1 ปฏิวัติ 9 รัฐประหาร และ 12 กบฏบนสายธารประชาธิปไตยไทย 75 ปี มีนัยมากมายกว่าความสำเร็จและล้มเหลวในการใช้กำลังเพื่อยึดอำนาจการปกครองที่เฉลี่ยเกิด 1 ครั้งทุกๆ 3.4 ปี ด้วยนอกจากจะสะท้อนช่วงชีวิตการใช้งานสุดแสนสั้นแค่เฉลี่ยฉบับละ 4.2 ปีของรัฐธรรมนูญไทยที่มีมาแล้วถึง 18 ฉบับ ยังฉายชัดโครงสร้างสังคมไทยที่ไม่ได้ถ้อยถักด้วยวัฒนธรรมแห่งจริยธรรมอันเป็นอารยะและเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาระบบประชาธิปไตย
ทั้งๆ ที่ ‘จริยธรรม’ นับเป็นกลไกสำคัญสำหรับรังสรรค์รัฐธรรมนูญให้มีมาตรฐานและคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาล (good governance) อันประกอบด้วยความโปร่งใส ความชอบธรรม การมีส่วนร่วมของประชาชน ความรับผิดชอบที่ประชาชนตรวจสอบได้ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล มากกว่านั้นยังเป็นระบบควบคุมคุณภาพ (quality system) ป้องกันไม่ให้มีการลุแก่อำนาจ ฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือสานต่อระบบอุปถัมภ์ ไม่ต่างจาก ISO ในภาคอุตสาหกรรมที่มีทั้ง ISO9001 ระบบจัดการคุณภาพ และ ISO14001 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ด้วยจริยธรรมคือกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมที่เป็นข้อควรประพฤติปฏิบัติ กอปรกับสังคมไทยในช่วงกว่าครึ่งทศวรรษที่ผ่านมาขาดแคลนจริยธรรมอย่างหนักในภาคของการเลือกตัวแทนประชาชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงต้องกำหนดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ในมาตรา 279 และ 280 ที่เน้นให้มีกลไกและระบบในการดำเนินงานเพื่อให้การบังคับใช้ ‘ประมวลจริยธรรม’ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย
แน่นอนทีเดียวว่า การอภิวัฒน์จริยธรรมตามรัฐธรรมนูญย่อมยากสาหัสกว่าการอภิวัฒน์การด้านสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการออกกฎหมายแบบแยกส่วนเฉพาะเรื่อง เฉพาะประเด็น แม้ปัจจุบันผลประโยชน์ของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพจะไม่ได้เป็นเอกภาพเช่นเดียวกับที่คนในชาติก็ไม่ได้ ‘รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย’ อีกแล้วก็ตาม
ผู้คนของวันนี้นอกจากยึดกุมผลประโยชน์หลากหลายและแยกย่อยซอยออกเป็นปัจเจกชนเฉพาะตัวเฉพาะกลุ่มแล้ว ชุดจริยธรรมที่ยึดถือก็ยังผิดแผกแตกต่างกันมหาศาล การจัดทำประมวลจริยธรรมอันเป็น ‘นามธรรมที่มีลักษณะสัมพัทธ์มากกว่าสัมพันธ์’ ให้แล้วเสร็จภายในเวลาเร่งรีบ 1 ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญตามบทเฉพาะกาลมาตรา 304 ให้มีมาตรฐานสากลและได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนกระทั่งกลายเป็นแก่นแกนของสังคมไทยได้จึงยากยิ่งยวด
กระนั้นก็ตาม ถ้ามองทางบวก ถึงแม้จะสามารถประมวลจริยธรรมมาเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการตัดสินได้ แต่ใช่ว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกคนจะประพฤติตามกรอบจริยธรรมนั้นๆด้วยนักการเมืองที่มุ่งเข้ามาแสวงหาประโยชน์จากอำนาจหน้าที่มักรังเกียจจริยธรรม เพราะคุณลักษณะของจริยธรรมเป็นไปในทางกำกับหรือกระทั่งเข้มงวดกับการใช้อำนาจของพวกเขาไม่ให้ไหลลงสู่ทางเสื่อมที่มหาศาลด้วยผลประโยชน์
ฉะนั้นในทางปฏิบัติ จริยธรรมของนักการเมืองจึงไม่อาจงอกงามจากรัฐธรรมนูญได้โดยลำพัง อีกทั้งยังลักลั่นกับสังคมที่ดำรงอยู่จริงภายนอกอย่างมาก หากคนส่วนใหญ่ในสังคมยังสังกัดอยู่ในผลการสำรวจกลางปีที่แล้วของเอแบคโพลล์ที่พบว่าประชาชนกว่าร้อยละ 70 ยอมรับรัฐบาลคอร์รัปชันถ้าช่วยให้พวกเขาอยู่ดีกินดีมากขึ้น กว่าร้อยละ 90 กลัวการสูญเสียโอกาสหารายได้มากกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหมด ร้อยละ 82.8 ยินดีจะละเมิดต่อกฎเกณฑ์ทางสังคมถ้าจำเป็น ตลอดจนร้อยละ 64.6 พร้อมรับเงินหรือประโยชน์อย่างอื่นตอบแทนเพื่อแลกการขายเสียงในผลการสำรวจอีก 4 เดือนถัดมาก่อนหน้าวันเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550
นักการเมืองที่เชี่ยวชาญการซื้อสิทธิขายเสียงและแตกฉานการคอร์รัปชันเชิงนโยบายผ่านการขายฝันนโยบายประชานิยม ท้ายสุดจึงได้รับดอกไม้และความชอบธรรมจากประชาชนส่วนใหญ่ในชาติ ด้วยสามารถสร้างความเข้าใจผิดในมหาชนว่าเม็ดเงินที่หว่านลงมาเป็นการบริหารชาติบ้านเมืองด้วยแนวทางธุรกิจแบบ ‘win-win’ ที่ประชาชนได้สิทธิประโยชน์ในรูปตัวเงินและการบริการมากขึ้น ขณะที่นักการเมืองก็ได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้นโดยไม่มีใครเสียอะไร ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วล้วนแต่คลอดออกมาจากซากปรักหักพังทางวินัยการเงินการคลังของประเทศที่ไร้จริยธรรม
การวาดหวังให้นักการเมืองเปี่ยมด้วยจริยธรรมโดยอาศัยอำนาจบังคับของรัฐธรรมนูญจึงไม่อาจสัมฤทธิผล เพราะแม้นสถานะรัฐธรรมนูญจะเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ แต่อำนาจแท้จริงในการบังคับใช้นั้นยังเป็นข้อถกเถียงและบ่อยครายังถูกตีความตามแบบศรีธนญชัยโดยนักการเมืองฉ้อฉลบนการสมคบคิดของเจ้าหน้าที่รัฐและการสยบยอมจำนนของประชาชน
ดังความล้มเหลวในการถอดถอนออกจากตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอันเนื่องมาจากผิดจริยธรรม มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง และล่าสุดกับการพิจารณา สรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้อำนาจรัฐที่ควรจะเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมนั้น เอาเข้าจริงๆ แล้วก็เป็นได้แค่ลายลักษณ์อักษรสวยงาม
การสร้างนักการเมืองที่มีจริยธรรมจึงต้องมองพ้นกรอบกติการัฐธรรมนูญ กล่าวอีกนัยหนึ่งกลไกภายนอกที่มักจะไม่ได้ถูกอ้างอิงในรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาสังคม นักวิชาการ สื่อสารมวลชนต้องกำกับและผลักดันให้นักการเมืองดำรงตนอยู่ในครรลองของจริยธรรมผ่านกระบวนการตรวจสอบและถ่วงดุลมากสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกระแสวิกฤตเศรษฐกิจไทยและโลก ‘ซับไพรม์-พลังงาน’ กำลังรานรุกประเทศไทยอย่างหนัก
เนื่องด้วยทางออกของรัฐบาลที่เชื่อมั่นในนโยบายประชานิยมย่อมหนีไม่พ้นการสานต่อนโยบายประชานิยมเพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจและรักษาฐานคะแนนเสียงของรัฐบาลจากกลุ่มคนรากแก้วผ่านโครงการเอสเอ็มแอล ธนาคารประชาชน กองทุนกู้ยืม โอทอป บ้านเอื้ออาทร ตลอดจนเมกะโปรเจกต์รถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ ดังปรากฏในถ้อยแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาลสมัคร 1
ตามตรรกะ แม้ปัจจุบันรัฐธรรมนูญจะออกแบบให้นโยบายสาธารณะมาจากการระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียมากขึ้น ทว่าตามความเป็นจริงอำนาจการตัดสินใจสุดท้ายกลับยังคงอยู่ในมือของนักการเมืองตามเดิม ดังนั้นถ้าควบคุมให้ต่อมจริยธรรมของนักการเมืองสั่งการแล้ว นโยบายสาธารณะก็ย่อมจะวางอยู่บนฐานรากทางจริยธรรม และส่งอานิสงส์ต่อพัฒนาการโดยรวมของระบบประชาธิปไตยได้ด้วย
กล่าวอย่างเฉพาะเจาะจง อย่างน้อยนโยบายประชานิยมต่างๆ ดังที่กล่าวมาต้องบริหารจัดการอย่างโปร่งใสไร้ข้อครหามากสุด การต่อยอดนโยบายสาธารณะจะต้องไม่ขัดต่อจริยธรรมและวินัยการเงินการคลัง การเลือกผู้กุมอำนาจตัดสินใจต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมควบคู่กับความรู้ความสามารถเป็นสำคัญ ขณะที่ผู้นำที่ไม่ได้สังกัดภาคการเมืองก็ต้องมีจริยธรรมเช่นเดียวกันกับประชาชนด้วย
โดยสรุป จริยธรรมของนักการเมืองไม่อาจพัฒนาได้ด้วยรัฐธรรมนูญตามลำพัง อีกทั้งจริยธรรมของนักการเมืองก็ไม่ได้มาพร้อมกับความชอบธรรมทางการเมือง (political legitimacy) ในการเข้าสู่ตำแหน่งจากการเลือกตั้งในระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (representative democracy) เพราะนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งแต่ไร้ซึ่งจริยธรรมก็ไม่อาจเป็น ‘ตัวแทน’ ของพลเมืองที่มีจริยธรรมได้ คงเป็นได้แค่ตัวแทนของประชาชนที่พบในผลสำรวจเอแบคโพลล์เท่านั้น
การอภิวัฒน์จริยธรรมจึงต้องมองพ้นกรอบกติการัฐธรรมนูญ ที่แม้ฉบับปัจจุบันจะอุดช่องว่างไว้ด้วยกลไกต่างๆ มากพอควร กระนั้นดังทราบกันทั่วไปว่าไม่เพียงจะเขียนรัฐธรรมนูญให้เลอเลิศไร้ข้อบกพร่องเลยจะเป็นไปไม่ได้ แต่นักการเมืองยังมากประสบการณ์ในการบิดเบือนรัฐธรรมนูญด้วยเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราวเพื่อรักษาตัวรอดอีกด้วย
ทั้งนี้ ข้อเขียนนี้ใช่จะปฏิเสธความสำคัญของรัฐธรรมนูญ ด้วยด้านหนึ่งรัฐธรรมนูญเข้ามาเกี่ยวข้องกับทุกชีวิตในสังคมตั้งแต่ครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน ตลอดจนเป็นใบเบิกทางเพื่อเคลื่อนไหวเรื่องราวต่างๆ ทว่าถ้าพิจารณา ‘ความน่าจะเป็น’ แล้ว การอนุวัติจริยธรรมผ่านกลไกภาคประชาสังคม นักวิชาการ สื่อสารมวลชน ที่สามารถปลุกระดมพลังทางสังคมจนยับยั้งนโยบายสาธารณะที่ไร้จริยธรรมของรัฐบาลได้ ย่อมสะท้อนอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย และจริยธรรมเป็นเจตจำนงของประชาชนได้มากกว่า ไม่ใช่หรือ?
การอภิวัฒน์จริยธรรมตามรัฐธรรมนูญจึงต้องไม่เป็นกรอบจำกัดที่พันธนาการจินตนาการและภาคปฏิบัติการของภาคประชาชนไว้ในความตีบตัน หากต้องส่งเสริมให้ระบบประชาธิปไตยและวัฒนธรรมประชาธิปไตยในเมืองไทยที่มีประชาชนเป็น ‘คาแรกเตอร์หลัก’ นั้นเข้มแข็งขึ้น.-
ทั้งๆ ที่ ‘จริยธรรม’ นับเป็นกลไกสำคัญสำหรับรังสรรค์รัฐธรรมนูญให้มีมาตรฐานและคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาล (good governance) อันประกอบด้วยความโปร่งใส ความชอบธรรม การมีส่วนร่วมของประชาชน ความรับผิดชอบที่ประชาชนตรวจสอบได้ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล มากกว่านั้นยังเป็นระบบควบคุมคุณภาพ (quality system) ป้องกันไม่ให้มีการลุแก่อำนาจ ฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือสานต่อระบบอุปถัมภ์ ไม่ต่างจาก ISO ในภาคอุตสาหกรรมที่มีทั้ง ISO9001 ระบบจัดการคุณภาพ และ ISO14001 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ด้วยจริยธรรมคือกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมที่เป็นข้อควรประพฤติปฏิบัติ กอปรกับสังคมไทยในช่วงกว่าครึ่งทศวรรษที่ผ่านมาขาดแคลนจริยธรรมอย่างหนักในภาคของการเลือกตัวแทนประชาชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงต้องกำหนดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ในมาตรา 279 และ 280 ที่เน้นให้มีกลไกและระบบในการดำเนินงานเพื่อให้การบังคับใช้ ‘ประมวลจริยธรรม’ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย
แน่นอนทีเดียวว่า การอภิวัฒน์จริยธรรมตามรัฐธรรมนูญย่อมยากสาหัสกว่าการอภิวัฒน์การด้านสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการออกกฎหมายแบบแยกส่วนเฉพาะเรื่อง เฉพาะประเด็น แม้ปัจจุบันผลประโยชน์ของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพจะไม่ได้เป็นเอกภาพเช่นเดียวกับที่คนในชาติก็ไม่ได้ ‘รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย’ อีกแล้วก็ตาม
ผู้คนของวันนี้นอกจากยึดกุมผลประโยชน์หลากหลายและแยกย่อยซอยออกเป็นปัจเจกชนเฉพาะตัวเฉพาะกลุ่มแล้ว ชุดจริยธรรมที่ยึดถือก็ยังผิดแผกแตกต่างกันมหาศาล การจัดทำประมวลจริยธรรมอันเป็น ‘นามธรรมที่มีลักษณะสัมพัทธ์มากกว่าสัมพันธ์’ ให้แล้วเสร็จภายในเวลาเร่งรีบ 1 ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญตามบทเฉพาะกาลมาตรา 304 ให้มีมาตรฐานสากลและได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนกระทั่งกลายเป็นแก่นแกนของสังคมไทยได้จึงยากยิ่งยวด
กระนั้นก็ตาม ถ้ามองทางบวก ถึงแม้จะสามารถประมวลจริยธรรมมาเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการตัดสินได้ แต่ใช่ว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกคนจะประพฤติตามกรอบจริยธรรมนั้นๆด้วยนักการเมืองที่มุ่งเข้ามาแสวงหาประโยชน์จากอำนาจหน้าที่มักรังเกียจจริยธรรม เพราะคุณลักษณะของจริยธรรมเป็นไปในทางกำกับหรือกระทั่งเข้มงวดกับการใช้อำนาจของพวกเขาไม่ให้ไหลลงสู่ทางเสื่อมที่มหาศาลด้วยผลประโยชน์
ฉะนั้นในทางปฏิบัติ จริยธรรมของนักการเมืองจึงไม่อาจงอกงามจากรัฐธรรมนูญได้โดยลำพัง อีกทั้งยังลักลั่นกับสังคมที่ดำรงอยู่จริงภายนอกอย่างมาก หากคนส่วนใหญ่ในสังคมยังสังกัดอยู่ในผลการสำรวจกลางปีที่แล้วของเอแบคโพลล์ที่พบว่าประชาชนกว่าร้อยละ 70 ยอมรับรัฐบาลคอร์รัปชันถ้าช่วยให้พวกเขาอยู่ดีกินดีมากขึ้น กว่าร้อยละ 90 กลัวการสูญเสียโอกาสหารายได้มากกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหมด ร้อยละ 82.8 ยินดีจะละเมิดต่อกฎเกณฑ์ทางสังคมถ้าจำเป็น ตลอดจนร้อยละ 64.6 พร้อมรับเงินหรือประโยชน์อย่างอื่นตอบแทนเพื่อแลกการขายเสียงในผลการสำรวจอีก 4 เดือนถัดมาก่อนหน้าวันเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550
นักการเมืองที่เชี่ยวชาญการซื้อสิทธิขายเสียงและแตกฉานการคอร์รัปชันเชิงนโยบายผ่านการขายฝันนโยบายประชานิยม ท้ายสุดจึงได้รับดอกไม้และความชอบธรรมจากประชาชนส่วนใหญ่ในชาติ ด้วยสามารถสร้างความเข้าใจผิดในมหาชนว่าเม็ดเงินที่หว่านลงมาเป็นการบริหารชาติบ้านเมืองด้วยแนวทางธุรกิจแบบ ‘win-win’ ที่ประชาชนได้สิทธิประโยชน์ในรูปตัวเงินและการบริการมากขึ้น ขณะที่นักการเมืองก็ได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้นโดยไม่มีใครเสียอะไร ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วล้วนแต่คลอดออกมาจากซากปรักหักพังทางวินัยการเงินการคลังของประเทศที่ไร้จริยธรรม
การวาดหวังให้นักการเมืองเปี่ยมด้วยจริยธรรมโดยอาศัยอำนาจบังคับของรัฐธรรมนูญจึงไม่อาจสัมฤทธิผล เพราะแม้นสถานะรัฐธรรมนูญจะเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ แต่อำนาจแท้จริงในการบังคับใช้นั้นยังเป็นข้อถกเถียงและบ่อยครายังถูกตีความตามแบบศรีธนญชัยโดยนักการเมืองฉ้อฉลบนการสมคบคิดของเจ้าหน้าที่รัฐและการสยบยอมจำนนของประชาชน
ดังความล้มเหลวในการถอดถอนออกจากตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอันเนื่องมาจากผิดจริยธรรม มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง และล่าสุดกับการพิจารณา สรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้อำนาจรัฐที่ควรจะเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมนั้น เอาเข้าจริงๆ แล้วก็เป็นได้แค่ลายลักษณ์อักษรสวยงาม
การสร้างนักการเมืองที่มีจริยธรรมจึงต้องมองพ้นกรอบกติการัฐธรรมนูญ กล่าวอีกนัยหนึ่งกลไกภายนอกที่มักจะไม่ได้ถูกอ้างอิงในรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาสังคม นักวิชาการ สื่อสารมวลชนต้องกำกับและผลักดันให้นักการเมืองดำรงตนอยู่ในครรลองของจริยธรรมผ่านกระบวนการตรวจสอบและถ่วงดุลมากสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกระแสวิกฤตเศรษฐกิจไทยและโลก ‘ซับไพรม์-พลังงาน’ กำลังรานรุกประเทศไทยอย่างหนัก
เนื่องด้วยทางออกของรัฐบาลที่เชื่อมั่นในนโยบายประชานิยมย่อมหนีไม่พ้นการสานต่อนโยบายประชานิยมเพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจและรักษาฐานคะแนนเสียงของรัฐบาลจากกลุ่มคนรากแก้วผ่านโครงการเอสเอ็มแอล ธนาคารประชาชน กองทุนกู้ยืม โอทอป บ้านเอื้ออาทร ตลอดจนเมกะโปรเจกต์รถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ ดังปรากฏในถ้อยแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาลสมัคร 1
ตามตรรกะ แม้ปัจจุบันรัฐธรรมนูญจะออกแบบให้นโยบายสาธารณะมาจากการระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียมากขึ้น ทว่าตามความเป็นจริงอำนาจการตัดสินใจสุดท้ายกลับยังคงอยู่ในมือของนักการเมืองตามเดิม ดังนั้นถ้าควบคุมให้ต่อมจริยธรรมของนักการเมืองสั่งการแล้ว นโยบายสาธารณะก็ย่อมจะวางอยู่บนฐานรากทางจริยธรรม และส่งอานิสงส์ต่อพัฒนาการโดยรวมของระบบประชาธิปไตยได้ด้วย
กล่าวอย่างเฉพาะเจาะจง อย่างน้อยนโยบายประชานิยมต่างๆ ดังที่กล่าวมาต้องบริหารจัดการอย่างโปร่งใสไร้ข้อครหามากสุด การต่อยอดนโยบายสาธารณะจะต้องไม่ขัดต่อจริยธรรมและวินัยการเงินการคลัง การเลือกผู้กุมอำนาจตัดสินใจต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมควบคู่กับความรู้ความสามารถเป็นสำคัญ ขณะที่ผู้นำที่ไม่ได้สังกัดภาคการเมืองก็ต้องมีจริยธรรมเช่นเดียวกันกับประชาชนด้วย
โดยสรุป จริยธรรมของนักการเมืองไม่อาจพัฒนาได้ด้วยรัฐธรรมนูญตามลำพัง อีกทั้งจริยธรรมของนักการเมืองก็ไม่ได้มาพร้อมกับความชอบธรรมทางการเมือง (political legitimacy) ในการเข้าสู่ตำแหน่งจากการเลือกตั้งในระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (representative democracy) เพราะนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งแต่ไร้ซึ่งจริยธรรมก็ไม่อาจเป็น ‘ตัวแทน’ ของพลเมืองที่มีจริยธรรมได้ คงเป็นได้แค่ตัวแทนของประชาชนที่พบในผลสำรวจเอแบคโพลล์เท่านั้น
การอภิวัฒน์จริยธรรมจึงต้องมองพ้นกรอบกติการัฐธรรมนูญ ที่แม้ฉบับปัจจุบันจะอุดช่องว่างไว้ด้วยกลไกต่างๆ มากพอควร กระนั้นดังทราบกันทั่วไปว่าไม่เพียงจะเขียนรัฐธรรมนูญให้เลอเลิศไร้ข้อบกพร่องเลยจะเป็นไปไม่ได้ แต่นักการเมืองยังมากประสบการณ์ในการบิดเบือนรัฐธรรมนูญด้วยเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราวเพื่อรักษาตัวรอดอีกด้วย
ทั้งนี้ ข้อเขียนนี้ใช่จะปฏิเสธความสำคัญของรัฐธรรมนูญ ด้วยด้านหนึ่งรัฐธรรมนูญเข้ามาเกี่ยวข้องกับทุกชีวิตในสังคมตั้งแต่ครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน ตลอดจนเป็นใบเบิกทางเพื่อเคลื่อนไหวเรื่องราวต่างๆ ทว่าถ้าพิจารณา ‘ความน่าจะเป็น’ แล้ว การอนุวัติจริยธรรมผ่านกลไกภาคประชาสังคม นักวิชาการ สื่อสารมวลชน ที่สามารถปลุกระดมพลังทางสังคมจนยับยั้งนโยบายสาธารณะที่ไร้จริยธรรมของรัฐบาลได้ ย่อมสะท้อนอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย และจริยธรรมเป็นเจตจำนงของประชาชนได้มากกว่า ไม่ใช่หรือ?
การอภิวัฒน์จริยธรรมตามรัฐธรรมนูญจึงต้องไม่เป็นกรอบจำกัดที่พันธนาการจินตนาการและภาคปฏิบัติการของภาคประชาชนไว้ในความตีบตัน หากต้องส่งเสริมให้ระบบประชาธิปไตยและวัฒนธรรมประชาธิปไตยในเมืองไทยที่มีประชาชนเป็น ‘คาแรกเตอร์หลัก’ นั้นเข้มแข็งขึ้น.-