ตอนที่ 1 ได้แนะนำสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 และการใช้สิทธิในกลุ่มที่ 1 ที่เป็นการใช้สิทธิในช่วงเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
ตอนที่ 2 เป็นการใช้สิทธิในกลุ่มที่ 2 ที่เป็นการใช้สิทธิภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 31 วรรคสี่
ตอนที่ 3 ที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ต่อเนื่องจากระยะเวลาตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลแยกตามเขตการลงทุน
เขตส่งเสริมการลงทุน 3 เท่านั้นที่จะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ในตอนที่ 2 ได้แนะนำจังหวัดที่อยู่ในเขตการลงทุน 1 และ 2 สำหรับเขตส่งเสริมการลงทุน 3 ครอบคลุมจังหวัดที่เหลือ 58 จังหวัด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 36 จังหวัด และกลุ่ม 22 จังหวัด โดยกลุ่ม 36 จังหวัดจะมีความเจริญมากกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง
โครงการส่งเสริมการลงทุนที่ตั้งอยู่ในกลุ่ม 22 จังหวัดจะได้สิทธิประโยชน์ตามมาตรา 35 (1) ไม่ว่าจะตั้งอยู่ในหรือนอกนิคมอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรม โดยประกอบด้วย จังหวัดพะเยา น่าน หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
การใช้สิทธิของกลุ่มที่ 3 เป็นการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อเนื่องจากระยะเวลาตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง โดยที่มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 ให้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และมาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นการให้สิทธิที่กำหนดตามสัดส่วนของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน
กรณีตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง เงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียนมีจำนวนเท่าใด ก็จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจำนวนเท่านั้น ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ ป.12/2544 เรื่อง การกำหนดสัดส่วน หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวณการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลรวมกันไม่เกินร้อยละ 100 ของเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน สำหรับระยะเวลาการได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นไปตามจังหวัดที่ตั้งของโครงการซึ่งได้รับการส่งเสริมฯ
การนับระยะเวลาการใช้สิทธิจะเริ่มตั้งแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ จนครบจำนวนสัดส่วน หรือครบกำหนดเวลา โดยนับวันชนวัน และการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อเนื่องจากมาตรา 31 วรรคหนึ่งก็จะเกิดขึ้น ซึ่งเกิดได้ 3 วิธี คือ
วิธีที่ 1 การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลครบตามจำนวนเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียนก่อนครบกำหนดเวลาที่ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลก็จะเริ่มขึ้น
วิธีที่ 2 การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลครบตามจำนวนเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน พร้อมกับครบกำหนดเวลาที่ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลก็จะเริ่มขึ้น
วิธีที่ 3 การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลยังไม่ครบตามจำนวนเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน แต่ครบกำหนดเวลาที่ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลก็จะเริ่มขึ้น
วิธีที่ 1 เกิดได้ในกรณีที่กิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ มีผลประกอบการเป็นกำไรสุทธิในระยะแรกๆ ของโครงการ วิธีที่ 2 ก็มีกำไรสุทธิ แต่โอกาสที่จะเต็มสัดส่วน และครบกำหนดเวลาพร้อมกันเป็นไปได้ค่อนข้างน้อย สำหรับวิธีที่ 3 อาจมีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ และ/หรือ กำไรสุทธิจำนวนน้อย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม หากการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลครบจำนวนเงินลงทุน ไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน หรือครบกำหนดเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ครบอันใดอันหนึ่งก่อน หรือครบจำนวนและครบกำหนดเวลาเมื่อใด การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ตามมาตรา 35 (1) ก็จะเริ่มต่อเนื่องทันที
มาตรา 31 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 ให้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ไม่กำหนดสัดส่วนของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจะเริ่มขึ้นต่อเนื่องจากเมื่อครบกำหนดเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น
กรณีที่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ มีผลขาดทุนประจำปียกไป ซึ่งหมายถึง ผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยไม่ต้องนำไปหักออกจากกำไรประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร ตามนิยามของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมฯ ที่ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2540 ตามมาตรา 31 วรรคสี่ หลังจากครบจำนวนเงินลงทุน ไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน หรือครบกำหนดเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสองแล้ว ประกอบกับก็ได้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อเนื่องจากระยะเวลาตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสองด้วย ยิ่งกว่านั้นในกิจการก็มีทั้งกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ และที่ไม่ได้รับการส่งเสริมฯ
กรณีเช่นนี้ ให้นำผลขาดทุนประจำปีจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ทั้งจำนวนไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ที่ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติก่อน ตามมาตรา 31 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 หากยังมีผลขาดทุนประจำปีของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ที่นำมาหักเหลืออยู่อีก ผู้ได้รับการส่งเสริมฯ จึงมีสิทธินำผลขาดทุนประจำปีนั้นไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมฯ ซึ่งเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราปกติได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (12) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 38/2552 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำผลขาดทุนของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่สั่ง ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 ได้วางหลักเกณฑ์ไว้
ตอนที่ 1 ได้แนะนำกลุ่มที่ 1 ที่เป็นการใช้สิทธิในช่วงเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสองนั้น ได้วางหลักในเรื่องของผลขาดทุนประจำปีสะสมยกมาจากปีก่อนของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ผู้ได้รับการส่งเสริมฯ ต้องนำไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อน หากยังมีกำไรสุทธิเหลือจึงมีสิทธินำผลขาดทุนประจำปีของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากรได้
สำหรับในตอนจบนี้ เป็นการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อเนื่องจากระยะเวลาตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ได้วางหลักให้นำผลขาดทุนประจำปีจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ทั้งจำนวนไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ซึ่งได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อน หากผลขาดทุนประจำปีที่นำมาหักนั้นยังเหลืออยู่ จึงจะนำผลขาดทุนประจำปีที่เหลือนั้นไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมฯ
ดังนั้น ไม่เพียงผู้ได้รับการส่งเสริมฯ ต้องจัดทำบัญชีรายรับ และรายจ่ายสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ แยกต่างหากจากกิจการส่วนอื่นเท่านั้น ผลขาดทุนสุทธิที่เกิดขึ้นในกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลก็ให้แยกการนำไปใช้หักกำไรสุทธิต่างหากจากกัน หากผลขาดทุนสุทธิยังคงเหลือจึงจะนำไปหักจากกำไรสุทธิของกิจการอีกส่วนหนึ่งได้ โดยกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมฯ สามารถนำผลขาดทุนสุทธิยกมาจากรอบระยะเวลาบัญชีก่อนไม่เกิน 5 ปี มาหักจากกำไรสุทธิของรอบปีบัญชีถัดมาได้ ตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร
อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่ได้รับการส่งเสริมฯ ได้ศึกษาข้อมูลเรื่องการใช้สิทธิต่างๆ ที่ได้มีการนำเสนอมาทั้งหมดแล้ว ก็จะสามารถใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้น และลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลภายใต้บีโอไอได้อย่างถูกต้องในที่สุด
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
ตอนที่ 2 เป็นการใช้สิทธิในกลุ่มที่ 2 ที่เป็นการใช้สิทธิภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 31 วรรคสี่
ตอนที่ 3 ที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ต่อเนื่องจากระยะเวลาตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลแยกตามเขตการลงทุน
เขตส่งเสริมการลงทุน 3 เท่านั้นที่จะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ในตอนที่ 2 ได้แนะนำจังหวัดที่อยู่ในเขตการลงทุน 1 และ 2 สำหรับเขตส่งเสริมการลงทุน 3 ครอบคลุมจังหวัดที่เหลือ 58 จังหวัด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 36 จังหวัด และกลุ่ม 22 จังหวัด โดยกลุ่ม 36 จังหวัดจะมีความเจริญมากกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง
โครงการส่งเสริมการลงทุนที่ตั้งอยู่ในกลุ่ม 22 จังหวัดจะได้สิทธิประโยชน์ตามมาตรา 35 (1) ไม่ว่าจะตั้งอยู่ในหรือนอกนิคมอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรม โดยประกอบด้วย จังหวัดพะเยา น่าน หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
การใช้สิทธิของกลุ่มที่ 3 เป็นการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อเนื่องจากระยะเวลาตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง โดยที่มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 ให้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และมาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นการให้สิทธิที่กำหนดตามสัดส่วนของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน
กรณีตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง เงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียนมีจำนวนเท่าใด ก็จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจำนวนเท่านั้น ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ ป.12/2544 เรื่อง การกำหนดสัดส่วน หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวณการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลรวมกันไม่เกินร้อยละ 100 ของเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน สำหรับระยะเวลาการได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นไปตามจังหวัดที่ตั้งของโครงการซึ่งได้รับการส่งเสริมฯ
การนับระยะเวลาการใช้สิทธิจะเริ่มตั้งแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ จนครบจำนวนสัดส่วน หรือครบกำหนดเวลา โดยนับวันชนวัน และการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อเนื่องจากมาตรา 31 วรรคหนึ่งก็จะเกิดขึ้น ซึ่งเกิดได้ 3 วิธี คือ
วิธีที่ 1 การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลครบตามจำนวนเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียนก่อนครบกำหนดเวลาที่ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลก็จะเริ่มขึ้น
วิธีที่ 2 การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลครบตามจำนวนเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน พร้อมกับครบกำหนดเวลาที่ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลก็จะเริ่มขึ้น
วิธีที่ 3 การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลยังไม่ครบตามจำนวนเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน แต่ครบกำหนดเวลาที่ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลก็จะเริ่มขึ้น
วิธีที่ 1 เกิดได้ในกรณีที่กิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ มีผลประกอบการเป็นกำไรสุทธิในระยะแรกๆ ของโครงการ วิธีที่ 2 ก็มีกำไรสุทธิ แต่โอกาสที่จะเต็มสัดส่วน และครบกำหนดเวลาพร้อมกันเป็นไปได้ค่อนข้างน้อย สำหรับวิธีที่ 3 อาจมีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ และ/หรือ กำไรสุทธิจำนวนน้อย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม หากการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลครบจำนวนเงินลงทุน ไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน หรือครบกำหนดเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ครบอันใดอันหนึ่งก่อน หรือครบจำนวนและครบกำหนดเวลาเมื่อใด การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ตามมาตรา 35 (1) ก็จะเริ่มต่อเนื่องทันที
มาตรา 31 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 ให้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ไม่กำหนดสัดส่วนของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจะเริ่มขึ้นต่อเนื่องจากเมื่อครบกำหนดเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น
กรณีที่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ มีผลขาดทุนประจำปียกไป ซึ่งหมายถึง ผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยไม่ต้องนำไปหักออกจากกำไรประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร ตามนิยามของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมฯ ที่ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2540 ตามมาตรา 31 วรรคสี่ หลังจากครบจำนวนเงินลงทุน ไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน หรือครบกำหนดเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสองแล้ว ประกอบกับก็ได้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อเนื่องจากระยะเวลาตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสองด้วย ยิ่งกว่านั้นในกิจการก็มีทั้งกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ และที่ไม่ได้รับการส่งเสริมฯ
กรณีเช่นนี้ ให้นำผลขาดทุนประจำปีจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ทั้งจำนวนไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ที่ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติก่อน ตามมาตรา 31 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 หากยังมีผลขาดทุนประจำปีของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ที่นำมาหักเหลืออยู่อีก ผู้ได้รับการส่งเสริมฯ จึงมีสิทธินำผลขาดทุนประจำปีนั้นไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมฯ ซึ่งเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราปกติได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (12) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 38/2552 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำผลขาดทุนของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่สั่ง ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 ได้วางหลักเกณฑ์ไว้
ตอนที่ 1 ได้แนะนำกลุ่มที่ 1 ที่เป็นการใช้สิทธิในช่วงเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสองนั้น ได้วางหลักในเรื่องของผลขาดทุนประจำปีสะสมยกมาจากปีก่อนของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ผู้ได้รับการส่งเสริมฯ ต้องนำไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อน หากยังมีกำไรสุทธิเหลือจึงมีสิทธินำผลขาดทุนประจำปีของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากรได้
สำหรับในตอนจบนี้ เป็นการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อเนื่องจากระยะเวลาตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ได้วางหลักให้นำผลขาดทุนประจำปีจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ทั้งจำนวนไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ซึ่งได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อน หากผลขาดทุนประจำปีที่นำมาหักนั้นยังเหลืออยู่ จึงจะนำผลขาดทุนประจำปีที่เหลือนั้นไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมฯ
ดังนั้น ไม่เพียงผู้ได้รับการส่งเสริมฯ ต้องจัดทำบัญชีรายรับ และรายจ่ายสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ แยกต่างหากจากกิจการส่วนอื่นเท่านั้น ผลขาดทุนสุทธิที่เกิดขึ้นในกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลก็ให้แยกการนำไปใช้หักกำไรสุทธิต่างหากจากกัน หากผลขาดทุนสุทธิยังคงเหลือจึงจะนำไปหักจากกำไรสุทธิของกิจการอีกส่วนหนึ่งได้ โดยกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมฯ สามารถนำผลขาดทุนสุทธิยกมาจากรอบระยะเวลาบัญชีก่อนไม่เกิน 5 ปี มาหักจากกำไรสุทธิของรอบปีบัญชีถัดมาได้ ตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร
อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่ได้รับการส่งเสริมฯ ได้ศึกษาข้อมูลเรื่องการใช้สิทธิต่างๆ ที่ได้มีการนำเสนอมาทั้งหมดแล้ว ก็จะสามารถใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้น และลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลภายใต้บีโอไอได้อย่างถูกต้องในที่สุด
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th