xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

ยึด “ตลาดนัดจตุจักร” ประชาธิปัตย์เสียค่าโง่ “ชัจจ์” ต้องตอบคำถาม “ผู้กอง ต.” ไปเคลียร์อะไร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก
ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์-ถือเป็นเรื่องเศร้าส่งท้ายปี 2554 เลยทีเดียว สำหรับการสูญเสีย “ตลาดนัดจตุจักร” ขุมทรัพย์ก้อนมหึมากลับคืนไปให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)

ขณะเดียวกันก็ต้องถือว่าเป็น “ฝันอร่อย” สำหรับกระทรวงคมนาคม รวมทั้ง รฟท.ที่สามารถยึดตลาดนัดสวนจักรกลับเข้ามาอยู่ในอ้อมอกของตนเองอีกครั้งผ่านมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมี “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรีเป็นตรายางประทับ

และต้องถือว่าเป็นผลงานชิ้นโบแดงของ “พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใหญ่ในการยึดตลาดนัดจตุจักรกลับมาเป็นของ ร.ฟ.ท.โดยสมบูรณ์ ถูกต้องและชอบธรรมเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2555 ที่ผ่านมางสิทธิด้อีกต่อไปา หลังจากระดมนักกฎหมายจากทั่วทุกสารทิศมาสุมหัว ก็ได้คำตอบว่า

แน่นอน การสูญเสียตลาดนัดจตุจักรของ กทม.ถือเป็น “ค่าโง่” ที่ “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแห่งพรรคประชาธิปัตย์จะตีโพยตีพายโทษใครไม่ได้ เพราะรู้ทั้งรู้ทั้งรู้ว่า ตลาดนัดแห่งนี้จะหมดอายุสัญญาการเช่ากับ ร.ฟ.ท.เมื่อไหร่ ในยุคที่พรรคประชาธิปัตย์ยึดกุมอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินเอาไว้ในมือ ทำไมถึงไม่จัดการเสียให้เรียบร้อย แต่กลับเอ้อระเหยลอยชายปล่อยให้เรื่องคาราคาซังและในที่สุดขุมทรัพย์ก้อนมหึมาก้อนนี้ก็หลุดลอยออกไปจากมืออย่างน่าเสียดาย

ทั้งนี้ ในเบื้องแรก หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่า การส่งมอบพื้นที่คืนให้กับ ร.ฟ.ท.น่าจะไม่ราบรื่นง่ายๆ และน่าจะมีปฏิบัติการอะไรบางอย่างเพื่อยื้อขุมทรัพย์ก้อนนี้เอาไว้ต่อไป

หนึ่งในนั้นก็คือ การปลุกม็อบ

หนึ่งในนั้นคือการหาช่องทางทางกฎหมาย

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์อ้างสิทธิอันชอบธรรมในการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 ก.ค.2522 และวันที่ 14 เม.ย.2525 ในการใช้ที่ดินของการรถไฟฯ เพื่อจัดตลาดนัด และต่อมาในปี 2530 กทม.ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินร่วมกับการรถไฟฯ หลังจากมีมติ ครม.แล้ว 5 ปี อย่างถูกต้องตามกฎหมาย จึงไม่ได้เกี่ยวกับสัญญาเช่าที่สิ้นสุดลง อีกทั้งการรถไฟฯ ไม่มีอำนาจในการเข้าไปจัดการบริหารตลาดนัดโดยตรง เพราะเป็นเรื่องที่ขัดต่อ พ.ร.บ.การรถไฟ ปี 2494 และเมื่อพิจารณาในเรื่องศีลธรรม กทม.ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกตลาดนัดมาตั้งแต่ปี 2525 ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นมีเจตนารมณ์ที่จะให้ผู้ค้าในพื้นที่ตลาดนัดสนามหลวงได้มีที่ทำกินใหม่ ทั้งที่จตุจักรในอดีตเป็นพื้นที่ห่างไกล กทม.ต้องหาวิธีที่จะพัฒนาจนกระทั่งเป็นที่รู้จักทั่วโลกอย่างเช่นทุกวันนี้

“กทม.จึงมีสิทธิ์อันชอบธรรมทั้งทางกฎหมาย และศีลธรรม ที่ผ่านมา กทม.ได้เจรจากับการรถไฟฯ มาโดยตลอด แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากการที่การรถไฟฯ ต้องการขึ้นค่าเช่าเป็นปีละ 420 ล้านบาท ซึ่ง กทม.รับไม่ได้ หากต้องจ่ายตามอัตราดังกล่าว กทม.มีทางเลือก 2 ทาง คือ ปรับปรุงให้ตลาดนัดจตุจักรเป็นศูนย์การค้า หรือขึ้นค่าเช่า ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์เดิม”ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ชักแม่น้ำทั้งห้ามาอธิบาย

แต่สุดท้ายแล้ว ทุกอย่างกลับไม่มีปัญหา แม้กทม.ของคุณชายสุขุมพันธุ์พยายามหาช่องทางทางกฎหมายเพื่อให้ได้สิทธิในการบริหารต่อ ทว่า หลังจากระดมนักกฎหมายจากทั่วทุกสารทิศมาสุมหัว ก็ได้คำตอบว่า ไม่มีความหวังที่จะเกาะกุมขุมทรัพย์ก้อนนี้เอาไว้ได้อีกต่อไป

ด้วยเหตุดังกล่าว เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา ที่สำนักงานกองอำนวยการตลาดนัดจตุจักร นายอรุณ ศรีจรูญ ผู้อำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร(จตุจักร) พร้อมด้วยบุคลากรและตัวแทนที่มีสิทธิเกี่ยวข้องได้หารือกับนายประเสริฐ อัตตะนันทน์ รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ในฐานะประธานคณะทำงานบริหารพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้ รฟท.บริหารต่อ

“กทม.เห็นชอบให้ทาง รฟท.เข้ามาบริหารได้ตั้งแต่วันนี้(2 ม.ค.) เป็นต้นไป”นายประเสริฐแถลงข่าวยืนยันอย่างชัดเจน

ก็เป็นอันว่า ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงได้ยุติลงอย่างเรียบร้อยสมใจ พล.ต.ท.ชัจจ์ทุกประการ

แต่ปัญหาสำคัญที่ตามมาก็คือ รฟท.จะมีปัญญาในการบริหารตลาดนัดจตุจักรให้ตลอดรอดฝั่งได้อย่างไร จะจ้างใครเข้ามาบริหารจัดการ กลุ่มผู้ค้าที่ทำมาหากินจะต้องเผชิญกับเบี้ยใบ้รายทางในช่วงผลัดเปลี่ยนอำนาจอีกหรือไม่ เพราะต้องไม่ลืมว่า ประสบการณ์ในการทำธุรกิจของ รฟท.นั้น ไม่มีหลักประกันในเรื่องความน่าเชื่อถือเลยแม้แต่น้อย

องค์กรของตนเองก็สารพัดจะขาดทุน และเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความล้าหลังมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ขยับไปบริหารจัดการแอร์พอร์ตลิงก์ ก็ล้มเหลวเละเทะไม่เป็นท่า

นี่คือโจทย์ใหญ่ของ รฟท.

นี่คือ โจทย์ใหญ่ของ พล.ต.ท.ชัจจ์ที่จะต้องทำให้สังคมได้เป็นที่ประจักษ์อีกครั้ง

นอกจากนี้ ในระหว่างรอยต่อของอำนาจ ปัญหาใหญ่ที่ รฟท.และกระทรวงคมนาคมจะต้องเร่งแก้ให้เสร็จสิ้นทันท่วงทีก็คือ ปัญหา “มาเฟีย” ที่ฉวยโอกาสและรอจังหวะในช่วงสุญญากาศของการบริหารจัดการเข้ามาทำมาหากินกันอย่างโจ๋งครึ่ม

ทั้งนี้ พล.ต.ท.ชัจจ์ไม่สามารถหาเหตุผลมาอ้างหรืออธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นได้ว่า ไม่รู้ไม่เห็น เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ว่าอดีตนายตำรวจอย่าง พล.ต.ท.ชัจจ์จะไม่มีระแคะระคายเกี่ยวกับปัญหามาเฟียในตลาดนัดจตุจักร

กล่าวคือ หลังจากที่กทม. ส่งมอบพื้นที่ให้ ร.ฟ.ท. เข้าบริหาร ก็ปรากฏกลุ่มมาเฟียประกาศให้ผู้ค้าต้องเซ้งล็อกขายสินค้าใหม่ก่อนเข้าค้าขาย และต้องจ่ายเงินรายวันในลักษณะค่าคุ้มครอง โดยกลุ่มผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรเปิดเผยว่า กลุ่มบุคคลที่ทำตัวเป็นมาเฟียเข้ายึดครองพื้นที่ตลาดนัดจตุจักรมีหลายกลุ่มด้วยแต่ แต่กลุ่มใหญ่จะมี 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มอดีตนายทหารยศร้อยเอก ชื่อเล่น ต. ถูกให้ออกจากราชการ เข้ามาช่วยเหลือนักการเมืองจนมีความสนิทสนม ปัจจุบันดูแลพื้นที่ย่านคลองเตย กลุ่มนี้เริ่มจากส่งกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) เข้ามาดูแลพื้นที่ทันที พร้อมให้ลูกน้องปรับแต่งพื้นที่ร้านค้าที่ไม่มีสมุดทะเบียนร้านค้า เช่น บริเวณถนน หรือชายคาร้านรอบสวน จตุจักร โดยให้นโยบายใหม่แก่ผู้ค้าว่า จะต้องเซ้งล็อกใหม่ก่อนเข้าค้าขาย

2.กลุ่มนายทหารยศพันเอก อักษรย่อ ต. ทำธุรกิจด้านการขนส่ง ได้เข้ามาเดินเคลียร์พื้นที่บริเวณถนนหน้าหอนาฬิกา ซึ่งเดิมเคยส่งลูกน้องเดินเก็บเงินบริเวณดังกล่าวได้เดือนละหลายแสนบาท โดยให้ผู้ค้าที่อยู่ในความคุ้มครองมาลงชื่อ ไม่อย่างนั้นจะไม่มีพื้นที่ขาย และ 3. เป็นกลุ่มอิทธิพลเดิมของตลาดนัดจตุจักร เป็นพลเรือน ชื่อย่อ ม. เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดเคยเดินเก็บเงินบริเวณรอบร้านค้าบนถนนฟุตปาธ รอบตลาดนัดจตุจักร มาประกาศตัวว่ารับงานนายให้เข้ามาเคลียร์พื้นที่ทั้งหมดไว้แต่เพียงผู้เดียว

ข้อมูลจากผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรมีความชัดเจนว่า กลุ่มมาเฟียเข้าแสดงตัวที่ตลาดต้นไม้ ที่จะเปิดขายในวันที่ 4 มกราคม โดยประกาศให้ผู้ค้าต้นไม้มาจับจองพื้นที่ตั้งแต่คืนวันนี้ (3 มกราคม) และแต่ละคนจะมีค่าใช้จ่ายในการให้รถผ่านประตูคันละ 300 บาท และจ่ายเพิ่มอีก 200 บาท เป็นค่าน้ำใช้รดต้นไม้ เนื่องจากระบบน้ำถูกล็อกอยู่ ส่วนผู้ค้าที่เป็นรถเข็นขายอาหารต้องจ่ายวันละ 300 บาท แต่ถ้าจะขายอาหารหน้ากองอำนวยการต้องจ่ายถึงคันละ 500 บาท เพราะทำเลดีกว่า และยังต้องจ่ายค่าอำนวยความสะดวกที่จอดรถคันละ 2,000 บาทต่อเดือน หากผู้ค้าต้นไม้รับเงื่อนไขได้ จะอนุญาตให้เข้ามาขายได้ตามปกติ และทั้ง 3 กลุ่ม ได้อ้างว่าผู้ใหญ่ให้เข้ามาดูแล

ว่ากันว่า กลุ่มมาเฟียที่เข้าไปทำมาหากินก็ไม่ใช่ใครหากแต่เป็นเด็กของผู้มีอำนาจที่ถูกส่งให้เข้าไปช่วยดูแลฉวยโอกาสที่เกิดช่องว่าง ปฏิบัติการตบทรัพย์กันอย่างสนุกสนาน ซึ่งงานนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้

แน่นอน บุคคลที่สังคมพุ่งเป้าและต้องตอบคำถามถึงปัญหาทั้งหลายทั้งปวงจะเป็นใครไปเสียไม่ได้ นอกเสียจาก พล.ต.ท.ชัจจ์ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ร้อยเอก“ต.” ที่มีข้อมูลน่าเชื่อถือได้ว่ารับงานจากนายให้เข้าไปดูแลตลาดนัดแห่งนี้

คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ ทำไม พล.ต.ท.ชัจจ์ถึงใช้บริการขาใหญ่อย่างผู้กอง ต.ให้เข้าไปสืบข่าวในตลาดนัดจตุจักร

“กรณีที่มีผู้สงสัยว่า มาเฟียเป็นเด็กที่ส่งเข้าไปดูหรือเปล่า ก็คงต้องไปเช็กดูว่าเขาถูกใส่ร้ายหรือทำจริง คือผมส่งไปหาข่าวตั้งแต่เริ่มแรก เพราะมีข่าวว่าจะเกิดความไม่สงบเรียบร้อยในช่วงที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจะ เข้าไปดูแลตลาดนัดจตุจักรแทนกรุงเทพมหานคร ก็ช่วยหาข่าว ส่งไปดูแลความสงบเรียบร้อยดูว่ามีใครคิดจะทำอะไร เพราะแม่ค้าเขากลัวว่าจะถูกเผา ถูกลักของ ผมก็ให้เข้าไปตระเวนดูหาข่าว นอกเหนือจากำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีอยู่แล้ว คนที่ใช้ไปกว้างขวางอาศัยที่รู้จักคนในตลาดนัดจตุจักรจะได้ผลเร็วกว่า ผมก็รู้ว่าเป็นดาบสองคม แต่ก็จำเป็นต้องใช้ เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสีย เพื่อให้ทุกอย่างลงเอ่ยเรียบร้อย จะได้สบายใจ อย่างไรก็ตาม ผมคงต้องดูว่าจริงไม่จริง ถ้าจริงก็ไล่ออกไป และผมยืนยันว่าภายใต้การดูแลของผมจะไม่มีมาเฟียแน่”พล.ต.ท.ชัจจ์ตอบข้อสงสัยทั้งหลายทั้งปวงที่พุ่งตรงมาที่ตัวเขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ ทำไม พล.ต.ท.ชัจจ์ถึงใช้บริการขาใหญ่อย่างผู้กอง ต.ให้เข้าไปสืบข่าวในตลาดนัดจตุจักร

คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ ผู้กอง ต.มีสายสัมพันธ์กับ พล.ต.ท.ชัจจ์มากน้อยขนาดไหน

เพราะต้องไม่ลืมว่า คนระดับผู้กอง ต.นั้น ไม่ธรรมดา เป็นผู้กว้างขวางสีเขียวที่มีเครือข่าย อิทธิพลและเงินทุนหนุนหลังจำนวนมหาศาล ไม่เช่นนั้นคงไม่มีปัญญาไปประมูลซื้อที่ย่านรังสิตมูลค่าหลายพันล้านบาทอย่างแน่นอน

หรือว่า ผู้กอง ต.คือบุคคลสำคัญที่ผลักดันให้ พล.ต.ท.ชัจจ์เดินเกมยึดตลาดนัดจตุจักรคืนจากกรุงเทพมหานคร

นี่คือปมปริศนาที่น่าสงสัยยิ่ง
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
กำลังโหลดความคิดเห็น