xs
xsm
sm
md
lg

เผยร่าง “พ.ร.บ.ปรองดอง” ล้างมลทิน-คืนทรัพย์ทักษิณ ปล่อยผีบ้านเลขที่ 109

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ASTVผู้จัดการ - พบสาระสำคัญร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฉบับ “บิ๊กบัง” เข้าสภาวันพุธนี้ ปล่อยผีทางการเมืองชัดเจน ใช้ผลกระทบการชุมนุมบังหน้า อ้างเรื่องน้ำท่วมและปรองดอง “ทักษิณ” ได้เต็มๆ พ้นคุก 2 ปี-ได้เงิน 4.6 หมื่นล้านที่ถูกยึดทรัพย์คืน ปล่อยผี 109 นักการเมืองคืนสภา

วันนี้ (25 พ.ค.) กองบรรณาธิการ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ได้รับเอกสารร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. .... ที่อยู่ในระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันพุธที่ 30 พ.ค.นี้ โดยประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ.ซึ่งมีอยู่ 8 มาตรา บันทึกหลักการและเหตุผล บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญ และหนังสือญัตติด่วนเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคมาตุภูมิ ได้ส่งถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์) เมื่อวานนี้ (24 พ.ค.) และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้รับเมื่อเวลา 14.45 น. วันเดียวกัน เลขที่รับ 64/2555

จากการสังเกตของผู้สื่อข่าว นัยสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. .... ที่น่าสนใจ คือ การกระทำที่เกิดจากการชุมนุมทางการเมือง รวมทั้งการการป้องกันหรือปราบปรามของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่กระทบต่อร่างกายหรือทรัพย์สิน ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ย. 2548 ถึง 10 พ.ค. 2554 หากมีความผิดทางกฎหมายให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป และผู้กระทำความผิดพ้นจากคดี รวมทั้งให้ระงับการฟ้องหรือถอนฟ้อง ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี และให้การลงโทษสิ้นสุดและปล่อยตัว

ที่สำคัญคือ มาตรา 5 บุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินคดีโดยประกาศ หรือคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งได้ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 หรือการกระทำที่เป็นผลสืบเนื่อง ให้ถือว่ามิได้เป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือเป็นผู้กระทำความผิด รวมทั้งมาตรา 6 ให้สิ้นสุดการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบพรรค โดยอ้างว่าให้บุคคลดังกล่าวมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาประเทศซึ่งเป็นการสร้างความปรองดองในสังคม

ในส่วนของหลักการและเหตุผล พบว่าได้มีการให้เหตุผลที่เสนอ พ.ร.บ.ปรองดอง เนื่องมาจากความแตกแยกทางการเมืองอย่างรุนแรง เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเสียหาย อีกทั้งการยึดอำนาจโดย คปค.ที่ผ่านมา รวมทั้งการยุบพรรคการเมืองทำให้ความขัดแย้งซับซ้อนกันมากขึ้น ประกอบกับได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ กระทบกระเทือนต่อขวัญกำลังใจของคนในชาติ และความสงบสุขของบ้านเมือง จึงมีการนิรโทษกรรมและให้โอกาสทุกฝ่ายก้าวข้ามความขัดแย้งไปสู่สันติภาพ

สำหรับคดีที่มีการตัดสินไปแล้วในช่วงเวลาที่ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับตั้งแต่ 15 ก.ย. 2548 ถึง 10 พ.ค. 2554 ที่สำคัญ ได้แก่ คดีที่ตุลาการรัฐธรรมนูญพิพากษายุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 111 คนเป็นเวลา 5 ปี รวมทั้งพรรคการเมืองขนาดเล็ก เนื่องจากมีการจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครในการเลือกตั้ง 2 เม.ย. 2549 ซึ่งจะพ้นการถูกตัดสิทธิทางการเมืองในวันที่ 31 พ.ค.นี้

คดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาจำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 2 ปี, คดีที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน ชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย เนื่องจากกรรมการบริหารพรรคซื้อเสียงเลือกตั้ง ในการเลือกตั้ง 23 ธ.ค. 2550 และคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ อันเนื่องมาจากร่ำรวยผิดปกติ ในส่วนที่เพิ่มขึ้นจากทรัพย์สินก่อนการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำนวน 46,373 ล้านบาท เป็นต้น

000

ร่าง
พระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งาติ
พ.ศ. ….


_____________________________

.........................................
.........................................
.........................................

..........................................................................................................
..........................................................................................................
..........................................................................................................

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ

..........................................................................................................
..........................................................................................................
..........................................................................................................

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ....”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถดจากวันประกาศในราชิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้บรรดาการกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมืองตั้งแต่วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ จนถึงวนที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ หากมีการกระทำใดที่เป็นความผิดตามกฎมาย ให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้กระทำการน้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง

การกระทำตามวรรคหนึ่งให้หมายความถึงการกระทำของบุคคล ดังต่อไปนี้

(๑) การกระทำทั้งหลายของบุคคลที่เกิดจากการชุมนุมทางการมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ห้ามการชุมนุม กรกล่าววาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีใดเพื่อเรีกร้อง หรือให้มีการต่อต้านรัฐ การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการประท้วงด้วยวิธีใด ๆ อันเป็นการกระทบต่อร่างกายหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง

(๒) การกระทำทั้งหลายของเจ้าหน้าที่ของรัฐรือบุคคลใด ๆ อันเกียวเนื่องกับการป้องกัน ระงับหรือปราบปราม ในเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง การแสงออกทางการเมือง หรือการกระทำใดที่เกี่วเนื่องกับการกระทำดังกล่าว

มาตรา ๔ เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา ๓ อยู่ในระหว่างการอบสวนให้ผู้มีอำนาจอบสวนระงับการสอบสวนผู้นั้น ถ้าอยู่ในระหว่างการฟ้องร้องให้พนักงานอัยการหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือให้ถอนฟ้อง ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณคดีให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น

มาตรา ๕ ให้ถือว่าบุคคลที่ได้รับผลระทบจากการดำเนินการหรือการปฏิบัติทั้งหลายขององค์กรหรือคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งโดยประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้เป็นไปตามประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หรือการดำเนินการหรือการปฏิบัติทั้งหลายขององค์กร หรือหน่วยงานอืนใดอันเป็นผลสืบเนื่องจากการดำเนินการหรือการปฏิบัติขององค์กรหรือของคณะบุคคลดังกล่าว มิได้เป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือเป็นผู้กระทำความผิด โดยให้นำความในมาตรา ๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติต่อบุคคลที่ได้รับผลกระทบนั้นให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมต่อไป

มาตรา ๖ เพื่อให้บุคคลได้มีส่วนรวมในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาประเทศซึ่งเป็นการสร้างความปรองดองในสังคม ให้การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลผู้เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองเพราะเหตุมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองเป็นอันสิ้นสุดลง และให้ถือว่าบุคคลผู้นั้นไม่เป็นผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา ๗ การดำเนินการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่เป็นการตัดสิทธิของบุคคลซึ่งมิใช่องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐที่จะเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งจากการกระทำของบุคคลใดซึ่งพ้นจากความรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้และทำให้ตนต้องได้รับความเสียหาย

มาตรา ๘ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

รับสนองพระบรมราชโองการ

…….……...………………
นายกรัฐมนตรี

000

บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบร่างพระราบัญญัติว่าด้วยความรองดองแห่งชาติ
พ.ศ. ….


_____________________________

หลักการ

ให้มีกฎหมายวาด้วยความปรองดองแหงชาติ

เหตุผล

โดยที่ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงในประเทศในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาโดยเฉพาะเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จนนำไปสู่การสูเสียชีวิต การบาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ ความเสียหายต่อทรัพ์สินและความเสียหายูปแบบอื่นๆ ที่เกิดข้นอย่างประมาณค่ามิด้ สู่สังคมไทยและปะเทศไทย สาเหตุเกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองในห้วงเวลาที่ผ่านมาจนนำไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรง ผู้ตองหาและจำเลยจึงมิใช่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรดังเช่นคดีอาญาามปกติ ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยการยึดอำนาการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ผ่านมารวมถึงประเด็นการยุบพรรคการเมืองและการเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรค ที่มิได้มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำความผิดอันเป็นเหตุให้มีการยุบพรรคการเมืองนั้น ทำให้เกิดข้อวจารณ์เกี่ยวกับความอดคล้องกับหลักนิติรรมของกลไกต่าง ๆ ของรัฐ กฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ความขัดแย้งที่มีอยู่แล้วจึงทวีความซับซ้อนมากขึ้น ประกอบกับได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงกระทบกระเทือนต่อขวัญและกำลังใจของคนในชาติตลอดจนความสงบสุขของบ้านเมืองอีกครั้งหนึ่ง ประชาชนทั่วไปต้องการให้บ้านเมืองเกิดความปรองดองสมานฉันท์ หันหน้าเข้าหากันแปลงวิกฤติครั้งนี้ให้เป็นโอกาสเพื่อฟื้นความสงบสุขและความเชื่อมั่นของคนในชาติรวมทั้งนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้กลับคืนมา จึงสมควรใช้หลักเมตาธรรมด้วยการให้อภัยและให้โอกาสกับทุกฝ่ายซึ่งล้วนมีเจตนาดีต่อชาติบ้านเมืองอันเป็นไปตามนิติประเพณีที่ประเทศไทยเคยปฏิบัติมาแล้วหลายครั้งและเป็นไปตามมาตรฐานสากลด้วยการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดอันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ได้กระทำระหว่างวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ จนถึงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ และเยียวยาให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ทางการเมืองที่ผ่านมาด้วยการคืนความชอบรรมให้แก่ผู้ถูกดำเนินคดี โดยกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้ตามประกาศหรือคำสั่ของคณะปฏิรูปการปกคองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือคำสั่งของหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มิได้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมตามปกติและขัดต่อหลักนิติธรรม อันเป็นการผดุงรักษาไว้ซึ่งระบบนิติธรรมและกระบวนการยุติธรรมของประเทศที่สากลให้การยอมรับ รวมทั้งการคืนสิทธิทางการเมืองให้กับกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่มิได้มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำความผิดอันเป็นเหตุให้มีการยุบพรรคการเมืองนั้น เพื่อให้โอกาสแก่ทุกฝ่ายได้เข้ามาใช้ความรู้ความสามารถของตนร่วมกันแก้ไขปัญหาและนำพาประเทศให้ก้าวข้ามความขัดแย้งครั้งนี้ไปสู่สันติภาพและความมั่นคงสืบไป จึงจำเป็ต้องตราพระราชบัญญัตินี้

000

บันทึกวิเคราะห์สรุปสารสำคัญ
ประกอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ
พ.ศ. ....


_____________________________

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะได้เสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยควมปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎรและได้จัดทำบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ ตามมาตรา ๑๔๒ วรรคห้าของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังต่อไปนี้

๑. เหตุผลและความจำเป็นในการเสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ....

โดยที่ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงในประเทศในช่วงระยเวลาที่ผ่านมาโดยเฉพาะเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จนนำไปสู่การสูญเสียชีวิต การบาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ ความเสียหายต่อทรัพย์สินและความเสียหายรูปแบบอื่นๆ ที่เกิดขึ้นอย่งประมาณค่ามิได้สู่สังคมไทยและประเทศไทย สาเหตุเกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองในห้วงเวลาที่ผ่านมาจนนำไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรง ผู้ต้องหาและจำเลยจึงมิใช่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรดังเช่นคดีอาญาตามปกติ ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ผ่านมารวมถึงประเด็นการยุบพรรคการเมืองและการเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคที่มิได้มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำความผิดอันเป็นเหตุให้มีการยุบพรรคการเมืองนั้น ทำให้เกิดข้อวิจารณ์เกี่ยวกับความสอดคล้องกับหลักนิติธรรมของกลไกต่าง ๆ ของรัฐ กฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ความขัดแย้งที่มีอยู่แล้วจึงทวีความซับซ้อนมากขึ้น ประกอบกับได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงกระทบกระเทือนต่อขวัญและกำลังใจของคนในชาติตลอดจนความสงบสุขของบ้านเมืองอีกครั้งหนึ่ง ประชาชนทั่วไปต้องการให้บ้านเมืองเกิดความปรองดองสมานฉันท์ หันหน้าเข้าหากันแปลงวิกฤติครั้งนี้ให้เป็นโอกาสเพื่อฟื้นความสงบสุขและความเชื่อมั่นของคนในชาติรวมทั้งนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้กลับคืนมา จึงสมควรใช้หลักเมตตาธรรมด้วยการให้อภัยและให้โอกาสกับทุกฝ่ายซึ่งล้วนมีเจตนาดีต่อชาติบ้านเมือง อันเป็นไปตามนิติประเพณีที่ประเทศไทยเคยปฏิบัติมาแล้วหลายครั้งและเป็นไปตามมาตรฐานสากลด้วยการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดอันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ได้กระทำระหว่างวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ จนถึงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ และเยียวยาให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาด้วยการคืนความชอบธรรมให้แก่ผู้ถูกดำเนินคดีโดยกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือคำสั่งของหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มิได้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมตามปกติและขัดต่อหลักนิติธรรม อันเป็นการผดุงรักษาไว้ซึ่งระบบนิติธรรมและกระบวนการยุติธรรมของประเทศที่สากลให้การยอมรับ รวมทั้งการคืนสิทธิทางการเมืองให้กับกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่มิได้มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำความผิดอันเป็นเหตุให้มีการยุบพรรคการเมืองนั้น เพื่อให้โอกาสแก่ทุกฝ่ายได้เข้ามาใช้ความรู้ความสามารถของตนร่วมกันแก้ไขปัญหาและนำพาประเทศให้ก้าวข้ามความขัดแย้งครั้งนี้ไปสู่สันติภาพและความมั่นคงสืบไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

๒. สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

๒.๑ ให้บรรดาการกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมืองตั้งแต่วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ จนถึงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ หากมีการกระทำใดที่เป็นความผิดตามกฎหมาย ให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง

การกระทำตามวรรคหนึ่งให้หมายความถึงการกระทำของบุคคล ดังต่อไปนี้

๒.๑.๑ การกระทำทั้งหลายของบุคคลที่เกิดจากการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ห้ามการชุมนม การกล่าววาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีใดเพื่อรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ การต่อสู้ขัดขืน การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการประท้วงด้วยวิธีใด ๆ อันเป็นการกระทบต่อร่างกายหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง

๒.๑.๒ การกระทำทั้งหลายของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลใด ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการป้องกัน ระงับหรือปราบปราม ในเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือการกระทำใดที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าว (ร่างมาตรา ๓)

๒.๒ เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา ๓ อยู่ในระหว่างการสอบสวนให้ผู้มีอำนาจสอบสวนระงับการสอบสวนผู้นั้น ถ้าอยู่ในระหว่างการฟ้องร้องให้พนักงานอัยการหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือให้ถอนฟ้อง ถ้าผู้นั้อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น (ร่างมาตรา ๔)

๒.๓ ให้ถือว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการหรือการปฏิบัติทั้งหลายขององค์กรหรือคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งโดยประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้เป็นไปตามประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หรือการดำเนินการหรือการปฏิบัติทั้งหลายขององค์กร หรือหน่วยงานอื่นใดอันเป็นผลสืบนื่องจากการดำเนินการหรือการปฏิบัติขององค์กรหรือของคณะบุคคลดังกล่าว มิได้เป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือเป็นผู้กระทำความผิด โดยให้นำความในมาตรา ๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติต่อบุคคลที่ได้รับผลกระทบนั้นให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมต่อไป (มาตรา ๕)

๒.๔ เพื่อให้บุคคลได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาประเทศซึ่งเป็นการสร้างความปรองดองในสังคม ให้การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลผู้เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองเพราะเหตุมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองเป็นอันสิ้นสุดลง และให้ถือว่าบุคคลผู้นั้นไม่เป็นผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (มาตรา ๖)

๒.๕ การดำเนินการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่เป็นการตัดสิทธิของบุคคลซึ่งมิใช่องค์กร หรือหน่วยงานของรัฐที่จะเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งจากการกระทำของบุคคลใดซึ่งพ้นจากความรับผิด ตามพระราชบัญญัตินี้และทำให้ตนต้องได้รับความเสียหาย (ร่างมาตรา ๗)

๒.๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา ๘)





กำลังโหลดความคิดเห็น