปัญหาว่าจำเลยที่ 27 ถึงที่ 44 ร่วมกันกระทำการโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยจำเลยที่ 30 เจตนาปกปิดเกี่ยวกับพื้นที่สำหรับใช้เป็นแปลงเพาะต้นกล้ายาง โดยนำเอกสารที่มีข้อความเท็จมาแสดง และจำเลยที่ 31 และ 32 นำหลักฐานแสดงคุณสมบัติของการประกวดราคาอันเป็นเท็จมาแสดงว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติตามประกวดราคา อันเป็นการหลอกลวงเพื่อให้จำเลยที่ 30 ได้เข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นการกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2542 และความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้องของโจทก์หรือไม่ จากการไต่สวนได้ความว่าจำเลยที่ 31 และ 32 มีเจตนาที่จะเข้าร่วมในการเสนอราคาโดยได้มีการรวบรวมแปลงกล้ายางและแปลงกิ่งพันธุ์ได้ครบจำนวนที่กำหนดไว้ในประกาศประกวดราคา ซึ่งการประกวดราคาครั้งนี้มีผู้ซื้อซองประกวดราคาไปรวม 11 รายและมีผู้ยื่นซองเสนอราคาถึง 5 ราย ไม่ใช่มีเฉพาะจำเลยที่ 31 และ 32 เท่านั้น และไม่ปรากฏว่าแต่ละรายทราบว่ารายใดจะเสนอราคาเท่าใด พยานหลักฐานเท่าที่ได้ไต่สวนมายังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 30 มีเจตนาปกปิดเกี่ยวกับพื้นที่สำหรับใช้เป็นแปลงเพาะต้นกล้า โดยนำเอกสารเท็จมาแสดง โดยจำเลยที่ 30 ถึง 32 ตกลงร่วมกันในการเสนอราคาเพื่อให้จำเลยที่ 30 มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐหลีกเลี่ยงการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมแต่อย่างใด
เห็นได้ว่าการสมยอมทางการค้าหรือ ฮั้ว นั้นเป็นการทุจริตที่ร้ายแรง หากปล่อยให้เกิดการสมยอมเสนอราคากันกำหนดราคาอันเป็นการเอาเปรียบหน่วยงานของรัฐ หลีกเลี่ยงการแข่งขันกันอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้เสนอราคารายหนึ่งรายใดหรือเพื่อผลประโยชน์ระหว่างผู้เสนอราคาด้วยกัน จะส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมทางการค้าและขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน อีกทั้งยังก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ดังนั้นทุกส่วนของสังคมไทยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนต้องให้ความสนใจและร่วมมือกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษและรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม
สราวุธ เบญจกุล