แน่ละว่าความจริงเชิงข้อเท็จจริง (Factual truth) มักนำความสูญเสียมาสู่ผู้ถูกตรวจสอบเสมอ เฉกเช่นเดียวกันกับผู้ตรวจสอบก็อาจเผชิญรื้นร้าวคาวขื่นไม่น้อยกว่ากันจากการถูกทอดทิ้งไว้ในสมรภูมิขุดคุ้ยเดียวดาย ยิ่งพยายามตามหาความจริงจากนักการเมืองด้วยแล้วก็มักแพ้พ่ายต่อกลวิธี ‘รับชอบ’ (Credit claming) แต่ ‘ปัดปฏิเสธความรับผิดชอบ’ (Blame avoidance)
การไม่ยอมตอบคำถามสำคัญๆ การตอบไม่ตรงคำถาม รวมทั้งการให้คำตอบไม่สมบูรณ์ และมุ่งเน้นโจมตีเพื่อดิสเครดิตผู้กล่าวหา นับเป็นรูปแบบการตอบแบบไม่ตอบที่นักการเมืองไทยใช้สม่ำเสมอสุดในเวลาอภิปราย หลายสิบคำถามข้างนอกสภาที่ ASTV ไถ่ถามรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถึงรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช จึงได้แต่คำตอบตกหุบเหวแห่งหายนะนี้เหมือนๆ กัน
ขนาดซักไซ้ไล่เรียงถึงพริกถึงขิงขนาดนั้น นักการเมืองยังรอดพ้นจากการถูกความจริงจัดการไปได้ แล้วนับประสาอะไรกับสื่อมวลชนที่ไม่เรียนรู้กลยุทธ์การตั้งคำถาม คำตอบที่ได้ก็ไม่ต่างอันใดจากการโฆษณาชวนเชื่อ ยิ่งไม่เคยครุ่นคิดคำถามเจาะลึก ถนัดแต่ ‘ไมค์ติดปาก’ ตามสัมภาษณ์หน้าทำเนียบรัฐบาลข้างรัฐสภาด้วยคำถามดาษๆ ก็เชื่อมั่นได้ว่าจะตกเป็นเหยื่อโฆษณาชวนเชื่อช่วยกระจายข้อมูลข่าวสารบิดเบี้ยวความจริงสู่พื้นที่สาธารณะแน่นอน
สื่อมวลชนจักต้องรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมคำตอบนักการเมือง และผสานพลังกันล้วงลึกข้อมูลทุจริตก่อนนำมาเผยแพร่เปิดโปงแก่ประชาชนเพื่อคลี่คลายวิกฤตปัญญาร่วมกัน เหนืออื่นใด ‘ความกลัวทำให้เสื่อม’ จึงไม่ควรพยายามดึงสื่อมวลชนหาญกล้ากว่าเข้าเป็นพวกขลาดเขลา
บทบาท ASTV โดยเฉพาะช่อง NEWS1 แรกเริ่มแม้จะเป็นเสมือนตัวตนและความคิดของสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งโดยลำพัง หากก็ปรับเปลี่ยนไปในกาลต่อมาจากการผนวกเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองภาคประชาชนในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ฉะนั้นพันธกิจ ASTV วันนี้จึงยึดโยงอยู่กับประกาศและแถลงการณ์พันธมิตรฯ มากกว่า
เช่นนี้แล้ว ความระแวงแคลงใจบทบาทของ ASTV จนจัดวางตำแหน่งแห่งที่ไม่ให้เป็นสื่อภาคประชาชนจึงน่าจะคลาดเคลื่อน ด้วยทีวีแห่งนี้นอกจากจะวางหมุดหมายไว้ที่การสรรค์สร้างการเมืองใหม่ไร้โกงกินบนฐานมวลชนของตนเองแล้ว ยังสามารถพัฒนาเทคนิควิธีถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากเงินบริจาคของพลเมืองได้ด้วย
นัยนี้ ASTV จึงเป็นสื่อของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน (of the people, by the people and for the people) ในท่วงทำนองเดียวกันกับระบอบประชาธิปไตยเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
มวลชนผู้เฝ้าติดตามการถ่ายทอดสดเวทีชุมนุมแบบ 24 ชั่วโมงทางบ้าน และแสดงตัวตนแลทัศนะชัดแจ้งผ่านการร่วมชุมนุม เอื้อเฟื้อเจือจุนคุ้มครองสถานีโทรทัศน์แห่งนี้โดยการบริจาคเงินทอง ทั้งซื้อเองและบริจาคจานดาวเทียม ASTV เพื่อความคงอยู่คู่เคียงกับขยายเครือข่ายพลังปัญญา พวกเขาไม่ใช่ประชาชนหรืออย่างไร ไม่ควรมีใครผูกขาดความเป็นประชาชนไม่ใช่หรือ!?
ประชาชนไม่ควรถูกผูกขาดทั้งโดยพรรคการเมืองผ่านคะแนนเสียงเลือกตั้ง และรัฐบาลผ่านนโยบายสาธารณะ เพราะกระบวนการเหล่านี้ไม่เพียงให้คุณค่าประชาชนแค่ 4 วินาทีในลัทธิพิธีเลือกตั้ง หากยังลิดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชนจากนโยบายแบบขาดการมีส่วนร่วมด้วย
นโยบายสาธารณะต่างๆ ของภาครัฐมักตัดตอนการมีส่วนร่วมของประชาชนในฐานะผู้มีส่วนได้เสียเสมอๆ แม้นว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายรองรับการมีส่วนร่วมไว้ไม่น้อยอย่างประชามติหรือประชาพิจารณ์ มากกว่านั้นนโยบายไร้วิสัยทัศน์มากมายยังร้ายแรงขึ้นมากจากการหนุนเนื่องโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของสื่อมวลชนที่อ้างหลักความเป็นกลางและนำเสนอข่าวสารรอบด้าน
ด้วยความเป็นกลางไม่มีจริงในทางปฏิบัติงานของสื่อมวลชน เพราะทั้งระดับปัจเจกและองค์กรล้วนขับเคลื่อนโดยมนุษย์ที่จิตยังวนเวียนจมอยู่ใน ‘โลภะ โทสะ โมหะ’ ขณะเดียวกันข่าวสารรอบด้านที่พยายามเผยแพร่นั้นเมื่อเอาเข้าจริงๆ แล้วก็มักจะละเลยความคิดเห็นของกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทุกข์ทรมานทางกายและใจจากนโยบายสาธารณะเมื่อเทียบกับกลุ่มกุมอำนาจรัฐ
กล่าวเคร่งครัดคือสื่อมวลชนไม่นำเสนอทัศนะผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) ทุกกลุ่มสู่สาธารณชนจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคัดค้านขัดขวางนโยบายรัฐนับแต่ระดับเล็กน้อยถึงยิ่งใหญ่ไล่รัฐบาลฉ้อฉล ดังปรากฏการณ์เอียงข้างรัฐบาลโฉ่งฉ่างชัดแจ้งของ ‘สื่อรัฐ’ ตั้งแต่ยังเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 จนเปลี่ยนชื่อเป็น NBT ที่มีสโลแกนว่า ‘สมดุล เป็นกลาง ฉับไว’ เนื่องจากวางอยู่บนฐานคิดว่าจะต้องเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์หลักที่ทำหน้าที่เป็นสื่อหลักของรัฐบาลอย่างแท้จริง
พระเพลิงเผาผลาญกรมประชาสัมพันธ์ในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 และพฤษภา 35 จึงละม้ายกับการพยายามยึด NBT เพื่อตอบโต้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกบิดเบือนโดยกระบอกเสียงของรัฐบาล ทั้งๆ ที่องค์กรสื่อนี้ต้องเป็นสื่อของรัฐไม่ใช่สื่อของรัฐบาล หากทว่าผ่านมาบทบาทหน้าที่และจริยธรรมกลับตกอยู่ใต้อาณัติอคติเกลียดกลัวการถูกตรวจสอบของนักการเมืองที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
สมรภูมิสงครามข่าวสารทุ่มเถียงตอบโต้กันระหว่างสื่อของประชาชนกับสื่อของรัฐบาลจึงดำเนินมายาวนานต่อเนื่องตราบเท่าที่สื่อรัฐยังคงเอียงข้างรัฐบาลมากกว่าประชาชน บิดเบือนข้อเท็จจริง และสนับสนุนความรุนแรงว่าเป็นทางออกของการจัดการปัญหาทางการเมือง
ทางตรงข้าม ถ้าปลดล็อกทุนธนกิจการเมืองควบคู่กับมีมาตรการป้องกันการแทรกแซงทางการเมืองได้มากพอควร ก็จักสร้างสื่อมวลชนที่มีศักยภาพรายงานข่าวสารความจริงเชิงข้อเท็จจริงได้มากขึ้น ดังกรณีทีวีไทย ทีวีสาธารณะ (Thai PBS) ที่มี พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 เป็นปราการรานรุกจากรัฐบาลเสียประโยชน์
โดยสรุป สื่อมวลชนจึงไม่ได้พิสุทธิ์ปราศจาก ‘อคติ’ (Bias) แต่อย่างใด ไม่เพียงเท่านั้นการพยายามวางตัวเป็นกลางอย่างกลวงๆ ท่ามกลางขณะบ้านเมืองกำลังล่มจมจากการบริหารจัดการนโยบายสาธารณะผิดพลาดของรัฐบาลฉ้อฉลนั้นยังขัดกับหลักอาชีวปฏิญาณที่ยึดมั่นศรัทธาด้วย
ASTV และพันธมิตรฯ ที่ไม่ยอมมองสังคมตกต่ำ มุ่งมาดสร้างชาติบ้านเมืองพ้นปลักโคลนคอร์รัปชันจึงควรขับเคลื่อนตนเองและภาคีกัลยาณมิตรไม่ให้ตกบ่วง ‘The end justifies the means’
แม้แน่นอนว่ารัฐบาลกังฉินกินชาติผลาญเมืองนั้นจักต้องถูกขับไล่ให้พ้นไปตามยุทธศาสตร์โดยไว หากในยุทธวิธีที่เลือกใช้ก็ต้องไม่ตีกรอบตนเองเกินไปด้วยการแยกเขาแยกเราออกด้วยโลกทรรศน์ขาวล้วนดำล้วน ดีงามทรามเลว เทพเทวดายักษ์มาร เพราะแม้จะจัดประเภทแยกแยะมิตรศัตรูได้เด็ดขาด แต่ระหว่างทางก็สุ่มเสี่ยงโศกนาฏกรรมการลดทอนความเป็นมนุษย์ของผู้ที่เราเห็นเป็นปรปักษ์จนกระทั่งอาจถึงขั้นคร่าเข่นกันได้ในนามความดีมีศีลธรรม อีกทั้งยังปิดหับจินตนาการทางออกอื่นๆ อีกด้วย
ศัตรูของพันธมิตรฯ และ ASTV จึงควรอยู่ที่ตัวโครงสร้างอยุติธรรมมากกว่าตัวบุคคล โครงสร้างสังคมไทยที่เอื้อต่อการฟูมฟักคอร์รัปชันจึงต้องเป็นแก่นแกนยึดกุมในการสานเครือข่ายพันธมิตรฯ เพื่อสร้างศัตรูร่วมกันของสังคมไทยในนามของการเมืองใหม่มากกว่า
ASTV ที่เป็นกลไกสำคัญในขบวนการพันธมิตรฯ จึงต้องหมุนกงล้อตุลาการภิวัฒน์และประชาภิวัฒน์ให้เคลื่อนไปข้างหน้าพร้อมๆ กัน ด้านตุลาการภิวัฒน์นั้นชัดเจนมากแล้วจากการสนับสนุน คตส.ตรวจสอบการกระทำผิดต่อรัฐมหาศาลกว่า 1.8 แสนล้านบาท ส่วนประชาภิวัฒน์นั้นก็ต้องขยายวงกว้างขวางกว่าแค่ชนชั้นกลางในเมือง ต้องผนึกประชาชนรากหญ้าที่ขาดข้อมูลและศักยภาพจะตัดสินใจเลือกตั้งอย่างอิสระให้เข้าร่วมเป็นกัลยาณมิตร
มากกว่านั้น ยังต้องทลายคำปรามาสการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ ว่าไม่เกิดคุณูปการต่อคนจนยากไร้ ด้วยการอธิบายให้ได้ว่าความจนข้นแค้นของพวกเขานั้นมาจากการถูกทำให้จนโดยนักการเมืองทุจริตคอร์รัปชันอย่างไร
วิกฤตปัญญาอันเนื่องมาจากการเมืองกดทับชุดคุณธรรมศีลธรรมครานี้ จึงเป็นโอกาสดีที่สื่อมวลชนจะสำแดงพลังผันตนเองเป็นคาดงัดการเมืองฉ้อราษฎร์บังหลวง ด้วยการสร้างผู้รับสาร/พลเมืองกระตือรือร้น (Active audience/ citizen) ขึ้นมาปกป้องผืนปฐพี ดังที่ ASTV นำร่องไว้แล้วจากการเป็นสื่อทางเลือก (Alternative media) ที่หาญกล้าขบถต่อสื่อกระแสหลักและอำนาจการเมือง (มีต่อตอน 9)
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
การไม่ยอมตอบคำถามสำคัญๆ การตอบไม่ตรงคำถาม รวมทั้งการให้คำตอบไม่สมบูรณ์ และมุ่งเน้นโจมตีเพื่อดิสเครดิตผู้กล่าวหา นับเป็นรูปแบบการตอบแบบไม่ตอบที่นักการเมืองไทยใช้สม่ำเสมอสุดในเวลาอภิปราย หลายสิบคำถามข้างนอกสภาที่ ASTV ไถ่ถามรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถึงรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช จึงได้แต่คำตอบตกหุบเหวแห่งหายนะนี้เหมือนๆ กัน
ขนาดซักไซ้ไล่เรียงถึงพริกถึงขิงขนาดนั้น นักการเมืองยังรอดพ้นจากการถูกความจริงจัดการไปได้ แล้วนับประสาอะไรกับสื่อมวลชนที่ไม่เรียนรู้กลยุทธ์การตั้งคำถาม คำตอบที่ได้ก็ไม่ต่างอันใดจากการโฆษณาชวนเชื่อ ยิ่งไม่เคยครุ่นคิดคำถามเจาะลึก ถนัดแต่ ‘ไมค์ติดปาก’ ตามสัมภาษณ์หน้าทำเนียบรัฐบาลข้างรัฐสภาด้วยคำถามดาษๆ ก็เชื่อมั่นได้ว่าจะตกเป็นเหยื่อโฆษณาชวนเชื่อช่วยกระจายข้อมูลข่าวสารบิดเบี้ยวความจริงสู่พื้นที่สาธารณะแน่นอน
สื่อมวลชนจักต้องรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมคำตอบนักการเมือง และผสานพลังกันล้วงลึกข้อมูลทุจริตก่อนนำมาเผยแพร่เปิดโปงแก่ประชาชนเพื่อคลี่คลายวิกฤตปัญญาร่วมกัน เหนืออื่นใด ‘ความกลัวทำให้เสื่อม’ จึงไม่ควรพยายามดึงสื่อมวลชนหาญกล้ากว่าเข้าเป็นพวกขลาดเขลา
บทบาท ASTV โดยเฉพาะช่อง NEWS1 แรกเริ่มแม้จะเป็นเสมือนตัวตนและความคิดของสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งโดยลำพัง หากก็ปรับเปลี่ยนไปในกาลต่อมาจากการผนวกเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองภาคประชาชนในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ฉะนั้นพันธกิจ ASTV วันนี้จึงยึดโยงอยู่กับประกาศและแถลงการณ์พันธมิตรฯ มากกว่า
เช่นนี้แล้ว ความระแวงแคลงใจบทบาทของ ASTV จนจัดวางตำแหน่งแห่งที่ไม่ให้เป็นสื่อภาคประชาชนจึงน่าจะคลาดเคลื่อน ด้วยทีวีแห่งนี้นอกจากจะวางหมุดหมายไว้ที่การสรรค์สร้างการเมืองใหม่ไร้โกงกินบนฐานมวลชนของตนเองแล้ว ยังสามารถพัฒนาเทคนิควิธีถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากเงินบริจาคของพลเมืองได้ด้วย
นัยนี้ ASTV จึงเป็นสื่อของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน (of the people, by the people and for the people) ในท่วงทำนองเดียวกันกับระบอบประชาธิปไตยเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
มวลชนผู้เฝ้าติดตามการถ่ายทอดสดเวทีชุมนุมแบบ 24 ชั่วโมงทางบ้าน และแสดงตัวตนแลทัศนะชัดแจ้งผ่านการร่วมชุมนุม เอื้อเฟื้อเจือจุนคุ้มครองสถานีโทรทัศน์แห่งนี้โดยการบริจาคเงินทอง ทั้งซื้อเองและบริจาคจานดาวเทียม ASTV เพื่อความคงอยู่คู่เคียงกับขยายเครือข่ายพลังปัญญา พวกเขาไม่ใช่ประชาชนหรืออย่างไร ไม่ควรมีใครผูกขาดความเป็นประชาชนไม่ใช่หรือ!?
ประชาชนไม่ควรถูกผูกขาดทั้งโดยพรรคการเมืองผ่านคะแนนเสียงเลือกตั้ง และรัฐบาลผ่านนโยบายสาธารณะ เพราะกระบวนการเหล่านี้ไม่เพียงให้คุณค่าประชาชนแค่ 4 วินาทีในลัทธิพิธีเลือกตั้ง หากยังลิดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชนจากนโยบายแบบขาดการมีส่วนร่วมด้วย
นโยบายสาธารณะต่างๆ ของภาครัฐมักตัดตอนการมีส่วนร่วมของประชาชนในฐานะผู้มีส่วนได้เสียเสมอๆ แม้นว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายรองรับการมีส่วนร่วมไว้ไม่น้อยอย่างประชามติหรือประชาพิจารณ์ มากกว่านั้นนโยบายไร้วิสัยทัศน์มากมายยังร้ายแรงขึ้นมากจากการหนุนเนื่องโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของสื่อมวลชนที่อ้างหลักความเป็นกลางและนำเสนอข่าวสารรอบด้าน
ด้วยความเป็นกลางไม่มีจริงในทางปฏิบัติงานของสื่อมวลชน เพราะทั้งระดับปัจเจกและองค์กรล้วนขับเคลื่อนโดยมนุษย์ที่จิตยังวนเวียนจมอยู่ใน ‘โลภะ โทสะ โมหะ’ ขณะเดียวกันข่าวสารรอบด้านที่พยายามเผยแพร่นั้นเมื่อเอาเข้าจริงๆ แล้วก็มักจะละเลยความคิดเห็นของกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทุกข์ทรมานทางกายและใจจากนโยบายสาธารณะเมื่อเทียบกับกลุ่มกุมอำนาจรัฐ
กล่าวเคร่งครัดคือสื่อมวลชนไม่นำเสนอทัศนะผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) ทุกกลุ่มสู่สาธารณชนจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคัดค้านขัดขวางนโยบายรัฐนับแต่ระดับเล็กน้อยถึงยิ่งใหญ่ไล่รัฐบาลฉ้อฉล ดังปรากฏการณ์เอียงข้างรัฐบาลโฉ่งฉ่างชัดแจ้งของ ‘สื่อรัฐ’ ตั้งแต่ยังเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 จนเปลี่ยนชื่อเป็น NBT ที่มีสโลแกนว่า ‘สมดุล เป็นกลาง ฉับไว’ เนื่องจากวางอยู่บนฐานคิดว่าจะต้องเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์หลักที่ทำหน้าที่เป็นสื่อหลักของรัฐบาลอย่างแท้จริง
พระเพลิงเผาผลาญกรมประชาสัมพันธ์ในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 และพฤษภา 35 จึงละม้ายกับการพยายามยึด NBT เพื่อตอบโต้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกบิดเบือนโดยกระบอกเสียงของรัฐบาล ทั้งๆ ที่องค์กรสื่อนี้ต้องเป็นสื่อของรัฐไม่ใช่สื่อของรัฐบาล หากทว่าผ่านมาบทบาทหน้าที่และจริยธรรมกลับตกอยู่ใต้อาณัติอคติเกลียดกลัวการถูกตรวจสอบของนักการเมืองที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
สมรภูมิสงครามข่าวสารทุ่มเถียงตอบโต้กันระหว่างสื่อของประชาชนกับสื่อของรัฐบาลจึงดำเนินมายาวนานต่อเนื่องตราบเท่าที่สื่อรัฐยังคงเอียงข้างรัฐบาลมากกว่าประชาชน บิดเบือนข้อเท็จจริง และสนับสนุนความรุนแรงว่าเป็นทางออกของการจัดการปัญหาทางการเมือง
ทางตรงข้าม ถ้าปลดล็อกทุนธนกิจการเมืองควบคู่กับมีมาตรการป้องกันการแทรกแซงทางการเมืองได้มากพอควร ก็จักสร้างสื่อมวลชนที่มีศักยภาพรายงานข่าวสารความจริงเชิงข้อเท็จจริงได้มากขึ้น ดังกรณีทีวีไทย ทีวีสาธารณะ (Thai PBS) ที่มี พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 เป็นปราการรานรุกจากรัฐบาลเสียประโยชน์
โดยสรุป สื่อมวลชนจึงไม่ได้พิสุทธิ์ปราศจาก ‘อคติ’ (Bias) แต่อย่างใด ไม่เพียงเท่านั้นการพยายามวางตัวเป็นกลางอย่างกลวงๆ ท่ามกลางขณะบ้านเมืองกำลังล่มจมจากการบริหารจัดการนโยบายสาธารณะผิดพลาดของรัฐบาลฉ้อฉลนั้นยังขัดกับหลักอาชีวปฏิญาณที่ยึดมั่นศรัทธาด้วย
ASTV และพันธมิตรฯ ที่ไม่ยอมมองสังคมตกต่ำ มุ่งมาดสร้างชาติบ้านเมืองพ้นปลักโคลนคอร์รัปชันจึงควรขับเคลื่อนตนเองและภาคีกัลยาณมิตรไม่ให้ตกบ่วง ‘The end justifies the means’
แม้แน่นอนว่ารัฐบาลกังฉินกินชาติผลาญเมืองนั้นจักต้องถูกขับไล่ให้พ้นไปตามยุทธศาสตร์โดยไว หากในยุทธวิธีที่เลือกใช้ก็ต้องไม่ตีกรอบตนเองเกินไปด้วยการแยกเขาแยกเราออกด้วยโลกทรรศน์ขาวล้วนดำล้วน ดีงามทรามเลว เทพเทวดายักษ์มาร เพราะแม้จะจัดประเภทแยกแยะมิตรศัตรูได้เด็ดขาด แต่ระหว่างทางก็สุ่มเสี่ยงโศกนาฏกรรมการลดทอนความเป็นมนุษย์ของผู้ที่เราเห็นเป็นปรปักษ์จนกระทั่งอาจถึงขั้นคร่าเข่นกันได้ในนามความดีมีศีลธรรม อีกทั้งยังปิดหับจินตนาการทางออกอื่นๆ อีกด้วย
ศัตรูของพันธมิตรฯ และ ASTV จึงควรอยู่ที่ตัวโครงสร้างอยุติธรรมมากกว่าตัวบุคคล โครงสร้างสังคมไทยที่เอื้อต่อการฟูมฟักคอร์รัปชันจึงต้องเป็นแก่นแกนยึดกุมในการสานเครือข่ายพันธมิตรฯ เพื่อสร้างศัตรูร่วมกันของสังคมไทยในนามของการเมืองใหม่มากกว่า
ASTV ที่เป็นกลไกสำคัญในขบวนการพันธมิตรฯ จึงต้องหมุนกงล้อตุลาการภิวัฒน์และประชาภิวัฒน์ให้เคลื่อนไปข้างหน้าพร้อมๆ กัน ด้านตุลาการภิวัฒน์นั้นชัดเจนมากแล้วจากการสนับสนุน คตส.ตรวจสอบการกระทำผิดต่อรัฐมหาศาลกว่า 1.8 แสนล้านบาท ส่วนประชาภิวัฒน์นั้นก็ต้องขยายวงกว้างขวางกว่าแค่ชนชั้นกลางในเมือง ต้องผนึกประชาชนรากหญ้าที่ขาดข้อมูลและศักยภาพจะตัดสินใจเลือกตั้งอย่างอิสระให้เข้าร่วมเป็นกัลยาณมิตร
มากกว่านั้น ยังต้องทลายคำปรามาสการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ ว่าไม่เกิดคุณูปการต่อคนจนยากไร้ ด้วยการอธิบายให้ได้ว่าความจนข้นแค้นของพวกเขานั้นมาจากการถูกทำให้จนโดยนักการเมืองทุจริตคอร์รัปชันอย่างไร
วิกฤตปัญญาอันเนื่องมาจากการเมืองกดทับชุดคุณธรรมศีลธรรมครานี้ จึงเป็นโอกาสดีที่สื่อมวลชนจะสำแดงพลังผันตนเองเป็นคาดงัดการเมืองฉ้อราษฎร์บังหลวง ด้วยการสร้างผู้รับสาร/พลเมืองกระตือรือร้น (Active audience/ citizen) ขึ้นมาปกป้องผืนปฐพี ดังที่ ASTV นำร่องไว้แล้วจากการเป็นสื่อทางเลือก (Alternative media) ที่หาญกล้าขบถต่อสื่อกระแสหลักและอำนาจการเมือง (มีต่อตอน 9)
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org