xs
xsm
sm
md
lg

“จุรินทร์” ประธานถกอาเซียน ติดตาม 13 ประเด็นเศรษฐกิจที่ไทยผลักดัน มั่นใจสำเร็จหมดปีนี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“จุรินทร์” ประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ติดตามความคืบหน้า 13 ประเด็นเศรษฐกิจที่ไทยผลักดัน มั่นใจทุกประเด็นสำเร็จทั้งหมดภายในปีนี้ เผยอาเซียนได้ลงนามพิธีสารปรับปรุงกลไกระงับข้อพิพาทที่ใช้มากว่า 10 ปี คาดช่วยแก้ไขปัญหาข้อพิพาทในอาเซียนได้ดีขึ้น

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 18 ว่าวันนี้เป็นการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนนัดสุดท้ายที่ไทยเป็นเจ้าภาพ โดยที่ประชุมได้ยินดีและรับทราบความคืบหน้าประเด็นด้านเศรษฐกิจที่ไทยผลักดันทั้ง 13 ประเด็น โดยมั่นใจว่าจะสามารถผลักดันไปสู่ความสำเร็จครบทั้ง 13 ประเด็นภายในสิ้นปีนี้ และจะรายงานความคืบหน้าต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนต่อไป

สำหรับประเด็นด้านเศรษฐกิจทั้ง 13 ประเด็น ได้แก่ 1. แผนงานด้านดิจิทัลของอาเซียน 2. แผนงานในการส่งเสริมนวัตกรรมอาเซียน 3. การเตรียมการสำหรับการพัฒนาแรงงานเพื่อรองรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 คือเรื่องของการใช้แรงงานพัฒนาแรงงานคนเพื่อรองรับการใช้เครื่องจักร การใช้นวัตกรรมใหม่ในการผลิต 4. การเดินหน้าไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 5. การเตรียมการที่จะนำ SME ไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล เช่น การค้าออนไลน์ เป็นต้น

6. การดำเนินการในเรื่อง ASEAN Single Window การนำเข้าส่งออกระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกันที่ต้องมีการอำนวยความสะดวกโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และไม่ซ้ำซ้อน ทำให้การส่งออกระหว่างการคล่องตัวยิ่งขึ้น 7. เรื่องการผลักดันให้มีการใช้เงินสกุลท้องถิ่นค้าขายระหว่างกันในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรมแล้วอย่างน้อย 3 คู่ คือ ไทย-ฟิลิปปินส์ ไทย-อินโดนีเซีย และไทย-มาเลเซีย ภายใต้ความร่วมมือของแบงก์ชาติของไทยกับธนาคารพาณิชย์ของ 3 ประเทศ

8. การเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในระบบที่เรียกว่า PPP 9. การร่วมมือกันระหว่างอาเซียนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร คือ การใช้อาหารส่งเสริมการท่องเที่ยว 10. การแสดงเจตจำนงค์ร่วมกันผลักดันให้ RCEP ซึ่งอาเซียนเป็นศูนย์กลางของ RCEP จบภายในสิ้นปีนี้ 11. การผลักดันเครือข่าย IUU ของอาเซียน คือ การทำประมงอาเซียนที่มุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างความยั่งยืน 12. การส่งเสริมตลาดทุนของอาเซียนในประเทศต่างๆ โดยเมื่อจะรับบริษัทเข้าไปจดทะเบียน ต้องคำนึงถึงเป้าหมายของบริษัทนั้นๆ ที่มุ่งเน้นความยังยืน เช่น สิ่งแวดล้อม เป็นต้น และ 13. การผลักดันให้มีการลงนาม ศูนย์พลังงานอาเซียนระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงชีวภาพ

นอกจากนี้ ได้ให้การรับรองแผนการดำเนินงานตามกรอบการบูรณาการด้านดิจิทัลของอาเซียน ปี 2562-2568 ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงาน 6 ด้าน ได้แก่ (1. การอำนวยความสะดวกทางการค้า (2. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพร้อมกับการส่งเสริมการค้าดิจิทัลและนวัตกรรม (3. การส่งเสริมการชำระเงินดิจิทัล (4. การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล (5. การส่งเสริมวิสาหกิจ และ (6. กลไกความร่วมมือ

ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ได้มีการลงนามพิธีสารกลไกระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งเป็นการปรับปรุงกลไกระงับข้อพิพาทที่ใช้มากว่า 10 ปี ตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งจะทำให้เกิดความชัดเจนในขั้นตอนกระบวนการต่างๆ เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นระหว่างสมาชิกอาเซียน เช่น การระบุชัดเจนในเรื่องขั้นตอน ระยะเวลาฟ้องร้องว่าใช้ระยะเวลากี่วัน การพิจารณาคดีจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นในช่วงระยะเวลาเท่าไร อย่างไร และมีการเพิ่มกลไกทางเลือกให้คู่พิพาทเลือกได้ เช่น อาจไม่ต้องไปสู่คณะลูกขุน แต่ใช้อนุญาโตตุลาการได้ เป็นต้น รวมทั้งเปิดโอกาสให้สำนักเลขาธิการอาเซียนสามารถให้คำปรึกษาด้านกฎหมายกับผู้พิพาท รวมทั้งประเทศที่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับความสนับสนุนช่วยเหลือ เช่น กัมพูชา สปป.ลาว พม่า ก็จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษในเรื่องข้อกฎหมาย แนวทางการปฏิบัติต่างๆ


กำลังโหลดความคิดเห็น