ASTVผู้จัดการรายวัน- ปชป. ตั้งกระทู้สด จี้คมนาคม ชี้แจงเอาคืนตลาดนัดจตุจักร งัดพ.ร.บ.การรถไฟฯ ไม่เปิดช่องให้ตั้ง บริษัทมหาชน บริหารจัดการเอง ขู่ติดคุกซ้ำรอยหวยบนดิน เหตุออกมติครม.โดยไม่มีอำนาจ อัดทำลายวัฒนธรรมดังทั่วโลก หวั่นเกิดเหตุยิงกันตายเหมือนตลาดนัดซันเดย์ ด้าน"สุกำพล" มั่นใจทำได้ ย้ำชัดแม้ไม่มีอำนาจ ก็ไม่คืนให้กทม. ผู้ค้ายื่นหนังสือถึง”คมนาคม”รับทราบมติครม. ให้ร.ฟ.ท.บริหารตลาด ยืนยันหยุดเคลื่อนไหวคัดค้าน
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวานนี้ ( 29 ธ.ค. ) นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้สดถาม พล.ต.อ.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม เรื่องความชัดเจนในการบริหารตลาดนัดจตุจักรในอนาคต ว่า กทม. เคยเช่าอยู่ที่ 24 ล้านบาท ขณะที่รัฐบาลกระชากราคาขึ้น 420 ล้านบาท ในปีหน้า เวลานี้มีการให้ผู้ค้ามาลงทะเบียนกับการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. โดยจะให้เช่าฟรี 2 เดือน จึงขอถามว่า รฟท.มีแผนบริหารตลาดนัดจตุจักรในช่วงหลังจากนั้นอย่างไร จะขึ้นค่าเช่าหรือไม่ ในอัตราเท่าไร หรือจะให้เอกชนมาบริหารในรูปแบบใด เพราะจะมีการนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมครม.สัปดาห์หน้า จะจัดตั้งรูปแบบบริษัทที่ รฟท. ถือหุ้น 100 เปอร์เซนต์ ทั้งที่ กทม. ขอต่อรองขึ้นค่าเช่าเป็น 79 ล้านบาท เท่ากับตลาด อตก. ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อยากทราบว่าบริษัทนี้ หน้าตาเป็นอย่างไร และจะทำอย่างไรให้ได้เงินมา 420 ล้านบาท ภายใน 10 เดือน และรูปแบบองค์กรที่จะตั้งขึ้น เป็นแบบใด
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม ชี้แจงแทนว่า ต้องขอบคุณ กทม.ที่บริหารตลาดนัดจตุจักรมา 30 ปี จนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก และยืนยันว่า ไม่ได้มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง และจะทำต่อให้ดีที่สุด
ส่วนที่มาของรายได้ที่ประเมิน 420 ล้านบาทนั้น เพราะได้ให้ผู้เชี่ยวชาญ ตีราคาสินทรัพย์ว่า ควรจะมีมูลค่าเท่าไร คือ ถ้าจะเช่า 30 ปี ควรให้เช่าปีละ 420 ล้านบาท จึงมีแนวคิดที่จะตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อดูแลเรื่องนี้ โดยตนได้ให้นโยบายกับการรถไฟฯ ว่า เนื่องจากเรามีทรัพย์สินมหาศาล เป็นปณิธานของ ร.5 ที่ประทานให้มีรายได้เพื่อดูแลการรถไฟฯ เราจึงอยากทำเอง เราให้กทม.ทำมา 30 ปี มีรายได้เพียง 180 ล้านบาท ถือว่าน้อยมาก จึงอยากทำเอง เพื่อให้มีรายได้มากขึ้น และรับรองจะพัฒนาให้ดี มีชื่อเสียงเหมือนเดิม ขณะนี้มีการร่างระเบียบต่างๆไว้เรียบร้อยแล้ว หาก กทม.ส่งมอบอย่างราบรื่น ทุกอย่างก็จะเกิดผลดีกับผู้ค้าทั้งหมด
ส่วนการเจรจาค่าเช่า มีการตั้งทีมขึ้นมา 27 คณะ เพื่อเจรจาว่าควรจะตั้งราคาเท่าไร เพื่อให้อยู่ได้ทั้งสองฝ่าย คาดว่าจะได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
นายอรรถวิชช์ ถามว่า ตนถามถึงแผนงานที่จะมีใน 10 เดือน คืออะไร ยังไม่มีการตอบชัดเจน แสดงให้เห็นถึงความอ้ำอึ้ง เป็นไปได้อย่างไร ที่การรถไฟฯ จะเอาตลาดนัดจตุจักร ซึ่งเป็นแลนด์มาร์ค เป็นที่ที่นักท่องเที่ยวต้องมาเที่ยวที่นี่ สุดท้ายหนีไม่ออกที่จะต้องไปให้เอกชนเช่า แต่ขอเตือนว่า อำนาจตาม พ.ร.บ.การรถไฟฯ ไม่สามารถตั้งองค์กรมาบริหารตลาดนัดจตุจักรได้ เพราะมาตรา 9 ระบุ ถึงอำนาจของการรถไฟฯ ที่ทำได้คือ ให้เช่าที่ได้ และ (10) ที่มีการแก้ไขระบุให้การรถไฟ สามารถตั้งบริษัทมหาชน เพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการรถไฟ และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟฯ แต่กิจการตลาดไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟ หากรัฐบาลจะตั้งขึ้นมา จะต้องมีจุดจบเหมือนกรณีหวยสองตัว สามตัว
"เรื่องนี้คิดให้ดี สุดท้ายแล้วมันจะทำไม่ได้ ลองนึกถึงอดีตตลาดนัดซันเดย์ ที่การรถไฟฯ ให้สัมปทานกับเอกชน แล้วมีการเปลี่ยนมือ ใช้มุกเดียวกันคือ จะทำเอง ให้ผู้เช่ามาทำสัญญาใหม่ สุดท้ายก็ไม่ได้ทำเอง สัมปทานให้กับรายอื่นไป ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง ยิงกันตาย ถือเป็นความล้มเหลวอีกหนึ่งเรื่องของการบริหารของการรถไฟฯ ตอนนี้มารูปเดียวกับตลาดนัดจตุจักร จึงขอถามอีกครั้งว่า แผนการที่เตรียมไว้ คืออะไร และถ้าสมมุติไม่มีอำนาจในการทำ แล้วจะคืนมาให้ กทม.หรือไม่ หรือจะให้สัมปทานกับเอกชนไปบริหาร"
พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวยืนยันว่าการรถไฟฯ สามารถบริหารตลาดนัดจตุจักรได้ และหากไม่ได้ ก็จะไม่คืนกลับไปให้ กทม.ทำแน่นอน ส่วนรายละเอียดค่าเช่า 420 ล้านบาท ตนยังตอบวันนี้ไม่ได้ เพราะเพิ่งเริ่มต้น ตลาดจตุจักรยังอยู่ในมือของกทม.จนถึงวันที่ 2 ม.ค.
นายอรรถวิชช์ กล่าวสรุปว่า หากยืนยันว่าแม้จะทำไม่ได้ ก็ไม่คืนให้กทม. แล้วจะให้ใครทำ ตนยืนยันว่า อ่านกฏหมายครบ และมั่นใจว่าทำไม่ได้ แน่นอน หากรัฐบาลมั่นใจก็ลองนำเข้าครม. จะเจอเหมือนกรณีหวยบนดิน ที่อดีตประธานบอร์ด ผอ.กองสลาก ถูกตัดสินจำคุก สุดท้ายรอลงอาญา เพราะไปทำโดยที่ ครม.อนุมัติโดยไม่มีอำนาจ ขอเตือนว่าเรื่องนี้จะนำไปสู่ทางตัน และอาจจะเกิดปัญหายิงกันตาย เหมือนตลาดนัดซันเดย์
"ตลาดแห่งนี้ คือความภูมิใจของคนทั้งประเทศ ดังไปทั่วโลก ท่านกำลังทำลายวัฒนธรรมตลาดนัดจตุจักร และหนีไม่พ้นทางสุดท้าย เวลาที่ทำอะไรไม่ได้แล้ว คือให้สัมปทานคนอื่น จะทำให้วัฒนธรรมเหล่านี้หายไป เรื่องนี้ชัดเจนว่า ท่านต้องการจะเอาคืนเท่านั้น" นายอรรถวิชช์ กล่าว
**ปชป.จี้รัฐบาลทบทวน
นายชนินทร์ รุ่งแสง ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ได้มีการตั้งกระทู้ถามรมว.คมนาคมแล้ว แต่ก็ไม่มีความชัดเจนเกิดขึ้น และปฎิเสธเรื่องที่จะให้ กทม.เข้ามาบริหารต่อ โดยให้เหตุผลว่า ที่ผ่านมาตลาดนัดจตุจักร มีการบริหารที่ล้มเหลว ซึ่งในความเป็นจริง ตลอดเวลาที่ กทม.บริหารตลาดนัดมา ตลาดนัดจตุจักร กลายเป็นสถานที่ๆ มีชื่อเสียงสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างมาก
นายชนินทร์ กล่าวว่า การดำเนินการขณะนี้ เหมือนมีนัยยะบางอย่างแอบแฝง เพราะในวันนี้ ก็ยังตอบไม่ได้ว่าการเข้ามาบริหารตลาดนัดจตุจักรของการรถไฟนั้น จะบริหารอย่างไร เช่น การเก็บขยะ หรือการเก็บค่าเช่ารายเดือน มีเพียงกรอบกว้างๆว่าการรถไฟจะเข้ามาดูแลเท่านั้น และยังมีการเสนอต่อครม. เพื่อเห็นชอบในหลักการ จัดตั้งบริษัทลูก เพื่อบริหารจัดการพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร ซึ่งข้อนี้ตนคิดว่า มีกลุ่มคนที่มองว่าตลาดนัดจตุจักร เป็นขุมทรัพย์ และวันหนึ่งตลาดนัดจตุจักร ก็อาจจะตกไปสู่มือของเอกชนรายใดรายหนึ่ง
นายชนินทร์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 20 พ.ย. ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาประชุม ซึ่งทางการรถไฟ ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม โดยตัวแทนของการรถไฟ ระบุว่า การดำเนินการดังกล่าว ทำตามมติของบอร์ดการรถไฟ แต่ยอมรับว่า การรถไฟ ไม่พร้อมที่จะเข้ามาบริหารพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร และคงทำได้ไม่ดีเท่ากับ กทม. อย่างแน่นอน ดังนั้น ตนอยากเรียกร้องไปยังรัฐบาล เพื่อให้ทบทวนเรื่องนี้อีกครั้ง เพราะตลาดนัดจตุจักร ถือเป็นสมบัติของประชาชน ไม่ได้เป็นของการรถไฟแต่เพียงผู้เดียว
รายงานข่าวจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แจ้งว่า ขณะนี้กทม.ยังไม่ได้รับมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)ที่ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เข้าไปบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร เมื่อมติครม.ยังไม่ชัดเจนว่ากทม.หมดอำนาจในการบริหารตลาดนัดจตุจักร ดังนั้น กทม.จึงจะประกาศยกเว้นการเก็บค่าแผงจากผู้ค้า ตั้งแต่เดือนม.ค. 2555 เป็นต้นไป จนกว่าจะได้ข้อยุติว่าหน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบเข้าบริหารตลาดนัดที่แท้จริง และขณะนี้กทม.ยังไม่สามารถตอบคำถามผู้ค้าได้ ว่ากทม.จะได้บริหารต่อไปหรือไม่
รายงานข่าวจากกทม.แจ้งว่าระหว่างที่รอว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมติครม.ทางใดทางหนึ่งหรือไม่ในระหว่างนี้ นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม.อาจจะเข้าไปเจรจานอกรอบกับทาง รฟท. และกระทรวงคมนาคมอีกครั้ง เนื่องจากนายพรเทพมีความสนิทสนมกับผู้บริหารกับทั้ง 2 หน่วยงานพอสมควร อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการเจรจาน่าจะเป็นไปได้ยาก เพราะตลาดนัดจตุจักรมีการแบ่งเค้กกันเรียบร้อยแล้ว แต่กทม.ก็จะใช้แนวทางต่อสู้ทางกฎหมายต่อไป
รายงาน ข่าวระบุว่าในวันนี้ (30 ธ.ค.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. จะแถลงข่าวถึงความคืบหน้าเรื่องตลาดนัดจตุจักรอีกครั้ง
*** คค.-มท.พรรคเดียวกันเคลียร์ได้
วานนี้ (29 ธ.ค.) เวลาประมาณ 14.30 น. ตัวแทนผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักร จาก 17 โครงการ ประมาณ 30 คน ได้เข้ายื่นหนังสือถึง พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม มีข้อเสนอ 9 ข้อโดยมี พล.ต.ต.สันติ วิจักขณา กรรมการ(บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) รับหนังสือแทน
นายชาตรี โสภณบรรณารักษ์ นายกสมาคมผู้ประกอบการค้าตลาดนัดจตุจักร กล่าวว่า กลุ่มตัวแทนผู้ค้า 17 โครงการ เห็นด้วย และยอมรับมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่ให้ ร.ฟ.ท.เข้าบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร เนื่องจากการเข้าบริหารจัดการของ ร.ฟ.ท.ไม่ได้ส่งผลกระทบกับทางผู้ค้า และตลาดนัดจตุจักรยังคงเปิดค้าขายเหมือนเดิม หากในวันที่ 2 มกราคม 2555 เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น จะไม่เกี่ยวข้องกับทางผู้ค้าแน่นอน
ผู้ค้าได้มีข้อเสนอเพิ่มเติม 9 ข้อ คือ
1. ขอให้ทางกระทรวงคมนาคมประสานกับกรุงเทพมหานคร(กทม.) ให้ส่งมอบพื้นที่โดยไม่มีผลกระทบกับผู้ค้าในตลาดนัด และ ร.ฟ.ท.ต้องบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรให้ดี และต่อเนื่องในทุกด้าน
2. อัตราค่าเช่าต้องชัดเจน และเป็นธรรมกับผู้ค้า เพื่อให้ผู้ค้าสามารถประกอบกิจการได้
3. ผู้ค้าที่มีชื่อในทะเบียนแผงค้าเดิมจากทางกทม. ต้องได้สิทธิทำการค้าเหมือนเดิม และต้องอยู่ที่เดิมห้ามนำผู้อื่นมาสวมสิทธิ์โดยเด็ดขาด
4. ผู้ค้าจุดผ่อนผัน จุดผ่อนปรน พื้นที่สีเขียว ผู้ค้าต้นไม้ แผงค้าซุ้มไก่ชน หรือจุดที่ได้รับอนุญาตจากทาง กทม. ที่มีใบเสร็จถูกต้อง ต้องได้สิทธิทำการค้าในที่เดิม และขอให้ออกสมุดแผงค้าอย่างถูกต้อง
5. กฎระเบียบและการบริหารตลาดนัดต้องชัดเจน และเป็นธรรมกับผู้ค้า และให้มีการต่อสัญญาในระยะยาวกับผู้ค้า(30 ปี)
6. ต้องไม่แปรรูปให้เอกชนเข้ามาบริหาร
7. กลุ่มผู้ค้ายินดีสนับสนุน และร่วมกิจกรรมต่างๆในเชิงสร้างสรรค์
8. ขอให้ปรับปรุงเรื่องสาธารณูปโภค เช่น ระบบไฟฟ้า ประปา ห้องสุขา
9 . ขอให้คงเอกลักษณ์เป็นตลาดนัดชั้นเดียวอย่างนี้ตลอดไป
นายสมศักดิ์ ลิ้มโสภิตพรรณ หัวหน้าโครงการ 15 ตลาดนัดจตุจักร ที่ก่อนหน้านี้ออกมาต่อต้าน ร.ฟ.ท.อย่างหนักเพื่อให้ กทม.บริหารเหมือนเดิม กล่าวว่า เมื่อ ครม.มีมติออกมาแล้วก็พร้อมยอมรับ แต่การเข้ามาของ ร.ฟ.ท.ต้องไม่ทำให้ผู้ค้าเดือดร้อน และต้องการให้คงความเป็นตลาดนัดจตุจักรที่ทั้งคนไทยและคนทั่วโลกรู้จักไว้ โดยหลังจากนี้ยืนยันว่าจะไม่มีการเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านอีก ถึงแม้ กทม.จะไม่ยินยอมให้ ร.ฟ.ท.เข้าบริหารจัดการก็ตาม
“ยินดีที่ทางผู้ค้าจะทำงานร่วมกับ ร.ฟ.ท.เพื่อให้บริหารที่ตลาดนัดจตุจักรต่อไป หลังจากผู้ค้าเข้ามายื่นหนังสือในครั้งนี้แล้ว ก็จะไม่มีการต่อต้านจากทางผู้ค้าอีก หากมีการต่อต้านก็คงไม่ใช่ผู้ค้า โดยในวันที่ 2 มกราคมนี้ ร.ฟ.ท.ได้ประสานไปยังตำรวจนครบาล ให้ส่งเจ้าหน้าที่มารักษาความปลอดภัยที่ตลาดนัดจตุจักรประมาณ 100 นาย เพื่อคุ้มครองผู้ค้า และป้องกันผู้ที่ไม่หวังดีเข้ามาสร้างสถานการณ์ ขณะเดียวกันก็จะตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความปลอดภัยไว้ที่ตลาดนัดจตุจักรชั่วคราวด้วย”
ทั้งนี้ ยืนยันว่าการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรในช่วงแรก ร.ฟ.ท.ไม่จำเป็นต้องเข้าพื้นที่ไปบริหาร เพราะการบริหารงานสามารถทำที่สำนักงาน ร.ฟ.ท.ก็ได้ โดย ร.ฟ.ท.จะให้เวลา กทม. 6 เดือน ย้ายสิ่งของที่เป็นของ กทม.ออกไปให้หมด หากไม่ยอมย้ายออกภายในระยะเวลาดังกล่าว ร.ฟ.ท.ก็จะร้องเรียนไปยังกระทรวงมหาดไทย ว่า กทม.ทำผิดสัญญา และดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป
“ที่ให้เวลา กทม. 6 เดือน เพราะในหนังสือแนบท้ายสัญญาเปิดโอกาสให้สามารถเคลื่อนย้ายสิ่งออกไปได้หมดเท่านั้น ไม่มีอะไรมากกว่านี้”
พล.ต.ต.สันติ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ได้ส่งหนังสือไปยัง กทม.แจ้งให้ทราบตามระเบียบแล้วว่า ร.ฟ.ท.จะเข้าไปบริหารจัดการแทน ตอนนี้ก็รอหนังสือตอบกลับจาก กทม.อยู่ แต่หาก กทม.ไม่ตอบกลับก็ไม่มีผลอะไร เพราะในเมื่อสัญญาระหว่าง กทม.กับ ร.ฟ.ท. สิ้นสุดลง ร.ฟ.ท.ก็สามารถเข้าไปบริหารจัดการพื้นที่ของ ร.ฟ.ท.ได้ทันที โดยในอนาคตยังเตรียมจับมือกับทางผู้ค้าดำเนินงานด้านการตลาดเพิ่มเติม นอกเหนือจากการเปิดให้เช่าแผงฟรีใน 2 เดือนแรกที่ ร.ฟ.ท.เข้าบริหารจัดการ
อย่างไรก็ตาม การตั้งบริษัท ตลาดนัดจตุจักร ร.ฟ.ท. จำกัด ขึ้นมาบริหารตลาดนัดจตุจักรนั้น ที่ผ่านมาได้เสนอให้ ครม.รับทราบแล้ว โดย ร.ฟ.ท.จะถือหุ้น 100% ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดตั้ง
“แผงค้าที่เห็นด้วยกับมติ ครม. ขณะนี้มีประมาณ 80-90% จึงคาดว่าจะไม่เป็นปัญหา ส่วนแผงค้าที่มีอยู่ในตลาดนัดจตุจักรรวมทั้งหมดมีประมาณ 10,000 แผง จดทะเบียนถูกต้องมีประมาณ 8,000 แผง ที่เหลือเป็นแผงเถื่อน”
ด้านพล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การที่ผู้ค้ามายื่นหนังสือเพื่อให้การสนับสนุนดังกล่าว ถือว่าเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับนโยบาย และยืนยันว่าจะให้ความเป็นธรรมกับผู้ค้า ส่วนการเข้าพื้นที่บริหารนั้น ไม่น่าเป็นห่วงเพราะกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยราชการภายใต้รัฐบาลเดียวกัน ไม่น่ามีปัญหา
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวานนี้ ( 29 ธ.ค. ) นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้สดถาม พล.ต.อ.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม เรื่องความชัดเจนในการบริหารตลาดนัดจตุจักรในอนาคต ว่า กทม. เคยเช่าอยู่ที่ 24 ล้านบาท ขณะที่รัฐบาลกระชากราคาขึ้น 420 ล้านบาท ในปีหน้า เวลานี้มีการให้ผู้ค้ามาลงทะเบียนกับการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. โดยจะให้เช่าฟรี 2 เดือน จึงขอถามว่า รฟท.มีแผนบริหารตลาดนัดจตุจักรในช่วงหลังจากนั้นอย่างไร จะขึ้นค่าเช่าหรือไม่ ในอัตราเท่าไร หรือจะให้เอกชนมาบริหารในรูปแบบใด เพราะจะมีการนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมครม.สัปดาห์หน้า จะจัดตั้งรูปแบบบริษัทที่ รฟท. ถือหุ้น 100 เปอร์เซนต์ ทั้งที่ กทม. ขอต่อรองขึ้นค่าเช่าเป็น 79 ล้านบาท เท่ากับตลาด อตก. ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อยากทราบว่าบริษัทนี้ หน้าตาเป็นอย่างไร และจะทำอย่างไรให้ได้เงินมา 420 ล้านบาท ภายใน 10 เดือน และรูปแบบองค์กรที่จะตั้งขึ้น เป็นแบบใด
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม ชี้แจงแทนว่า ต้องขอบคุณ กทม.ที่บริหารตลาดนัดจตุจักรมา 30 ปี จนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก และยืนยันว่า ไม่ได้มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง และจะทำต่อให้ดีที่สุด
ส่วนที่มาของรายได้ที่ประเมิน 420 ล้านบาทนั้น เพราะได้ให้ผู้เชี่ยวชาญ ตีราคาสินทรัพย์ว่า ควรจะมีมูลค่าเท่าไร คือ ถ้าจะเช่า 30 ปี ควรให้เช่าปีละ 420 ล้านบาท จึงมีแนวคิดที่จะตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อดูแลเรื่องนี้ โดยตนได้ให้นโยบายกับการรถไฟฯ ว่า เนื่องจากเรามีทรัพย์สินมหาศาล เป็นปณิธานของ ร.5 ที่ประทานให้มีรายได้เพื่อดูแลการรถไฟฯ เราจึงอยากทำเอง เราให้กทม.ทำมา 30 ปี มีรายได้เพียง 180 ล้านบาท ถือว่าน้อยมาก จึงอยากทำเอง เพื่อให้มีรายได้มากขึ้น และรับรองจะพัฒนาให้ดี มีชื่อเสียงเหมือนเดิม ขณะนี้มีการร่างระเบียบต่างๆไว้เรียบร้อยแล้ว หาก กทม.ส่งมอบอย่างราบรื่น ทุกอย่างก็จะเกิดผลดีกับผู้ค้าทั้งหมด
ส่วนการเจรจาค่าเช่า มีการตั้งทีมขึ้นมา 27 คณะ เพื่อเจรจาว่าควรจะตั้งราคาเท่าไร เพื่อให้อยู่ได้ทั้งสองฝ่าย คาดว่าจะได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
นายอรรถวิชช์ ถามว่า ตนถามถึงแผนงานที่จะมีใน 10 เดือน คืออะไร ยังไม่มีการตอบชัดเจน แสดงให้เห็นถึงความอ้ำอึ้ง เป็นไปได้อย่างไร ที่การรถไฟฯ จะเอาตลาดนัดจตุจักร ซึ่งเป็นแลนด์มาร์ค เป็นที่ที่นักท่องเที่ยวต้องมาเที่ยวที่นี่ สุดท้ายหนีไม่ออกที่จะต้องไปให้เอกชนเช่า แต่ขอเตือนว่า อำนาจตาม พ.ร.บ.การรถไฟฯ ไม่สามารถตั้งองค์กรมาบริหารตลาดนัดจตุจักรได้ เพราะมาตรา 9 ระบุ ถึงอำนาจของการรถไฟฯ ที่ทำได้คือ ให้เช่าที่ได้ และ (10) ที่มีการแก้ไขระบุให้การรถไฟ สามารถตั้งบริษัทมหาชน เพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการรถไฟ และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟฯ แต่กิจการตลาดไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟ หากรัฐบาลจะตั้งขึ้นมา จะต้องมีจุดจบเหมือนกรณีหวยสองตัว สามตัว
"เรื่องนี้คิดให้ดี สุดท้ายแล้วมันจะทำไม่ได้ ลองนึกถึงอดีตตลาดนัดซันเดย์ ที่การรถไฟฯ ให้สัมปทานกับเอกชน แล้วมีการเปลี่ยนมือ ใช้มุกเดียวกันคือ จะทำเอง ให้ผู้เช่ามาทำสัญญาใหม่ สุดท้ายก็ไม่ได้ทำเอง สัมปทานให้กับรายอื่นไป ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง ยิงกันตาย ถือเป็นความล้มเหลวอีกหนึ่งเรื่องของการบริหารของการรถไฟฯ ตอนนี้มารูปเดียวกับตลาดนัดจตุจักร จึงขอถามอีกครั้งว่า แผนการที่เตรียมไว้ คืออะไร และถ้าสมมุติไม่มีอำนาจในการทำ แล้วจะคืนมาให้ กทม.หรือไม่ หรือจะให้สัมปทานกับเอกชนไปบริหาร"
พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวยืนยันว่าการรถไฟฯ สามารถบริหารตลาดนัดจตุจักรได้ และหากไม่ได้ ก็จะไม่คืนกลับไปให้ กทม.ทำแน่นอน ส่วนรายละเอียดค่าเช่า 420 ล้านบาท ตนยังตอบวันนี้ไม่ได้ เพราะเพิ่งเริ่มต้น ตลาดจตุจักรยังอยู่ในมือของกทม.จนถึงวันที่ 2 ม.ค.
นายอรรถวิชช์ กล่าวสรุปว่า หากยืนยันว่าแม้จะทำไม่ได้ ก็ไม่คืนให้กทม. แล้วจะให้ใครทำ ตนยืนยันว่า อ่านกฏหมายครบ และมั่นใจว่าทำไม่ได้ แน่นอน หากรัฐบาลมั่นใจก็ลองนำเข้าครม. จะเจอเหมือนกรณีหวยบนดิน ที่อดีตประธานบอร์ด ผอ.กองสลาก ถูกตัดสินจำคุก สุดท้ายรอลงอาญา เพราะไปทำโดยที่ ครม.อนุมัติโดยไม่มีอำนาจ ขอเตือนว่าเรื่องนี้จะนำไปสู่ทางตัน และอาจจะเกิดปัญหายิงกันตาย เหมือนตลาดนัดซันเดย์
"ตลาดแห่งนี้ คือความภูมิใจของคนทั้งประเทศ ดังไปทั่วโลก ท่านกำลังทำลายวัฒนธรรมตลาดนัดจตุจักร และหนีไม่พ้นทางสุดท้าย เวลาที่ทำอะไรไม่ได้แล้ว คือให้สัมปทานคนอื่น จะทำให้วัฒนธรรมเหล่านี้หายไป เรื่องนี้ชัดเจนว่า ท่านต้องการจะเอาคืนเท่านั้น" นายอรรถวิชช์ กล่าว
**ปชป.จี้รัฐบาลทบทวน
นายชนินทร์ รุ่งแสง ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ได้มีการตั้งกระทู้ถามรมว.คมนาคมแล้ว แต่ก็ไม่มีความชัดเจนเกิดขึ้น และปฎิเสธเรื่องที่จะให้ กทม.เข้ามาบริหารต่อ โดยให้เหตุผลว่า ที่ผ่านมาตลาดนัดจตุจักร มีการบริหารที่ล้มเหลว ซึ่งในความเป็นจริง ตลอดเวลาที่ กทม.บริหารตลาดนัดมา ตลาดนัดจตุจักร กลายเป็นสถานที่ๆ มีชื่อเสียงสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างมาก
นายชนินทร์ กล่าวว่า การดำเนินการขณะนี้ เหมือนมีนัยยะบางอย่างแอบแฝง เพราะในวันนี้ ก็ยังตอบไม่ได้ว่าการเข้ามาบริหารตลาดนัดจตุจักรของการรถไฟนั้น จะบริหารอย่างไร เช่น การเก็บขยะ หรือการเก็บค่าเช่ารายเดือน มีเพียงกรอบกว้างๆว่าการรถไฟจะเข้ามาดูแลเท่านั้น และยังมีการเสนอต่อครม. เพื่อเห็นชอบในหลักการ จัดตั้งบริษัทลูก เพื่อบริหารจัดการพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร ซึ่งข้อนี้ตนคิดว่า มีกลุ่มคนที่มองว่าตลาดนัดจตุจักร เป็นขุมทรัพย์ และวันหนึ่งตลาดนัดจตุจักร ก็อาจจะตกไปสู่มือของเอกชนรายใดรายหนึ่ง
นายชนินทร์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 20 พ.ย. ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาประชุม ซึ่งทางการรถไฟ ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม โดยตัวแทนของการรถไฟ ระบุว่า การดำเนินการดังกล่าว ทำตามมติของบอร์ดการรถไฟ แต่ยอมรับว่า การรถไฟ ไม่พร้อมที่จะเข้ามาบริหารพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร และคงทำได้ไม่ดีเท่ากับ กทม. อย่างแน่นอน ดังนั้น ตนอยากเรียกร้องไปยังรัฐบาล เพื่อให้ทบทวนเรื่องนี้อีกครั้ง เพราะตลาดนัดจตุจักร ถือเป็นสมบัติของประชาชน ไม่ได้เป็นของการรถไฟแต่เพียงผู้เดียว
รายงานข่าวจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แจ้งว่า ขณะนี้กทม.ยังไม่ได้รับมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)ที่ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เข้าไปบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร เมื่อมติครม.ยังไม่ชัดเจนว่ากทม.หมดอำนาจในการบริหารตลาดนัดจตุจักร ดังนั้น กทม.จึงจะประกาศยกเว้นการเก็บค่าแผงจากผู้ค้า ตั้งแต่เดือนม.ค. 2555 เป็นต้นไป จนกว่าจะได้ข้อยุติว่าหน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบเข้าบริหารตลาดนัดที่แท้จริง และขณะนี้กทม.ยังไม่สามารถตอบคำถามผู้ค้าได้ ว่ากทม.จะได้บริหารต่อไปหรือไม่
รายงานข่าวจากกทม.แจ้งว่าระหว่างที่รอว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมติครม.ทางใดทางหนึ่งหรือไม่ในระหว่างนี้ นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม.อาจจะเข้าไปเจรจานอกรอบกับทาง รฟท. และกระทรวงคมนาคมอีกครั้ง เนื่องจากนายพรเทพมีความสนิทสนมกับผู้บริหารกับทั้ง 2 หน่วยงานพอสมควร อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการเจรจาน่าจะเป็นไปได้ยาก เพราะตลาดนัดจตุจักรมีการแบ่งเค้กกันเรียบร้อยแล้ว แต่กทม.ก็จะใช้แนวทางต่อสู้ทางกฎหมายต่อไป
รายงาน ข่าวระบุว่าในวันนี้ (30 ธ.ค.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. จะแถลงข่าวถึงความคืบหน้าเรื่องตลาดนัดจตุจักรอีกครั้ง
*** คค.-มท.พรรคเดียวกันเคลียร์ได้
วานนี้ (29 ธ.ค.) เวลาประมาณ 14.30 น. ตัวแทนผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักร จาก 17 โครงการ ประมาณ 30 คน ได้เข้ายื่นหนังสือถึง พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม มีข้อเสนอ 9 ข้อโดยมี พล.ต.ต.สันติ วิจักขณา กรรมการ(บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) รับหนังสือแทน
นายชาตรี โสภณบรรณารักษ์ นายกสมาคมผู้ประกอบการค้าตลาดนัดจตุจักร กล่าวว่า กลุ่มตัวแทนผู้ค้า 17 โครงการ เห็นด้วย และยอมรับมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่ให้ ร.ฟ.ท.เข้าบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร เนื่องจากการเข้าบริหารจัดการของ ร.ฟ.ท.ไม่ได้ส่งผลกระทบกับทางผู้ค้า และตลาดนัดจตุจักรยังคงเปิดค้าขายเหมือนเดิม หากในวันที่ 2 มกราคม 2555 เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น จะไม่เกี่ยวข้องกับทางผู้ค้าแน่นอน
ผู้ค้าได้มีข้อเสนอเพิ่มเติม 9 ข้อ คือ
1. ขอให้ทางกระทรวงคมนาคมประสานกับกรุงเทพมหานคร(กทม.) ให้ส่งมอบพื้นที่โดยไม่มีผลกระทบกับผู้ค้าในตลาดนัด และ ร.ฟ.ท.ต้องบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรให้ดี และต่อเนื่องในทุกด้าน
2. อัตราค่าเช่าต้องชัดเจน และเป็นธรรมกับผู้ค้า เพื่อให้ผู้ค้าสามารถประกอบกิจการได้
3. ผู้ค้าที่มีชื่อในทะเบียนแผงค้าเดิมจากทางกทม. ต้องได้สิทธิทำการค้าเหมือนเดิม และต้องอยู่ที่เดิมห้ามนำผู้อื่นมาสวมสิทธิ์โดยเด็ดขาด
4. ผู้ค้าจุดผ่อนผัน จุดผ่อนปรน พื้นที่สีเขียว ผู้ค้าต้นไม้ แผงค้าซุ้มไก่ชน หรือจุดที่ได้รับอนุญาตจากทาง กทม. ที่มีใบเสร็จถูกต้อง ต้องได้สิทธิทำการค้าในที่เดิม และขอให้ออกสมุดแผงค้าอย่างถูกต้อง
5. กฎระเบียบและการบริหารตลาดนัดต้องชัดเจน และเป็นธรรมกับผู้ค้า และให้มีการต่อสัญญาในระยะยาวกับผู้ค้า(30 ปี)
6. ต้องไม่แปรรูปให้เอกชนเข้ามาบริหาร
7. กลุ่มผู้ค้ายินดีสนับสนุน และร่วมกิจกรรมต่างๆในเชิงสร้างสรรค์
8. ขอให้ปรับปรุงเรื่องสาธารณูปโภค เช่น ระบบไฟฟ้า ประปา ห้องสุขา
9 . ขอให้คงเอกลักษณ์เป็นตลาดนัดชั้นเดียวอย่างนี้ตลอดไป
นายสมศักดิ์ ลิ้มโสภิตพรรณ หัวหน้าโครงการ 15 ตลาดนัดจตุจักร ที่ก่อนหน้านี้ออกมาต่อต้าน ร.ฟ.ท.อย่างหนักเพื่อให้ กทม.บริหารเหมือนเดิม กล่าวว่า เมื่อ ครม.มีมติออกมาแล้วก็พร้อมยอมรับ แต่การเข้ามาของ ร.ฟ.ท.ต้องไม่ทำให้ผู้ค้าเดือดร้อน และต้องการให้คงความเป็นตลาดนัดจตุจักรที่ทั้งคนไทยและคนทั่วโลกรู้จักไว้ โดยหลังจากนี้ยืนยันว่าจะไม่มีการเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านอีก ถึงแม้ กทม.จะไม่ยินยอมให้ ร.ฟ.ท.เข้าบริหารจัดการก็ตาม
“ยินดีที่ทางผู้ค้าจะทำงานร่วมกับ ร.ฟ.ท.เพื่อให้บริหารที่ตลาดนัดจตุจักรต่อไป หลังจากผู้ค้าเข้ามายื่นหนังสือในครั้งนี้แล้ว ก็จะไม่มีการต่อต้านจากทางผู้ค้าอีก หากมีการต่อต้านก็คงไม่ใช่ผู้ค้า โดยในวันที่ 2 มกราคมนี้ ร.ฟ.ท.ได้ประสานไปยังตำรวจนครบาล ให้ส่งเจ้าหน้าที่มารักษาความปลอดภัยที่ตลาดนัดจตุจักรประมาณ 100 นาย เพื่อคุ้มครองผู้ค้า และป้องกันผู้ที่ไม่หวังดีเข้ามาสร้างสถานการณ์ ขณะเดียวกันก็จะตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความปลอดภัยไว้ที่ตลาดนัดจตุจักรชั่วคราวด้วย”
ทั้งนี้ ยืนยันว่าการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรในช่วงแรก ร.ฟ.ท.ไม่จำเป็นต้องเข้าพื้นที่ไปบริหาร เพราะการบริหารงานสามารถทำที่สำนักงาน ร.ฟ.ท.ก็ได้ โดย ร.ฟ.ท.จะให้เวลา กทม. 6 เดือน ย้ายสิ่งของที่เป็นของ กทม.ออกไปให้หมด หากไม่ยอมย้ายออกภายในระยะเวลาดังกล่าว ร.ฟ.ท.ก็จะร้องเรียนไปยังกระทรวงมหาดไทย ว่า กทม.ทำผิดสัญญา และดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป
“ที่ให้เวลา กทม. 6 เดือน เพราะในหนังสือแนบท้ายสัญญาเปิดโอกาสให้สามารถเคลื่อนย้ายสิ่งออกไปได้หมดเท่านั้น ไม่มีอะไรมากกว่านี้”
พล.ต.ต.สันติ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ได้ส่งหนังสือไปยัง กทม.แจ้งให้ทราบตามระเบียบแล้วว่า ร.ฟ.ท.จะเข้าไปบริหารจัดการแทน ตอนนี้ก็รอหนังสือตอบกลับจาก กทม.อยู่ แต่หาก กทม.ไม่ตอบกลับก็ไม่มีผลอะไร เพราะในเมื่อสัญญาระหว่าง กทม.กับ ร.ฟ.ท. สิ้นสุดลง ร.ฟ.ท.ก็สามารถเข้าไปบริหารจัดการพื้นที่ของ ร.ฟ.ท.ได้ทันที โดยในอนาคตยังเตรียมจับมือกับทางผู้ค้าดำเนินงานด้านการตลาดเพิ่มเติม นอกเหนือจากการเปิดให้เช่าแผงฟรีใน 2 เดือนแรกที่ ร.ฟ.ท.เข้าบริหารจัดการ
อย่างไรก็ตาม การตั้งบริษัท ตลาดนัดจตุจักร ร.ฟ.ท. จำกัด ขึ้นมาบริหารตลาดนัดจตุจักรนั้น ที่ผ่านมาได้เสนอให้ ครม.รับทราบแล้ว โดย ร.ฟ.ท.จะถือหุ้น 100% ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดตั้ง
“แผงค้าที่เห็นด้วยกับมติ ครม. ขณะนี้มีประมาณ 80-90% จึงคาดว่าจะไม่เป็นปัญหา ส่วนแผงค้าที่มีอยู่ในตลาดนัดจตุจักรรวมทั้งหมดมีประมาณ 10,000 แผง จดทะเบียนถูกต้องมีประมาณ 8,000 แผง ที่เหลือเป็นแผงเถื่อน”
ด้านพล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การที่ผู้ค้ามายื่นหนังสือเพื่อให้การสนับสนุนดังกล่าว ถือว่าเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับนโยบาย และยืนยันว่าจะให้ความเป็นธรรมกับผู้ค้า ส่วนการเข้าพื้นที่บริหารนั้น ไม่น่าเป็นห่วงเพราะกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยราชการภายใต้รัฐบาลเดียวกัน ไม่น่ามีปัญหา