ใช่ไหมว่า ถ้าเรียนรู้เฉพาะ ‘ความสำเร็จ’ แม้จะสามารถก้าวเดินตามแบบอย่างความสำเร็จที่มีอยู่แล้วได้ง่ายด้วยหาวิธีคลี่คลายปัญหาที่เคยเกิดในอดีตได้ ทว่าในห้วงขณะเดียวกันนั้นก็ยากที่จะรังสรรค์ทักษะความสามารถในการ ‘สร้างสรรค์’ นวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในแวดวงโทรทัศน์ที่ต้องการทั้งความสดใหม่และไร้ความผิดพลาด
เฉกเช่นสถานการณ์โทรทัศน์สาธารณะ(Thai Public Broadcasting Service: TPBS) ที่เปลี่ยนผ่านมาจาก ITV และ TITV ที่มีวิกฤตรุมเร้านานัปการด้วยแล้ว หากตัดตอน ไม่คำนวณย้อนกลับไปทบทวนเส้นทางการเกิดความผิดพลาดอันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างต้นเหตุ กลไก และผลลัพธ์ของ ITV เพื่อนำมาคาดคะเนความผิดพลาดที่อาจเกิดกับ TPBS แล้ว ก็แทบจะประกันความสำเร็จของสถานีโทรทัศน์แห่งใหม่นี้ไม่ได้เลย
ด้วยแม้ว่าโดยสถานภาพ TPBS จะเป็นองค์กรใหม่ หากอย่างไรเสียสังคมก็ต้องนำไปเปรียบเทียบกับ (T) ITV เดิม ตลอดจนคาดหวังว่าจะต้อง ‘เวิร์ก’ เทียบเท่า BBC หรือ NHK
โจทย์ใหญ่ในวันนี้ของ TPBS จึงน่าจะอยู่ที่การเรียนรู้แก่นแท้ความผิดพลาดของ ITV ทั้งที่เปิดเผยและเร้นซ่อนเป็นภูเขาน้ำแข็ง เนื่องด้วยมีหลายเหตุปัจจัยคล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาการเกิดในรัฐบาลรัฐประหาร เจตนารมณ์แรกตั้งที่หนึ่งต้องการทีวีเสรี ขณะที่สองต้องการทีวีสาธารณะ หรือรวมกระทั่งการเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองในเสื้อคลุมชินคอร์ปในอดีตของทีวีเสรีที่อาจละม้ายกับรัฐบาลหน้าที่น่าจะใช้อำนาจอย่างไม่เป็นกัลยาณมิตรกับทีวีสาธารณะมากนัก
การวิเคราะห์สาเหตุทั้งในส่วนต้นเหตุและกลไกของความผิดพลาดอย่างถ้วนถี่ รวมถึงปรับมาตรการป้องกันต่างๆ ย่อมลดความน่าจะเป็นของความผิดพลาดที่อาจเกิดเป็นผลลัพธ์ของ TPBS ได้มาก เพราะถ้าคาดคะเนได้ก็สามารถป้องกันความผิดพลาดได้ก่อนจะเกิด ด้วยความผิดพลาดเพียงนิดเดียวก็สะท้อนว่ามีปัญหา แค่เกือบพลาดก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของความผิดพลาด
การรู้ความน่าจะเป็นของความผิดพลาดเช่นนี้ย่อมไกลห่างจากสภาวะ ‘ตีตนไปก่อนไข้’ หรือไม่ให้ขวัญกำลังใจกับผู้ปฏิบัติงานในสถานีใหม่นี้ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันมีความคลางแคลงไม่เชื่อถือในโทรทัศน์สาธารณะอยู่มาก ตลอดจนไม่น้อยยังตั้งท่าคัดค้านด้วยอุปทานรวมหมู่ว่าจะน่าเบื่อ ไม่สนุก ยัดเยียดแต่สาระ พร่ำบ่นแต่คุณธรรม
ฉะนั้นถ้าการบริหารจัดการ TPBS เกิดความผิดพลาดจนมีภาพลักษณ์เชิงลบแม้เพียงนิดน้อยในช่วงตั้งไข่นี้ พลังความสำเร็จร่วมของภาคประชาสังคมกับรัฐบาลในการผลักดัน พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 อาจจะถึงกาลอวสานได้ในไม่นานนัก
ทั้งนี้ด้วยสาเหตุเป็นตัวก่อเกิดและกำหนดผลลัพธ์ การทบทวนจากผลลัพธ์ย้อนกลับไปหา2 ส่วนที่มองไม่เห็นทั้งต้นเหตุและกลไกของ ITV เพื่อเปรียบเทียบและคาดคะเนจึงน่าจะช่วยให้โทรทัศน์สาธารณะรอดพ้นจากความผิดพลาดที่อาจเกิดได้ในอนาคต โดยเฉพาะประเด็นการแทรกแซงและครอบงำสื่อโดยภาคการเมืองและทุน ที่แม้ TPBS จะมีมาตรการป้องกันการแทรกแซงของธนกิจการเมืองเข้มแข็ง แต่นั่นก็มาพร้อมกับข้อครหารุนแรงว่าเป็น ‘ทีวีเอ็นจีโอ’ ที่ต้องการต้านอำนาจเก่า
หากเป็นเช่นนั้นจริง การเป็นโทรทัศน์สาธารณะในคราบเอ็นจีโอก็ไม่ต่างอันใดกับการเป็นโทรทัศน์เสรีในอาภรณ์ทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย ที่ท้ายสุดต่างก็เข้าไม่ถึงประชาชนที่เป็น ’ผู้มีส่วนได้เสีย’ อย่างแท้จริงเหมือนกัน
เส้นทางที่ TPBS ก้าวเดินจึงถูกต้องแล้วที่ไม่มี ‘โฆษณา’ และไม่ให้น้ำหนักกับเรตติ้งมากนัก ด้วยถ้านำทั้งสองเงื่อนไขมาวัดความนิยมของรายการ เมื่อนั้นรายการดีๆ ก็จะหลุดผังดังปรากฏการณ์ในโทรทัศน์เอกชนและเชิงพาณิชย์ทั้งหลาย ในทางกลับกันหากวางผังรายการโดยมุ่งปณิธานดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ (Public interest) สนองตอบความต้องการของประชาชนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม เมื่อนั้นความสำเร็จของโทรทัศน์สาธารณะย่อมไม่เกินฝัน
กระนั้นในช่วงเปลี่ยนผ่านและก่อร่างสร้างตัว ผู้บริหารในนามของคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว ตลอดจนคณะกรรมการที่จะมารับไม้ต่อต้องตั้ง ‘โจทย์’ ให้ถูกต้องเพื่อป้องกันความผิดพลาดและก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ในขณะเดียวกัน นั่นคือ นอกจากต้องรู้ว่าขณะนี้ต้องทำอะไรแล้ว ยังต้องรู้ปัญหาเพื่อจะได้ไม่ก้าวผิดพลาด เพราะการตั้งโจทย์ที่เป็นการเริ่มต้นของทุกสิ่งทุกอย่างผิด ต่อให้เก่งกาจแก้สมการขนาดไหนก็ไม่อาจประสบชัยชนะที่หวังไว้ได้
มากกว่านั้น ยังต้องจับ ‘สัญญาณของความผิดพลาด’ ให้ได้ ไม่ว่าจะมาจากกลไกหรือต้นเหตุที่เป็นเฉพาะตัวบุคคลหรือโครงสร้างหลัก และไม่กลบเกลื่อน หลีกเลี่ยงความรับผิดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างบริหารจัดการ รวมถึงที่สำคัญต้องโปร่งใส ตรงไปตรงมา เพราะถ้าไม่เป็นเช่นนั้น ผลเสียหายจากความผิดพลาดจะขยายปริมาณกว้างขวางจนส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ ความคาดหวัง และความชอบธรรมของโทรทัศน์ช่องนี้มหาศาล มิพักจะเอ่ยว่าความผิดพลาดที่เกิดใน TPBS จะไม่ได้สิ้นสุดที่องค์กร หากจะขยายขนาดสู่สังคมจนก่อเกิดวิกฤตได้ไม่ยาก
อันจะทำให้ภาระหนี้ที่ต้องชดใช้จากการขาด ‘ธรรมาภิบาล’ ในการบริหารจัดการนอกจากจะทำลายเจตนารมณ์แรกตั้งของโทรทัศน์สาธารณะแห่งนี้เช่นเดียวกับกรณี ITV ที่เจตนารมณ์แรกตั้งหลังเหตุการณ์พฤษภาประชาธรรมดิ่งเหวเมื่อธนกิจการเมืองเข้ามาครอบงำผ่านสัดส่วนการถือหุ้นแล้ว ยังอาจนำสังคมไปสู่การเลือกข้างในประเด็นที่ไม่น่าให้อภัยที่สุดอย่างกรณี ITV ด้วย
อนึ่งด้วยหลักการและปรัชญาของโทรทัศน์สาธารณะต้องการการบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาลอย่างยิ่งยวดหากหวังจะไปถึงฝั่งฝันที่สามารถสร้างประโยชน์สาธารณะโดยไม่อยู่ใต้อาณัติอิทธิพลทั้งทางการเมือง ธุรกิจ และปลอดจากการแทรกแซงของรัฐที่เคยเป็นผู้ผูกขาดความเป็นเจ้าของสัมปทานคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์
ดังนั้นจึงไม่มีทางใดดีไปกว่าการแสดงความเป็นตัวตนและความมีวุฒิภาวะของสถานีแห่งนี้ผ่านผังรายการและคุณลักษณะของบุคลากรว่ามีศักยภาพมากพอจะสร้างเสริมพลังทางปัญญาของประชาชน ตลอดจนเป็นรูปธรรมชัดเจนของกระบวนการปฏิรูปสื่อวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ โดยฝั่งผังรายการนั้นนอกจากจะมุ่งสาระความรู้หลากหลายรอบด้านโดยไม่มีแรงจูงใจในกำไรแล้ว ยังต้องนำเสนอด้วยรูปแบบโดดเด่น สนุกสนาน ในท่วงทำนองของ ‘Edutainment’ ขณะที่ฟากบุคลากรก็ต้องสอดผสานคุณสมบัติด้านวิชาชีพเข้ากับกรอบจริยธรรมแห่งอาชีวปฏิญาณที่ยึดโยงอย่างแนบแน่นกับการมี ‘จิตสาธารณะ’
กระทั่งท้ายสุดผังรายการและบุคลากรหลอมรวมเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่สามารถถ่ายทอดลักษณะเด่นได้ดุจเดียวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น หรือกล่าวอีกแบบได้ว่าผังรายการและบุคลากรของ TPBS ต้องมี ‘ดีเอ็นเอว่าด้วยประโยชน์สาธารณะ’ ที่เข้มแข็งไว้คอยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม ไม่ให้ง่ายต่อการกลายพันธุ์ (Mutation) หรือตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) แม้จะเผชิญผลประโยชน์มหาศาลตรงหน้า
อย่าลืมว่าสัญญาณความผิดพลาดเพียงน้อยนิดก็สังเกตพบได้ชัดเจนยิ่งในบุคลากรที่ไม่มีจิตสาธารณะ การคัดเลือกบุคลากรเข้าไปวางรากฐานและสานต่อโทรทัศน์สาธารณะนับแต่ระดับผู้อำนวยการลงมาจะต้องเคร่งครัดกับข้อนี้ถึงที่สุด อย่าให้หลุดรอดเข้าไปด้วยพ่ายแพ้แก่แรงกดดัน
กล่าวอย่างเป็นรูปธรรม อย่างน้อยที่สุดพันธุกรรมโทรทัศน์สาธารณะจะต้องวางอยู่บน 4 หลักการดำเนินการ ‘สื่อสาธารณะ’ ของยูเนสโกที่กอปรด้วย 1) เข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง ทั่วถึง และเท่าเทียมของพลเมือง 2) ความหลากหลาย 3) ความมีอิสระในวิชาชีพ และ 4) ความโดดเด่น
รวมถึงต้องปรับให้เข้ากับบริบทสังคมไทยด้วยการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (Human rights) และสิทธิของพลเมือง (Citizen rights) ด้วยการทำให้พวกเขาเป็นพลเมืองที่ก้าวหน้า แอกทีฟในการมีส่วนร่วมทางนโยบายสาธารณะต่างๆ ที่เคยจำกัดและเต็มไปด้วยการใช้อำนาจโดยมิชอบ (Abuse of power) ของภาครัฐ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเจตนารมณ์ของสังคมผ่านพันธกิจในการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check & Balance) ภายใต้ขอบเขตของรัฐธรรมนูญ เช่น เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ และเสรีภาพในการรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมือง
จะว่าไปแล้ว TPBS จึงเป็นสนามปฏิบัติการของภาคประชาสังคมที่ได้พลเมืองที่ตื่นตัวมีพันธุกรรมจิตสาธารณะคอยปฏิบัติการทางอำนาจผลักดันให้มีการเปิดพื้นที่ประชาธิปไตยที่ปัจเจกบุคคลมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันโดยอาศัยช่องทางโทรทัศน์สาธารณะที่มีวิจารณญาณในการรายงานข้อเท็จจริงอย่างอิสระ และตรวจสอบข้อมูลก่อนจะส่งถึงมือของผู้รับสารอย่างซื่อสัตย์นั่นเอง.-
------------------------------------------------------------------------
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ โดยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
เฉกเช่นสถานการณ์โทรทัศน์สาธารณะ(Thai Public Broadcasting Service: TPBS) ที่เปลี่ยนผ่านมาจาก ITV และ TITV ที่มีวิกฤตรุมเร้านานัปการด้วยแล้ว หากตัดตอน ไม่คำนวณย้อนกลับไปทบทวนเส้นทางการเกิดความผิดพลาดอันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างต้นเหตุ กลไก และผลลัพธ์ของ ITV เพื่อนำมาคาดคะเนความผิดพลาดที่อาจเกิดกับ TPBS แล้ว ก็แทบจะประกันความสำเร็จของสถานีโทรทัศน์แห่งใหม่นี้ไม่ได้เลย
ด้วยแม้ว่าโดยสถานภาพ TPBS จะเป็นองค์กรใหม่ หากอย่างไรเสียสังคมก็ต้องนำไปเปรียบเทียบกับ (T) ITV เดิม ตลอดจนคาดหวังว่าจะต้อง ‘เวิร์ก’ เทียบเท่า BBC หรือ NHK
โจทย์ใหญ่ในวันนี้ของ TPBS จึงน่าจะอยู่ที่การเรียนรู้แก่นแท้ความผิดพลาดของ ITV ทั้งที่เปิดเผยและเร้นซ่อนเป็นภูเขาน้ำแข็ง เนื่องด้วยมีหลายเหตุปัจจัยคล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาการเกิดในรัฐบาลรัฐประหาร เจตนารมณ์แรกตั้งที่หนึ่งต้องการทีวีเสรี ขณะที่สองต้องการทีวีสาธารณะ หรือรวมกระทั่งการเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองในเสื้อคลุมชินคอร์ปในอดีตของทีวีเสรีที่อาจละม้ายกับรัฐบาลหน้าที่น่าจะใช้อำนาจอย่างไม่เป็นกัลยาณมิตรกับทีวีสาธารณะมากนัก
การวิเคราะห์สาเหตุทั้งในส่วนต้นเหตุและกลไกของความผิดพลาดอย่างถ้วนถี่ รวมถึงปรับมาตรการป้องกันต่างๆ ย่อมลดความน่าจะเป็นของความผิดพลาดที่อาจเกิดเป็นผลลัพธ์ของ TPBS ได้มาก เพราะถ้าคาดคะเนได้ก็สามารถป้องกันความผิดพลาดได้ก่อนจะเกิด ด้วยความผิดพลาดเพียงนิดเดียวก็สะท้อนว่ามีปัญหา แค่เกือบพลาดก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของความผิดพลาด
การรู้ความน่าจะเป็นของความผิดพลาดเช่นนี้ย่อมไกลห่างจากสภาวะ ‘ตีตนไปก่อนไข้’ หรือไม่ให้ขวัญกำลังใจกับผู้ปฏิบัติงานในสถานีใหม่นี้ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันมีความคลางแคลงไม่เชื่อถือในโทรทัศน์สาธารณะอยู่มาก ตลอดจนไม่น้อยยังตั้งท่าคัดค้านด้วยอุปทานรวมหมู่ว่าจะน่าเบื่อ ไม่สนุก ยัดเยียดแต่สาระ พร่ำบ่นแต่คุณธรรม
ฉะนั้นถ้าการบริหารจัดการ TPBS เกิดความผิดพลาดจนมีภาพลักษณ์เชิงลบแม้เพียงนิดน้อยในช่วงตั้งไข่นี้ พลังความสำเร็จร่วมของภาคประชาสังคมกับรัฐบาลในการผลักดัน พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 อาจจะถึงกาลอวสานได้ในไม่นานนัก
ทั้งนี้ด้วยสาเหตุเป็นตัวก่อเกิดและกำหนดผลลัพธ์ การทบทวนจากผลลัพธ์ย้อนกลับไปหา2 ส่วนที่มองไม่เห็นทั้งต้นเหตุและกลไกของ ITV เพื่อเปรียบเทียบและคาดคะเนจึงน่าจะช่วยให้โทรทัศน์สาธารณะรอดพ้นจากความผิดพลาดที่อาจเกิดได้ในอนาคต โดยเฉพาะประเด็นการแทรกแซงและครอบงำสื่อโดยภาคการเมืองและทุน ที่แม้ TPBS จะมีมาตรการป้องกันการแทรกแซงของธนกิจการเมืองเข้มแข็ง แต่นั่นก็มาพร้อมกับข้อครหารุนแรงว่าเป็น ‘ทีวีเอ็นจีโอ’ ที่ต้องการต้านอำนาจเก่า
หากเป็นเช่นนั้นจริง การเป็นโทรทัศน์สาธารณะในคราบเอ็นจีโอก็ไม่ต่างอันใดกับการเป็นโทรทัศน์เสรีในอาภรณ์ทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย ที่ท้ายสุดต่างก็เข้าไม่ถึงประชาชนที่เป็น ’ผู้มีส่วนได้เสีย’ อย่างแท้จริงเหมือนกัน
เส้นทางที่ TPBS ก้าวเดินจึงถูกต้องแล้วที่ไม่มี ‘โฆษณา’ และไม่ให้น้ำหนักกับเรตติ้งมากนัก ด้วยถ้านำทั้งสองเงื่อนไขมาวัดความนิยมของรายการ เมื่อนั้นรายการดีๆ ก็จะหลุดผังดังปรากฏการณ์ในโทรทัศน์เอกชนและเชิงพาณิชย์ทั้งหลาย ในทางกลับกันหากวางผังรายการโดยมุ่งปณิธานดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ (Public interest) สนองตอบความต้องการของประชาชนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม เมื่อนั้นความสำเร็จของโทรทัศน์สาธารณะย่อมไม่เกินฝัน
กระนั้นในช่วงเปลี่ยนผ่านและก่อร่างสร้างตัว ผู้บริหารในนามของคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว ตลอดจนคณะกรรมการที่จะมารับไม้ต่อต้องตั้ง ‘โจทย์’ ให้ถูกต้องเพื่อป้องกันความผิดพลาดและก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ในขณะเดียวกัน นั่นคือ นอกจากต้องรู้ว่าขณะนี้ต้องทำอะไรแล้ว ยังต้องรู้ปัญหาเพื่อจะได้ไม่ก้าวผิดพลาด เพราะการตั้งโจทย์ที่เป็นการเริ่มต้นของทุกสิ่งทุกอย่างผิด ต่อให้เก่งกาจแก้สมการขนาดไหนก็ไม่อาจประสบชัยชนะที่หวังไว้ได้
มากกว่านั้น ยังต้องจับ ‘สัญญาณของความผิดพลาด’ ให้ได้ ไม่ว่าจะมาจากกลไกหรือต้นเหตุที่เป็นเฉพาะตัวบุคคลหรือโครงสร้างหลัก และไม่กลบเกลื่อน หลีกเลี่ยงความรับผิดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างบริหารจัดการ รวมถึงที่สำคัญต้องโปร่งใส ตรงไปตรงมา เพราะถ้าไม่เป็นเช่นนั้น ผลเสียหายจากความผิดพลาดจะขยายปริมาณกว้างขวางจนส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ ความคาดหวัง และความชอบธรรมของโทรทัศน์ช่องนี้มหาศาล มิพักจะเอ่ยว่าความผิดพลาดที่เกิดใน TPBS จะไม่ได้สิ้นสุดที่องค์กร หากจะขยายขนาดสู่สังคมจนก่อเกิดวิกฤตได้ไม่ยาก
อันจะทำให้ภาระหนี้ที่ต้องชดใช้จากการขาด ‘ธรรมาภิบาล’ ในการบริหารจัดการนอกจากจะทำลายเจตนารมณ์แรกตั้งของโทรทัศน์สาธารณะแห่งนี้เช่นเดียวกับกรณี ITV ที่เจตนารมณ์แรกตั้งหลังเหตุการณ์พฤษภาประชาธรรมดิ่งเหวเมื่อธนกิจการเมืองเข้ามาครอบงำผ่านสัดส่วนการถือหุ้นแล้ว ยังอาจนำสังคมไปสู่การเลือกข้างในประเด็นที่ไม่น่าให้อภัยที่สุดอย่างกรณี ITV ด้วย
อนึ่งด้วยหลักการและปรัชญาของโทรทัศน์สาธารณะต้องการการบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาลอย่างยิ่งยวดหากหวังจะไปถึงฝั่งฝันที่สามารถสร้างประโยชน์สาธารณะโดยไม่อยู่ใต้อาณัติอิทธิพลทั้งทางการเมือง ธุรกิจ และปลอดจากการแทรกแซงของรัฐที่เคยเป็นผู้ผูกขาดความเป็นเจ้าของสัมปทานคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์
ดังนั้นจึงไม่มีทางใดดีไปกว่าการแสดงความเป็นตัวตนและความมีวุฒิภาวะของสถานีแห่งนี้ผ่านผังรายการและคุณลักษณะของบุคลากรว่ามีศักยภาพมากพอจะสร้างเสริมพลังทางปัญญาของประชาชน ตลอดจนเป็นรูปธรรมชัดเจนของกระบวนการปฏิรูปสื่อวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ โดยฝั่งผังรายการนั้นนอกจากจะมุ่งสาระความรู้หลากหลายรอบด้านโดยไม่มีแรงจูงใจในกำไรแล้ว ยังต้องนำเสนอด้วยรูปแบบโดดเด่น สนุกสนาน ในท่วงทำนองของ ‘Edutainment’ ขณะที่ฟากบุคลากรก็ต้องสอดผสานคุณสมบัติด้านวิชาชีพเข้ากับกรอบจริยธรรมแห่งอาชีวปฏิญาณที่ยึดโยงอย่างแนบแน่นกับการมี ‘จิตสาธารณะ’
กระทั่งท้ายสุดผังรายการและบุคลากรหลอมรวมเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่สามารถถ่ายทอดลักษณะเด่นได้ดุจเดียวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น หรือกล่าวอีกแบบได้ว่าผังรายการและบุคลากรของ TPBS ต้องมี ‘ดีเอ็นเอว่าด้วยประโยชน์สาธารณะ’ ที่เข้มแข็งไว้คอยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม ไม่ให้ง่ายต่อการกลายพันธุ์ (Mutation) หรือตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) แม้จะเผชิญผลประโยชน์มหาศาลตรงหน้า
อย่าลืมว่าสัญญาณความผิดพลาดเพียงน้อยนิดก็สังเกตพบได้ชัดเจนยิ่งในบุคลากรที่ไม่มีจิตสาธารณะ การคัดเลือกบุคลากรเข้าไปวางรากฐานและสานต่อโทรทัศน์สาธารณะนับแต่ระดับผู้อำนวยการลงมาจะต้องเคร่งครัดกับข้อนี้ถึงที่สุด อย่าให้หลุดรอดเข้าไปด้วยพ่ายแพ้แก่แรงกดดัน
กล่าวอย่างเป็นรูปธรรม อย่างน้อยที่สุดพันธุกรรมโทรทัศน์สาธารณะจะต้องวางอยู่บน 4 หลักการดำเนินการ ‘สื่อสาธารณะ’ ของยูเนสโกที่กอปรด้วย 1) เข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง ทั่วถึง และเท่าเทียมของพลเมือง 2) ความหลากหลาย 3) ความมีอิสระในวิชาชีพ และ 4) ความโดดเด่น
รวมถึงต้องปรับให้เข้ากับบริบทสังคมไทยด้วยการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (Human rights) และสิทธิของพลเมือง (Citizen rights) ด้วยการทำให้พวกเขาเป็นพลเมืองที่ก้าวหน้า แอกทีฟในการมีส่วนร่วมทางนโยบายสาธารณะต่างๆ ที่เคยจำกัดและเต็มไปด้วยการใช้อำนาจโดยมิชอบ (Abuse of power) ของภาครัฐ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเจตนารมณ์ของสังคมผ่านพันธกิจในการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check & Balance) ภายใต้ขอบเขตของรัฐธรรมนูญ เช่น เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ และเสรีภาพในการรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมือง
จะว่าไปแล้ว TPBS จึงเป็นสนามปฏิบัติการของภาคประชาสังคมที่ได้พลเมืองที่ตื่นตัวมีพันธุกรรมจิตสาธารณะคอยปฏิบัติการทางอำนาจผลักดันให้มีการเปิดพื้นที่ประชาธิปไตยที่ปัจเจกบุคคลมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันโดยอาศัยช่องทางโทรทัศน์สาธารณะที่มีวิจารณญาณในการรายงานข้อเท็จจริงอย่างอิสระ และตรวจสอบข้อมูลก่อนจะส่งถึงมือของผู้รับสารอย่างซื่อสัตย์นั่นเอง.-
------------------------------------------------------------------------
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ โดยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org