‘กสิกรแข็งขันเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ไทยจะเรืองอำนาจเพราะไทยเป็นชาติกสิกรรม..’
ถ้อยเพลงปลุกใจให้ตระหนักความสำคัญของชาวไร่ชาวนาหาค่าใดไม่ได้ในสังคมไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับนโยบายสาธารณะ เพราะรัฐบาลและพรรคการเมืองมักมองกลุ่มเกษตรกรหลายสิบล้านคนแค่คะแนนเสียงเท่านั้น
นั่นทำให้นโยบาย มาตรการ ตลอดจนแผนงานภาคเกษตรกรรมไม่เพียงเน้นหนักการหว่านโปรยถ้อยคำให้ความหวังระยะสั้นกับกลุ่มเกษตรกรที่ตลอดชีวิตบรรพบุรุษและตนเองตกห้วงคับแค้นขัดสนเท่านั้น ทว่าแนวทางแก้ปัญหายังมุ่งเฉพาะด้าน เฉพาะหน้า และขาดความต่อเนื่องด้วย
แม้มีความพยายามแก้ปัญหาเกษตรกรอย่างเป็นระบบ ดังรัฐธรรมนูญ 2550 ได้ตั้งกลไก ‘สภาเกษตรกร’ ที่รวมกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรสาขาต่างๆ เพื่อวางแผนการเกษตรและรักษาผลประโยชน์ร่วมกันลักษณะเดียวกับสมาชิกสภาหอการค้า รวมถึงถ้อยแถลงนโยบายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าด้วยการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร ที่ให้คำมั่นครอบคลุมตั้งแต่การเร่งรัดเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและพัฒนาระบบลอจิสติกส์ทางการเกษตร จนถึงการสร้างความมั่นคงด้านอาหารโดยส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริ แล้วก็ตาม
กระนั้นก็ยังไม่รอบด้านดี ด้วยแท้จริงระบบเกษตรกรรมยึดโยงกับเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมทั้งในและระหว่างประเทศแนบแน่น มุมมองผิวเผินเห็นเกษตรกรรมเพียงเรื่องปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ทำประมง จึงหลุดลอยจากความเป็นจริงที่เกษตรกรรมเป็นระบบรองรับความมั่นคงทางอาหารของประเทศ ระบบการจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รากฐานระบบเศรษฐกิจที่เชื่อมร้อยกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ และที่สำคัญเป็นวิถีชีวิตวิถีวัฒนธรรมที่ประชาชนกลุ่มใหญ่ในชาติใช้เป็น ‘เรือนตาย’ ยามปกติสุขและผิดหวัง
การยืดกระดูกสันหลังของชาติตั้งตรงสมเป็นรากฐานสำคัญสังคมไทย ไม่ให้เกษตรกรกว่าร้อยละ 70 มีหนี้สินล้นพ้นตัว พอกพูนรุ่นต่อรุ่นจนหมดโอกาสเปลื้องปลด กว่า 1.5 ล้านครอบครัวไร้ที่ดินทำกินของตนเอง และคุณภาพชีวิตย่ำแย่ถูกยาฆ่าแมลงปุ๋ยเคมีขยี้สุขภาพ ดั่งปัจจุบันนี้ จักต้องแก้วิกฤตทั้งระบบครบถ้วนทุกด้านด้วย ‘การบริหารการเปลี่ยนแปลง’ (Managing change and transition) มากกว่าจะจำกัดภาระหน้าที่ไว้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยลำพัง
ด้วยถึงกระทรวงเกษตรฯ จะทำ 4 ยุทธศาสตร์ ทั้งขจัดความยากจนของเกษตรกร ปรับโครงสร้างภาคการเกษตร บริหารจัดการทรัพยากรเกษตร และเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการ ทว่าก็ยังมีอีกหลากมิติต้องการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นการปรับกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ การปฏิรูปที่ดิน ภาษีมรดก สุขภาวะเกษตรกร จนถึงภาวะโลกร้อน
การก้าวข้ามกระทรวงทบวงกรมภาครัฐ โดยผนวกเครือข่ายเกษตรกร องค์กรท้องถิ่นชุมชน องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค และภาคธุรกิจถึงการท่องเที่ยว ไม่เพียงขจัดความขัดแย้งแค้นเคืองกันจากการวางกรอบเป้าหมายต่างกัน ยังสร้างเสริมศักยภาพซึ่งกันจนขวากหนามแหลมคมเคยทิ่มแทงกระดูกสันหลังของชาติกร่อนตัวแตกหักหลังผสานประโยชน์ร่วมกันได้
ไม่เท่านั้น ประชาชนทั่วไปในฐานะผู้บริโภคยังได้กินดีอยู่ดีมีสุขภาพสมบูรณ์ตามมาด้วย เพราะเกษตรกรไม่ตกเป็นทาสสารเคมีและยาฆ่าแมลงจนต้องเร่งผลิตและผลักพืชผลปนเปื้อนสู่ท้องตลาดและโลกเพื่อนำเงินน้อยนิดมาต่อชีวิตที่ทวีหนี้สินขึ้นเรื่อยๆ จนความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างเกษตรกรกับประชาชนภาคการผลิตอื่นๆ สูงกว่า 10 เท่าแล้ว
ทั้งนี้ ถึงไทยจะมีรูปธรรมของเกษตรกรผู้พบพานความสำเร็จทั้งระดับปัจเจกและเครือข่ายอยู่ไม่น้อยจากการทำเกษตรปลอดสารเคมี หนี้สิน และยืนหยัดบนลำแข้งตนเองได้ แต่เอาเข้าจริงแล้วก็ถือว่าภูมิปัญญาและวัตรปฏิบัติเหล่านั้นค่อนข้างจะกระจุกตัวอยู่ในแวดวงเกษตรกรที่สนใจจริงจังเท่านั้น ยังไม่อาจขยายกว้างขวางเป็นพลังเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมทั้งระบบได้
อีกทั้งกลไกในกฎหมายสูงสุดอย่างสภาเกษตรกร และพันธสัญญาทางการเมือง (Political commitment) ก็เป็นแค่หนึ่งในเครื่องมือเปลี่ยนผ่านระบบเกษตรกรรมเท่านั้น หากหวังเก็บเกี่ยวดอกผลหอมหวานจักต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง (Structural change) เปลี่ยนแปลงเพื่อลดต้นทุน (Cost cutting) เปลี่ยนแปลงกระบวนการ (Process change) และเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม (Cultural change) ใหม่ในมุมมองว่าภาคเกษตรกรรมคือองค์กรหนึ่งที่ถึงเวลาปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อสามารถท้าทายเทคโนโลยี ผลผลิต ตลาด คู่แข่งขัน และกฎกติกาใหม่ได้
ในท่วงทำนองการเปลี่ยนแปลงคือโอกาส หรือวิกฤตคือโอกาส วิกฤตปัจจุบันย่อมต่างจากวิกฤตอดีต แนวทางต่อกรปัญหาหนักหน่วงนานัปการด้านเกษตรกรรมทั้งภายในและนอกประเทศจึงต้องการการบริหารจัดการที่ต่างออกไปเช่นเดียวกัน
โอกาสในวิกฤตย่อมผลิบานแตกต่างกันตามแต่ละห้วงยาม การพยายามใช้ยุทธวิธี ยุทธศาสตร์เดิมๆ ผลิตซ้ำเหตุปัจจัยเดิมๆ แล้วหวังผลแตกต่างจึงเป็นเรื่องเหลวไหลสิ้นดี
การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีหมุดหมายร่วมกันคือคืนสุขภาวะทั้งทางกาย จิตใจ ปัญญา และสังคมของเกษตรกรจึงปรารถนาการบริหารการเปลี่ยนแปลง อย่างน้อยที่สุดก็ต้องลดต้นทุนการผลิตพวก ‘ฮาร์ดแวร์’ นับแต่ซื้อเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง จ้างแรงงานเก็บเกี่ยวผลผลิต ตัดทอนการปฏิบัติงานที่ใช้เทคโนโลยีและพลังงานเชื้อเพลิง พร้อมกับเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการทำงานเพื่อให้กระบวนการผลิตจนถึงจัดจำหน่ายรวดเร็ว มีประสิทธิผล และเชื่อถือได้มากขึ้น
เหนืออื่นใดต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมอันเป็น ‘ซอฟต์แวร์’ เพื่อจัดสัมพันธภาพทางอำนาจใหม่ ให้เกษตรกรมีอำนาจต่อรองกับบรรษัทเกษตรกรรมทั้งระดับชาติและข้ามชาติสูงขึ้น ถึงไม่มากนัก ทว่าก็ต้องไม่ตกเป็นทาสในเรือนเบี้ยที่ไร้ทางไถ่ถอนอิสระภาระหนี้สินและแรงลมโลกาภิวัตน์
ปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืนนอกจากต้องกระทำภายในสู่ภายนอกด้วยมิติวัฒนธรรมที่ทรงพลานุภาพมากพอจะปรับตัวเกษตรกรให้รักเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่น ทะนงศักดิ์ศรี มีทักษะการตลาดผ่านการรวมกลุ่มแบบสหกรณ์และเครือข่ายสาขาต่างๆ แล้ว ยังต้องกระทำภายนอกสู่ภายในด้วย โดยการร่างกฎกติกาการปฏิรูปเกษตรกรรมทั้งระบบ โดยเฉพาะด้าน ‘เมล็ดพันธุ์’ ที่ไม่ควรให้บรรษัทเกษตรกรรมยักษ์ใหญ่ผูกขาดผ่านวาทกรรม R&D ผลผลิตต่อไร่สูงกว่า หรือเกษตรพันธสัญญา (Contact farming) เนิ่นนานต่อไป เพราะเฉพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวในปี 2549 ก็ต้องใช้มหาศาลถึง 1.2 ล้านตัน/ปี ขณะที่ภาคราชการผลิตได้แค่ 7 หมื่นตัน/ปี
ผลประโยชน์มโหฬารนี้ผลักชีวิตเกษตรกรอับจนข้นแค้นต่อเนื่อง ด้วยเมล็ดพันธุ์ข้าว/ข้าวโพดลูกผสม และเมล็ดพันธุ์ผักของภาคเอกชน นำรายจ่ายตามมามากมายแบบลูกโซ่ปฏิกิริยา ทั้งค่าปุ๋ย/ยา และความเสื่อมทรุดของผืนแผ่นดิน/สุขภาพ เพียงเพื่อจะได้ผลผลิตสูงตามคำโฆษณา
การปลดแอกด้วยปฏิบัติการเกษตรกรรมยั่งยืนเข้มข้นจึงต้องเผชิญแรงเสียดทานสาหัส การรับมือกับผู้ต่อต้าน (Resister) ระดับกุมทิศทางเกษตรกรรมประเทศและโลกจึงต้องอาศัยกฎหมายควบคู่กับการระดมสรรพพลังสนับสนุนทุกภาคส่วนได้เสียในการวางแผน พร้อมผลักดันพฤติกรรมและความมุ่งมั่นให้สอดคล้องกันภายใต้โครงสร้างปฏิรูปที่ปฏิบัติได้จริง
ยิ่งเหนี่ยวนำด้วยสถานการณ์ความหิวโหยที่เผาผลาญประชากรโลก 923 ล้านคนในปี 2007 ตามรายงาน The State of Food Insecurity in the World 2008 ของ FAO และความเห็นพ้องต้องกันใน World Economic Forum หัวข้อ Fresh Solutions for Food Security ที่มีนายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการยูเอ็นและนายกรัฐมนตรีไทยเข้าร่วมที่ชี้ว่าภาวะข้าวยากหมากแพงเป็นภัยร้ายแรงคุกคามสันติภาพและความรุ่งโรจน์โลก ก็น่าเชื่อว่าทั้งเกษตรกร บรรษัทเกษตรกรรม เอ็นจีโอ และภาครัฐจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงจากภาวะตื่นตระหนก ถอยเพื่อตั้งรับ รับรู้ จนกระทั่งยอมรับและปรับตัว (Acceptance and adaptation) ได้ในที่สุด
เกษตรกรไทยจะได้ยืดตัวตรงภาคภูมิใจในอาชีพเลี้ยงตัวเองและโลก (Feed the world) ด้วยกระดูกสันหลังจะโค้งก็ต่อเมื่อ ‘ทำงานอยู่ระหว่างกลางดินฟ้า ถึงแดดกล้าฝนพรำก็ทำไป’ ดังเพลงปลุกใจข้างต้นเท่านั้น หาใช่เพราะเปราะบางจากการถูกแทะกัดเรื้อรังร่อแร่อย่างทุกวันนี้ที่หนี้สินถั่งโถมชีวิตจนเวียนวนวงจรอุบาทว์ (Vicious circle).-
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
ถ้อยเพลงปลุกใจให้ตระหนักความสำคัญของชาวไร่ชาวนาหาค่าใดไม่ได้ในสังคมไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับนโยบายสาธารณะ เพราะรัฐบาลและพรรคการเมืองมักมองกลุ่มเกษตรกรหลายสิบล้านคนแค่คะแนนเสียงเท่านั้น
นั่นทำให้นโยบาย มาตรการ ตลอดจนแผนงานภาคเกษตรกรรมไม่เพียงเน้นหนักการหว่านโปรยถ้อยคำให้ความหวังระยะสั้นกับกลุ่มเกษตรกรที่ตลอดชีวิตบรรพบุรุษและตนเองตกห้วงคับแค้นขัดสนเท่านั้น ทว่าแนวทางแก้ปัญหายังมุ่งเฉพาะด้าน เฉพาะหน้า และขาดความต่อเนื่องด้วย
แม้มีความพยายามแก้ปัญหาเกษตรกรอย่างเป็นระบบ ดังรัฐธรรมนูญ 2550 ได้ตั้งกลไก ‘สภาเกษตรกร’ ที่รวมกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรสาขาต่างๆ เพื่อวางแผนการเกษตรและรักษาผลประโยชน์ร่วมกันลักษณะเดียวกับสมาชิกสภาหอการค้า รวมถึงถ้อยแถลงนโยบายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าด้วยการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร ที่ให้คำมั่นครอบคลุมตั้งแต่การเร่งรัดเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและพัฒนาระบบลอจิสติกส์ทางการเกษตร จนถึงการสร้างความมั่นคงด้านอาหารโดยส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริ แล้วก็ตาม
กระนั้นก็ยังไม่รอบด้านดี ด้วยแท้จริงระบบเกษตรกรรมยึดโยงกับเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมทั้งในและระหว่างประเทศแนบแน่น มุมมองผิวเผินเห็นเกษตรกรรมเพียงเรื่องปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ทำประมง จึงหลุดลอยจากความเป็นจริงที่เกษตรกรรมเป็นระบบรองรับความมั่นคงทางอาหารของประเทศ ระบบการจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รากฐานระบบเศรษฐกิจที่เชื่อมร้อยกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ และที่สำคัญเป็นวิถีชีวิตวิถีวัฒนธรรมที่ประชาชนกลุ่มใหญ่ในชาติใช้เป็น ‘เรือนตาย’ ยามปกติสุขและผิดหวัง
การยืดกระดูกสันหลังของชาติตั้งตรงสมเป็นรากฐานสำคัญสังคมไทย ไม่ให้เกษตรกรกว่าร้อยละ 70 มีหนี้สินล้นพ้นตัว พอกพูนรุ่นต่อรุ่นจนหมดโอกาสเปลื้องปลด กว่า 1.5 ล้านครอบครัวไร้ที่ดินทำกินของตนเอง และคุณภาพชีวิตย่ำแย่ถูกยาฆ่าแมลงปุ๋ยเคมีขยี้สุขภาพ ดั่งปัจจุบันนี้ จักต้องแก้วิกฤตทั้งระบบครบถ้วนทุกด้านด้วย ‘การบริหารการเปลี่ยนแปลง’ (Managing change and transition) มากกว่าจะจำกัดภาระหน้าที่ไว้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยลำพัง
ด้วยถึงกระทรวงเกษตรฯ จะทำ 4 ยุทธศาสตร์ ทั้งขจัดความยากจนของเกษตรกร ปรับโครงสร้างภาคการเกษตร บริหารจัดการทรัพยากรเกษตร และเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการ ทว่าก็ยังมีอีกหลากมิติต้องการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นการปรับกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ การปฏิรูปที่ดิน ภาษีมรดก สุขภาวะเกษตรกร จนถึงภาวะโลกร้อน
การก้าวข้ามกระทรวงทบวงกรมภาครัฐ โดยผนวกเครือข่ายเกษตรกร องค์กรท้องถิ่นชุมชน องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค และภาคธุรกิจถึงการท่องเที่ยว ไม่เพียงขจัดความขัดแย้งแค้นเคืองกันจากการวางกรอบเป้าหมายต่างกัน ยังสร้างเสริมศักยภาพซึ่งกันจนขวากหนามแหลมคมเคยทิ่มแทงกระดูกสันหลังของชาติกร่อนตัวแตกหักหลังผสานประโยชน์ร่วมกันได้
ไม่เท่านั้น ประชาชนทั่วไปในฐานะผู้บริโภคยังได้กินดีอยู่ดีมีสุขภาพสมบูรณ์ตามมาด้วย เพราะเกษตรกรไม่ตกเป็นทาสสารเคมีและยาฆ่าแมลงจนต้องเร่งผลิตและผลักพืชผลปนเปื้อนสู่ท้องตลาดและโลกเพื่อนำเงินน้อยนิดมาต่อชีวิตที่ทวีหนี้สินขึ้นเรื่อยๆ จนความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างเกษตรกรกับประชาชนภาคการผลิตอื่นๆ สูงกว่า 10 เท่าแล้ว
ทั้งนี้ ถึงไทยจะมีรูปธรรมของเกษตรกรผู้พบพานความสำเร็จทั้งระดับปัจเจกและเครือข่ายอยู่ไม่น้อยจากการทำเกษตรปลอดสารเคมี หนี้สิน และยืนหยัดบนลำแข้งตนเองได้ แต่เอาเข้าจริงแล้วก็ถือว่าภูมิปัญญาและวัตรปฏิบัติเหล่านั้นค่อนข้างจะกระจุกตัวอยู่ในแวดวงเกษตรกรที่สนใจจริงจังเท่านั้น ยังไม่อาจขยายกว้างขวางเป็นพลังเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมทั้งระบบได้
อีกทั้งกลไกในกฎหมายสูงสุดอย่างสภาเกษตรกร และพันธสัญญาทางการเมือง (Political commitment) ก็เป็นแค่หนึ่งในเครื่องมือเปลี่ยนผ่านระบบเกษตรกรรมเท่านั้น หากหวังเก็บเกี่ยวดอกผลหอมหวานจักต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง (Structural change) เปลี่ยนแปลงเพื่อลดต้นทุน (Cost cutting) เปลี่ยนแปลงกระบวนการ (Process change) และเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม (Cultural change) ใหม่ในมุมมองว่าภาคเกษตรกรรมคือองค์กรหนึ่งที่ถึงเวลาปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อสามารถท้าทายเทคโนโลยี ผลผลิต ตลาด คู่แข่งขัน และกฎกติกาใหม่ได้
ในท่วงทำนองการเปลี่ยนแปลงคือโอกาส หรือวิกฤตคือโอกาส วิกฤตปัจจุบันย่อมต่างจากวิกฤตอดีต แนวทางต่อกรปัญหาหนักหน่วงนานัปการด้านเกษตรกรรมทั้งภายในและนอกประเทศจึงต้องการการบริหารจัดการที่ต่างออกไปเช่นเดียวกัน
โอกาสในวิกฤตย่อมผลิบานแตกต่างกันตามแต่ละห้วงยาม การพยายามใช้ยุทธวิธี ยุทธศาสตร์เดิมๆ ผลิตซ้ำเหตุปัจจัยเดิมๆ แล้วหวังผลแตกต่างจึงเป็นเรื่องเหลวไหลสิ้นดี
การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีหมุดหมายร่วมกันคือคืนสุขภาวะทั้งทางกาย จิตใจ ปัญญา และสังคมของเกษตรกรจึงปรารถนาการบริหารการเปลี่ยนแปลง อย่างน้อยที่สุดก็ต้องลดต้นทุนการผลิตพวก ‘ฮาร์ดแวร์’ นับแต่ซื้อเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง จ้างแรงงานเก็บเกี่ยวผลผลิต ตัดทอนการปฏิบัติงานที่ใช้เทคโนโลยีและพลังงานเชื้อเพลิง พร้อมกับเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการทำงานเพื่อให้กระบวนการผลิตจนถึงจัดจำหน่ายรวดเร็ว มีประสิทธิผล และเชื่อถือได้มากขึ้น
เหนืออื่นใดต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมอันเป็น ‘ซอฟต์แวร์’ เพื่อจัดสัมพันธภาพทางอำนาจใหม่ ให้เกษตรกรมีอำนาจต่อรองกับบรรษัทเกษตรกรรมทั้งระดับชาติและข้ามชาติสูงขึ้น ถึงไม่มากนัก ทว่าก็ต้องไม่ตกเป็นทาสในเรือนเบี้ยที่ไร้ทางไถ่ถอนอิสระภาระหนี้สินและแรงลมโลกาภิวัตน์
ปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืนนอกจากต้องกระทำภายในสู่ภายนอกด้วยมิติวัฒนธรรมที่ทรงพลานุภาพมากพอจะปรับตัวเกษตรกรให้รักเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่น ทะนงศักดิ์ศรี มีทักษะการตลาดผ่านการรวมกลุ่มแบบสหกรณ์และเครือข่ายสาขาต่างๆ แล้ว ยังต้องกระทำภายนอกสู่ภายในด้วย โดยการร่างกฎกติกาการปฏิรูปเกษตรกรรมทั้งระบบ โดยเฉพาะด้าน ‘เมล็ดพันธุ์’ ที่ไม่ควรให้บรรษัทเกษตรกรรมยักษ์ใหญ่ผูกขาดผ่านวาทกรรม R&D ผลผลิตต่อไร่สูงกว่า หรือเกษตรพันธสัญญา (Contact farming) เนิ่นนานต่อไป เพราะเฉพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวในปี 2549 ก็ต้องใช้มหาศาลถึง 1.2 ล้านตัน/ปี ขณะที่ภาคราชการผลิตได้แค่ 7 หมื่นตัน/ปี
ผลประโยชน์มโหฬารนี้ผลักชีวิตเกษตรกรอับจนข้นแค้นต่อเนื่อง ด้วยเมล็ดพันธุ์ข้าว/ข้าวโพดลูกผสม และเมล็ดพันธุ์ผักของภาคเอกชน นำรายจ่ายตามมามากมายแบบลูกโซ่ปฏิกิริยา ทั้งค่าปุ๋ย/ยา และความเสื่อมทรุดของผืนแผ่นดิน/สุขภาพ เพียงเพื่อจะได้ผลผลิตสูงตามคำโฆษณา
การปลดแอกด้วยปฏิบัติการเกษตรกรรมยั่งยืนเข้มข้นจึงต้องเผชิญแรงเสียดทานสาหัส การรับมือกับผู้ต่อต้าน (Resister) ระดับกุมทิศทางเกษตรกรรมประเทศและโลกจึงต้องอาศัยกฎหมายควบคู่กับการระดมสรรพพลังสนับสนุนทุกภาคส่วนได้เสียในการวางแผน พร้อมผลักดันพฤติกรรมและความมุ่งมั่นให้สอดคล้องกันภายใต้โครงสร้างปฏิรูปที่ปฏิบัติได้จริง
ยิ่งเหนี่ยวนำด้วยสถานการณ์ความหิวโหยที่เผาผลาญประชากรโลก 923 ล้านคนในปี 2007 ตามรายงาน The State of Food Insecurity in the World 2008 ของ FAO และความเห็นพ้องต้องกันใน World Economic Forum หัวข้อ Fresh Solutions for Food Security ที่มีนายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการยูเอ็นและนายกรัฐมนตรีไทยเข้าร่วมที่ชี้ว่าภาวะข้าวยากหมากแพงเป็นภัยร้ายแรงคุกคามสันติภาพและความรุ่งโรจน์โลก ก็น่าเชื่อว่าทั้งเกษตรกร บรรษัทเกษตรกรรม เอ็นจีโอ และภาครัฐจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงจากภาวะตื่นตระหนก ถอยเพื่อตั้งรับ รับรู้ จนกระทั่งยอมรับและปรับตัว (Acceptance and adaptation) ได้ในที่สุด
เกษตรกรไทยจะได้ยืดตัวตรงภาคภูมิใจในอาชีพเลี้ยงตัวเองและโลก (Feed the world) ด้วยกระดูกสันหลังจะโค้งก็ต่อเมื่อ ‘ทำงานอยู่ระหว่างกลางดินฟ้า ถึงแดดกล้าฝนพรำก็ทำไป’ ดังเพลงปลุกใจข้างต้นเท่านั้น หาใช่เพราะเปราะบางจากการถูกแทะกัดเรื้อรังร่อแร่อย่างทุกวันนี้ที่หนี้สินถั่งโถมชีวิตจนเวียนวนวงจรอุบาทว์ (Vicious circle).-
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org