คำถาม - ผมซื้อ RMF ปีนี้ครบ 5 ปี แต่อายุ 54 ปี เกิด 14 เมษายน 2497 จะต้องรอถึงปีหน้า (2552) ถึงจะขายได้อยากทราบว่า
1. จะขายได้ตั้งแต่วันแรกของปีปฎิทิน 2552 หรือหลังวันที่ 14 เมษายน 2552 ซึ่งอายุครบ 55 ปี บริบูรณ์
2. การขายจะต้องขายทั้งหมดครั้งเดียวหรือไม่
3. หากผมประสงค์จะขายเพียงบางส่วนจะทำได้หรือไม่
4. หากผมขายทั้งหมดในปี 2552 ผมยังจะมีสิทธิ์ในการซื้อ RMF เพื่อใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีต่อได้หรือไม่
5. ต่อเนื่องจากข้อ 4 หากซื้อต่อได้ RMF ที่ซื้อใหม่จะต้องเริ่มนับอายุใหม่เป็นปีที่ 1 หรือไม่ และผมจะขายได้อีกเมื่อใด
หมายเหตุ ผมได้สอบถามจากกองทุนที่ซื้อ (ไทยพาณิชย์) แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้คำตอบได้ สุรศักดิ์
ตอบ - คำถามนี้ทางทีมงานได้ให้ ทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ตอบคำถามดังกล่าวนะครับ ขอสมมติว่าผู้ลงทุนซื้อครั้งแรกในปี 2547 และซื้อต่อเนื่องตามเกณฑ์จนครบ 5 ปีในปี 2551 โดยการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุน RMF นั้นจะสามารถขายคืนได้หลังจากที่ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกและไถ่ถอนหน่วยลงทุนนั้นเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หากผู้ลงทุนประสงค์จะขายจะต้องพิจารณาระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรกประกอบด้วยดังนี้ 1.1 หากผู้ลงทุนซื้อครั้งแรกก่อนวันที่ 14 เมษายน 2547 ผู้ลงทุนจะสามารถขายได้หลังจากวันที่ 14 เมษายน 2552
1.2 หากผู้ลงทุนซื้อครั้งแรกหลังวันที่ 14 เมษายน 2547 เช่น วันที่ 20 ธันวาคม 2547 ผู้ลงทุนจะสามารถขายได้หลังจากวันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกจนครบ 5 ปีโดยนับแบบวันที่ชนวันที่ เช่น ขายหลังจากวันที่ 20 ธันวาคม 2552
ส่วนข้อ 2 และข้อ 3 เนื่องจากประเด็นเรื่องการลงทุนใน RMF เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ในกรณีการขายคืนหน่วยลงทุน และลงทุนเพิ่มเติมยังอยู่ระหว่างการหารือระหว่างสมาคมบริษัทจัดการลงทุนกับกรมสรรพากรในหลักเกณฑ์ต่างๆ ทั้งนี้ กรมสรรพากรได้กำหนดแนวทางไว้คือ หากผู้ลงทุนใน RMF ได้ถือหน่วยลงทุนจนถึงเกณฑ์ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี ต่อมาผู้ลงทุนได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนทั้งหมดหรือบางส่วน หน่วยลงทุนนั้นจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีสำหรับกำไรที่ได้รับ (Capital Gain) ในกรณีที่ผู้ลงทุนได้ลงทุนใน RMF จนถึงเกณฑ์ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี และได้ขายคืนหน่วยลงทุนทั้งหมดในคราวเดียว ต่อมาได้มีการลงทุนใน RMF ใหม่ การลงทุนครั้งนี้จะต้องเริ่มนับอายุการลงทุนใหม่
กรณีที่ผู้ลงทุนได้ลงทุนใน RMF จนถึงเกณฑ์ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี และได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนบางส่วน ต่อมาได้มีการลงทุนใน RMF เพิ่มเติม จะสามารถนับอายุการลงทุนต่อเนื่องจากหน่วยลงทุนที่ยังเหลืออยู่ได้ หากหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่ในแต่ละปีภายหลังการไถ่ถอนบางส่วน มีจำนวนเหลือไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้ที่ได้รับในแต่ละปี หรือมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี และต้องไม่เว้นการซื้อหน่วยลงทุนเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน สำหรับกรณีนี้ ขอแนะนำว่า การขายคืนทั้งหมดในครั้งเดียวจะสะดวกกว่า โดยอาจเริ่มลงทุนใน RMF ใหม่ เพื่อนับอายุการลงทุนใหม่
ส่วนข้อ 4 และข้อ 5 ผู้ลงทุนสามารถลงทุนใน RMF ใหม่เพื่อสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีได้ หลังการขายคืนหน่วยลงทุนทั้งหมด โดยการลงทุน RMF ครั้งใหม่นี้ จะต้องเริ่มนับเวลาการลงทุนให้ครบ 5 ปี โดยสามารถลงทุนได้ทุกปีต่อเนื่องกัน หรือสามารถเว้นการลงทุนปีเว้นปี
ต้องขอขอบคุณ บลจ.เอ็มเอฟซี มา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับกองทุนรวม สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ fund@manager.co.th หรือโพสต์เป็นคำถามไว้ที่ www.manager.co.th หน้ากองทุนรวมนะครับ
ที่มา บลจ.เอ็มเอฟซี
1. จะขายได้ตั้งแต่วันแรกของปีปฎิทิน 2552 หรือหลังวันที่ 14 เมษายน 2552 ซึ่งอายุครบ 55 ปี บริบูรณ์
2. การขายจะต้องขายทั้งหมดครั้งเดียวหรือไม่
3. หากผมประสงค์จะขายเพียงบางส่วนจะทำได้หรือไม่
4. หากผมขายทั้งหมดในปี 2552 ผมยังจะมีสิทธิ์ในการซื้อ RMF เพื่อใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีต่อได้หรือไม่
5. ต่อเนื่องจากข้อ 4 หากซื้อต่อได้ RMF ที่ซื้อใหม่จะต้องเริ่มนับอายุใหม่เป็นปีที่ 1 หรือไม่ และผมจะขายได้อีกเมื่อใด
หมายเหตุ ผมได้สอบถามจากกองทุนที่ซื้อ (ไทยพาณิชย์) แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้คำตอบได้ สุรศักดิ์
ตอบ - คำถามนี้ทางทีมงานได้ให้ ทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ตอบคำถามดังกล่าวนะครับ ขอสมมติว่าผู้ลงทุนซื้อครั้งแรกในปี 2547 และซื้อต่อเนื่องตามเกณฑ์จนครบ 5 ปีในปี 2551 โดยการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุน RMF นั้นจะสามารถขายคืนได้หลังจากที่ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกและไถ่ถอนหน่วยลงทุนนั้นเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หากผู้ลงทุนประสงค์จะขายจะต้องพิจารณาระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรกประกอบด้วยดังนี้ 1.1 หากผู้ลงทุนซื้อครั้งแรกก่อนวันที่ 14 เมษายน 2547 ผู้ลงทุนจะสามารถขายได้หลังจากวันที่ 14 เมษายน 2552
1.2 หากผู้ลงทุนซื้อครั้งแรกหลังวันที่ 14 เมษายน 2547 เช่น วันที่ 20 ธันวาคม 2547 ผู้ลงทุนจะสามารถขายได้หลังจากวันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกจนครบ 5 ปีโดยนับแบบวันที่ชนวันที่ เช่น ขายหลังจากวันที่ 20 ธันวาคม 2552
ส่วนข้อ 2 และข้อ 3 เนื่องจากประเด็นเรื่องการลงทุนใน RMF เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ในกรณีการขายคืนหน่วยลงทุน และลงทุนเพิ่มเติมยังอยู่ระหว่างการหารือระหว่างสมาคมบริษัทจัดการลงทุนกับกรมสรรพากรในหลักเกณฑ์ต่างๆ ทั้งนี้ กรมสรรพากรได้กำหนดแนวทางไว้คือ หากผู้ลงทุนใน RMF ได้ถือหน่วยลงทุนจนถึงเกณฑ์ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี ต่อมาผู้ลงทุนได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนทั้งหมดหรือบางส่วน หน่วยลงทุนนั้นจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีสำหรับกำไรที่ได้รับ (Capital Gain) ในกรณีที่ผู้ลงทุนได้ลงทุนใน RMF จนถึงเกณฑ์ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี และได้ขายคืนหน่วยลงทุนทั้งหมดในคราวเดียว ต่อมาได้มีการลงทุนใน RMF ใหม่ การลงทุนครั้งนี้จะต้องเริ่มนับอายุการลงทุนใหม่
กรณีที่ผู้ลงทุนได้ลงทุนใน RMF จนถึงเกณฑ์ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี และได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนบางส่วน ต่อมาได้มีการลงทุนใน RMF เพิ่มเติม จะสามารถนับอายุการลงทุนต่อเนื่องจากหน่วยลงทุนที่ยังเหลืออยู่ได้ หากหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่ในแต่ละปีภายหลังการไถ่ถอนบางส่วน มีจำนวนเหลือไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้ที่ได้รับในแต่ละปี หรือมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี และต้องไม่เว้นการซื้อหน่วยลงทุนเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน สำหรับกรณีนี้ ขอแนะนำว่า การขายคืนทั้งหมดในครั้งเดียวจะสะดวกกว่า โดยอาจเริ่มลงทุนใน RMF ใหม่ เพื่อนับอายุการลงทุนใหม่
ส่วนข้อ 4 และข้อ 5 ผู้ลงทุนสามารถลงทุนใน RMF ใหม่เพื่อสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีได้ หลังการขายคืนหน่วยลงทุนทั้งหมด โดยการลงทุน RMF ครั้งใหม่นี้ จะต้องเริ่มนับเวลาการลงทุนให้ครบ 5 ปี โดยสามารถลงทุนได้ทุกปีต่อเนื่องกัน หรือสามารถเว้นการลงทุนปีเว้นปี
ต้องขอขอบคุณ บลจ.เอ็มเอฟซี มา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับกองทุนรวม สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ fund@manager.co.th หรือโพสต์เป็นคำถามไว้ที่ www.manager.co.th หน้ากองทุนรวมนะครับ
ที่มา บลจ.เอ็มเอฟซี