xs
xsm
sm
md
lg

บอร์ดรฟม.ยอมปรับแนวรถไฟฟ้าสีส้มเลี่ยงชุมชนประชาสงเคราะห์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ในดินแดง ประชาสงเคราะห์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
บอร์ดรฟม.จำนนชาวบ้านประชาสงเคราะห์ ยอมปรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ยึดตามถนนพระราม 9 ลดค่าเวลคืน ผลกระทบชุมชน ค่าก่อสร้างรวมลดลงถึง 500 ล้านบาท ด้านชาวบ้านยันไม่ปรับแนว ร้องศาลปกครองและยื่น"ประยุทธ์"พิจารณา


วันนี้(16 ม.ค.) คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่มีพล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธานได้หารือถึงแนวทางการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง 21.20 กม. วงเงิน 110,325.76 ล้านบาท  โดยมีตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ในดินแดง ประชาสงเคราะห์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเข้าร่วมหารือ เนื่องจากเมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา บอร์ดรฟม.มีมติไม่เห็นด้วยกับการปรับแนวเส้นทางพื่อเลี่ยงชุมชนประชาสงเคราะห์ ไปใช้ถนนพระราม9  แทน 

โดยนายประทีป นิลวรรณ ประธานชุมชนแม่เนี้ยว แยก3 แกนนำชุมชนประชาสงเคราะห์กล่าวว่า หากบอร์ดรฟม.ยังคงยืนยันตามว่าจะก่อสร้างตามแนวทางที่ 1 ซึ่งผ่านชุมชนจำนวนมาก ชาวบ้านจะประชุมเพื่อขอมติของชุมชนในเจตดินแดงที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ เพื่อในการขับเคลื่อนในส่วนของภาคประชาชนต่อไป เช่น ยื่นศาลปกครองและนำมวลชนเข้าพบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อส่งสัญญาณไปถึงบอร์เ รฟม.ได้เข้าใจและทบทวนมติ โดยเบื้องต้นในวันที่ 18 มกราคมนี้ จะนัดประชุมหารือกันและแจ้งความคืบหน้าให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับทราบ

ซึ่งก่อนหน้านี้ รฟม.ได้หารือกับชาวบ้านในพื้นที่ในดินแดง ประชาสงเคราะห์ พระราม 9 เพื่อหาทางออกและลดผลกระทบ ช่วงตัดผ่านพื้นที่ถนนประชาสงเคราะห์ ดินแดง  โดย รฟม.ได้มีการศึกษาปรับแนวเส้นทางช่วงดังกล่าวใหม่ โดยมีเส้นทางเริ่มจากสถานีรางน้ำไปตามถนนราชปรารภและถนนดินแดง เข้าสู่ถนนพระราม 9 และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีพระราม 9 จากนั้นวิ่งต่อไปตามถนนพระราม 9 จนถึงสถานี รฟม. ซึ่งจะลดผลกระทบผู้ถูกเวนคืนประมาณ 150 หลังคาเรือนลง ส่งผลประหยัดงบประมาณเวนคืนได้ 500 ล้านบาท ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย

ผ.ศ.พงศ์พร สุดบรรทัด พยานผู้เชี่ยวชาญจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกล่าวว่า รฟม.ได้เชิญตัวแทนชุมชนมาชี้แจงต่อที่ประชุมบอร์ดกรณีที่ขอให้ดำเนินการก่อสร้างในทางเลือกที่ 2  เนื่องจากพิสูจน์ได้ว่า ต้นทุนทางสังคม สิ่งแวดล้อมและทางกายภาพต่ำกว่าและมีประสิทธิภาพกว่าแนวที่ผ่านชุมชน ซึ่งการเคลื่อนไหวของชาวบ้านเป็นไปตามข้อเท็จจริงและสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชนที่พึงกระทำได้ เพื่อรักษาชุมชนเก่า โดยชาวบ้านเห็นว่าการออกแบบแนวเส้นทางเดิมที่เลี้ยวไปเลี้ยวมาและผ่านชุมชนเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะต้องมีการเปิดหน้าดิน เพื่อผ่านสถานีศูนย์วัฒนธรรมซึ่งต้องขุดลงใต้ดินลึกกว่า 60 เมตร ซึ่งค่าก่อสร้างจะสูงมาก ในขณะที่ใช้แนวไปทางถนนพระราม 9 จะลดผลกระทบได้มาก

พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานบอร์ดรฟม.กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดรฟม.วันนี้ (16 ม.ค.) มีมติให้รฟม.ดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตามทางเลือกที่ 2 โดยขยับแนวมาใช้ถนนพระราม9 แทนการตัดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ หลังจาก
ขอให้ชาวบ้านมาหารือกัน ใช้เวลา2 ชม. ชาวบ้านยืนยันไม่เห็นด้วยกับแนวเดิมและบอกถึงข้อดีข้อเสีย ซึ่งบอร์ดพอใจและมีมติออกมา โดยแนวพระราม 9 จะไม่มีปัญหาเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม และไม่มีเสียงคัดค้านและยังส่งผลให้มูลค่าโครงการทั้งค่าก่อสร้างและค่าเวนคืนลดลงประมาณ 500 ล้านบาท เพราะเส้นทางจะสั้นกว่า แนวเดิม

"เราไม่อยากให้มีความเดือดร้อนต่อชุมชน และอยากให้ชุมชนมีส่วนร่วม ความติ้งการของสังคมเป็นเหตุผลที่ต้องนำมาพิจารณาในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า เมื่อไม่มีการคัดค้านโครงการจะเดินหน้าได้ตามแผน"พล.อ.ยอดยุทธกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น