xs
xsm
sm
md
lg

“อาคม” เร่งพัฒนา ทลฉ. ทุ่ม 4.8 พันล้านผุดท่าเรือชายฝั่งและศูนย์ขนส่งทางราง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
“อาคม” สั่ง กทท.ปรับตัวเลขโครงสร้างค่าบริการโครงการศูนย์ขนส่งทางราง (SRTO) เร่งเสนอ ครม.ขออนุมัติลงทุนพร้อมกับท่าเทียบเรือชายฝั่ง A วงเงินรวมกว่า 4.8 พันล้านบาท ดันก่อสร้างในปี 58 เปิดให้บริการปี 60 เพื่อให้แข่งขันกับท่าเรือในอาเซียน เชื่อมทวาย จีน สิงคโปร์ ดึงเพื่อนบ้านใช้บริการ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ (Single Rail Transfer Operator : SRTI) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง วงเงิน 2,994.930 ล้านบาท ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับรายละเอียดในเรื่องสมมติฐานโครงสร้างค่าบริการ (Terminal Charge) เพื่อให้สอดคล้องกับโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง วงเงิน 1,864.19 ล้านบาท และเปรียบเทียบกับโครงสร้างราคาของท่าเรือประเทศอื่นด้วยเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ตามความเห็นคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยคาดว่าจะสรุปและนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติได้ภายในปี 2558 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี เปิดให้บริการได้ในปี 2560

“ขณะนี้ท่าเรือแหลมฉบังมีโครงการที่ต้องเร่งผลักดันเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ โดยท่าเทียบเรือชายฝั่งจะรองรับเรือที่ขนส่งในลำน้ำ ซึ่งขณะนี้ต้องไปใช้บริการท่าเทียบเรือระหว่างประเทศซึ่งทำให้แออัดและเสียเวลารอใช้บริการ ส่วน SRTO ติดเรื่องโครงสร้างค่าบริการ แต่คาดว่าจะใช้เวลาปรับตัวเลขไม่นานจะเสนอครม.ได้” นายอาคมกล่าว

ทั้งนี้ จากผลประกอบการของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ในปี 2557 ที่มีรายได้รวม 13,843 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 235 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 5,171 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 154 ล้านบาททั้งที่ปี 2557 นั้นภาพรวมของการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่สูง แสดงให้เห็นว่าการขนส่งทางน้ำมีอัตราการเติบโตดีต่อเนื่อง ดังนั้น กทท.จะต้องเร่งพัฒนาศักยภาพท่าเรือเพื่อทำให้เกิดการเชื่อมโยงกับท่าเรือในภูมิภาค เช่น เชื่อมกับสิงคโปร์ ท่าเรือจีน และท่าเรือทวายของพม่า นอกจากนี้จะต้องพัฒนาการเชื่อมกับการขนส่งทางถนนและรางให้เกิดความสะดวก และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการเพิ่มขึ้นเพื่อลดขั้นตอนและเวลาในการให้บริการในท่าเรือ และการขนถ่ายตู้สินค้าสู่รถบรรทุกได้รวดเร็วเพื่อดึงผู้ประกอบการจากเพื่อนบ้านมาใช้บริการท่าเรือแหลมฉบังในการส่งออกนำเข้า

โดยในปี 2557 ท่าเรือของไทยมีปริมาณตู้สินค้าผ่านรวม 8.35 ล้านทีอียู แบ่งเป็นท่าเรือกรุงเทพ 18.19% ท่าเรือแหลมฉบัง 77.34% ท่าเรือสงขลา 1% ท่าเรือเอกชน 4% โดยในปี 2556 ท่าเรือแหลมฉบังอยู่ในอันดับ 5 ของอาเซียน และอันดับ 23 ของโลก โดยมีปริมาณตู้สินค้าที่ 5.97 ล้านทีอียูต่อปี ขณะที่อันดับ 1 ของอาเซียน คือท่าเรือสิงคโปร์ มีปริมาณตู้สินค้าที่ 32.20 ล้านทีอียูต่อปี อันดับ 2 และ 3 คือ
ท่าเรือมาเลเซีย อันดับ 4 ท่าเรืออินโดนีเซีย
กำลังโหลดความคิดเห็น