สัปดาห์นี้เป็น “สัปดาห์ร้อนทางการเมือง” ที่บรรดาสารพัดศาล ไม่ว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ศาลฎีกาแผนกคดีการเลือกตั้ง ที่ค่อยๆ “วินิจฉัย-ตัดสิน” คดีความต่างๆ ของนักการเมือง ซึ่งเริ่มแล้วตั้งแต่เมื่อวานนี้
กว่าจะจบการตัดสินของกระบวนการยุติธรรม ทั้งกรณีที่ดินรัชดาฯ และคดีซุกหุ้น น่าเชื่อว่า จะจบสิ้นภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น ทั้งเดือนนี้จะเป็นเดือนสำคัญทาง “คดีความ” ต่างๆ ของ “กระบวนการยุติธรรม” ซึ่งจะส่งผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแบบห้ามกะพริบตาทีเดียว!
ในช่วงตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา “บทบาทตุลาการ” เริ่มเข้ามามีส่วนร่วม และมีบทบาทสำคัญกับ “กระบวนการทางการเมือง” มากกว่าในอดีต ว่าไปแล้วในอดีต “สถาบันตุลาการ” มักไม่ค่อยมีส่วนร่วมและบทบาททางการเมือง หรือแทบไม่มีเลยก็ว่าได้
จนในที่สุดนับแต่นั้นมา “สถาบันตุลาการ” ได้เข้ามาเป็น “ตัวละคร” สำคัญกับการเมืองการปกครองมากยิ่งขึ้น และปัจจุบันนี้ “สถาบันตุลาการ” เริ่มมีบทบาทที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้นแทบทุกสัปดาห์ จนก่อให้เกิด “ความขลัง-ความศักดิ์สิทธิ์” มากขึ้นกว่าเดิม ที่ขอย้ำว่า “แทบจะไม่มีเลย!”
ตาม “หลักการ-หลักวิชาการ” ทางด้านการเมืองการปกครอง หรือ “วิชารัฐศาสตร์” แล้ว “สถาบันเสาหลัก” ประกอบไปด้วย “สามเสาหลัก” ได้แก่ “สถาบันนิติบัญญัติฯ-สถาบันบริหาร-สถาบันตุลาการ” ภาษาอังกฤษเรียกว่า “The Legislature-The Executive-The Judiciary (Judge)” ที่เป็นหลักรัฐศาสตร์สากลเชิงโครงสร้างการเมืองการปกครอง
สถาบันนิติบัญญัติ (Legislature)หมายถึง “รัฐสภา” ที่ประกอบไปด้วย 2 สภา กล่าวคือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ที่ทั่วโลกมีโครงสร้างและระบบสากลเช่นนี้ โดยมีบทบาทหน้าที่สำคัญทางด้านกลั่นกรองกฎหมาย ออกกฎหมาย ที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติ” พร้อมทั้งทำหน้าที่ในการ “ตรวจสอบ” ฝ่ายบริหาร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ “ถ่วงดุลอำนาจ” ของฝ่ายบริหารให้บริหารราชการแผ่นดินอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส ซึ่งนานาอารยประเทศทั่วโลกจะยึดมั่นในฝ่ายนิติบัญญัตินี้ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีระบอบการเมืองการปกครองเสรีประชาธิปไตย
ทั้งนี้ในกลุ่มประเทศสังคมนิยม และ/หรือคอมมิวนิสต์ทั้งหลายที่ไม่มีระบบตัวแทน โดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ก็จะมีสถาบันนิติบัญญัติเช่นเดียวกัน เพียงแต่มาจาก “คณะกรรมการกลางของพรรค” ที่คัดเลือกมาจากกลุ่มตัวแทนจากภาคต่างๆ มิได้มาจากกระบวนการเลือกตั้ง
สถาบันบริหารหรือฝ่ายบริหาร (Executive) คือ “รัฐบาล” ที่ประกอบไปด้วย “ฝ่ายบริหารการเมือง” และ “ฝ่ายบริหารราชการประจำ” หรือเรียกว่า “คณะรัฐมนตรี (Cabinet)” และ “ข้าราชการ (Public Bureaucracy)” ซึ่งเมื่อนำมารวมกันเป็น “องค์กร” แล้วจะเรียกว่า “รัฐบาล” หรือ “Government”
ฝ่ายบริหารนี้จะมีนายกรัฐมนตรี หรือประธานาธิบดี เป็นผู้บริหารสูงสุด (Chief Executive Officer : CEO) และมีคณะรัฐมนตรีเป็นองค์คณะในการบริหารชาติบ้านเมืองตามสายงานต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบกันไป อาทิ ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านเกษตรกรรม ด้านคมนาคม ด้านต่างประเทศ ด้านความมั่นคง เป็นต้น โดยมี “รัฐมนตรี” เป็นผู้ดูแลรับมอบความรับผิดชอบต่อไป
สถาบันตุลาการ (Judiciary) คือ ศาลที่ประกอบไปด้วยองค์คณะของศาลต่างๆ โดยมี ศาลแพ่ง ศาลอาญา แต่มีระดับขั้นตั้งแต่ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา โดยนานาอารยประเทศ “ตุลาการ” จะเป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่ภายใต้องค์กรใดๆ เลย
ขอย้ำว่าในต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีระบบการเมืองที่เป็นเสรีประชาธิปไตย โครงสร้างและระบบศาล จะมีความขลังและศักดิ์สิทธิ์อย่างมาก เนื่องด้วย ยึดมั่นในหลักการขอ “ศาลสถิตยุติธรรม”
ประเทศไทยเราในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา เราได้มีการพัฒนาศาลเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจาก 3 ศาลเดิม ของทั้งศาลแพ่งและศาลอาญา โดยมีทั้ง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลฎีกา ที่แยกออกเป็น 2 แผนก คือ ศาลฎีกาแผนกคดีการเลือกตั้ง และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งเหตุผลสำคัญของศาลใหม่ๆ นี้ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบและกลั่นกรองให้ “การเมืองไทยเป็นธรรมาภิบาล” มากกว่าเดิม
ดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่า “สถาบันตุลาการ” ในอดีตนั้น “แยกตัวเป็นอิสระ” และขอเน้นย้ำว่า “อิสระ” จริงๆ มักไม่เคยหรือแทบไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร หรือกล่าวง่ายๆ ว่าไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเลย จนเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง ที่ก้าวเข้ามามีบทบาทกับการเมืองมากยิ่งขึ้น ทั้งๆ ที่โดย “หลักการ-หลักวิชาการ” ทางด้าน “โครงสร้าง-ระบบ” แล้วฝ่ายตุลาการจำเป็นต้องสัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน
จากการที่สถาบันตุลาการเริ่มเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น จนเราต้องยอมรับว่า ปัจจุบันสถาบันตุลาการเริ่ม “ขลัง-ศักดิ์สิทธิ์” มากขึ้น จนทำให้ “ธรรมาภิบาล” ค่อยๆ ส่องแสงสว่างขึ้นในสังคมไทย
ความจริงที่เราต้องยอมรับว่า สังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สังคมการเมืองไทย” หลายสิบปีที่ผ่านมา “สกปรก-เลอะเทอะ-เละ” มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การทุจริต-ฉ้อราษฎร์บังหลวง” และซ้ำร้ายไปมากกว่านั้นคือ “ธุรกิจการเมือง” ที่นับวันจะแผ่ขยายทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จนแทบจะ “ยึดครอง-ฮุบ-ซื้อประเทศชาติ” กันเลยทีเดียว!
จากการที่ “ธุรกิจการเมือง” คืบคลานจนครอบงำสังคมการเมืองไทยแทบหมดทุกองค์อณูของโครงสร้าง และระบบสำคัญๆ ทางการบริหารและการเมือง จนเลยเถิดไปทำให้สถาบันทุกสถาบันที่สำคัญ ค่อยๆ เป็น “เป็ดง่อย!” มากจนกระดิกกระเดี้ยตัวไปไหนไม่ได้เลย
แต่ที่เลวร้ายไปมากกว่านั้น “สถาบันนิติบัญญัติ-สถาบันบริหาร” กลายเป็น “หุ่นยนต์” และปัจจุบันเป็น “หุ่นเชิด” ไปเรียบร้อยแล้ว พูดง่ายๆ ก็หมายความว่า “กดปุ่ม-บัญชาการ” ได้ทุกประการตามใจปรารถนา แล้วมาประกาศโครมๆ ว่าเป็น “ประชาธิปไตย”
จากปัญหาทางการเมืองการปกครองที่เกิดขึ้น จนชาติบ้านเมืองต้องเรียกว่า “เผด็จการทุนนิยมสามานย์” ที่ “นักธุรกิจการเมือง-กลุ่มทุนการเมือง” บริหารจัดการกับประเทศชาติดังเช่น “บริษัท” ที่ผู้มีอำนาจผูกขาดขึ้นอยู่กับ “คนเดียว!” โดยลืมไปว่า “ประเทศไทยเป็นของคนไทยทุกคน!”
นับว่าเป็น “โชค” จนอาจเป็น “บุญ” ของประเทศชาติ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระเมตตากรุณาธิคุณต่อประชาชนชาวไทยของท่านด้วยการ “เตือนสติ” สถาบันตุลาการว่า “อย่าอิสระ-ปล่อยวาง” ประเทศชาติมากนัก เพราะสถาบันตุลาการถือเป็น “เสาหลัก” ของ “อธิปไตยชาติ” เช่นเดียวกัน!
ปัจจุบัน “สถาบันตุลาการ” ได้เป็นเสาหลักกับประเทศชาติ ในการพินิจพิจารณา วินิจฉัยกับบรรดาคดีความต่างๆ ไม่ว่า คดีความทางการเมือง คดีอาญาด้านทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง คดีคุณสมบัติของนักการเมือง คดีวินิจฉัยตีความกฎหมายและรัฐธรรมนูญ จนขอย้ำว่า “ขลัง-ศักดิ์สิทธิ์” มากกว่าเดิม จนเป็นที่มาของคำว่า “ตุลาการภิวัฒน์”
ซึ่งหมายความว่า “สถาบันตุลาการจะต้องและจำต้องพิทักษ์รักษาและสถิตไว้ซึ่งความยุติธรรมตลอดไป” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็หมายความว่า ศาลจะต้องเข้ามามีส่วนในการ “ถ่วงดุล-ตรวจสอบ” และ/หรือ “ขีดเส้นแบ่ง” ระหว่าง “ความผิด-ความถูก” ซึ่งนานาอารยประเทศเขาก็เป็นเช่นนี้!
เราคงแต่หวังว่า “ตุลาการ-ศาล” จะดำรงไว้ซึ่ง “ความยุติธรรม” เนื่องด้วยความจริงที่เราต้องยอมรับว่า สังคมไทยปัจจุบัน “ไร้ที่พึ่งทางยุติธรรม” ศาลจึงต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญเป็น “เสาหลัก” เสาหนึ่งของโครงสร้างชาติบ้านเมือง
ถ้า “ตุลาการ-ศาล” ไม่สามารถเป็น “เสาหลัก-ที่พึ่ง” ของสังคมไทยได้แล้ว คำถามสำคัญที่จะต้องทำให้คนไทยพึ่งพาสถาบันได้นอกจาก “สถาบันพระมหากษัตริย์” ซึ่งเป็นการมิบังควรที่ต้องระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทในทุกกรณี
สัปดาห์นี้เป็นต้นไป ตลอดจนจบเดือนกรกฎาคม “ความขลัง-ศักดิ์สิทธิ์” และไม่สำคัญเท่ากับ “ความยุติธรรม” จะเกิดขึ้นกับสังคมไทยเสียที!
กว่าจะจบการตัดสินของกระบวนการยุติธรรม ทั้งกรณีที่ดินรัชดาฯ และคดีซุกหุ้น น่าเชื่อว่า จะจบสิ้นภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น ทั้งเดือนนี้จะเป็นเดือนสำคัญทาง “คดีความ” ต่างๆ ของ “กระบวนการยุติธรรม” ซึ่งจะส่งผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแบบห้ามกะพริบตาทีเดียว!
ในช่วงตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา “บทบาทตุลาการ” เริ่มเข้ามามีส่วนร่วม และมีบทบาทสำคัญกับ “กระบวนการทางการเมือง” มากกว่าในอดีต ว่าไปแล้วในอดีต “สถาบันตุลาการ” มักไม่ค่อยมีส่วนร่วมและบทบาททางการเมือง หรือแทบไม่มีเลยก็ว่าได้
จนในที่สุดนับแต่นั้นมา “สถาบันตุลาการ” ได้เข้ามาเป็น “ตัวละคร” สำคัญกับการเมืองการปกครองมากยิ่งขึ้น และปัจจุบันนี้ “สถาบันตุลาการ” เริ่มมีบทบาทที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้นแทบทุกสัปดาห์ จนก่อให้เกิด “ความขลัง-ความศักดิ์สิทธิ์” มากขึ้นกว่าเดิม ที่ขอย้ำว่า “แทบจะไม่มีเลย!”
ตาม “หลักการ-หลักวิชาการ” ทางด้านการเมืองการปกครอง หรือ “วิชารัฐศาสตร์” แล้ว “สถาบันเสาหลัก” ประกอบไปด้วย “สามเสาหลัก” ได้แก่ “สถาบันนิติบัญญัติฯ-สถาบันบริหาร-สถาบันตุลาการ” ภาษาอังกฤษเรียกว่า “The Legislature-The Executive-The Judiciary (Judge)” ที่เป็นหลักรัฐศาสตร์สากลเชิงโครงสร้างการเมืองการปกครอง
สถาบันนิติบัญญัติ (Legislature)หมายถึง “รัฐสภา” ที่ประกอบไปด้วย 2 สภา กล่าวคือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ที่ทั่วโลกมีโครงสร้างและระบบสากลเช่นนี้ โดยมีบทบาทหน้าที่สำคัญทางด้านกลั่นกรองกฎหมาย ออกกฎหมาย ที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติ” พร้อมทั้งทำหน้าที่ในการ “ตรวจสอบ” ฝ่ายบริหาร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ “ถ่วงดุลอำนาจ” ของฝ่ายบริหารให้บริหารราชการแผ่นดินอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส ซึ่งนานาอารยประเทศทั่วโลกจะยึดมั่นในฝ่ายนิติบัญญัตินี้ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีระบอบการเมืองการปกครองเสรีประชาธิปไตย
ทั้งนี้ในกลุ่มประเทศสังคมนิยม และ/หรือคอมมิวนิสต์ทั้งหลายที่ไม่มีระบบตัวแทน โดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ก็จะมีสถาบันนิติบัญญัติเช่นเดียวกัน เพียงแต่มาจาก “คณะกรรมการกลางของพรรค” ที่คัดเลือกมาจากกลุ่มตัวแทนจากภาคต่างๆ มิได้มาจากกระบวนการเลือกตั้ง
สถาบันบริหารหรือฝ่ายบริหาร (Executive) คือ “รัฐบาล” ที่ประกอบไปด้วย “ฝ่ายบริหารการเมือง” และ “ฝ่ายบริหารราชการประจำ” หรือเรียกว่า “คณะรัฐมนตรี (Cabinet)” และ “ข้าราชการ (Public Bureaucracy)” ซึ่งเมื่อนำมารวมกันเป็น “องค์กร” แล้วจะเรียกว่า “รัฐบาล” หรือ “Government”
ฝ่ายบริหารนี้จะมีนายกรัฐมนตรี หรือประธานาธิบดี เป็นผู้บริหารสูงสุด (Chief Executive Officer : CEO) และมีคณะรัฐมนตรีเป็นองค์คณะในการบริหารชาติบ้านเมืองตามสายงานต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบกันไป อาทิ ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านเกษตรกรรม ด้านคมนาคม ด้านต่างประเทศ ด้านความมั่นคง เป็นต้น โดยมี “รัฐมนตรี” เป็นผู้ดูแลรับมอบความรับผิดชอบต่อไป
สถาบันตุลาการ (Judiciary) คือ ศาลที่ประกอบไปด้วยองค์คณะของศาลต่างๆ โดยมี ศาลแพ่ง ศาลอาญา แต่มีระดับขั้นตั้งแต่ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา โดยนานาอารยประเทศ “ตุลาการ” จะเป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่ภายใต้องค์กรใดๆ เลย
ขอย้ำว่าในต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีระบบการเมืองที่เป็นเสรีประชาธิปไตย โครงสร้างและระบบศาล จะมีความขลังและศักดิ์สิทธิ์อย่างมาก เนื่องด้วย ยึดมั่นในหลักการขอ “ศาลสถิตยุติธรรม”
ประเทศไทยเราในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา เราได้มีการพัฒนาศาลเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจาก 3 ศาลเดิม ของทั้งศาลแพ่งและศาลอาญา โดยมีทั้ง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลฎีกา ที่แยกออกเป็น 2 แผนก คือ ศาลฎีกาแผนกคดีการเลือกตั้ง และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งเหตุผลสำคัญของศาลใหม่ๆ นี้ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบและกลั่นกรองให้ “การเมืองไทยเป็นธรรมาภิบาล” มากกว่าเดิม
ดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่า “สถาบันตุลาการ” ในอดีตนั้น “แยกตัวเป็นอิสระ” และขอเน้นย้ำว่า “อิสระ” จริงๆ มักไม่เคยหรือแทบไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร หรือกล่าวง่ายๆ ว่าไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเลย จนเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง ที่ก้าวเข้ามามีบทบาทกับการเมืองมากยิ่งขึ้น ทั้งๆ ที่โดย “หลักการ-หลักวิชาการ” ทางด้าน “โครงสร้าง-ระบบ” แล้วฝ่ายตุลาการจำเป็นต้องสัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน
จากการที่สถาบันตุลาการเริ่มเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น จนเราต้องยอมรับว่า ปัจจุบันสถาบันตุลาการเริ่ม “ขลัง-ศักดิ์สิทธิ์” มากขึ้น จนทำให้ “ธรรมาภิบาล” ค่อยๆ ส่องแสงสว่างขึ้นในสังคมไทย
ความจริงที่เราต้องยอมรับว่า สังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สังคมการเมืองไทย” หลายสิบปีที่ผ่านมา “สกปรก-เลอะเทอะ-เละ” มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การทุจริต-ฉ้อราษฎร์บังหลวง” และซ้ำร้ายไปมากกว่านั้นคือ “ธุรกิจการเมือง” ที่นับวันจะแผ่ขยายทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จนแทบจะ “ยึดครอง-ฮุบ-ซื้อประเทศชาติ” กันเลยทีเดียว!
จากการที่ “ธุรกิจการเมือง” คืบคลานจนครอบงำสังคมการเมืองไทยแทบหมดทุกองค์อณูของโครงสร้าง และระบบสำคัญๆ ทางการบริหารและการเมือง จนเลยเถิดไปทำให้สถาบันทุกสถาบันที่สำคัญ ค่อยๆ เป็น “เป็ดง่อย!” มากจนกระดิกกระเดี้ยตัวไปไหนไม่ได้เลย
แต่ที่เลวร้ายไปมากกว่านั้น “สถาบันนิติบัญญัติ-สถาบันบริหาร” กลายเป็น “หุ่นยนต์” และปัจจุบันเป็น “หุ่นเชิด” ไปเรียบร้อยแล้ว พูดง่ายๆ ก็หมายความว่า “กดปุ่ม-บัญชาการ” ได้ทุกประการตามใจปรารถนา แล้วมาประกาศโครมๆ ว่าเป็น “ประชาธิปไตย”
จากปัญหาทางการเมืองการปกครองที่เกิดขึ้น จนชาติบ้านเมืองต้องเรียกว่า “เผด็จการทุนนิยมสามานย์” ที่ “นักธุรกิจการเมือง-กลุ่มทุนการเมือง” บริหารจัดการกับประเทศชาติดังเช่น “บริษัท” ที่ผู้มีอำนาจผูกขาดขึ้นอยู่กับ “คนเดียว!” โดยลืมไปว่า “ประเทศไทยเป็นของคนไทยทุกคน!”
นับว่าเป็น “โชค” จนอาจเป็น “บุญ” ของประเทศชาติ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระเมตตากรุณาธิคุณต่อประชาชนชาวไทยของท่านด้วยการ “เตือนสติ” สถาบันตุลาการว่า “อย่าอิสระ-ปล่อยวาง” ประเทศชาติมากนัก เพราะสถาบันตุลาการถือเป็น “เสาหลัก” ของ “อธิปไตยชาติ” เช่นเดียวกัน!
ปัจจุบัน “สถาบันตุลาการ” ได้เป็นเสาหลักกับประเทศชาติ ในการพินิจพิจารณา วินิจฉัยกับบรรดาคดีความต่างๆ ไม่ว่า คดีความทางการเมือง คดีอาญาด้านทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง คดีคุณสมบัติของนักการเมือง คดีวินิจฉัยตีความกฎหมายและรัฐธรรมนูญ จนขอย้ำว่า “ขลัง-ศักดิ์สิทธิ์” มากกว่าเดิม จนเป็นที่มาของคำว่า “ตุลาการภิวัฒน์”
ซึ่งหมายความว่า “สถาบันตุลาการจะต้องและจำต้องพิทักษ์รักษาและสถิตไว้ซึ่งความยุติธรรมตลอดไป” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็หมายความว่า ศาลจะต้องเข้ามามีส่วนในการ “ถ่วงดุล-ตรวจสอบ” และ/หรือ “ขีดเส้นแบ่ง” ระหว่าง “ความผิด-ความถูก” ซึ่งนานาอารยประเทศเขาก็เป็นเช่นนี้!
เราคงแต่หวังว่า “ตุลาการ-ศาล” จะดำรงไว้ซึ่ง “ความยุติธรรม” เนื่องด้วยความจริงที่เราต้องยอมรับว่า สังคมไทยปัจจุบัน “ไร้ที่พึ่งทางยุติธรรม” ศาลจึงต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญเป็น “เสาหลัก” เสาหนึ่งของโครงสร้างชาติบ้านเมือง
ถ้า “ตุลาการ-ศาล” ไม่สามารถเป็น “เสาหลัก-ที่พึ่ง” ของสังคมไทยได้แล้ว คำถามสำคัญที่จะต้องทำให้คนไทยพึ่งพาสถาบันได้นอกจาก “สถาบันพระมหากษัตริย์” ซึ่งเป็นการมิบังควรที่ต้องระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทในทุกกรณี
สัปดาห์นี้เป็นต้นไป ตลอดจนจบเดือนกรกฎาคม “ความขลัง-ศักดิ์สิทธิ์” และไม่สำคัญเท่ากับ “ความยุติธรรม” จะเกิดขึ้นกับสังคมไทยเสียที!