xs
xsm
sm
md
lg

บวท.พัฒนาระบบเดินอากาศแบบไร้รอยต่อ คาดปี 60 น่านฟ้าไทยเที่ยวบินทะลุ 1 ล้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นาวาอากาศตรี ประจักษ์ สัจจโสภณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.)
บวท.เดินหน้าติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มศักยภาพระบบบริหารจัดการเชื่อมโยงการเดินอากาศทั่วประเทศให้ทันสมัย และเพื่อเข้าสู่น่านฟ้าเสรีอาเซียน ระบบห้วงอากาศไร้รอยต่อ รองรับอุตฯ การบินเติบโตก้าวกระโดด จากปัจจุบันปีละ 7 แสนเที่ยวบิน คาดเพิ่มเป็น 1 ล้านเที่ยวบินในปี 60

นาวาอากาศตรี ประจักษ์ สัจจโสภณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) กล่าวในโอกาสที่ บวท.ได้ก่อตั้งมาครบ 66 ปีว่า การให้บริการการเดินอากาศตลอดเวลา 66 ปีที่ผ่านมามุ่งเน้นความปลอดภัยสูงสุดแก่ทุกเที่ยวบินที่เดินทางผ่านน่านฟ้าประเทศไทย ซี่งมีปริมาณเที่ยวบินเฉลี่ยกว่า 2,000 เที่ยวบินต่อวันหรือกว่า 700,000 เที่ยวบินต่อปี และคาดว่าจะมีปริมาณจราจรทางอากาศสูงขึ้นเป็น 1,000,000 เที่ยวบินในปี 2560 โดย บวท.ได้เตรียมแผนยุทธศาสตร์รองรับแนวโน้มการเติบโตแบบก้าวกระโดดของการขนส่งทางอากาศในอนาคต รวมถึงแผนยุทธศาสตร์ของประเทศที่ต้องการเป็นศูนย์กลางการบินและการขนส่งทางอากาศในภูมิภาค 

โดยมีระบบเทคโนโลยีใหม่ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานระบบบริการการเดินอากาศ (Thailand Modernization CNS/ATM Systems : TMCS) เป็นโครงการสำคัญ มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 2555-2558 โดยการจัดหาและติดตั้งระบบเทคโนโลยี และอุปกรณ์ตามข้อกำหนดของระบบการบริหารจราจรทางอากาศสากล (Global Air Traffic Management System) เข้าใช้เชื่อมโยงระบบการเดินอากาศทั่วประเทศให้ทันสมัย ซึ่งขณะนี้ บวท.ได้ส่งทีมงานด้านปฏิบัติการควบคุมจราจรทางอากาศ และทีมงานด้านวิศวกรรมจราจรทางอากาศไปฝึกอบรมเรียนรู้ระบบบริการการเดินอากาศระบบใหม่ รวมถึงจัดประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับหน่วยงานเพื่อหาแนวร่วมในการจัดทำแผนการเดินอากาศสากลภายใต้กรอบแผนงานด้านการบินของโลก ซึ่งเรียกว่า Aviation System Block Upgrade หรือ ASBUs เพื่อนำไปสู่การบูรณาการแผนพัฒนาระบบการเดินอากาศของไทยให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการเดินอากาศสากลต่อไป

ซึ่งจะเป็นศักยภาพของ บวท.ที่จะขับเคลื่อนสู่น่านฟ้าเสรี การพัฒนาระบบห้วงอากาศไร้รอยต่อภายในอาเซียน (Seamless ASEAN Sky: SAS) พัฒนาระบบเทคโนโลยีและวิธีปฏิบัติที่ใช้ในการบริหารจราจรทางอากาศในภูมิภาคอาเซียนให้มีศักยภาพทัดเทียมกัน รองรับปริมาณการจราจรทางอากาศที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
กำลังโหลดความคิดเห็น