พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรพูดหลายครั้งหลายหนว่าจะกลับบ้านมาอย่างเท่ ๆ วันนี้ไม่ต้องสงสัยแล้วนะครับว่าคืออะไรและเมื่อไร
เมื่อใดที่ “ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ....” ซึ่งบรรจุอยู่ในระเบียบวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรในวาระเรื่องด่วนที่ 27 วันพุธที่ 30 พฤษภาคม 2555 นี้ผ่านกระบวนการพิจารณาอนุมติของรัฐสภาและกระบวนการลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษามีผลใช้บังคับ ก็เมื่อนั้นแหละที่อดีตนายกรัฐมนตรีผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญตัวจริงจะเดินทางกลับประเทศไทยอย่างสง่าผ่าเผยหรือเท่อย่างเหลือล้นได้ในวันที่ใจต้องการ จะไม่เท่ได้อย่างไร่ล่ะในเมื่อ...
หนึ่ง ไม่ต้องติดคุก
สอง ได้เงินที่ถูกยึดไปคืน 4.6 หมื่นล้าน
สาม ไม่มีคดีความใดติดตัวอยู่อีก
ไม่ได้คิดเอาเองครับ แต่ความในมาตรา 5 และมาตรา 4 ของร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. .... บอกไว้ชัดเจนโดยไม่ต้องตีความแต่ประการใด
“มาตรา 5 ให้ถือว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการหรือการปฏิบัติการทั้งหลายขององค์กรหรือคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งโดยประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้เป็นไปตามประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 หรือการดำเนินการหรือการปฏิบัติการทั้งหลายขององค์กร หรือหน่วยงานอื่นใด อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการดำเนินการหรือการปฏิบัติขององค์กรหรือของคณะบุคคลดังกล่าว มิได้เป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือเป็นผู้กระทำความผิด โดยให้นำความในมาตรา 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติต่อบุคคลที่ได้รับผลกระทบนั้นให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมต่อไป”
มาตรา 5 นี้อ้างอิงมาตรา 4 ก็ต้องอ่านมาตรา 4
“มาตรา 4 เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา 3 อยู่ในระหว่างการสอบสวนให้ผู้มีอำนาจสอบสวนระงับการสอบสวนผู้นั้น ถ้าอยู่ในระหว่างการฟ้องร้องให้พนักงานอัยการหรือองคืกรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือให้ถอนฟ้อง ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น”
ผมขีดเส้นใต้ไว้ส่วนเดียว แต่ความจริงมาตรา 4 นี้ขีดเส้นใต้ได้ทั้งมาตรา
เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรไม่ได้มีเพียงคดีความที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาถึงที่สุดแล้ว 2 คดีเท่านั้น ยังมีคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล และน่าจะมีที่อยู่ในระหว่างการสอบสวนอีก
เป็นอันว่าหลุดหมด !
และเมื่อไม่ได้เป็นผู้ถูกกล่าวหา ไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ตามความตอนท้ายในมาตรา 5 แล้ว เงิน 4.6 หมื่นล้านบาทที่ตกเป็นของแผ่นดินเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 จะเก็บไว้ได้อย่างไรเล่า ก็ต้องคืนให้พะนะหัวเจ้าทั่นผู้มีบุญหนักบัก..เอ๊ย..ศักดิ์...ใหญ่ ดีไม่ดีจะต้องแถมดอกเบี้ยให้พะนะฯด้วยนะ เพื่อให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมที่มาตรา 5 กล่าวสำทับไว้ตอนท้าย
ถ้าฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายมีผลลบล้างคำพิพากษาถึงที่สุดของฝ่ายตุลาการได้อย่างนี้ หลักการแบ่งแยกอำนาจที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 3 เป็นอันหมดความหมาย
เท่ากับตอกย้ำความเป็น “เผด็จการรัฐสภา” ให้ชัดเจน
ฉลาดนะที่ไม่ได้นิรโทษกรรมให้ตรง ๆ และก็ไม่ได้บอกให้ประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิรูปฯและการดำเนินงานต่อเนื่องจากนั้นสิ้นผล เพียงแต่บอกให้ “บุคคลที่ได้รับผลกระทบ...” มิได้เป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น ซึ่งเหลียวมองไปทั่วแผ่นดินแล้วก็เห็นอยู่คนเดียว หรือกลุ่มเดียว
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร !!
และอดีตรัฐมนตรีรวมทั้งข้าราชการประจำบางคนที่ถูกสอบสวนดำเนินคดีพ่วงไปด้วย !
รวมทั้งอดีตรัฐมนตรีที่เป็นตัวจักรสำคัญในการดำเนินการตามแผนปรองดองนี้
นายวัฒนา เมืองสุข !
ฉลาดนะที่รัฐบาลไม่เสนอเอง ส.ส.พรรคเพื่อไทยก็แทบไม่ได้ร่วมลงชื่อเสนอเลย ต้นคิดอย่างคุณวัฒนา เมืองสุขก็ไม่รู้ไม่เห็นกับการเสนอ แถมยังได้อดีตผู้บัญชาการทหารบกคนที่ทำรัฐประหารโค่นพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คนที่ลงนามในประกาศและคำสั่งต่าง ๆ มาเป็นคนเสนอเสียด้วย
ยอมรับว่าฉลาดนะที่บอกว่าการกระทำต่าง ๆ ที่เคยถูกกล่าวหาว่าผิดยังคงอยู่ สามารถดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมตามปกติได้ แต่พวกเราแม้จะไม่ฉลาดในเรื่องอย่างนี้ แต่ก็ไม่ได้มีหญ้าติดปาก ถึงขนาดจะไม่รู้ว่าการดำเนินการตามกระบวนยุติธรรมตามปกติในช่วงที่นักการเมืองกลุ่มนี้กำลังเป็นใหญ่คับบ้านคับเมือง ข้าราชการประจำทุกฝ่ายต่างวิ่งแข่งกันเข้าไปสวามิภักดิ์ รวมทั้งกำลังจะมีการแก้ไขกฎเกณฑ์บ้านเมืองใหม่ที่จะมีลักษณะเพิ่มอำนาจนักการเมือง ลดอำนาจองค์กรอิสระ รวมทั้งสร้างกลไกถ่วงดุลอำนาจตุลาการ มันไม่มีทางจะบรรลุผลได้ง่าย ๆ ในเร็ววันหรอก
ดีไม่ดีมีคนไปร้อง พอถึงขั้นตอนสำนักงานอัยการสูงสุด ก็จะจบลงด้วยการสั่งไม่ฟ้อง
เพราะผลการดำเนินการของคตส.มีอันเอามาใช้ไม่ได้เสียแล้ว
ที่จริงร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ในส่วนของการนิรโทษกรรมคดีที่เกิดจากการชุมนุมทางการเมืองและการกระทำต่อเนื่องระหว่างวันที่ 15 กันยายน 2548 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ที่ระบุไว้ในมาตรา 3 นั้นพอรับฟังได้ แม้จะมีบางกลุ่มไม่เห็นด้วยบ้าง แต่โดยรวมแล้วน่าจะพอไปได้
ถ้าตั้งใจจะปรองดองกันอย่างจริงใจ ทำไมไม่ทำเฉพาะแต่ส่วนที่พอรับกันได้ก่อนล่ะ ?
สงสัยอยู่เหมือนกันว่าเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรจะกล้าหาญชาญชัยลงมติให้เลื่อนระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ 27 นี้ขึ้นมาพิจารณาก่อนในวันที่ 30 หรือ 31 พฤษภาคม 2555 นี้เลยหรือไม่ ผมขอเชียร์ให้ท่านทำให้ได้ ทำทันที อย่าลังเล อย่ารอจังหวะ เพราะผมเบื่อเต็มทีแล้วกับการจอดขบวนรถประเทศไทยนิ่งอยู่ที่สถานีทักษิณมานาน มันนานเกินไปแล้ว เอาเลยครับ อยากจะทำอะไรก็ทำเลย ประเทศจะได้เดินหน้าไปสถานีอื่นเรื่องอื่นเสียที
แต่ขอแรงเพื่อนส.ส.ช่วยแปรญัตติชื่อร่างพ.ร.บ.ในวาระที่ 2 หน่อยนะ เพื่อให้ตรงความจริง เป็น...
“ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรกลับประเทศไทยอย่างเท่ๆ และได้เงิน 4.6 หมื่นล้านคืน พ.ศ. .....”
เมื่อใดที่ “ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ....” ซึ่งบรรจุอยู่ในระเบียบวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรในวาระเรื่องด่วนที่ 27 วันพุธที่ 30 พฤษภาคม 2555 นี้ผ่านกระบวนการพิจารณาอนุมติของรัฐสภาและกระบวนการลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษามีผลใช้บังคับ ก็เมื่อนั้นแหละที่อดีตนายกรัฐมนตรีผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญตัวจริงจะเดินทางกลับประเทศไทยอย่างสง่าผ่าเผยหรือเท่อย่างเหลือล้นได้ในวันที่ใจต้องการ จะไม่เท่ได้อย่างไร่ล่ะในเมื่อ...
หนึ่ง ไม่ต้องติดคุก
สอง ได้เงินที่ถูกยึดไปคืน 4.6 หมื่นล้าน
สาม ไม่มีคดีความใดติดตัวอยู่อีก
ไม่ได้คิดเอาเองครับ แต่ความในมาตรา 5 และมาตรา 4 ของร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. .... บอกไว้ชัดเจนโดยไม่ต้องตีความแต่ประการใด
“มาตรา 5 ให้ถือว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการหรือการปฏิบัติการทั้งหลายขององค์กรหรือคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งโดยประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้เป็นไปตามประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 หรือการดำเนินการหรือการปฏิบัติการทั้งหลายขององค์กร หรือหน่วยงานอื่นใด อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการดำเนินการหรือการปฏิบัติขององค์กรหรือของคณะบุคคลดังกล่าว มิได้เป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือเป็นผู้กระทำความผิด โดยให้นำความในมาตรา 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติต่อบุคคลที่ได้รับผลกระทบนั้นให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมต่อไป”
มาตรา 5 นี้อ้างอิงมาตรา 4 ก็ต้องอ่านมาตรา 4
“มาตรา 4 เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา 3 อยู่ในระหว่างการสอบสวนให้ผู้มีอำนาจสอบสวนระงับการสอบสวนผู้นั้น ถ้าอยู่ในระหว่างการฟ้องร้องให้พนักงานอัยการหรือองคืกรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือให้ถอนฟ้อง ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น”
ผมขีดเส้นใต้ไว้ส่วนเดียว แต่ความจริงมาตรา 4 นี้ขีดเส้นใต้ได้ทั้งมาตรา
เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรไม่ได้มีเพียงคดีความที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาถึงที่สุดแล้ว 2 คดีเท่านั้น ยังมีคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล และน่าจะมีที่อยู่ในระหว่างการสอบสวนอีก
เป็นอันว่าหลุดหมด !
และเมื่อไม่ได้เป็นผู้ถูกกล่าวหา ไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ตามความตอนท้ายในมาตรา 5 แล้ว เงิน 4.6 หมื่นล้านบาทที่ตกเป็นของแผ่นดินเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 จะเก็บไว้ได้อย่างไรเล่า ก็ต้องคืนให้พะนะหัวเจ้าทั่นผู้มีบุญหนักบัก..เอ๊ย..ศักดิ์...ใหญ่ ดีไม่ดีจะต้องแถมดอกเบี้ยให้พะนะฯด้วยนะ เพื่อให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมที่มาตรา 5 กล่าวสำทับไว้ตอนท้าย
ถ้าฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายมีผลลบล้างคำพิพากษาถึงที่สุดของฝ่ายตุลาการได้อย่างนี้ หลักการแบ่งแยกอำนาจที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 3 เป็นอันหมดความหมาย
เท่ากับตอกย้ำความเป็น “เผด็จการรัฐสภา” ให้ชัดเจน
ฉลาดนะที่ไม่ได้นิรโทษกรรมให้ตรง ๆ และก็ไม่ได้บอกให้ประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิรูปฯและการดำเนินงานต่อเนื่องจากนั้นสิ้นผล เพียงแต่บอกให้ “บุคคลที่ได้รับผลกระทบ...” มิได้เป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น ซึ่งเหลียวมองไปทั่วแผ่นดินแล้วก็เห็นอยู่คนเดียว หรือกลุ่มเดียว
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร !!
และอดีตรัฐมนตรีรวมทั้งข้าราชการประจำบางคนที่ถูกสอบสวนดำเนินคดีพ่วงไปด้วย !
รวมทั้งอดีตรัฐมนตรีที่เป็นตัวจักรสำคัญในการดำเนินการตามแผนปรองดองนี้
นายวัฒนา เมืองสุข !
ฉลาดนะที่รัฐบาลไม่เสนอเอง ส.ส.พรรคเพื่อไทยก็แทบไม่ได้ร่วมลงชื่อเสนอเลย ต้นคิดอย่างคุณวัฒนา เมืองสุขก็ไม่รู้ไม่เห็นกับการเสนอ แถมยังได้อดีตผู้บัญชาการทหารบกคนที่ทำรัฐประหารโค่นพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คนที่ลงนามในประกาศและคำสั่งต่าง ๆ มาเป็นคนเสนอเสียด้วย
ยอมรับว่าฉลาดนะที่บอกว่าการกระทำต่าง ๆ ที่เคยถูกกล่าวหาว่าผิดยังคงอยู่ สามารถดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมตามปกติได้ แต่พวกเราแม้จะไม่ฉลาดในเรื่องอย่างนี้ แต่ก็ไม่ได้มีหญ้าติดปาก ถึงขนาดจะไม่รู้ว่าการดำเนินการตามกระบวนยุติธรรมตามปกติในช่วงที่นักการเมืองกลุ่มนี้กำลังเป็นใหญ่คับบ้านคับเมือง ข้าราชการประจำทุกฝ่ายต่างวิ่งแข่งกันเข้าไปสวามิภักดิ์ รวมทั้งกำลังจะมีการแก้ไขกฎเกณฑ์บ้านเมืองใหม่ที่จะมีลักษณะเพิ่มอำนาจนักการเมือง ลดอำนาจองค์กรอิสระ รวมทั้งสร้างกลไกถ่วงดุลอำนาจตุลาการ มันไม่มีทางจะบรรลุผลได้ง่าย ๆ ในเร็ววันหรอก
ดีไม่ดีมีคนไปร้อง พอถึงขั้นตอนสำนักงานอัยการสูงสุด ก็จะจบลงด้วยการสั่งไม่ฟ้อง
เพราะผลการดำเนินการของคตส.มีอันเอามาใช้ไม่ได้เสียแล้ว
ที่จริงร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ในส่วนของการนิรโทษกรรมคดีที่เกิดจากการชุมนุมทางการเมืองและการกระทำต่อเนื่องระหว่างวันที่ 15 กันยายน 2548 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ที่ระบุไว้ในมาตรา 3 นั้นพอรับฟังได้ แม้จะมีบางกลุ่มไม่เห็นด้วยบ้าง แต่โดยรวมแล้วน่าจะพอไปได้
ถ้าตั้งใจจะปรองดองกันอย่างจริงใจ ทำไมไม่ทำเฉพาะแต่ส่วนที่พอรับกันได้ก่อนล่ะ ?
สงสัยอยู่เหมือนกันว่าเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรจะกล้าหาญชาญชัยลงมติให้เลื่อนระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ 27 นี้ขึ้นมาพิจารณาก่อนในวันที่ 30 หรือ 31 พฤษภาคม 2555 นี้เลยหรือไม่ ผมขอเชียร์ให้ท่านทำให้ได้ ทำทันที อย่าลังเล อย่ารอจังหวะ เพราะผมเบื่อเต็มทีแล้วกับการจอดขบวนรถประเทศไทยนิ่งอยู่ที่สถานีทักษิณมานาน มันนานเกินไปแล้ว เอาเลยครับ อยากจะทำอะไรก็ทำเลย ประเทศจะได้เดินหน้าไปสถานีอื่นเรื่องอื่นเสียที
แต่ขอแรงเพื่อนส.ส.ช่วยแปรญัตติชื่อร่างพ.ร.บ.ในวาระที่ 2 หน่อยนะ เพื่อให้ตรงความจริง เป็น...
“ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรกลับประเทศไทยอย่างเท่ๆ และได้เงิน 4.6 หมื่นล้านคืน พ.ศ. .....”