ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ
เมื่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติเข้าสู่สภา โดยมีหลักการและเหตุผลว่าโดยที่ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรง ในประเทศในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อเดือนเมษายน- พฤษภาคม 2553 จนนำไปสู่การสูญเสียชีวิต การบาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ ผู้ต้องหาหรือจำเลยจึงไม่ใช่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรดังเช่นคดีอาญาปกติ………จึงสมควรใช้หลักเมตตาธรรมด้วยการให้อภัยและให้โอกาสกับทุกฝ่าย ซึ่งล้วนมีเจตนาดีต่อชาติบ้านเมือง อันเป็นไปตามประเพณีที่ประเทศไทยเคยปฏิบัติมาแล้วหลายครั้ง และเป็นไปตามมาตรฐานสากลด้วยการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิด อันมีสาเหตุจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ได้กระทำระหว่างวันที่ 15 กันยายน 2548 จนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ฯลฯ โดยในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมี 8 มาตรา ซึ่งเนื้อหาสาระทั้ง 8 มาตรานี้ เป็นกฎหมายที่มีลักษณะเป็นคำพิพากษาของศาล เพราะชี้การกระทำความผิด ความถูก ของบุคคลโดยไม่มีกระบวนการพิจารณา หรือมีพยานหลักฐานแต่อย่างใด เป็นกฎหมายที่เหนือกว่ากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันและเหนือกฎหมายรัฐธรรมนูญ เช่นมาตรา 3 บัญญัติให้ การกระทำใดที่เป็นความผิดตามกฎหมาย ให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง โดยไม่มีบทนิยาม ( Definition ) ว่าการกระทำหรือการแสดงออกที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมในทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2548 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 นั้น มีขอบเขตอย่างไร เกิดขึ้น ณ.ที่ใด หรือการกระทำอะไร ที่เรียกว่า “ การกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมในทางการเมือง” เมื่อไม่มีคำนิยามดังกล่าว จึงไม่อาจกำหนดการกระทำใดๆเป็นการกระทำความผิดที่จะอยู่ในข่ายที่จะให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดตามกฎหมายได้ การกำหนดการชุมนุมในทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย จึงเป็นการออกกฎหมายมาลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และมาตรา 8 บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพ.ร.บ.ความปรองดองฯ พ.ร.บ.ความปรองดองฯหากออกใช้บังคับก็เป็นระบบเผด็จการที่ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารจะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ โดยออกกฎหมายมาใช้บังคับ และเมื่อการเมืองเป็นระบบพรรคแล้ว การออกกฎหมายมาใช้บังคับโดยอาศัยเสียงข้างมากเพียงอย่างเดียว ก็จะทำให้สภาสามารถออกกฎหมายมาทำลายระบบพื้นฐานการปกครองในระบบรัฐสภาได้ คือ ออกกฎหมายมาทำลายระบอบประชาธิปไตยอันเป็นหลักการปกครองประเทศให้สิ้นซากไปได้โดยทางรัฐสภา และนั่นก็คือ การยึดอำนาจหรือการกบฏทางรัฐสภา
การเสนอร่างกฎหมาย ผู้เสนอและผู้รับร่างกฎหมายเพื่อพิจารณาในสภานั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถที่จะพิจารณาได้ว่า ร่างกฎหมายนั้น เป็นอำนาจหน้าที่ที่ของผู้เสนอร่างกฎหมายหรือไม่ และมีอำนาจหน้าที่ที่จะรับร่างไว้พิจารณาในสภาได้หรือไม่ ผู้เสนอร่างและผู้รับร่างกฎหมายจะถือเอาแต่เฉพาะ “ วิธีการเสนอ ” ( Process ) โดยนับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคนตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตร142 (2) แล้วจะถือว่าเป็น “อำนาจหน้าที่” ที่จะเสนอและเป็น “อำนาจหน้าที่” ที่จะพิจารณาออกกฎหมายนั้น หาอาจกระทำได้ไม่ เพราะ “ วิธีการเสนอ” ร่างกฎหมายกับ “ อำนาจหน้าที่” นั้น เป็นคนละเรื่องคนละกรณีกัน “ วิธีการเสนอ” ร่างกฎหมายไม่ใช่เป็น อำนาจหน้าที่ที่จะเสนอให้ออกกฎหมายมาใช้บังคับได้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีอำนาจหน้าที่ที่จะเสนอกฎหมายให้สภาพิจารณาได้หรือไม่ จะต้องเป็นอำนาจหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อำนาจหน้าที่ไว้ เพราะสมาชิกสภาเป็น “ ผู้พิจารณาออกกฎหมาย ” เพื่อใช้บังคับกับประชาชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตนเองที่จะเป็น “ ผู้เสนอกฎหมายเพื่อให้ตนเองเป็นผู้พิจารณาออกกฎหมายเองได้ ” อำนาจในการเสนอกฎหมายเพื่อให้ตนเองพิจารณาจึงถูกจำกัดโดยสภาพของการเป็นผู้พิจารณาออกกฎหมาย ซึ่งเป็นหลักการในระบอบประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานในหลักการขัดกันแห่งผลประโยชน์ที่สมาชิกสภาจะต้องทราบถึงสถานะของตนเองในฐานะเป็นผู้พิจารณากฎหมายที่จะออกใช้บังคับเอง
แม้การพิจารณาในสภาของสมาชิกสภา รัฐธรรมนูญยังได้กำหนดขอบเขตของการดำเนินการประชุมหรือการพิจารณาของสมาชิกสภาไว้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา127 วรรคสี่ โดยกำหนดให้สภาดำเนินการประชุมได้เฉพาะในกรณีที่บัญญัติไว้ในหมวด 2 ( พระมหากษัตริย์ ) หรือการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างพ.ร.บ.อนุมัติพระราชกำหนด และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเท่านั้น เมื่อรัฐธรรมนูญได้กำหนดจำกัดอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาของสภาไว้ การเสนอร่างกฎหมายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการรับร่างกฎหมายไว้พิจารณาจึงถูกจำกัดให้มีได้เท่าที่จะมีอำนาจในการพิจารณากฎหมายได้เท่านั้น ซึ่งต้องไม่ขัดต่ออำนาจของฝ่ายบริหาร และไม่ขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ แม้รัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามการเสนอร่างกฎหมายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยตรง แต่การเสนอออกกฎหมายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอออกกฎหมายได้จะต้องเป็นไปตาม “แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ” เพื่อให้สอดคล้องกับ “อำนาจบริหาร” และ “ อำนาจตุลาการ ” ตามที่บัญญัติไว้ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งเป็นไปตามหลักการเบื้องต้นของระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่มี “ อำนาจหน้าที่ ” ที่จะเสนอให้สภาออกกฎหมายได้ตามอำเภอใจ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่มี “อำนาจหน้าที่” ที่จะเสนอกฎหมายให้ตนเองเป็นผู้พิจารณาออกกฎหมายได้ตามอำเภอใจ
เมื่อ พ.ร.บ.ความปรองดองฯ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ผู้เสนอร่างกฎหมายจะเสนอได้ก็แต่เฉพาะร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย และร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 81 ( 3 ) (4) เท่านั้น
การเสนอร่างพ.ร.บ.ความปรองดองฯ ที่มีผลยกเลิกการกระทำความผิด ให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ยกเลิกระบวนการยุติธรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ทั้งปวงให้ยุติลงโดยคดีที่อยู่ในระหว่างการสอบสวนก็ให้ระงับการสอบสวน คดีอยู่ในระหว่างการฟ้องคดีก็ให้พนักงานอัยการหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือถอนฟ้อง ถ้าคดีอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีก็ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี หรือถ้ามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการรับโทษก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น จึงเป็นการเสนอกฎหมาย โดยไม่มี “ อำนาจหน้าที่” แต่เป็นการเสนอกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลเฉพาะกลุ่ม เฉพาะคนที่จะไม่ต้องถูกกฎหมายใช้บังคับ และไม่บังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มบุคคลหรือกับบุคคลใดโดยเฉพาะเท่านั้น พ.ร.บ.ความปรองดองฯจึงเป็นกฎหมายที่นอกจากจะริดรอนสิทธิและเสรีภาพของบุคคลแล้ว ยังเป็นกฎหมายที่ขัดต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยรวม เพราะทำให้เกิดความไม่เสมอภาคกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่เท่าเทียมกัน เป็นการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลซึ่งมีความคิดเห็นในทางการเมืองอย่างไม่เท่าเทียมกัน เพราะไม่มีการพิจารณาเลยว่า ความคิดเห็นในทางการเมืองที่จะได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ความปรองดองฯนั้น เป็นความคิดเห็นที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 30 หรือไม่ เพราะการให้ความคุ้มครองกับการกระทำของบุคคลที่มีความคิดเห็นในทางการเมืองได้นั้น ความคิดเห็นทางการเมืองหรือที่เกี่ยวข้องกับการเมืองนั้น ต้องเป็นความคิดเห็นที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 30 ดังกล่าวด้วย
และหากบุคคลที่ได้ประโยชน์จากพ.ร.บ.ความปรองดองฯดังกล่าว เป็นบุคคลที่ได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าวยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะออกพ.ร.บ.ความปรองดองฯ พ.ร.บ.ความปรองดองดังกล่าวฯ จึงเป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 39 เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 39 บัญญัติให้บุคคลไม่ต้องรับโทษทางอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ แต่พ.ร.บ.ความปรองดองฯบัญญัติให้ผู้กระทำความผิดกลับไม่ต้องรับโทษทางอาญา อันเป็นการใช้อำนาจนิติบัญญัติยกเลิกความผิดของผู้กระทำความผิดอาญา และที่ต้องรับผิดในทางแพ่งอีกด้วย
พ.ร.บ.ความปรองดองฯ ที่เข้าสู่สภาในขณะนี้เป็นกฎหมายที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับกฎหมายสากลที่เรียกว่า Bill of attainder และ Bill of pains and penalties ซึ่งเป็นที่รู้และยอมรับกันในสากลว่าเป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะออกใช้บังคับไม่ได้และเป็นโมฆะ การเสนอร่างพ.ร.บ.ความปรองดองฯ การรับร่างพ.ร.บ.ความปรองดองฯเข้าสู่การประชุมของสภา การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ความปรองดองฯของสภา ( หากมีการดำเนินการพิจารณาต่อไป) ก็เป็นการร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 30 , 39 และ ฯลฯ และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 เป็นการออกกฎหมายเพื่อทำลายระบอบประชาธิปไตย ให้มีอำนาจการปกครองเพียงสองอำนาจคือ อำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น การใช้สภาผ่านร่างกฎหมายโดยอาศัยเพียงเสียงข้างมากในสภา โดยมีการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นด้วยนั้น สภานิติบัญญัติแห่งชาติก็จะเป็นเพียงเครื่องมือของการกระทำความผิดอาญา หรือเป็นเครื่องมือของการประกอบอาชญากรรมของการทุจริตได้ทุกรูปแบบโดยสมาชิกรัฐสภานั่นเอง
30 พ.ค.55
เมื่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติเข้าสู่สภา โดยมีหลักการและเหตุผลว่าโดยที่ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรง ในประเทศในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อเดือนเมษายน- พฤษภาคม 2553 จนนำไปสู่การสูญเสียชีวิต การบาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ ผู้ต้องหาหรือจำเลยจึงไม่ใช่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรดังเช่นคดีอาญาปกติ………จึงสมควรใช้หลักเมตตาธรรมด้วยการให้อภัยและให้โอกาสกับทุกฝ่าย ซึ่งล้วนมีเจตนาดีต่อชาติบ้านเมือง อันเป็นไปตามประเพณีที่ประเทศไทยเคยปฏิบัติมาแล้วหลายครั้ง และเป็นไปตามมาตรฐานสากลด้วยการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิด อันมีสาเหตุจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ได้กระทำระหว่างวันที่ 15 กันยายน 2548 จนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ฯลฯ โดยในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมี 8 มาตรา ซึ่งเนื้อหาสาระทั้ง 8 มาตรานี้ เป็นกฎหมายที่มีลักษณะเป็นคำพิพากษาของศาล เพราะชี้การกระทำความผิด ความถูก ของบุคคลโดยไม่มีกระบวนการพิจารณา หรือมีพยานหลักฐานแต่อย่างใด เป็นกฎหมายที่เหนือกว่ากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันและเหนือกฎหมายรัฐธรรมนูญ เช่นมาตรา 3 บัญญัติให้ การกระทำใดที่เป็นความผิดตามกฎหมาย ให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง โดยไม่มีบทนิยาม ( Definition ) ว่าการกระทำหรือการแสดงออกที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมในทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2548 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 นั้น มีขอบเขตอย่างไร เกิดขึ้น ณ.ที่ใด หรือการกระทำอะไร ที่เรียกว่า “ การกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมในทางการเมือง” เมื่อไม่มีคำนิยามดังกล่าว จึงไม่อาจกำหนดการกระทำใดๆเป็นการกระทำความผิดที่จะอยู่ในข่ายที่จะให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดตามกฎหมายได้ การกำหนดการชุมนุมในทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย จึงเป็นการออกกฎหมายมาลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และมาตรา 8 บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพ.ร.บ.ความปรองดองฯ พ.ร.บ.ความปรองดองฯหากออกใช้บังคับก็เป็นระบบเผด็จการที่ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารจะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ โดยออกกฎหมายมาใช้บังคับ และเมื่อการเมืองเป็นระบบพรรคแล้ว การออกกฎหมายมาใช้บังคับโดยอาศัยเสียงข้างมากเพียงอย่างเดียว ก็จะทำให้สภาสามารถออกกฎหมายมาทำลายระบบพื้นฐานการปกครองในระบบรัฐสภาได้ คือ ออกกฎหมายมาทำลายระบอบประชาธิปไตยอันเป็นหลักการปกครองประเทศให้สิ้นซากไปได้โดยทางรัฐสภา และนั่นก็คือ การยึดอำนาจหรือการกบฏทางรัฐสภา
การเสนอร่างกฎหมาย ผู้เสนอและผู้รับร่างกฎหมายเพื่อพิจารณาในสภานั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถที่จะพิจารณาได้ว่า ร่างกฎหมายนั้น เป็นอำนาจหน้าที่ที่ของผู้เสนอร่างกฎหมายหรือไม่ และมีอำนาจหน้าที่ที่จะรับร่างไว้พิจารณาในสภาได้หรือไม่ ผู้เสนอร่างและผู้รับร่างกฎหมายจะถือเอาแต่เฉพาะ “ วิธีการเสนอ ” ( Process ) โดยนับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคนตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตร142 (2) แล้วจะถือว่าเป็น “อำนาจหน้าที่” ที่จะเสนอและเป็น “อำนาจหน้าที่” ที่จะพิจารณาออกกฎหมายนั้น หาอาจกระทำได้ไม่ เพราะ “ วิธีการเสนอ” ร่างกฎหมายกับ “ อำนาจหน้าที่” นั้น เป็นคนละเรื่องคนละกรณีกัน “ วิธีการเสนอ” ร่างกฎหมายไม่ใช่เป็น อำนาจหน้าที่ที่จะเสนอให้ออกกฎหมายมาใช้บังคับได้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีอำนาจหน้าที่ที่จะเสนอกฎหมายให้สภาพิจารณาได้หรือไม่ จะต้องเป็นอำนาจหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อำนาจหน้าที่ไว้ เพราะสมาชิกสภาเป็น “ ผู้พิจารณาออกกฎหมาย ” เพื่อใช้บังคับกับประชาชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตนเองที่จะเป็น “ ผู้เสนอกฎหมายเพื่อให้ตนเองเป็นผู้พิจารณาออกกฎหมายเองได้ ” อำนาจในการเสนอกฎหมายเพื่อให้ตนเองพิจารณาจึงถูกจำกัดโดยสภาพของการเป็นผู้พิจารณาออกกฎหมาย ซึ่งเป็นหลักการในระบอบประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานในหลักการขัดกันแห่งผลประโยชน์ที่สมาชิกสภาจะต้องทราบถึงสถานะของตนเองในฐานะเป็นผู้พิจารณากฎหมายที่จะออกใช้บังคับเอง
แม้การพิจารณาในสภาของสมาชิกสภา รัฐธรรมนูญยังได้กำหนดขอบเขตของการดำเนินการประชุมหรือการพิจารณาของสมาชิกสภาไว้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา127 วรรคสี่ โดยกำหนดให้สภาดำเนินการประชุมได้เฉพาะในกรณีที่บัญญัติไว้ในหมวด 2 ( พระมหากษัตริย์ ) หรือการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างพ.ร.บ.อนุมัติพระราชกำหนด และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเท่านั้น เมื่อรัฐธรรมนูญได้กำหนดจำกัดอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาของสภาไว้ การเสนอร่างกฎหมายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการรับร่างกฎหมายไว้พิจารณาจึงถูกจำกัดให้มีได้เท่าที่จะมีอำนาจในการพิจารณากฎหมายได้เท่านั้น ซึ่งต้องไม่ขัดต่ออำนาจของฝ่ายบริหาร และไม่ขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ แม้รัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามการเสนอร่างกฎหมายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยตรง แต่การเสนอออกกฎหมายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอออกกฎหมายได้จะต้องเป็นไปตาม “แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ” เพื่อให้สอดคล้องกับ “อำนาจบริหาร” และ “ อำนาจตุลาการ ” ตามที่บัญญัติไว้ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งเป็นไปตามหลักการเบื้องต้นของระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่มี “ อำนาจหน้าที่ ” ที่จะเสนอให้สภาออกกฎหมายได้ตามอำเภอใจ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่มี “อำนาจหน้าที่” ที่จะเสนอกฎหมายให้ตนเองเป็นผู้พิจารณาออกกฎหมายได้ตามอำเภอใจ
เมื่อ พ.ร.บ.ความปรองดองฯ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ผู้เสนอร่างกฎหมายจะเสนอได้ก็แต่เฉพาะร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย และร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 81 ( 3 ) (4) เท่านั้น
การเสนอร่างพ.ร.บ.ความปรองดองฯ ที่มีผลยกเลิกการกระทำความผิด ให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ยกเลิกระบวนการยุติธรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ทั้งปวงให้ยุติลงโดยคดีที่อยู่ในระหว่างการสอบสวนก็ให้ระงับการสอบสวน คดีอยู่ในระหว่างการฟ้องคดีก็ให้พนักงานอัยการหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือถอนฟ้อง ถ้าคดีอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีก็ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี หรือถ้ามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการรับโทษก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น จึงเป็นการเสนอกฎหมาย โดยไม่มี “ อำนาจหน้าที่” แต่เป็นการเสนอกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลเฉพาะกลุ่ม เฉพาะคนที่จะไม่ต้องถูกกฎหมายใช้บังคับ และไม่บังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มบุคคลหรือกับบุคคลใดโดยเฉพาะเท่านั้น พ.ร.บ.ความปรองดองฯจึงเป็นกฎหมายที่นอกจากจะริดรอนสิทธิและเสรีภาพของบุคคลแล้ว ยังเป็นกฎหมายที่ขัดต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยรวม เพราะทำให้เกิดความไม่เสมอภาคกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่เท่าเทียมกัน เป็นการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลซึ่งมีความคิดเห็นในทางการเมืองอย่างไม่เท่าเทียมกัน เพราะไม่มีการพิจารณาเลยว่า ความคิดเห็นในทางการเมืองที่จะได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ความปรองดองฯนั้น เป็นความคิดเห็นที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 30 หรือไม่ เพราะการให้ความคุ้มครองกับการกระทำของบุคคลที่มีความคิดเห็นในทางการเมืองได้นั้น ความคิดเห็นทางการเมืองหรือที่เกี่ยวข้องกับการเมืองนั้น ต้องเป็นความคิดเห็นที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 30 ดังกล่าวด้วย
และหากบุคคลที่ได้ประโยชน์จากพ.ร.บ.ความปรองดองฯดังกล่าว เป็นบุคคลที่ได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าวยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะออกพ.ร.บ.ความปรองดองฯ พ.ร.บ.ความปรองดองดังกล่าวฯ จึงเป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 39 เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 39 บัญญัติให้บุคคลไม่ต้องรับโทษทางอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ แต่พ.ร.บ.ความปรองดองฯบัญญัติให้ผู้กระทำความผิดกลับไม่ต้องรับโทษทางอาญา อันเป็นการใช้อำนาจนิติบัญญัติยกเลิกความผิดของผู้กระทำความผิดอาญา และที่ต้องรับผิดในทางแพ่งอีกด้วย
พ.ร.บ.ความปรองดองฯ ที่เข้าสู่สภาในขณะนี้เป็นกฎหมายที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับกฎหมายสากลที่เรียกว่า Bill of attainder และ Bill of pains and penalties ซึ่งเป็นที่รู้และยอมรับกันในสากลว่าเป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะออกใช้บังคับไม่ได้และเป็นโมฆะ การเสนอร่างพ.ร.บ.ความปรองดองฯ การรับร่างพ.ร.บ.ความปรองดองฯเข้าสู่การประชุมของสภา การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ความปรองดองฯของสภา ( หากมีการดำเนินการพิจารณาต่อไป) ก็เป็นการร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 30 , 39 และ ฯลฯ และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 เป็นการออกกฎหมายเพื่อทำลายระบอบประชาธิปไตย ให้มีอำนาจการปกครองเพียงสองอำนาจคือ อำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น การใช้สภาผ่านร่างกฎหมายโดยอาศัยเพียงเสียงข้างมากในสภา โดยมีการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นด้วยนั้น สภานิติบัญญัติแห่งชาติก็จะเป็นเพียงเครื่องมือของการกระทำความผิดอาญา หรือเป็นเครื่องมือของการประกอบอาชญากรรมของการทุจริตได้ทุกรูปแบบโดยสมาชิกรัฐสภานั่นเอง
30 พ.ค.55