แม้นไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศกสิกรรมมาช้านาน หากทว่าชีวิตเกษตรกรกลับลำบากยากแค้นขัดสน ยิ่งทำยิ่งทับถมหนี้สิน รุ่นแล้วรุ่นเล่าต้องตกเป็นทาสในเรือนเบี้ยของบรรษัทปุ๋ยเคมียาฆ่าแมลง และการเกษตรพันธสัญญา (Contact farming) ที่กัดกินลึกถึงกระดูกสันหลัง
ครั้นหวังจะเป็น ‘ไท’ ไถ่ถอนพันธนาการหนี้สินล้นพ้นตัวก็ยากยิ่งยวดด้วยถูกจำกัดสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นปัจจัยหลักในการประกอบอาชีพทั้งที่ดิน แหล่งน้ำ และเมล็ดพันธุ์ ทั้งยังวิกฤตซ้ำซ้อนจากปัจจัยภายในที่นับวันเกษตรกรจะถูกจำแนกผ่านสังกัดสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ แหล่งทุน กระทั่งการเรียกร้องสิทธิต่างๆ ตั้งวางอยู่บนผลประโยชน์กลุ่มมากกว่าสาธารณะ
การผลักดันแนวทางการเกษตรระดับชาติที่ตอบสนองความต้องการของเกษตรกรมากกว่ากลุ่มธุรกิจการเกษตรจึงกระทำไม่ได้ด้วยไร้การรวมตัวกันของเกษตรกรเป็นภาคีเครือข่ายเข้มแข็งจนสามารถเจรจาต่อรองกับบรรษัทเกษตรกรรมยักษ์ใหญ่และกลุ่มธุรกิจการเมืองอย่างมีพลัง
กระนั้น การกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปของสภาเกษตรกรเพื่อวางแผนการเกษตรและรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของเกษตรกร ตามมาตรา 84 (8) แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ก็นับเป็นจังหวะดีที่เกษตรกรจะร่วมกันทวีภาคีเครือข่ายหลายหลากเข้าด้วยกันเพื่อผลักดันร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติฉบับประชาชนให้ส่งเสริมสิทธิของตนเอง
เนื่องจาก พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติฉบับอื่นๆ นั้นมีข้อน่ากังวลมากทั้งด้านวิธีการสรรหาตัวแทนเกษตรกร สัดส่วนเกษตรกรรายย่อย การบริหารผูกติดกลไกรัฐ และการขาดหลักประกันด้าน ‘สิทธิเกษตรกร’ (Farmers’ rights) โดยเฉพาะสิทธิในการเข้าถึงปัจจัยการผลิต สิทธิในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน สิทธิในความมั่นคงของผลตอบแทน และสิทธิในวิถีชีวิตและวัฒนธรรม
ถึงแม้ว่ามาตราข้างต้นของแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจจะกำหนดให้รัฐต้องคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและการตลาด ส่งเสริมให้สินค้าเกษตรได้รับผลตอบแทนสูงสุดแล้วก็ตาม แต่ทว่า 4 สิทธิหลักของเกษตรกรที่ขาดหายไปใน พ.ร.บ.ฉบับต่างๆ นั้นก็จำกัดการพังทลายพันธนาการด้านหนี้สินของเกษตรกรอย่างมาก
ด้วยตราบใดไม่สามารถเข้าถึงปัจจัยการผลิตที่ดิน แหล่งน้ำ และเมล็ดพันธุ์ขณะตลาดสินค้าเกษตรถูกบิดเบือนราคา ไม่อาจอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเกษตรกรรมรายย่อย และไม่มีส่วนร่วมจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นตามสิทธิชุมชน จนถึงต้องดิ้นรนปากกัดตีนถีบเพื่อพยุงชีพให้มีปัจจัย 4 เนื่องจากไม่มีความมั่นคงในผลตอบแทนแม้นจะมีการประกันราคาสินค้าเกษตร การรับซื้อรับจำนำผลิตผล และยกเว้นดอกเบี้ยกรณีประสบภัยพิบัติ ตราบนั้นชีวิตเกษตรกรไทยก็จะคงยังยากจนข้นแค้นแสนสาหัสต่อไป
ในห้วง 5 ร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติกำลังชิงชัยกันในสภานั้น นอกจากภาคประชาชนต้องพยายามผลัก พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้สอดรับกับเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญที่ต้องการส่งเสริมให้สภาเกษตรกรมาจากการรวมกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรสาขาต่างๆ ได้ทำหน้าที่ดูแลรักษาผลประโยชน์ร่วมกันมากสุดแล้ว ระหว่างนี้ยังต้องทุ่มเทเคลื่อนร่าง พ.ร.บ.ฉบับประชาชนที่เน้นความสำคัญของเกษตรกรรายย่อยผ่านกระบวนการเสนอกฎหมายโดยตรงของประชาชน 10,000 รายชื่อ เพื่อจะได้เข้าไปเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมาธิการเจรจาต่อรองเรื่องสิทธิเกษตรกรด้วย
เหนืออื่นใดต้องกำหนดให้ ‘สิทธิเกษตรกร’ เป็นทั้งปรัชญาและยุทธศาสตร์ของ พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติให้ได้ถึงแม้จะมีแรงต้านมหาศาลจากกลุ่มธุรกิจการเกษตรก็ตามที
ดังนั้น การใช้กลยุทธ์การเจรจาต่อรอง (Negotiation) เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันยามต่างฝ่ายต่างมีจุดยืนด้านผลประโยชน์ต่างกันชัดเจนเช่นนี้จึงจำเป็นยิ่งนัก เพื่อท้ายสุดจะบรรลุข้อตกลงเป็น พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติที่ทั้งคุ้มครองสิทธิเกษตรและส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเข้มแข็งตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันธุรกิจการเกษตรก็ดำเนินไปได้โดยไม่ละโมบมากมาย
จะบรรลุผลได้ ต่างต้องไม่มุ่งเจรจาต่อรองเพื่อให้ฝ่ายตนได้ประโยชน์สูงสุดตามประเภทการเจรจาต่อรองแบบแบ่งสันปันส่วน (Distributive negotiation) ที่เมื่อฝ่ายหนึ่งได้ส่วนแบ่งมากขึ้น อีกฝ่ายก็ได้ส่วนแบ่งที่มีปริมาณคงที่น้อยลงโดยปริยาย กระทั่งทำให้การเจรจาต่อรองประเภทนี้เป็นเกมที่มีผลรวมเป็นศูนย์ (Zero-sum game) เพราะมีชนะ-แพ้ (Win-lose) แต่ต้องใช้การเจรจาต่อรองแบบบูรณาการ (Integrative negotiation) ที่ทุกฝ่ายใช้ความสร้างสรรค์และการแลกเปลี่ยนข้อมูลสร้างผลประโยชน์โดยรวมสูงสุดสำหรับการจัดสรรในภายหลัง เป็นชนะ-ชนะ (Win-win)
ทว่าความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มธุรกิจการเกษตรกับเกษตรกรกว้างขวางมาก การสร้างผลประโยชน์รวมสูงสุดทั้งฝั่งตนและฟากตรงข้ามไม่ง่าย ด้วยไม่เพียงแต่ละฝ่ายต้องสลายจุดยืนผ่านการมุ่งผลประโยชน์แทนที่ ทว่ายังต้องเรียกร้องผลประโยชน์แบบมีหลักการตรงตามรัฐธรรมนูญด้วย ทั้งยังต้องผ่านกระบวนการเจรจาต่อรองหลายรอบหลายฝ่ายอีกต่างหาก
เกษตรกรจึงต้องสร้างพันธมิตรกลุ่มอำนาจ (Coalition) ทั้งกลุ่มอำนาจโดยธรรมชาติและกลุ่มอำนาจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อเพิ่มพูนพลานุภาพตนเองให้พลิกจากอ่อนแอเป็นแข็งแกร่งจนสามารถขับเคลื่อนสิทธิเกษตรกรหลักๆ หรือกระทั่งขัดขวางมาตราลิดรอนสิทธิต่างๆ
หาไม่แล้วเกษตรกรไทยที่ถือเป็นชนชายขอบของเศรษฐกิจทุนนิยมจะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบต้องผ่อนปรนสิทธิที่ควรได้รับลงไป ในขณะเดียวกันสารัตถะของ พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติก็จะละม้ายกับสภาการเกษตรที่เอื้อกลุ่มธุรกิจการเกษตรมากกว่าเกษตรกร ตลอดจนสิทธิเกษตรกรก็จะถูกลิดรอนขัดขวางโดยพวกคนทำเสีย (Spoiler) ที่ไม่ปรารถนาให้มีการบรรลุข้อตกลง
ทั้งนี้ การเจรจาต่อรองเรื่องสิทธิเกษตรกรกับกลุ่มอำนาจธุรกิจการเกษตรที่แนบแน่นกับกลุ่มธนกิจการเมืองในยุคการค้าเสรีเช่นนี้ กลุ่มเกษตรกรต้องรู้ว่าทางเลือกดีที่สุดหากไม่มีข้อตกลง (Best alternative to a negotiated agreement: BATNA) ของตนคืออะไร และในกรณีหมดทางเลือกจริงๆ การสร้างสรรค์ทางเลือกอื่น อาทิ ผนึกเครือข่ายเกษตรกรที่กระจัดกระจายให้กลับมาผลักดันวาระสิทธิเกษตรกรร่วมกัน หรือขยายพื้นที่ที่สามารถตกลงกันได้ (Zone of possible agreement: ZOAP) โดยทั้งสองฝ่ายพึงพอใจจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันก็น่าสนใจ
กระนั้นในภาคปฏิบัติ ต่างฝ่ายต่างยึดมั่นจุดยืนและผลประโยชน์ตนเองจนเกินไปกระทั่งการเจรจาต่อรองต้องล่มลงเพราะเลยจุดพึงพอใจน้อยสุดที่จะทำข้อตกลงหรือภาษาธุรกิจเรียกว่าราคาการตัดใจ (Reservation price) เสียแล้ว รวมทั้งยังไม่เรียนรู้เข้าใจจุดยืนและผลประโยชน์ของฝั่งตรงข้ามจนสูญเสียโอกาสรับรู้ว่าสิ่งที่ทุกฝ่ายคิดเห็นตรงกันหรือผ่อนปรนกันได้คืออะไรบ้าง
ทว่านั่นไม่ได้หมายความว่าสิทธิเกษตรกรใน พ.ร.บ.ฉบับนี้จะต้องลดน้อยถอยลงจากการเจรจาต่อรอง เนื่องเพราะกลุ่มเกษตรกรตระหนักดีอยู่แล้วว่า BATNA ของตนเองคืออะไร ขอบเขตของ ZOAP ที่ยอมรับได้กว้างขวางแค่ไหน และจะยอมยืดหยุ่นภายใต้กรอบเป้าหมายใหญ่ที่ต้องการสร้างเสริมสิทธิเกษตรกรเพียงใด ด้วยไร้ประโยชน์จะผลักข้อเรียกร้องสุดโต่งไปชนทางตัน
ขณะเดียวกันก็อ้างอิงมาตรฐานกฎหมายสูงสุดเพื่อสร้างความชอบธรรมของข้อเรียกร้องใน พ.ร.บ.ที่มีลำดับศักดิ์รองลงมาจนฝ่ายตรงข้ามคัดค้านหรือหลีกเลี่ยงร่วมเจรจาต่อรองไม่ได้ด้วย แม้นว่ากลุ่มธุรกิจการเกษตรจะไม่อยากเข้าร่วมเพราะได้ประโยชน์จากโครงสร้างเดิมอยู่แล้วก็ตาม
ฉะนั้น ผลลัพธ์อันเป็น พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติที่ดีที่สุดจึงขึ้นอยู่กับยุทธวิธีการเจรจาต่อรองของกลุ่มเกษตรกรว่าจะสามามารถวางกรอบการเจรจาต่อรองที่ฝ่ายตรงข้ามยอมรับได้ การปรับเปลี่ยนเชิงกระบวนการเท่าทันพลวัต และการประเมินอย่างต่อเนื่องได้มีประสิทธิภาพแค่ไหน
เหนืออื่นใดต้องแผ้วถางทางให้ ‘สิทธิเกษตรกร’ เป็นจุดร่วมของการเจรจาต่อรองของ พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติให้ได้เสียก่อน ไม่เช่นนั้นกระดูกสันหลังเกษตรกรก็โก่งงอต่อไปเพราะไม่เพียงเข้าไม่ถึงสิทธิหลักอันเป็นรากฐานชีวิตวิถีวัฒนธรรมดังเดิม ทว่ายังต้องพึ่งพิงพึ่งพาภาคราชการและธุรกิจการเกษตรผู้นำพาหนี้สินมาให้ร่ำไป.-
เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
ครั้นหวังจะเป็น ‘ไท’ ไถ่ถอนพันธนาการหนี้สินล้นพ้นตัวก็ยากยิ่งยวดด้วยถูกจำกัดสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นปัจจัยหลักในการประกอบอาชีพทั้งที่ดิน แหล่งน้ำ และเมล็ดพันธุ์ ทั้งยังวิกฤตซ้ำซ้อนจากปัจจัยภายในที่นับวันเกษตรกรจะถูกจำแนกผ่านสังกัดสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ แหล่งทุน กระทั่งการเรียกร้องสิทธิต่างๆ ตั้งวางอยู่บนผลประโยชน์กลุ่มมากกว่าสาธารณะ
การผลักดันแนวทางการเกษตรระดับชาติที่ตอบสนองความต้องการของเกษตรกรมากกว่ากลุ่มธุรกิจการเกษตรจึงกระทำไม่ได้ด้วยไร้การรวมตัวกันของเกษตรกรเป็นภาคีเครือข่ายเข้มแข็งจนสามารถเจรจาต่อรองกับบรรษัทเกษตรกรรมยักษ์ใหญ่และกลุ่มธุรกิจการเมืองอย่างมีพลัง
กระนั้น การกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปของสภาเกษตรกรเพื่อวางแผนการเกษตรและรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของเกษตรกร ตามมาตรา 84 (8) แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ก็นับเป็นจังหวะดีที่เกษตรกรจะร่วมกันทวีภาคีเครือข่ายหลายหลากเข้าด้วยกันเพื่อผลักดันร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติฉบับประชาชนให้ส่งเสริมสิทธิของตนเอง
เนื่องจาก พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติฉบับอื่นๆ นั้นมีข้อน่ากังวลมากทั้งด้านวิธีการสรรหาตัวแทนเกษตรกร สัดส่วนเกษตรกรรายย่อย การบริหารผูกติดกลไกรัฐ และการขาดหลักประกันด้าน ‘สิทธิเกษตรกร’ (Farmers’ rights) โดยเฉพาะสิทธิในการเข้าถึงปัจจัยการผลิต สิทธิในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน สิทธิในความมั่นคงของผลตอบแทน และสิทธิในวิถีชีวิตและวัฒนธรรม
ถึงแม้ว่ามาตราข้างต้นของแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจจะกำหนดให้รัฐต้องคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและการตลาด ส่งเสริมให้สินค้าเกษตรได้รับผลตอบแทนสูงสุดแล้วก็ตาม แต่ทว่า 4 สิทธิหลักของเกษตรกรที่ขาดหายไปใน พ.ร.บ.ฉบับต่างๆ นั้นก็จำกัดการพังทลายพันธนาการด้านหนี้สินของเกษตรกรอย่างมาก
ด้วยตราบใดไม่สามารถเข้าถึงปัจจัยการผลิตที่ดิน แหล่งน้ำ และเมล็ดพันธุ์ขณะตลาดสินค้าเกษตรถูกบิดเบือนราคา ไม่อาจอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเกษตรกรรมรายย่อย และไม่มีส่วนร่วมจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นตามสิทธิชุมชน จนถึงต้องดิ้นรนปากกัดตีนถีบเพื่อพยุงชีพให้มีปัจจัย 4 เนื่องจากไม่มีความมั่นคงในผลตอบแทนแม้นจะมีการประกันราคาสินค้าเกษตร การรับซื้อรับจำนำผลิตผล และยกเว้นดอกเบี้ยกรณีประสบภัยพิบัติ ตราบนั้นชีวิตเกษตรกรไทยก็จะคงยังยากจนข้นแค้นแสนสาหัสต่อไป
ในห้วง 5 ร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติกำลังชิงชัยกันในสภานั้น นอกจากภาคประชาชนต้องพยายามผลัก พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้สอดรับกับเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญที่ต้องการส่งเสริมให้สภาเกษตรกรมาจากการรวมกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรสาขาต่างๆ ได้ทำหน้าที่ดูแลรักษาผลประโยชน์ร่วมกันมากสุดแล้ว ระหว่างนี้ยังต้องทุ่มเทเคลื่อนร่าง พ.ร.บ.ฉบับประชาชนที่เน้นความสำคัญของเกษตรกรรายย่อยผ่านกระบวนการเสนอกฎหมายโดยตรงของประชาชน 10,000 รายชื่อ เพื่อจะได้เข้าไปเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมาธิการเจรจาต่อรองเรื่องสิทธิเกษตรกรด้วย
เหนืออื่นใดต้องกำหนดให้ ‘สิทธิเกษตรกร’ เป็นทั้งปรัชญาและยุทธศาสตร์ของ พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติให้ได้ถึงแม้จะมีแรงต้านมหาศาลจากกลุ่มธุรกิจการเกษตรก็ตามที
ดังนั้น การใช้กลยุทธ์การเจรจาต่อรอง (Negotiation) เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันยามต่างฝ่ายต่างมีจุดยืนด้านผลประโยชน์ต่างกันชัดเจนเช่นนี้จึงจำเป็นยิ่งนัก เพื่อท้ายสุดจะบรรลุข้อตกลงเป็น พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติที่ทั้งคุ้มครองสิทธิเกษตรและส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเข้มแข็งตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันธุรกิจการเกษตรก็ดำเนินไปได้โดยไม่ละโมบมากมาย
จะบรรลุผลได้ ต่างต้องไม่มุ่งเจรจาต่อรองเพื่อให้ฝ่ายตนได้ประโยชน์สูงสุดตามประเภทการเจรจาต่อรองแบบแบ่งสันปันส่วน (Distributive negotiation) ที่เมื่อฝ่ายหนึ่งได้ส่วนแบ่งมากขึ้น อีกฝ่ายก็ได้ส่วนแบ่งที่มีปริมาณคงที่น้อยลงโดยปริยาย กระทั่งทำให้การเจรจาต่อรองประเภทนี้เป็นเกมที่มีผลรวมเป็นศูนย์ (Zero-sum game) เพราะมีชนะ-แพ้ (Win-lose) แต่ต้องใช้การเจรจาต่อรองแบบบูรณาการ (Integrative negotiation) ที่ทุกฝ่ายใช้ความสร้างสรรค์และการแลกเปลี่ยนข้อมูลสร้างผลประโยชน์โดยรวมสูงสุดสำหรับการจัดสรรในภายหลัง เป็นชนะ-ชนะ (Win-win)
ทว่าความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มธุรกิจการเกษตรกับเกษตรกรกว้างขวางมาก การสร้างผลประโยชน์รวมสูงสุดทั้งฝั่งตนและฟากตรงข้ามไม่ง่าย ด้วยไม่เพียงแต่ละฝ่ายต้องสลายจุดยืนผ่านการมุ่งผลประโยชน์แทนที่ ทว่ายังต้องเรียกร้องผลประโยชน์แบบมีหลักการตรงตามรัฐธรรมนูญด้วย ทั้งยังต้องผ่านกระบวนการเจรจาต่อรองหลายรอบหลายฝ่ายอีกต่างหาก
เกษตรกรจึงต้องสร้างพันธมิตรกลุ่มอำนาจ (Coalition) ทั้งกลุ่มอำนาจโดยธรรมชาติและกลุ่มอำนาจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อเพิ่มพูนพลานุภาพตนเองให้พลิกจากอ่อนแอเป็นแข็งแกร่งจนสามารถขับเคลื่อนสิทธิเกษตรกรหลักๆ หรือกระทั่งขัดขวางมาตราลิดรอนสิทธิต่างๆ
หาไม่แล้วเกษตรกรไทยที่ถือเป็นชนชายขอบของเศรษฐกิจทุนนิยมจะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบต้องผ่อนปรนสิทธิที่ควรได้รับลงไป ในขณะเดียวกันสารัตถะของ พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติก็จะละม้ายกับสภาการเกษตรที่เอื้อกลุ่มธุรกิจการเกษตรมากกว่าเกษตรกร ตลอดจนสิทธิเกษตรกรก็จะถูกลิดรอนขัดขวางโดยพวกคนทำเสีย (Spoiler) ที่ไม่ปรารถนาให้มีการบรรลุข้อตกลง
ทั้งนี้ การเจรจาต่อรองเรื่องสิทธิเกษตรกรกับกลุ่มอำนาจธุรกิจการเกษตรที่แนบแน่นกับกลุ่มธนกิจการเมืองในยุคการค้าเสรีเช่นนี้ กลุ่มเกษตรกรต้องรู้ว่าทางเลือกดีที่สุดหากไม่มีข้อตกลง (Best alternative to a negotiated agreement: BATNA) ของตนคืออะไร และในกรณีหมดทางเลือกจริงๆ การสร้างสรรค์ทางเลือกอื่น อาทิ ผนึกเครือข่ายเกษตรกรที่กระจัดกระจายให้กลับมาผลักดันวาระสิทธิเกษตรกรร่วมกัน หรือขยายพื้นที่ที่สามารถตกลงกันได้ (Zone of possible agreement: ZOAP) โดยทั้งสองฝ่ายพึงพอใจจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันก็น่าสนใจ
กระนั้นในภาคปฏิบัติ ต่างฝ่ายต่างยึดมั่นจุดยืนและผลประโยชน์ตนเองจนเกินไปกระทั่งการเจรจาต่อรองต้องล่มลงเพราะเลยจุดพึงพอใจน้อยสุดที่จะทำข้อตกลงหรือภาษาธุรกิจเรียกว่าราคาการตัดใจ (Reservation price) เสียแล้ว รวมทั้งยังไม่เรียนรู้เข้าใจจุดยืนและผลประโยชน์ของฝั่งตรงข้ามจนสูญเสียโอกาสรับรู้ว่าสิ่งที่ทุกฝ่ายคิดเห็นตรงกันหรือผ่อนปรนกันได้คืออะไรบ้าง
ทว่านั่นไม่ได้หมายความว่าสิทธิเกษตรกรใน พ.ร.บ.ฉบับนี้จะต้องลดน้อยถอยลงจากการเจรจาต่อรอง เนื่องเพราะกลุ่มเกษตรกรตระหนักดีอยู่แล้วว่า BATNA ของตนเองคืออะไร ขอบเขตของ ZOAP ที่ยอมรับได้กว้างขวางแค่ไหน และจะยอมยืดหยุ่นภายใต้กรอบเป้าหมายใหญ่ที่ต้องการสร้างเสริมสิทธิเกษตรกรเพียงใด ด้วยไร้ประโยชน์จะผลักข้อเรียกร้องสุดโต่งไปชนทางตัน
ขณะเดียวกันก็อ้างอิงมาตรฐานกฎหมายสูงสุดเพื่อสร้างความชอบธรรมของข้อเรียกร้องใน พ.ร.บ.ที่มีลำดับศักดิ์รองลงมาจนฝ่ายตรงข้ามคัดค้านหรือหลีกเลี่ยงร่วมเจรจาต่อรองไม่ได้ด้วย แม้นว่ากลุ่มธุรกิจการเกษตรจะไม่อยากเข้าร่วมเพราะได้ประโยชน์จากโครงสร้างเดิมอยู่แล้วก็ตาม
ฉะนั้น ผลลัพธ์อันเป็น พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติที่ดีที่สุดจึงขึ้นอยู่กับยุทธวิธีการเจรจาต่อรองของกลุ่มเกษตรกรว่าจะสามามารถวางกรอบการเจรจาต่อรองที่ฝ่ายตรงข้ามยอมรับได้ การปรับเปลี่ยนเชิงกระบวนการเท่าทันพลวัต และการประเมินอย่างต่อเนื่องได้มีประสิทธิภาพแค่ไหน
เหนืออื่นใดต้องแผ้วถางทางให้ ‘สิทธิเกษตรกร’ เป็นจุดร่วมของการเจรจาต่อรองของ พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติให้ได้เสียก่อน ไม่เช่นนั้นกระดูกสันหลังเกษตรกรก็โก่งงอต่อไปเพราะไม่เพียงเข้าไม่ถึงสิทธิหลักอันเป็นรากฐานชีวิตวิถีวัฒนธรรมดังเดิม ทว่ายังต้องพึ่งพิงพึ่งพาภาคราชการและธุรกิจการเกษตรผู้นำพาหนี้สินมาให้ร่ำไป.-
เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org