xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

“อุกฤษ มงคลนาวิน” ปฏิบัติการ “ปฏิวัติเงียบ” ของเนติบริกร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายอุกฤษ มงคลนาวิน
ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - เรียกว่า สร้างความสั่นสะเทือนต่อกระบวนการยุติธรรมและศาลไทยเป็นอย่างยิ่งทีเดียว สำหรับการที่คณะรัฐมนตรีของ “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” มีมติแต่งตั้ง “นายอุกฤษ มงคลนาวิน” ให้ดำรงตำแหน่งประธารคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ(คอ.นธ.)

เนื่องเพราะภารกิจของนายอุกฤษนั้นชัดเจนแล้วว่า จะเข้ามาปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของไทย

เหตุที่ต้องกล่าวว่าสร้างความสั่นสะเทือนต่อกระบวนการยุติธรรมและระบบศาลนั้นก็เพราะ หนึ่ง-เป็นคณะกรรมการที่อยู่ๆ ก็ปรากฏตัวต่อสาธารณชนแบบสายฟ้าฟาด เสมือนมี “ใบสั่งทางการเมือง” ชี้นิ้วสั่งการให้มาทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ และสอง-ตัวประธานคณะกรรมการเองนั้น จากการตรวจสอบสายสัมพันธ์ย้อนหลังกลับไปก็พบว่า มีความแนบแน่นกับทั้ง “นช.ทักษิณ ชินวัตร” และ “คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพ็ชร” จนอาจกล่าวได้ว่า เป็น “เนติบริการ” ระดับ “อาจารย์” ที่ถูกใช้งานเป็นประจำ

สำหรับภารกิจของคณะกรรมการชุดนี้นั้น ระบุเอาไว้อย่างชัดแจ้งตามคำแถลงของนางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีว่า “เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐเป็นไปตามหลักนิติธรรมอย่างแท้จริง โดยมุ่งหมายให้เกิดความเป็นธรรม ความชอบธรรมและความเสมอภาคของบุคคลในสังคม ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันการมีกฎหมายที่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม ใช้กฎหมายด้วยความเป็นธรรม สุจริต ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน และเพื่อให้บุคคลมีเสรีภาพและความเสมอภาคตลอดจนได้รับความยุติธรรมจากระบบกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติที่เกิดจากอคติต่างๆ ของผู้มีอำนาจ รวมทั้งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ”

ทั้งนี้ จากขอบข่ายของอำนาจที่ระบุเอาไว้ แสดงให้เห็นว่า ขอบขายการทำงานของคณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจมหาศาลเลยทีเดียว เนื่องเพราะครอบคลุมทุกสถาบันสำคัญๆ ของราชอาณาจักรไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาล

คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ การทำให้สอดคล้องกับหลักนิติธรรมที่ว่านั้น หมายความว่าอย่างไร

และจะเชื่อมั่นได้อย่างไรว่า หลักนิติธรรมที่ว่านั้นจะไม่เอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง หรือเป็นประโยชน์แก่พรรคพวกเพื่อนพ้องของตัวเอง เพราะในช่วงที่ผ่านมาแสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่า ใครคือทำให้ระบบนิติรัฐของประเทศไทยพินาศย่อยยับ

ถ้ากฎหมายใดไม่เป็นผลดีกับตัวเองก็กล่าวหาว่าเป็น 2 มาตรฐาน

ขณะเดียวกันถ้ากฎหมายใดเป็นผลดีกับตัวเองก็โหมประโคมข่าวว่า เป็นยอดของกฎหมาย ตัดสินถูกต้องแล้ว
กรณีซุกหุ้นภาค 1 เอย
กรณีที่ดินรัชดาฯ เอย
กรณียึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านเอย ฯลฯ

แน่นอน สังคมคงยังจำกันได้กับดุษฎีบัณฑิตปริญญาเอกทางกฎหมายอย่าง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่ขณะนี้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนนายกรัฐมนตรี เคยกล่าวถึง นช.ทักษิณ ผู้เป็นลูกพี่ของตัวเองเอาไว้ว่า “ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย แต่ทำในสิ่งที่กฎหมายห้ามเอาไว้”

เฉกเช่นเดียวกับที่สังคมยังคงจำกันได้ถึงการที่พรรคเพื่อไทย แกนนำคนเสื้อแดงระบบกฎหมายของประเทศนี้ว่า ไม่ยุติธรรมบ้าง 2 มาตรฐานบ้าง

ดังนั้น จึงไม่แปลกใจอะไรที่จะเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั่วทั้งแผ่นดินเยี่ยงนี้

ดังนั้น จึงไม่แปลกใจอะไรที่สังคมจะตั้งคำถามเอากับการก่อกำเนิดของคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติว่ามีสาเหตุมาจากการที่ นช.ทักษิณอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากระบบยุติธรรมสองมาตรฐาน และคนเสื้อแดงเชื่อว่านั่นเป็นสาเหตุให้พวกเขาต้องมาชุมนุมและเรียกร้องให้ประเทศมีประชาธิปไตย

ขณะเดียวกันเมื่อพินิจพิเคราะห์ถึงตัวประธานคณะกรรมการฯ คือนายอุกฤษเองนั้น ก็มิอาจปฏิเสธได้ว่า มีสายสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับทั้ง นช.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ในระดับที่ใช้คำนำหน้าว่า “อาจารย์” ทุกครั้งไป

และหากยังจำได้กัน นายอุกฤษผู้นี้ นช.ทักษิณเคยแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการอิสระเพื่ออำนวยความยุติธรรมและเสริมสร้างสิทธิเสรีภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้(กอ.ยส.จชต.) ภายหลังจากที่ นช.ทักษิณไม่พอใจนายอานันท์ ปันยารชุนที่สรุปบทเรียนการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ของ นช.ทักษิณว่าเป็นการดำเนินนโยบายรัฐที่ผิดพลาด

และหากยังจำกันได้ นายอุกฤษผู้นี้ก็คืออดีตประธานรัฐสภายุคเผด็จการ รสช.ที่มี พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ ซึ่งพล.อ.สุนทรผู้นี้ไม่ต้องเอ่ยปากก็รับรู้กันได้ว่า มีความแนบแน่นกับ นช.ทักษิณแค่ไหน เพราะถ้าไม่มี พล.อ.สุนทรก็ไม่มี นช.ทักษิณในวันนี้

นอกจากนั้น ความพิลึกพิลั่นอีกประการหนึ่งก็คือ ตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เองที่ไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ กล่าวคือ แม้ตัวนายกรัฐมนตรีจะยืนยันว่าคณะกรรมการชุดนี้จะไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่กลับไม่มีความชัดเจนในเรื่องภาระหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ชุดนี้ เพราะเมื่อถูกถามย้ำว่ามีการมองว่าตั้งขึ้นมาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นายกรัฐมนตรีกลับตอบว่า “ต้องดูที่ตัวคณะกรรมการที่นายอุกฤษจะเชิญมาร่วม ขอให้แต่งตั้งอย่างเป็นทางการก่อน จากนั้นนายอุกฤษคงจะชี้แจง”

น.ส.ยิ่งลักษณ์ตอบคำถามราวกับไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่อะไร ตั้งขึ้นมาทำอะไร

น.ส.ยิ่งลักษณ์ตอบคำถามราวกับว่า มีคนเตรียมการเรื่องนี้เสร็จสรรพเรียบร้อยและชงเข้ามาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ซึ่งครม.ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็มีมติเห็นชอบไปตามแผนที่วางเอาไว้ก็เท่านั้น

แต่ผู้ที่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ที่สุดก็คือผู้สำเร็จราชการแทนนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ ร.ต.อ.เฉลิมที่ตอบคำถามเอาไว้ว่า “การปฏิรูปกฎหมายทั้งหมดนั้น อะไรที่ไม่เป็นธรรมจะต้องสังคายนาใหม่ ...ที่เกรงกันว่าจะไปปฏิรูปศาลยุติธรรมนั้น ในส่วนศาลคงไม่มีผู้ใดที่จะปฏิรูปได้ แต่ในส่วนกฎหมายสามารถทำได้ ซึ่งกฎหมายที่ศาลใช้อยู่ทุกวันนี้รัฐสภาเป็นผู้ออก”

ร.ต.อ.เฉลิมกำลังทำให้สังคมเข้าใจไปว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะไม่ไปยุ่งกับการปฏิรูปศาลยุติธรรม แต่จะยุ่งกับกฎหมายที่ไม่มีความเป็นธรรม เพื่อวางกรอบวางระเบียบปฏิบัติเสียใหม่ให้ศาลในฐานะผู้ใช้งานเดินตามใช่หรือไม่

นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา ในฐานะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ประธานวุฒิสภา วิเคราะห์เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า หากดูตามอำนาจที่เขียนไว้เท่ากับเป็นการรื้อระบบกฎหมายของประเทศ ทั้งส่วนตุลาการ นิติบัญญัติและบริหาร โดยเท่ากับจะมีการยกเลิกเพิกถอนกฎหมายของประเทศ รวมถึงรัฐธรรมนูญและแนวทางการปกครองของประเทศ อีกทั้งหากกำหนดให้มีอำนาจดังกล่าวจริง จะถือว่า คอ.นธ.จะเป็นหน่วยงานที่เป็นอำนาจใหม่ ใหญ่กว่า 3 อำนาจสูงสุดที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและเป็นอันตราย

“หากทำแบบนี้ รัฐบาลกำลังทำปฏิวัติเงียบใช่หรือไม่ หากจะตั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่เกินกว่าหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถทำได้ อีกทั้งเพราะคำสั่งของ คอ.นธ.นั้นด้อยกว่าพระราชบัญญัติและรัฐธรรมนูญ หาก คอ.นธ.เดินหน้าเรื่องนี้ สมาชิกวุฒิสภาสามารถเข้าชื่อเพื่อส่งให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตีความการทำหน้าที่ว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ และอาจเป็นตัวจุดชวนความวุ่นวายในบ้านเมือง”นายตวงวิเคราะห์

...ถึงตรงนี้ สังคมก็คงต้องช่วยกันจับตามองต่อไปถึงภารกิจของคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติที่มีนายอุกฤษเป็นประธานว่า สุดท้ายแล้วจะมีเป้าประสงค์ตรงตามที่ประกาศเอาไว้ และจะมีวาระซ่อนเร้นหรือไม่ะเป็นที่รับรูั้ฐมนตรีของ "
กำลังโหลดความคิดเห็น