“ไพรินทร์” เต้นถูกเอ็นจีโอถล่มหนัก! ยันคืนท่อส่งก๊าซฯ บนบกให้คลังเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่ ธ.ค. 51 ความยาว 371 กิโลเมตร ส่วนท่อก๊าซฯ ที่เหลือเป็นของ ปตท. รวมถึงท่อก๊าซฯ ในทะเล ยันถูกต้องตามกฎหมาย เพราะกฎหมายไทยไม่มีอำนาจเกิน 12 ไมล์ทะเล พร้อมกับเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเคารพคำสั่งศาล พร้อมกับเดินหน้าแยกท่อก๊าซฯ ออกมาเป็นบริษัทตามมติ กพช.
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดแถลงข่าวด่วนเพื่อชี้แจงกรณีกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชนนำโดยนายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.) ถึงความไม่โปร่งใสในการคืนท่อก๊าซฯ ของ ปตท.ให้กับกระทรวงการคลังวันนี้ (20 ส.ค.) ว่า ปตท.ยืนยันว่าได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดในการโอนสินทรัพย์ท่อก๊าซฯ ที่เป็นสาธารณสมบัติแผ่นดินที่ได้จากการใช้อำนาจมหาชนทั้งเวนคืนที่และรอนสิทธิ์ในช่วงก่อนการแปรรูป ปตท.คืนให้กระทรวงการคลังเป็นที่เรียบร้อยมาตั้งแต่ ธ.ค. 2551 ซึ่งศาลฯ ก็มีคำสั่งว่า ปตท.ได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2551
ณ วันที่ 30 กันยายน 2544 (ก่อน ปตท.แปรรูปในวันที่ 1 ต.ค. 2544) มีท่อก๊าซฯ บนบกระยะทาง 773 กิโลเมตร ได้แบ่งแยกท่อส่งก๊าซฯ ให้กระทรวงการคลัง 371 กิโลเมตร และเป็นท่อของ ปตท.เอง 402 กิโลเมตร เนื่องจากเป็นท่อส่งก๊าซฯ ที่ ปตท.ลงทุนเองและไม่ได้ใช้อำนาจมหาชน และไม่ได้รวมท่อก๊าซฯ ในทะเล เนื่องจากท่อส่งก๊าซฯ ในทะเลไม่ได้ใช้อำนาจมหาชนในการรอนสิทธิ์ และไม่มีกฎหมายไทยบังคับใช้ได้เกิน 12 ไมล์ทะเล ดังนั้นท่อส่งก๊าซฯ ในทะเลจึงเป็นของ ปตท. และเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ศาลปกครองกลางไม่รับคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ยื่นคำร้องขอให้ ปตท.คืนท่อก๊าซฯ ในทะเลเมื่อปี 2555
ปัจจุบัน ปตท. มีท่อก๊าซรวมทั้งสิ้น 3.7 พันกิโลเมตร แบ่งเป็นท่อส่งก๊าซฯ ในทะเล 400 กิโลเมตร ซึ่งท่อส่งก๊าซฯ ที่ ปตท.โอนไปให้กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังนั้น ปตท.มีค่าใช้จ่ายในการจ่ายค่าตอบแทนการใช้ท่อส่งก๊าซฯ ดังกล่าวปีละ 500 ล้านบาท
สำหรับท่อส่งก๊าซฯ เส้นที่ 4 ปตท.ก็เป็นผู้ลงทุนด้านพื้นที่เอง เนื่องจากไม่ได้ใช้อำนาจมหาชนแต่อย่างใดหลังจากแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนจำกัดแล้ว เพราะอำนาจได้ถูกโอนไปยังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อกำกับดูแลแทน
เมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) สั่งการให้ ปตท.ต้องดำเนินการแยกท่อก๊าซฯ ออกจากกิจการของ ปตท. โดยให้ตั้งเป็นบริษัทฯ เบื้องต้น ปตท.ถือหุ้น 100% แล้วให้คลังมาถือหุ้นบริษัทดังกล่าว 20-25% ในระยะต่อไป โดยให้ดำเนินการแยกเป็นบริษัทจำกัดให้เสร็จภายในกลางปี 2558 นั้น ทาง ปตท.จะเร่งดำเนินการต่อไป
“การโอนทรัพย์สินไปยังบริษัทท่อส่งก๊าซใหม่ จะเป็นการโอนทรัพย์สินในส่วนที่ ปตท.เป็นเจ้าของในปัจจุบัน แต่ทรัพย์สินในส่วนที่รัฐเป็นเจ้าของกระทรวงการคลังก็ยังคงสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของเช่นเดิม ดังนั้นจึงอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเคารพคำสั่งศาล ไม่ควรก้าวล่วง ซึ่งที่ผ่านมาศาลมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว หากยังตีความกันเองต่อไปจะไม่มีข้อยุติอะไรเลย ส่วนการออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงของ ปตท.ในครั้งนี้เพราะไม่ต้องการให้สังคมเข้าใจข้อมูลผิดและขยายผลออกไป”
ส่วนนโยบายของ คสช.ด้านพลังงาน คือการปฏิรูปพลังงาน มิใช่การแปรรูป ปตท.ครั้งที่ 2 เพื่อสร้างธุรกิจเสรีอย่างแท้จริง ลดความกังวลเรื่องการผูกขาด ซึ่งการแยกบริษัทท่อฯ ออกมาจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ทุกคนสามารถใช้บริการขนส่งก๊าซทางท่อได้อย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้การกำกับดูแลจากองค์กรกำกับกิจการของรัฐ (Regulator) ในอัตราค่าใช้บริการที่เหมาะสมเป็นธรรม และการแปรรูป ปตท.เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเมื่อปี 2544
“การคืนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ได้มาจากอำนาจมหาชนให้คลังนั้น ปตท.ไม่เคยปิดบังและรายงานให้ศาลทราบมาโดยตลอดในช่วงที่ผ่านมา ส่วนที่กังวลว่ามีการโอนทรัพย์สินยังครบหรือไม่ต้องไปหารือศาล ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในฐานะผู้สอบบัญชี บมจ.ปตท. ก็ไม่เคยทำหมายเหตุแนบท้ายงบการเงินในประเด็นดังกล่าวเลย ดังนั้นจึงอยากให้เอ็นจีโอไปตรวจสอบเรื่องรางรถไฟ หรือสายส่งไฟฟ้าบ้าง ไม่ใช่พูดแต่เรื่องท่อส่งก๊าซฯ อย่างเดียว”
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดแถลงข่าวด่วนเพื่อชี้แจงกรณีกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชนนำโดยนายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.) ถึงความไม่โปร่งใสในการคืนท่อก๊าซฯ ของ ปตท.ให้กับกระทรวงการคลังวันนี้ (20 ส.ค.) ว่า ปตท.ยืนยันว่าได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดในการโอนสินทรัพย์ท่อก๊าซฯ ที่เป็นสาธารณสมบัติแผ่นดินที่ได้จากการใช้อำนาจมหาชนทั้งเวนคืนที่และรอนสิทธิ์ในช่วงก่อนการแปรรูป ปตท.คืนให้กระทรวงการคลังเป็นที่เรียบร้อยมาตั้งแต่ ธ.ค. 2551 ซึ่งศาลฯ ก็มีคำสั่งว่า ปตท.ได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2551
ณ วันที่ 30 กันยายน 2544 (ก่อน ปตท.แปรรูปในวันที่ 1 ต.ค. 2544) มีท่อก๊าซฯ บนบกระยะทาง 773 กิโลเมตร ได้แบ่งแยกท่อส่งก๊าซฯ ให้กระทรวงการคลัง 371 กิโลเมตร และเป็นท่อของ ปตท.เอง 402 กิโลเมตร เนื่องจากเป็นท่อส่งก๊าซฯ ที่ ปตท.ลงทุนเองและไม่ได้ใช้อำนาจมหาชน และไม่ได้รวมท่อก๊าซฯ ในทะเล เนื่องจากท่อส่งก๊าซฯ ในทะเลไม่ได้ใช้อำนาจมหาชนในการรอนสิทธิ์ และไม่มีกฎหมายไทยบังคับใช้ได้เกิน 12 ไมล์ทะเล ดังนั้นท่อส่งก๊าซฯ ในทะเลจึงเป็นของ ปตท. และเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ศาลปกครองกลางไม่รับคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ยื่นคำร้องขอให้ ปตท.คืนท่อก๊าซฯ ในทะเลเมื่อปี 2555
ปัจจุบัน ปตท. มีท่อก๊าซรวมทั้งสิ้น 3.7 พันกิโลเมตร แบ่งเป็นท่อส่งก๊าซฯ ในทะเล 400 กิโลเมตร ซึ่งท่อส่งก๊าซฯ ที่ ปตท.โอนไปให้กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังนั้น ปตท.มีค่าใช้จ่ายในการจ่ายค่าตอบแทนการใช้ท่อส่งก๊าซฯ ดังกล่าวปีละ 500 ล้านบาท
สำหรับท่อส่งก๊าซฯ เส้นที่ 4 ปตท.ก็เป็นผู้ลงทุนด้านพื้นที่เอง เนื่องจากไม่ได้ใช้อำนาจมหาชนแต่อย่างใดหลังจากแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนจำกัดแล้ว เพราะอำนาจได้ถูกโอนไปยังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อกำกับดูแลแทน
เมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) สั่งการให้ ปตท.ต้องดำเนินการแยกท่อก๊าซฯ ออกจากกิจการของ ปตท. โดยให้ตั้งเป็นบริษัทฯ เบื้องต้น ปตท.ถือหุ้น 100% แล้วให้คลังมาถือหุ้นบริษัทดังกล่าว 20-25% ในระยะต่อไป โดยให้ดำเนินการแยกเป็นบริษัทจำกัดให้เสร็จภายในกลางปี 2558 นั้น ทาง ปตท.จะเร่งดำเนินการต่อไป
“การโอนทรัพย์สินไปยังบริษัทท่อส่งก๊าซใหม่ จะเป็นการโอนทรัพย์สินในส่วนที่ ปตท.เป็นเจ้าของในปัจจุบัน แต่ทรัพย์สินในส่วนที่รัฐเป็นเจ้าของกระทรวงการคลังก็ยังคงสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของเช่นเดิม ดังนั้นจึงอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเคารพคำสั่งศาล ไม่ควรก้าวล่วง ซึ่งที่ผ่านมาศาลมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว หากยังตีความกันเองต่อไปจะไม่มีข้อยุติอะไรเลย ส่วนการออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงของ ปตท.ในครั้งนี้เพราะไม่ต้องการให้สังคมเข้าใจข้อมูลผิดและขยายผลออกไป”
ส่วนนโยบายของ คสช.ด้านพลังงาน คือการปฏิรูปพลังงาน มิใช่การแปรรูป ปตท.ครั้งที่ 2 เพื่อสร้างธุรกิจเสรีอย่างแท้จริง ลดความกังวลเรื่องการผูกขาด ซึ่งการแยกบริษัทท่อฯ ออกมาจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ทุกคนสามารถใช้บริการขนส่งก๊าซทางท่อได้อย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้การกำกับดูแลจากองค์กรกำกับกิจการของรัฐ (Regulator) ในอัตราค่าใช้บริการที่เหมาะสมเป็นธรรม และการแปรรูป ปตท.เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเมื่อปี 2544
“การคืนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ได้มาจากอำนาจมหาชนให้คลังนั้น ปตท.ไม่เคยปิดบังและรายงานให้ศาลทราบมาโดยตลอดในช่วงที่ผ่านมา ส่วนที่กังวลว่ามีการโอนทรัพย์สินยังครบหรือไม่ต้องไปหารือศาล ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในฐานะผู้สอบบัญชี บมจ.ปตท. ก็ไม่เคยทำหมายเหตุแนบท้ายงบการเงินในประเด็นดังกล่าวเลย ดังนั้นจึงอยากให้เอ็นจีโอไปตรวจสอบเรื่องรางรถไฟ หรือสายส่งไฟฟ้าบ้าง ไม่ใช่พูดแต่เรื่องท่อส่งก๊าซฯ อย่างเดียว”