วันที่ 14 กรกฎาคม 2551 นายสมาน ศรีงาม แกนนำกลุ่มธรรมยาตรา พาคณะรวม 9 คนไปนั่งปฏิบัติธรรมบริเวณใกล้ปราสาทพระวิหารที่เป็นพื้นที่ของประเทศไทยแต่ถูกทหารกัมพูชาเข้ามาครอบครองหรือที่รู้จักกันในเวลาต่อมาว่าพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร จุดที่เข้าไปนั้นอยู่ใกล้ประตูเหล็กทางขึ้นปราสาทพระวิหารที่กัมพูชาปิดไว้ การนั่งปฏิบัติธรรมเป็นไปตลอดคืน จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 พระคำพอง ฐิติธรรมโม, นางชนิกานต์ เก่งนอก และนายวิชาญ ทับซ้อน ได้ปีนรั้วประตูเหล็กข้ามไปนั่งปฏิบัติธรรมตรงสะพานข้ามลำห้วยตานี ติดตลาดชุมชนกัมพูชา
ทหารกัมพูชาควบคุมตัวทั้ง 3 คนในเวลาประมาณ 06.00 น.
เป็นเหตุให้ทหารไทยภายใต้การควบคุมของพล.ท.กนก เนตระคะเวสนะ (ขณะนั้นมียศพล.ต.) ผบ.กองกำลังสุรนารี ประมาณ 150 - 200 คนเคลื่อนกำลังไปเข้ากดดันหลังการเจรจาปกติไม่ทำให้ทหารกัมพูชาปล่อยตัวคนไทยทั้งสามออกมา
เป็นผลให้ทหารกัมพูชาปล่อยตัวคนไทยออกมาในช่วงไม่เกิน 14.00 น.วันนั้น
ทหารพรานวิไล อารมณ์ อายุ 52 สังกัดกองร้อยทหารพรานที่ 2301 กรมทหารพรานที่ 23 ซึ่งถูกส่งไปลาดตระเวนพื้นที่ใกล้เคียง เดินไปเหยียบกับระเบิดไม่ทราบชนิด ที่ฝังอยู่บริเวณภูมะเขือ ด้านทิศเหนือปราสาทพระวิหารประมาณ 3 กิโลเมตร บาดเจ็บสาหัสขาขวาขาด ในเวลาใกล้เคียงกันนั้น
ทหารไทยที่เคลื่อนกำลังเข้าไปในวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 นั้นยังคงรักษาสถานการณ์อยู่อีก 2 ปี 5 เดือนเศษ
มีการปะทะประปรายหลายครั้งสร้างความสูญเสียให้ทั้ง 2 ฝ่าย กรุณาติดตามข่าวสารได้เอง
วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 กลายเป็นวันสำคัญของฝั่งกัมพูชา !
เพราะกัมพูชาเขาถือว่าเป็นวันที่ทหารไทยรุกรานดินแดนกัมพูชา ในสปีชเปิดประชุมของนายวาร์คิมฮอง ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ฝ่ายกัมพูชา ได้กล่าวประณามไทยทุกครั้งตลอดการประชุม JBC ไทย-กัมพูชา 3 ครั้งในเดือนพฤศจิกายน 2551 เดือนกุมภาพันธ์และเดือนเมษายน 2552 โดยที่นายวศิน ธีรเวชญาณ อดีตประธาน JBC ฝ่ายไทย ไม่ได้ลุกขึ้นตอบโต้หรือแก้ต่างแม้แต่ครั้งเดียว
ทั้ง ๆ ที่จุดที่ทหารไทยเคลื่อนกำลังเข้าไป และตั้งมั่นอยู่ที่วัดแก้วศิขาคีรีสะวาระ เป็นแผ่นดินไทยที่แม้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะก็ยืนยันมาตลอดตั้งแต่เป็นผู้นำฝ่ายค้านจนถึงเป็นนายกรัฐมนตรี เพียงแต่เกิดการปล่อยปละละเลยให้ทหารและชุมชนกัมพูชา โดยเฉพาะวัด เข้ามาตั้งอยู่ตั้งแต่ช่วงใกล้ปี 2540 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังปี 2543
การเสียพื้นที่เฉพาะบริเวณตัวปราสาทพระวิหารโดยคำพิพากษาศาลโลกเมื่อปี 2505 ทำทีทำท่าจะกลายเป็นเสียพื้นที่บริเวณรายรอบปราสาทฯในทางปฏิบัติอีกจำนวนหนึ่ง
การเคลื่อนกำลังเข้าไปของทหารไทย 150 - 200 คนภายใต้การนำของพล.ท.กนก เยตระคะเวสนะ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 จึงไม่เพียงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่เป็นเรื่องที่ถูกต้องอย่างยิ่ง
แต่กลายเป็นว่า พล.ท.กนก เยตระคะเวสนะทำผิดครับพี่น้อง !
ผิดอะไรหรือ ?
ผิดเอ็มโอยู 2543 ข้อ 5 ที่บอกว่าห้ามทั้งไทยและกัมพูชาเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ฯ และข้อ 8 ที่ว่าหากมีปัญหาใดให้ใช้วิธีเจรจา !!
ณ วันที่ทำเอ็มโอยู 2543 นั้นต้องเข้าใจว่ากัมพูชารุกล้ำแผ่นดินไทยเข้ามาด้วยหลายเหตุผลหลายจุดเป็นเวลาพอสมควร พอเราไปปักหลักเอาปี 2543 ที่ทำเอ็มโอยูเป็นตัวตั้ง จึงเสมือนจุดที่ทั้ง 2 ฝ่ายตั้งอยู่ ณ วันนั้นจะไปเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ ถ้ามีปัญหาก็ต้องใช้วิธีเจรจาอย่างเดียว จะใช้กำลังทหารเคลื่อนที่เข้าไปโดยพลการไม่ได้ การใด ๆ จะทำได้ก็โดยคณะกรรมการเทคนิคตามเอ็มโอยู 2543 เท่านั้น
กัมพูชาโพนทะนาต่อชาวโลกมาโดยตลอดว่าทหารไทยรุกรานดินแดนเขา ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2551
โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟ้องยูเนสโก
จนยูเนสโกให้เงินมา 50,000 ดอลลาร์สหรัฐเพื่อฟืนฟูตลาดกัมพูชาที่ถูกเผาในช่วงเวลานั้น
หลังวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 รัฐบาลไทยเร่งเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 รวม 2 กรอบ โดยกรอบหนึ่งให้ถอนทหารทั้ง 2 ฝ่ายออกจากบริเวณรายรอบปราสาทพระวิหาร แต่ไม่ได้ระบุให้กัมพูชาถอนชุมชนและวัดออกไปด้วย
และรัฐสภาไทยก็อนุมัติกรอบเจรจาทั้งสองในวันที่ 28 ตุลาคม 2551 แม้ผมจะลงมติคัดค้านแต่ก็เป็นเพียงเสียงข้างน้อย 1 ใน 7 และ 8 เสียงเท่านั้น !
หลังรัฐสภาอนุมติ การเจรจาเกิดขึ้นทันทีในเดือนพฤศจิกายน 2551 และเกิดขึ้นอีก 2 ครั้งในเดือนกุมภาพันธ์และเมษายน 2552 ทั้ง 3 ครั้งมีตัวแบบร่างข้อตกลงชั่วคราวฯแนบบันทึกการประชุมด้วย
ผมและพรรคพวกสมาชิกวุฒิสภา มีคุณไพบูลย์ นิติตะวันเป็นกำลังสำคัญที่แข็งขัน เพียรคตัดค้านทุกรูปแบบจนรัฐบาลไม่สามารถนำบันทึกการประชุมทั้ง 3 ครั้งเข้ามาขอความเห็นชอบจากรัฐสภาได้ง่าย ๆ แม้จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังยื้อกันอยู่โดยมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมของรัฐสภาขึ้นมาพิจารณา และพรรคประชาธิปัตย์เล่นแง่ยืนศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่าบันทึกการประชุมฯไม่ใช่หนังสือสัญญาที่ต้องเข้ามาขออนุมติจากรัฐสภาตามมาตรา 190
แต่แม้จะยื้อกันอยู่ การถอนทหารไทยก็เกิดขึ้นจนได้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2553 เวลา 10.30 น.ตามสปีชของสมเด็จฮุนเซนนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2553
นายกรัฐมนตรีไทยและผู้บัญชาการทหารบกไทยดูเหมือนจะภาคเสธเรื่องการถอนทหารไทย
โดยพูดว่าเป็นการปรับกำลัง !
สปีชของสมเด็จฮุนเซนนั้นชัดเจนมาก และให้ความสำคัญมากขนาดไม่เพียงแต่ระบุวันเท่านั้น ยังระบุเวลาอีกต่างหาก และการก็ปรากฏต่อมาว่าหลังวันที่ 1 ธันวาคม 2553 กัมพูชาได้จัดทำป้ายหินสลักขนาดใหญ่ประดับไว้ ณ ก้อนหินด้านหน้าวัดแก้วศิขาคีรีสะวาระ
“ณ จุดนี้ คือที่ซึ่งคนไทยรุกล้ำ”
และที่ซุ้มประตูวัดแก้วศิขาคีรีสะวาระนี้ ชักธงกัมพูชาประดับไว้อย่างเปิดเผย
มันไม่ใช่แค่คนมือบอนมาเขียนป้ายหยามทหารไทยและชนชาติไทยชนิดเอารองเท้าแตะลูบหน้าเล่นอย่างที่แม่ทัพภาคคนหนึ่งของกองทัพไทยพูดจาจะให้ติดตลก เพราะในหนังสือพิมพ์เกาะสันติภาพฉบับวันที่ 10 มกราคม 2554 ของกัมพูชาเอง มีภาพรัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชามายืนชมป้ายนี้ด้วย เป็นภาพที่ปรากฎในช่วงต้นเดือนมกราคม 2554 นี่เอง น่าจะเป็นวันที่ 8 มกราคม 2554
การต่อสู้ของภาคประชาชนทำให้ข้อมูลเหล่านี้ปรากฏออกมา จนเราสามารถต่อภาพจิ๊กซอว์ได้เกือบ ๆ จะเต็มเฟรมแล้ว
พล.ท.กนก เนตระคะเวสนะ ทหารในทหาร ไม่ได้แพ้ทหารชาติไหนในโลกหรอก
แต่แพ้เอ็มโอยู 2543 แพ้กรอบการเจรจา 28 ตุลาคม 2551 แพ้แนวทางการเจรจาของเจบีซี
และแพ้นักการเมืองทั้ง 2 ฝั่งฟากประเทศ !
ฟากกัมพูชา เราเข้าใจเขาได้ครับว่าวางแผนมาโดยลำดับตั้งแต่ผลักดันให้เกิดเอ็มโอยู 2543 ข้อ 1 (ค) ก็เพื่อสานฝันทำให้ปราสาทพระวิหารและบริเวณโดยรอบตกเป็นของเขาทั้งหมด หลังได้มาเฉพาะตัวปราสาทโดยศาลโลกในปี 2505
แต่ฟากประเทศไทย แม่จะเข้าใจแต่ยากจะยอมรับได้ว่าทำไปเพื่ออะไร ?
ทหารกัมพูชาควบคุมตัวทั้ง 3 คนในเวลาประมาณ 06.00 น.
เป็นเหตุให้ทหารไทยภายใต้การควบคุมของพล.ท.กนก เนตระคะเวสนะ (ขณะนั้นมียศพล.ต.) ผบ.กองกำลังสุรนารี ประมาณ 150 - 200 คนเคลื่อนกำลังไปเข้ากดดันหลังการเจรจาปกติไม่ทำให้ทหารกัมพูชาปล่อยตัวคนไทยทั้งสามออกมา
เป็นผลให้ทหารกัมพูชาปล่อยตัวคนไทยออกมาในช่วงไม่เกิน 14.00 น.วันนั้น
ทหารพรานวิไล อารมณ์ อายุ 52 สังกัดกองร้อยทหารพรานที่ 2301 กรมทหารพรานที่ 23 ซึ่งถูกส่งไปลาดตระเวนพื้นที่ใกล้เคียง เดินไปเหยียบกับระเบิดไม่ทราบชนิด ที่ฝังอยู่บริเวณภูมะเขือ ด้านทิศเหนือปราสาทพระวิหารประมาณ 3 กิโลเมตร บาดเจ็บสาหัสขาขวาขาด ในเวลาใกล้เคียงกันนั้น
ทหารไทยที่เคลื่อนกำลังเข้าไปในวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 นั้นยังคงรักษาสถานการณ์อยู่อีก 2 ปี 5 เดือนเศษ
มีการปะทะประปรายหลายครั้งสร้างความสูญเสียให้ทั้ง 2 ฝ่าย กรุณาติดตามข่าวสารได้เอง
วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 กลายเป็นวันสำคัญของฝั่งกัมพูชา !
เพราะกัมพูชาเขาถือว่าเป็นวันที่ทหารไทยรุกรานดินแดนกัมพูชา ในสปีชเปิดประชุมของนายวาร์คิมฮอง ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ฝ่ายกัมพูชา ได้กล่าวประณามไทยทุกครั้งตลอดการประชุม JBC ไทย-กัมพูชา 3 ครั้งในเดือนพฤศจิกายน 2551 เดือนกุมภาพันธ์และเดือนเมษายน 2552 โดยที่นายวศิน ธีรเวชญาณ อดีตประธาน JBC ฝ่ายไทย ไม่ได้ลุกขึ้นตอบโต้หรือแก้ต่างแม้แต่ครั้งเดียว
ทั้ง ๆ ที่จุดที่ทหารไทยเคลื่อนกำลังเข้าไป และตั้งมั่นอยู่ที่วัดแก้วศิขาคีรีสะวาระ เป็นแผ่นดินไทยที่แม้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะก็ยืนยันมาตลอดตั้งแต่เป็นผู้นำฝ่ายค้านจนถึงเป็นนายกรัฐมนตรี เพียงแต่เกิดการปล่อยปละละเลยให้ทหารและชุมชนกัมพูชา โดยเฉพาะวัด เข้ามาตั้งอยู่ตั้งแต่ช่วงใกล้ปี 2540 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังปี 2543
การเสียพื้นที่เฉพาะบริเวณตัวปราสาทพระวิหารโดยคำพิพากษาศาลโลกเมื่อปี 2505 ทำทีทำท่าจะกลายเป็นเสียพื้นที่บริเวณรายรอบปราสาทฯในทางปฏิบัติอีกจำนวนหนึ่ง
การเคลื่อนกำลังเข้าไปของทหารไทย 150 - 200 คนภายใต้การนำของพล.ท.กนก เยตระคะเวสนะ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 จึงไม่เพียงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่เป็นเรื่องที่ถูกต้องอย่างยิ่ง
แต่กลายเป็นว่า พล.ท.กนก เยตระคะเวสนะทำผิดครับพี่น้อง !
ผิดอะไรหรือ ?
ผิดเอ็มโอยู 2543 ข้อ 5 ที่บอกว่าห้ามทั้งไทยและกัมพูชาเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ฯ และข้อ 8 ที่ว่าหากมีปัญหาใดให้ใช้วิธีเจรจา !!
ณ วันที่ทำเอ็มโอยู 2543 นั้นต้องเข้าใจว่ากัมพูชารุกล้ำแผ่นดินไทยเข้ามาด้วยหลายเหตุผลหลายจุดเป็นเวลาพอสมควร พอเราไปปักหลักเอาปี 2543 ที่ทำเอ็มโอยูเป็นตัวตั้ง จึงเสมือนจุดที่ทั้ง 2 ฝ่ายตั้งอยู่ ณ วันนั้นจะไปเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ ถ้ามีปัญหาก็ต้องใช้วิธีเจรจาอย่างเดียว จะใช้กำลังทหารเคลื่อนที่เข้าไปโดยพลการไม่ได้ การใด ๆ จะทำได้ก็โดยคณะกรรมการเทคนิคตามเอ็มโอยู 2543 เท่านั้น
กัมพูชาโพนทะนาต่อชาวโลกมาโดยตลอดว่าทหารไทยรุกรานดินแดนเขา ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2551
โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟ้องยูเนสโก
จนยูเนสโกให้เงินมา 50,000 ดอลลาร์สหรัฐเพื่อฟืนฟูตลาดกัมพูชาที่ถูกเผาในช่วงเวลานั้น
หลังวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 รัฐบาลไทยเร่งเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 รวม 2 กรอบ โดยกรอบหนึ่งให้ถอนทหารทั้ง 2 ฝ่ายออกจากบริเวณรายรอบปราสาทพระวิหาร แต่ไม่ได้ระบุให้กัมพูชาถอนชุมชนและวัดออกไปด้วย
และรัฐสภาไทยก็อนุมัติกรอบเจรจาทั้งสองในวันที่ 28 ตุลาคม 2551 แม้ผมจะลงมติคัดค้านแต่ก็เป็นเพียงเสียงข้างน้อย 1 ใน 7 และ 8 เสียงเท่านั้น !
หลังรัฐสภาอนุมติ การเจรจาเกิดขึ้นทันทีในเดือนพฤศจิกายน 2551 และเกิดขึ้นอีก 2 ครั้งในเดือนกุมภาพันธ์และเมษายน 2552 ทั้ง 3 ครั้งมีตัวแบบร่างข้อตกลงชั่วคราวฯแนบบันทึกการประชุมด้วย
ผมและพรรคพวกสมาชิกวุฒิสภา มีคุณไพบูลย์ นิติตะวันเป็นกำลังสำคัญที่แข็งขัน เพียรคตัดค้านทุกรูปแบบจนรัฐบาลไม่สามารถนำบันทึกการประชุมทั้ง 3 ครั้งเข้ามาขอความเห็นชอบจากรัฐสภาได้ง่าย ๆ แม้จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังยื้อกันอยู่โดยมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมของรัฐสภาขึ้นมาพิจารณา และพรรคประชาธิปัตย์เล่นแง่ยืนศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่าบันทึกการประชุมฯไม่ใช่หนังสือสัญญาที่ต้องเข้ามาขออนุมติจากรัฐสภาตามมาตรา 190
แต่แม้จะยื้อกันอยู่ การถอนทหารไทยก็เกิดขึ้นจนได้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2553 เวลา 10.30 น.ตามสปีชของสมเด็จฮุนเซนนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2553
นายกรัฐมนตรีไทยและผู้บัญชาการทหารบกไทยดูเหมือนจะภาคเสธเรื่องการถอนทหารไทย
โดยพูดว่าเป็นการปรับกำลัง !
สปีชของสมเด็จฮุนเซนนั้นชัดเจนมาก และให้ความสำคัญมากขนาดไม่เพียงแต่ระบุวันเท่านั้น ยังระบุเวลาอีกต่างหาก และการก็ปรากฏต่อมาว่าหลังวันที่ 1 ธันวาคม 2553 กัมพูชาได้จัดทำป้ายหินสลักขนาดใหญ่ประดับไว้ ณ ก้อนหินด้านหน้าวัดแก้วศิขาคีรีสะวาระ
“ณ จุดนี้ คือที่ซึ่งคนไทยรุกล้ำ”
และที่ซุ้มประตูวัดแก้วศิขาคีรีสะวาระนี้ ชักธงกัมพูชาประดับไว้อย่างเปิดเผย
มันไม่ใช่แค่คนมือบอนมาเขียนป้ายหยามทหารไทยและชนชาติไทยชนิดเอารองเท้าแตะลูบหน้าเล่นอย่างที่แม่ทัพภาคคนหนึ่งของกองทัพไทยพูดจาจะให้ติดตลก เพราะในหนังสือพิมพ์เกาะสันติภาพฉบับวันที่ 10 มกราคม 2554 ของกัมพูชาเอง มีภาพรัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชามายืนชมป้ายนี้ด้วย เป็นภาพที่ปรากฎในช่วงต้นเดือนมกราคม 2554 นี่เอง น่าจะเป็นวันที่ 8 มกราคม 2554
การต่อสู้ของภาคประชาชนทำให้ข้อมูลเหล่านี้ปรากฏออกมา จนเราสามารถต่อภาพจิ๊กซอว์ได้เกือบ ๆ จะเต็มเฟรมแล้ว
พล.ท.กนก เนตระคะเวสนะ ทหารในทหาร ไม่ได้แพ้ทหารชาติไหนในโลกหรอก
แต่แพ้เอ็มโอยู 2543 แพ้กรอบการเจรจา 28 ตุลาคม 2551 แพ้แนวทางการเจรจาของเจบีซี
และแพ้นักการเมืองทั้ง 2 ฝั่งฟากประเทศ !
ฟากกัมพูชา เราเข้าใจเขาได้ครับว่าวางแผนมาโดยลำดับตั้งแต่ผลักดันให้เกิดเอ็มโอยู 2543 ข้อ 1 (ค) ก็เพื่อสานฝันทำให้ปราสาทพระวิหารและบริเวณโดยรอบตกเป็นของเขาทั้งหมด หลังได้มาเฉพาะตัวปราสาทโดยศาลโลกในปี 2505
แต่ฟากประเทศไทย แม่จะเข้าใจแต่ยากจะยอมรับได้ว่าทำไปเพื่ออะไร ?