พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านไม่จบ จ่อยืดเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน กรุงเทพฯ-โคราชไปถึงหนองคาย “ชัชชาติ” เผยต้องตัดโครงการขยายถนนราชพฤกษ์ 1.05 หมื่นล้าน และค่าก่อสร้างมอเตอร์เวย์ บางปะอิน-โคราช หันใช้เทิร์นคีย์แทน เตรียมชง “นายกฯ” 15 มี.ค.นี้เคาะสุดท้าย ก่อนชง ครม. 19 มี.ค. ด้าน สนข.เตรียมรวบรวมความเห็นประชาชน ยันส่วนใหญ่หนุนพัฒนารถไฟและประมูลต้องโปร่งใส
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมพิจารณาโครงการภายใต้ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เงินกู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ล่าสุดอาจจะต้องตัดโครงการก่อสร้างถนนราชพฤกษ์ต่อขยาย-ถนนกาญจนาภิเษก แนวเหนือ-ใต้ วงเงินประมาณ 1.05 หมื่นล้านบาท รวมถึงโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้ได้รับจัดสรรในส่วนของค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วนค่าก่อสร้างนั้นอาจจะต้องตัดออก โดยจะลงทุนโดยวิธีเทิร์นคีย์ลงทุนแทน ทั้งนี้เพื่อนำเงินไปใช้ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมาไปถึงหนองคาย
“มอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-โคราชจะได้เงินกู้ 2 ล้านล้าน ในส่วนของค่าเวนคืน ส่วนค่าก่อสร้างตอนนี้มีแนวคิดเสนอว่าจะให้ใช้จ้างเทิร์นคีย์ เพราะจะเป็นไปได้มากกว่าร่วมทุนเอกชนแบบ PPP โดยเทิร์นคีย์นั้นสามารถตั้งงบประมาณประจำปีมาช่วยจ่ายคืนเอกชนได้บางส่วนและยังนำรายได้จากมอเตอร์เวย์สายอื่นมาช่วยขณะที่แบบ PPP ทำไม่ได้
ซึ่งเมื่อลงทุนสูงผู้ลงทุนอาจจะกำหนดค่าผ่านทางสูงอีกและยังมีขั้นตอนประมูลมากกว่าด้วย และเงินที่เหลือก็จะนำไปใช้ขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายอีสานไปถึง หนองคาย ตอนนี้ยังไม่สรุป ต้องรอที่ประชุมวันที่ 15 มีนาคมนี้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะสรุปครั้งสุดท้ายเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 19 มีนาคมนี้” นายชัชชาติกล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า คาดว่าโครงการถนนราชพฤกษ์ต่อขยาย-ถนนกาญจนาภิเษกแนวเหนือ-ใต้ จะได้เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทในส่วนของค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2,500 ล้านบาท ส่วนค่าก่อสร้างประมาณ 8,000 ล้านบาทค่อนข้างแน่นอนว่าจะถูกตัดออกแม้ว่าโครงการจะช่วยแก้ปัญหาจราจรบนถนนกาญจนาภิเษกและเปิดพื้นที่รอยต่อจังหวัดปทุมธานีและนนทบุรีก็ตาม ทั้งนี้เพื่อนำเงินไปใช้ในระบบรางซึ่งเป็นเป้าหมายของ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน จึงต้องปรับลดโครงการที่มีความสำคัญน้อยออก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นถนนของกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.)
โดยโครงการของทางหลวงชนบทที่ยังอยู่ใน พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ประกอบด้วย โครงการถนนเพื่อสนับสนุนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 3 โครงการ วงเงิน 13,660 ล้านบาท โครงการถนนสนับสนุนท่าเรือแหลมบัง (ทลฉ.) 2 โครงการ วงเงิน 2,960 ล้านบาท โครงการถนนสนับสนุนท่าเรือเชียงแสน 2 โครงการ วงเงิน 2,600 ล้านบาท โครงการสนับสนุนลอจิสติกส์ ถนนช่วงองครักษ์-บางน้ำเปรี้ยว ขยายเป็น 4 ช่องจราจร วงเงิน 1,750 ล้านบาท โครงการป้องกันอุบัติเหตุ ก่อสร้างสะพานข้ามและอุโมงค์ลอดทางรถไฟ จำนวน 25 โครงการ วงเงิน 5,700 ล้านบาท และโครงการรอยัลโค้ด (ถนนเลียบชายทะเล) เพื่อการท่องเที่ยว วงเงิน 4,190 ล้านบาท
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวภายหลังการสัมมนา “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ประเทศชาติและประชาชนได้อะไร” ภายในงานนิทรรศการแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง พ.ศ. 2556-2563 หรือ “Thailand 2020 ก้าวใหม่เชื่อมไทยสู่โลก” ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ ว่า จากการเปิดรับความเห็นจากประชาชนและทุกภาคส่วน ส่วนใหญ่ไม่คัดค้านโครงการภายใต้ พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะการพัฒนารถไฟที่มีสัดส่วนลงทุนประมาณ 82% หรือใช้งบประมาณกว่า 1.64 ล้านล้านบาท โดยประชาชนต้องการให้รัฐบาลเร่งโครงการให้เร็ว และมีความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง ส่วนแหล่งเงินกู้ใน พ.ร.บ.นั้นกระทรวงการคลังจะเป็นผู้จัดหา คาดว่าจะเป็นเงินกู้ภายในประเทศ หรือการออกพันธบัตรรัฐบาล โดยไม่ได้กู้ล็อตเดียวทั้ง 2 ล้านล้านบาทเพื่อไม่ให้เสียดอกเบี้ยจำนวนมาก โดยในปี 2558-2559 จะเป็นช่วงที่มีการลงทุนมากที่สุด
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมพิจารณาโครงการภายใต้ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เงินกู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ล่าสุดอาจจะต้องตัดโครงการก่อสร้างถนนราชพฤกษ์ต่อขยาย-ถนนกาญจนาภิเษก แนวเหนือ-ใต้ วงเงินประมาณ 1.05 หมื่นล้านบาท รวมถึงโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้ได้รับจัดสรรในส่วนของค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วนค่าก่อสร้างนั้นอาจจะต้องตัดออก โดยจะลงทุนโดยวิธีเทิร์นคีย์ลงทุนแทน ทั้งนี้เพื่อนำเงินไปใช้ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมาไปถึงหนองคาย
“มอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-โคราชจะได้เงินกู้ 2 ล้านล้าน ในส่วนของค่าเวนคืน ส่วนค่าก่อสร้างตอนนี้มีแนวคิดเสนอว่าจะให้ใช้จ้างเทิร์นคีย์ เพราะจะเป็นไปได้มากกว่าร่วมทุนเอกชนแบบ PPP โดยเทิร์นคีย์นั้นสามารถตั้งงบประมาณประจำปีมาช่วยจ่ายคืนเอกชนได้บางส่วนและยังนำรายได้จากมอเตอร์เวย์สายอื่นมาช่วยขณะที่แบบ PPP ทำไม่ได้
ซึ่งเมื่อลงทุนสูงผู้ลงทุนอาจจะกำหนดค่าผ่านทางสูงอีกและยังมีขั้นตอนประมูลมากกว่าด้วย และเงินที่เหลือก็จะนำไปใช้ขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายอีสานไปถึง หนองคาย ตอนนี้ยังไม่สรุป ต้องรอที่ประชุมวันที่ 15 มีนาคมนี้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะสรุปครั้งสุดท้ายเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 19 มีนาคมนี้” นายชัชชาติกล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า คาดว่าโครงการถนนราชพฤกษ์ต่อขยาย-ถนนกาญจนาภิเษกแนวเหนือ-ใต้ จะได้เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทในส่วนของค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2,500 ล้านบาท ส่วนค่าก่อสร้างประมาณ 8,000 ล้านบาทค่อนข้างแน่นอนว่าจะถูกตัดออกแม้ว่าโครงการจะช่วยแก้ปัญหาจราจรบนถนนกาญจนาภิเษกและเปิดพื้นที่รอยต่อจังหวัดปทุมธานีและนนทบุรีก็ตาม ทั้งนี้เพื่อนำเงินไปใช้ในระบบรางซึ่งเป็นเป้าหมายของ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน จึงต้องปรับลดโครงการที่มีความสำคัญน้อยออก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นถนนของกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.)
โดยโครงการของทางหลวงชนบทที่ยังอยู่ใน พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ประกอบด้วย โครงการถนนเพื่อสนับสนุนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 3 โครงการ วงเงิน 13,660 ล้านบาท โครงการถนนสนับสนุนท่าเรือแหลมบัง (ทลฉ.) 2 โครงการ วงเงิน 2,960 ล้านบาท โครงการถนนสนับสนุนท่าเรือเชียงแสน 2 โครงการ วงเงิน 2,600 ล้านบาท โครงการสนับสนุนลอจิสติกส์ ถนนช่วงองครักษ์-บางน้ำเปรี้ยว ขยายเป็น 4 ช่องจราจร วงเงิน 1,750 ล้านบาท โครงการป้องกันอุบัติเหตุ ก่อสร้างสะพานข้ามและอุโมงค์ลอดทางรถไฟ จำนวน 25 โครงการ วงเงิน 5,700 ล้านบาท และโครงการรอยัลโค้ด (ถนนเลียบชายทะเล) เพื่อการท่องเที่ยว วงเงิน 4,190 ล้านบาท
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวภายหลังการสัมมนา “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ประเทศชาติและประชาชนได้อะไร” ภายในงานนิทรรศการแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง พ.ศ. 2556-2563 หรือ “Thailand 2020 ก้าวใหม่เชื่อมไทยสู่โลก” ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ ว่า จากการเปิดรับความเห็นจากประชาชนและทุกภาคส่วน ส่วนใหญ่ไม่คัดค้านโครงการภายใต้ พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะการพัฒนารถไฟที่มีสัดส่วนลงทุนประมาณ 82% หรือใช้งบประมาณกว่า 1.64 ล้านล้านบาท โดยประชาชนต้องการให้รัฐบาลเร่งโครงการให้เร็ว และมีความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง ส่วนแหล่งเงินกู้ใน พ.ร.บ.นั้นกระทรวงการคลังจะเป็นผู้จัดหา คาดว่าจะเป็นเงินกู้ภายในประเทศ หรือการออกพันธบัตรรัฐบาล โดยไม่ได้กู้ล็อตเดียวทั้ง 2 ล้านล้านบาทเพื่อไม่ให้เสียดอกเบี้ยจำนวนมาก โดยในปี 2558-2559 จะเป็นช่วงที่มีการลงทุนมากที่สุด