สองสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงบัญญัติจำนวน 6 ใน 10 ประการ ของการพัฒนาประเทศเพื่อเป็นศูนย์กลางด้านลอจิสติกส์แล้ว สัปดาห์นี้จึงขอนำเสนออีก 4 ประการ
ประการที่เจ็ด บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในด้านลอจิสติกส์แบบบูรณาการ
รัฐบาลของประเทศเหล่านี้มุ่งเน้นการพัฒนาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเหนือกว่าคู่แข่ง เนื่องจากปัจจุบันความเร็วและความแม่นยำนับเป็นหัวใจสำคัญของการแข่งขันในธุรกิจ ดังนั้น รัฐบาลจะต้องพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) ในด้านต่างๆ เช่น พิธีการศุลกากร การอนุมัติอนุญาต ฯลฯ ให้ดีเยี่ยม เพื่อให้ธุรกิจลอจิสติกส์สามารถให้บริการได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และต้นทุนต่ำ
สำหรับประเทศที่เป็นเลิศอย่างมากในด้านนี้ คือ สิงคโปร์ โดยนับเป็นประเทศแรกของโลกที่นำระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange – EDI) มาใช้ในพิธีการศุลกากร ตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา นับว่าช่วยอำนวยความสะดวกเป็นอย่างมาก และปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นเป็น TradeXchange® ซึ่งนับเป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหลักของสิงคโปร์เกี่ยวกับการนำเข้าส่งออกและการพาณิชย์ระหว่างประเทศในแบบ Single Electronic Window for Integrated Workflow คือ ครอบคลุมทั้งในด้านศุลกากร หน่วยงานขนส่งทางทะเล ท่าเรือ ท่าอากาศยาน และหน่วยราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลไต้หวันได้เริ่มใช้ระบบพิธีการศุลกากรแบบใหม่ คือ Single Window ซึ่งอำนวยความสะดวกอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจลอจิสติกส์ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป โดยจะเป็นระบบออนไลน์โดยใช้ชื่อว่า “FT Net” โดยมีหน่วยราชการจำนวนมากเข้าร่วมในโครงการนี้ เป็นต้นว่า กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ กรมอนามัยพืชและสัตว์ สำนักงานมาตรฐานสอบเทียบเครื่องมือวัดและตรวจสอบ ฯลฯ
สำหรับรูปแบบใหม่ในด้านพิธีการศุลกากรจะเป็นบริการเบ็ดเสร็จแบบ One Stop Services โดยผู้นำเข้าหรือส่งออก จะมีภาระในการกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มบนระบบคอมพิวเตอร์เพียงแบบฟอร์มเดียวเท่านั้น ซึ่งแบบฟอร์มนี้จะมีข้อมูลหลากหลายตามความต้องการของหน่วยราชการต่างๆ จากนั้นระบบสารสนเทศ FT Net จะจัดส่งข้อมูลไปยังหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องอย่างอัตโนมัติ ทั้งนี้เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายที่เป็นการบริหารราชการแบบไร้กระดาษ
ประการที่แปด สิทธิและประโยชน์ด้านการส่งเสริมการลงทุนที่จูงใจนักลงทุน
รัฐบาลประเทศเหล่านี้สนับสนุนช่วยเหลือในด้านสิทธิและประโยชน์ด้านการส่งเสริมการลงทุนที่จูงใจนักลงทุน เป็นต้นว่า สิงคโปร์ได้ให้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรเพื่อพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจพาณิชย์นาวีระหว่างประเทศ (International Maritime Center – IMC) ซึ่งครอบคลุมธุรกิจมากมายเกี่ยวกับพาณิชย์นาวี เป็นต้นว่า ประกันภัยด้านพาณิชย์นาวี บริการกฎหมายด้านพาณิชย์นาวี เป็นนายหน้ากิจการตัดเรือ ฯลฯ โดยให้สิทธิและประโยชน์เป็นกรณีพิเศษ เป็นต้นว่า กิจการประกันภัยด้านพาณิชย์นาวีจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 10 สำหรับรายได้นอกประเทศ
ประการที่เก้า เน้นการตลาดเชิงรุกไปยังนักลงทุนเป้าหมายเพื่อชักจูงการลงทุน
รัฐบาลของประเทศเหล่านี้จะให้ความสนใจต่อนักลงทุนเป้าหมายให้มาใช้บริการ โดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจลอจิสติกส์รายใหญ่ของโลก ตัวอย่างหนึ่ง คือ กรณีความสำเร็จของมาเลเซียในการพัฒนาท่าเรือตันหยงปาเลปัส (PTP) ซึ่งบุคคลผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของธุรกิจลอจิสติกส์ของมาเลเซียเป็นอย่างมาก คือ ดร.Ling Liong Sik ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของมาเลเซีย ได้เน้นสร้างความสัมพันธ์เป็นการส่วนตัวกับสายการเดินเรือต่างๆ เพื่อให้การเจรจาธุรกิจทำได้ง่ายขึ้น
ดร.Ling Liong Sik ประสบผลสำเร็จในการล็อบบี้สายการเดินเรือเอเวอร์กรีนของไต้หวัน ให้เปลี่ยนจากเดิมที่เคยใช้ท่าเรือ PSA ของสิงคโปร์ มาใช้ท่าเรือ PTP ของมาเลเซีย โดยเมื่อผู้บริหารของสายการเดินเรือเอเวอร์กรีนเดินทางมายังประเทศมาเลเซีย ดร.Ling ได้ไปให้การต้อนรับด้วยตนเอง ก่อนที่จะเจรจาธุรกิจก็ต้องหาอาหารอร่อยๆ กินก่อน นอกจากจะพาไปเลี้ยงที่ภัตตาคารหรูหราแล้ว ยังพาไปกินบะหมี่ฮกเกี้ยนที่แผงลอยข้างถนนด้วย จากนั้นก็พาไปเยี่ยมคารวะเพื่อทำความรู้จักกับ ดร.มหาเธร์ พร้อมกับถ่ายรูปร่วมกัน
สำหรับกรณีของท่าอากาศยานนครเมมฟิสที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าทางอากาศใหญ่ที่สุดในโลก ก็เนื่องจากประสบผลสำเร็จในการชักจูงให้บริษัท FedEx มาตั้งศูนย์ลอจิสติกส์หลักภายในท่าอากาศยานแห่งนี้ โดยในช่วงแรกบริษัท FedEx สนใจจะจัดตั้งศูนย์ลอจิสติกส์ที่ท่าอากาศยานของนครลิตเทิลร็อกในมลรัฐอาร์คันซอ แต่การเจรจากลับไม่ประสบผลสำเร็จ โดยผู้บริหารของนครแห่งนี้มีทัศนคติไปในแนวทางอนุรักษนิยม ไม่มั่นใจถึงความสำเร็จของ FedEx โดยเกรงว่าจะต้องสูญเสียเงินงบประมาณในการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกแก่สายการบินจัดตั้งใหม่นี้
เพื่อแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว บริษัท FedEx จึงต้องไปเจรจากับผู้บริหารของนครแห่งอื่นๆ และประสบผลสำเร็จในการเจรจากับผู้บริหารของนครเมมฟิสในมลรัฐเทนเนสซี ซึ่งอนุญาตให้ FedEx ใช้อาคารโรงซ่อมเครื่องบินเก่าของกองทหารรักษาดินแดนซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์ จากนั้นบริษัท FedEx จึงย้ายฐานปฏิบัติการทั้งหมดจากนครลิตเทิลร็อกมายังนครเมมฟิส ซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของนครเมมฟิสอย่างมากมายมหาศาลในเวลาต่อมา โดยปัจจุบันบริษัท FedEx ว่าจ้างบุคลากรมากถึง 30,000 คน ในนครเมมฟิส และนับเป็นบริษัทที่จ้างงานมากที่สุดของนครแห่งนี้
ประการที่สิบ ส่งเสริมให้ธุรกิจลอจิสติกส์มีต้นทุนการดำเนินการต่ำ
ภาครัฐจะต้องพยายามกำหนดให้ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะกรณีที่ประเทศหรือมลรัฐนั้นๆ มีอำนาจในการต่อรองต่ำและต้องการชักจูงลูกค้าให้มาใช้บริการ ตัวอย่างหนึ่ง คือ กรณีของสิงคโปร์ จากการที่ผู้บริหารของบริษัทขนส่งพัสดุภัณฑ์ DHL ซึ่งเดิมได้ลงทุน 34 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อก่อสร้าง DHL Singapore Hub ขนาดพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร ในท่าอากาศยานชางกีของสิงคโปร์ ได้กล่าวผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์ว่าแม้ต้องการขยายกิจการภายในสิงคโปร์ แต่ได้ประสบปัญหาอย่างมาก เนื่องจากค่าบริการภาคพื้นดินอยู่ในระดับสูงมาก และในช่วงนั้นท่าอากาศยานชางกีมีผู้ให้บริษัทภาคพื้นดินเพียง 2 รายเท่านั้น คือ บริษัท CIAS และบริษัท Singapore Airport Terminal Services (SATS) ซึ่งทั้งสองบริษัทต่างเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงทำให้ไม่มีการแข่งขันกันเท่าที่ควร
เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น รัฐบาลสิงคโปร์จึงได้ประกาศในสัปดาห์ถัดมาให้เพิ่มจำนวนผู้ให้บริการในสนามบินจาก 2 ราย เป็น 3 ราย ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการเดิม 2 ราย จะมีกำลังการผลิตเพียงพอที่จะรองรับปริมาณการขนถ่ายสินค้าก็ตาม โดยได้เปิดประมูลในปี 2547 เพื่อหาผู้ให้บริการภาคพื้นดินรายที่ 3 ในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการ เพิ่มทางเลือกสำหรับสายการบิน ขณะเดียวกันก็เท่ากับเป็นการบีบบังคับโดยทางอ้อมเพื่อให้มีการลดค่าบริการลง
สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ คือ บริษัท Swissport Singapore ได้เปิดดำเนินการแล้วเมื่อปี 2549 อย่างไรก็ตาม ธุรกิจกลับไม่ประสบผลสำเร็จและขาดทุนเป็นเงินจำนวนมากถึง 50 ล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือประมาณ 1,200 ล้านบาท นับตั้งแต่เปิดดำเนินการ ดังนั้น บริษัท Swissport Singapore จึงได้ประกาศเมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 ว่ากำลังศึกษาทบทวนและอาจจะตัดสินใจปิดดำเนินการธุรกิจนี้ในอนาคต ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งบ่งชี้อย่างหนึ่งว่าผู้ประกอบการ 2 ราย ที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว มีประสิทธิภาพการดำเนินการค่อนข้างสูง ไม่ได้ทำธุรกิจในลักษณะเสือนอนกินแต่อย่างใด
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
ประการที่เจ็ด บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในด้านลอจิสติกส์แบบบูรณาการ
รัฐบาลของประเทศเหล่านี้มุ่งเน้นการพัฒนาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเหนือกว่าคู่แข่ง เนื่องจากปัจจุบันความเร็วและความแม่นยำนับเป็นหัวใจสำคัญของการแข่งขันในธุรกิจ ดังนั้น รัฐบาลจะต้องพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) ในด้านต่างๆ เช่น พิธีการศุลกากร การอนุมัติอนุญาต ฯลฯ ให้ดีเยี่ยม เพื่อให้ธุรกิจลอจิสติกส์สามารถให้บริการได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และต้นทุนต่ำ
สำหรับประเทศที่เป็นเลิศอย่างมากในด้านนี้ คือ สิงคโปร์ โดยนับเป็นประเทศแรกของโลกที่นำระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange – EDI) มาใช้ในพิธีการศุลกากร ตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา นับว่าช่วยอำนวยความสะดวกเป็นอย่างมาก และปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นเป็น TradeXchange® ซึ่งนับเป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหลักของสิงคโปร์เกี่ยวกับการนำเข้าส่งออกและการพาณิชย์ระหว่างประเทศในแบบ Single Electronic Window for Integrated Workflow คือ ครอบคลุมทั้งในด้านศุลกากร หน่วยงานขนส่งทางทะเล ท่าเรือ ท่าอากาศยาน และหน่วยราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลไต้หวันได้เริ่มใช้ระบบพิธีการศุลกากรแบบใหม่ คือ Single Window ซึ่งอำนวยความสะดวกอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจลอจิสติกส์ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป โดยจะเป็นระบบออนไลน์โดยใช้ชื่อว่า “FT Net” โดยมีหน่วยราชการจำนวนมากเข้าร่วมในโครงการนี้ เป็นต้นว่า กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ กรมอนามัยพืชและสัตว์ สำนักงานมาตรฐานสอบเทียบเครื่องมือวัดและตรวจสอบ ฯลฯ
สำหรับรูปแบบใหม่ในด้านพิธีการศุลกากรจะเป็นบริการเบ็ดเสร็จแบบ One Stop Services โดยผู้นำเข้าหรือส่งออก จะมีภาระในการกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มบนระบบคอมพิวเตอร์เพียงแบบฟอร์มเดียวเท่านั้น ซึ่งแบบฟอร์มนี้จะมีข้อมูลหลากหลายตามความต้องการของหน่วยราชการต่างๆ จากนั้นระบบสารสนเทศ FT Net จะจัดส่งข้อมูลไปยังหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องอย่างอัตโนมัติ ทั้งนี้เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายที่เป็นการบริหารราชการแบบไร้กระดาษ
ประการที่แปด สิทธิและประโยชน์ด้านการส่งเสริมการลงทุนที่จูงใจนักลงทุน
รัฐบาลประเทศเหล่านี้สนับสนุนช่วยเหลือในด้านสิทธิและประโยชน์ด้านการส่งเสริมการลงทุนที่จูงใจนักลงทุน เป็นต้นว่า สิงคโปร์ได้ให้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรเพื่อพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจพาณิชย์นาวีระหว่างประเทศ (International Maritime Center – IMC) ซึ่งครอบคลุมธุรกิจมากมายเกี่ยวกับพาณิชย์นาวี เป็นต้นว่า ประกันภัยด้านพาณิชย์นาวี บริการกฎหมายด้านพาณิชย์นาวี เป็นนายหน้ากิจการตัดเรือ ฯลฯ โดยให้สิทธิและประโยชน์เป็นกรณีพิเศษ เป็นต้นว่า กิจการประกันภัยด้านพาณิชย์นาวีจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 10 สำหรับรายได้นอกประเทศ
ประการที่เก้า เน้นการตลาดเชิงรุกไปยังนักลงทุนเป้าหมายเพื่อชักจูงการลงทุน
รัฐบาลของประเทศเหล่านี้จะให้ความสนใจต่อนักลงทุนเป้าหมายให้มาใช้บริการ โดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจลอจิสติกส์รายใหญ่ของโลก ตัวอย่างหนึ่ง คือ กรณีความสำเร็จของมาเลเซียในการพัฒนาท่าเรือตันหยงปาเลปัส (PTP) ซึ่งบุคคลผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของธุรกิจลอจิสติกส์ของมาเลเซียเป็นอย่างมาก คือ ดร.Ling Liong Sik ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของมาเลเซีย ได้เน้นสร้างความสัมพันธ์เป็นการส่วนตัวกับสายการเดินเรือต่างๆ เพื่อให้การเจรจาธุรกิจทำได้ง่ายขึ้น
ดร.Ling Liong Sik ประสบผลสำเร็จในการล็อบบี้สายการเดินเรือเอเวอร์กรีนของไต้หวัน ให้เปลี่ยนจากเดิมที่เคยใช้ท่าเรือ PSA ของสิงคโปร์ มาใช้ท่าเรือ PTP ของมาเลเซีย โดยเมื่อผู้บริหารของสายการเดินเรือเอเวอร์กรีนเดินทางมายังประเทศมาเลเซีย ดร.Ling ได้ไปให้การต้อนรับด้วยตนเอง ก่อนที่จะเจรจาธุรกิจก็ต้องหาอาหารอร่อยๆ กินก่อน นอกจากจะพาไปเลี้ยงที่ภัตตาคารหรูหราแล้ว ยังพาไปกินบะหมี่ฮกเกี้ยนที่แผงลอยข้างถนนด้วย จากนั้นก็พาไปเยี่ยมคารวะเพื่อทำความรู้จักกับ ดร.มหาเธร์ พร้อมกับถ่ายรูปร่วมกัน
สำหรับกรณีของท่าอากาศยานนครเมมฟิสที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าทางอากาศใหญ่ที่สุดในโลก ก็เนื่องจากประสบผลสำเร็จในการชักจูงให้บริษัท FedEx มาตั้งศูนย์ลอจิสติกส์หลักภายในท่าอากาศยานแห่งนี้ โดยในช่วงแรกบริษัท FedEx สนใจจะจัดตั้งศูนย์ลอจิสติกส์ที่ท่าอากาศยานของนครลิตเทิลร็อกในมลรัฐอาร์คันซอ แต่การเจรจากลับไม่ประสบผลสำเร็จ โดยผู้บริหารของนครแห่งนี้มีทัศนคติไปในแนวทางอนุรักษนิยม ไม่มั่นใจถึงความสำเร็จของ FedEx โดยเกรงว่าจะต้องสูญเสียเงินงบประมาณในการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกแก่สายการบินจัดตั้งใหม่นี้
เพื่อแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว บริษัท FedEx จึงต้องไปเจรจากับผู้บริหารของนครแห่งอื่นๆ และประสบผลสำเร็จในการเจรจากับผู้บริหารของนครเมมฟิสในมลรัฐเทนเนสซี ซึ่งอนุญาตให้ FedEx ใช้อาคารโรงซ่อมเครื่องบินเก่าของกองทหารรักษาดินแดนซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์ จากนั้นบริษัท FedEx จึงย้ายฐานปฏิบัติการทั้งหมดจากนครลิตเทิลร็อกมายังนครเมมฟิส ซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของนครเมมฟิสอย่างมากมายมหาศาลในเวลาต่อมา โดยปัจจุบันบริษัท FedEx ว่าจ้างบุคลากรมากถึง 30,000 คน ในนครเมมฟิส และนับเป็นบริษัทที่จ้างงานมากที่สุดของนครแห่งนี้
ประการที่สิบ ส่งเสริมให้ธุรกิจลอจิสติกส์มีต้นทุนการดำเนินการต่ำ
ภาครัฐจะต้องพยายามกำหนดให้ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะกรณีที่ประเทศหรือมลรัฐนั้นๆ มีอำนาจในการต่อรองต่ำและต้องการชักจูงลูกค้าให้มาใช้บริการ ตัวอย่างหนึ่ง คือ กรณีของสิงคโปร์ จากการที่ผู้บริหารของบริษัทขนส่งพัสดุภัณฑ์ DHL ซึ่งเดิมได้ลงทุน 34 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อก่อสร้าง DHL Singapore Hub ขนาดพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร ในท่าอากาศยานชางกีของสิงคโปร์ ได้กล่าวผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์ว่าแม้ต้องการขยายกิจการภายในสิงคโปร์ แต่ได้ประสบปัญหาอย่างมาก เนื่องจากค่าบริการภาคพื้นดินอยู่ในระดับสูงมาก และในช่วงนั้นท่าอากาศยานชางกีมีผู้ให้บริษัทภาคพื้นดินเพียง 2 รายเท่านั้น คือ บริษัท CIAS และบริษัท Singapore Airport Terminal Services (SATS) ซึ่งทั้งสองบริษัทต่างเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงทำให้ไม่มีการแข่งขันกันเท่าที่ควร
เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น รัฐบาลสิงคโปร์จึงได้ประกาศในสัปดาห์ถัดมาให้เพิ่มจำนวนผู้ให้บริการในสนามบินจาก 2 ราย เป็น 3 ราย ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการเดิม 2 ราย จะมีกำลังการผลิตเพียงพอที่จะรองรับปริมาณการขนถ่ายสินค้าก็ตาม โดยได้เปิดประมูลในปี 2547 เพื่อหาผู้ให้บริการภาคพื้นดินรายที่ 3 ในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการ เพิ่มทางเลือกสำหรับสายการบิน ขณะเดียวกันก็เท่ากับเป็นการบีบบังคับโดยทางอ้อมเพื่อให้มีการลดค่าบริการลง
สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ คือ บริษัท Swissport Singapore ได้เปิดดำเนินการแล้วเมื่อปี 2549 อย่างไรก็ตาม ธุรกิจกลับไม่ประสบผลสำเร็จและขาดทุนเป็นเงินจำนวนมากถึง 50 ล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือประมาณ 1,200 ล้านบาท นับตั้งแต่เปิดดำเนินการ ดังนั้น บริษัท Swissport Singapore จึงได้ประกาศเมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 ว่ากำลังศึกษาทบทวนและอาจจะตัดสินใจปิดดำเนินการธุรกิจนี้ในอนาคต ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งบ่งชี้อย่างหนึ่งว่าผู้ประกอบการ 2 ราย ที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว มีประสิทธิภาพการดำเนินการค่อนข้างสูง ไม่ได้ทำธุรกิจในลักษณะเสือนอนกินแต่อย่างใด
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th