ทอท.ปรับแผนปรับปรุงบริการสุวรรณภูมิใหม่ ระหว่างรอเฟส 2 เสร็จ หลังประเมินคาดปี 56 ผู้โดยสารทะลุเกิน 51 ล้านคน สูงกว่าประมาณการเดิม เสี่ยงแออัดหนักกว่าเดิม เผยช่วงตรุษจีนมีถึง 1.7 แสนคนต่อวัน ทำสถิติสูงสุดในรอบ 7 ปี จากปกติเฉลี่ย 1.5 แสนคนต่อวัน ส่วนสายการบินเพิ่มเป็น 121 สายจาก 98 สาย ชี้ย้ายแอร์เอเชียไปดอนเมืองไม่ช่วยลดปัญหา เหตุท่องเที่ยวเติบโตมาก เตรียมประมูล APPS ระบบเช็กข้อมูลผู้โดยสารล่วงหน้าสัมปทาน 5 ปี มั่นใจทีโออาร์โปร่งใส
นายสมชัย สวัสดีผล รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า ทอท.อยู่ระหว่างปรับแผนการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในปี 2557-2560 ใหม่ระหว่างแผนพัฒนาขยายขีดความสามารถสุวรรณภูมิเฟส 2 ยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากพบว่าอัตราการเติบโตของผู้โดยสารและเที่ยวบินของสุวรรณภูมิเพิ่มสูงมากกว่าที่ประมาณการไว้ โดยล่าสุดช่วงเทศกาลตรุษจีนมีผู้โดยสารสูงถึง 1.7 แสนคนต่อวัน และคาดว่าทั้งปี 2556 จะมีผู้โดยสารรวมมากกว่า 50 ล้านคนต่อปี มากกว่าเดิมที่คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 45-46 ล้านคนต่อปี หลังจากกลุ่มสายการบินแอร์เอเชียได้ย้ายไปให้บริการท่าอากาศยานดอนเมืองโดยจะลดจำนวนผู้โดยสารสุวรรณภูมิลง 10 ล้านคนต่อปี หรือประมาณ 23,000-25,000 คนต่อวัน
“เบื้องต้นคาดว่าเรื่องหลุมจอดเครื่องบินยังไม่มีปัญหาแต่กังวลว่าหากผู้โดยสารเพิ่มมากการให้บริการตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) อาจจะมีผลกระทบบ้าง ซึ่งทาง ตม.จะมีการติดตั้งเครื่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ (Automatic Channel) จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 16 ตัว เพื่อรองรับผู้โดยสารคนไทยซึ่งปัจจุบันมีเฉลี่ย 8,000-9,000 คนต่อวัน และ ทอท.จะหารือเพื่อเตรียมเพิ่มบริการตรวจหนังสือเดินทางช่องพิเศษสำหรับผู้โดยสารอาเซียนหรือจีนที่เดินทางจำนวนมากเพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกมากที่สุด” นายสมชัยกล่าว
ด้าน น.ส.วิไลวรรณ นัดวิไล ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาสุวรรณภูมิมีผู้โดยสาร 1.7 แสนคน และมี 887 เที่ยวบิน ซึ่งเป็นสถิติสูงที่สุดในรอบ 7 ปี จากปกติผู้โดยสารจะสูงสุดที่ประมาณ 1.5 แสนคนต่อวัน และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงฤดูท่องเที่ยวของปีก่อน ผู้โดยสารสูงสุดประมาณ 1.3 แสนคนต่อวันเท่านั้น
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้เที่ยวบินและผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมาก คือ การท่องเที่ยวที่เติบโตและเที่ยวบินต่างประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเติบโตสูงมาก มีสายการบินใหม่ๆ ขอเข้ามาทำการบินเพิ่มขึ้น 5-6 สาย ส่วนสายการบินเดิมขอเพิ่มความถี่และเพิ่มขนาดเครื่องบิน โดยปัจจุบันมีสายการบินใช้บริการ 121 สาย จากเดิม 98 สาย ซึ่งคาดว่าปี 56 จะมีผู้โดยสารประมาณ 51.2 ล้านคนสูงกว่าประมาณการณ์ที่ 46 ล้านคนต่อปีแน่นอน
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปรับแผนปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยแผนจะปรับปรุงเสร็จกลางปีนี้ ซึ่งจะต้องรวบรวมข้อมูลประกอบการปรับแผนเช่น จำนวนสายการบินใหม่ที่เพิ่มขึ้น สายการบินเดิมจะเพิ่มความถี่และเพิ่มจำนวนเครื่องบินอย่างไร เป็นต้น โดยช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์จะมีการย้ายเคาน์เตอร์ของสายการบินออกจากอาคารผู้โดยสารเพื่อเพิ่มพื้นที่ให้ผู้โดยสารมากขึ้น และมีการบริหารจัดการพื้นที่สำหรับผู้โดยสารกรุ๊ปทัวร์ที่มีจำนวนมากเพื่อไม่ให้ไปกระทบหรือกีดขวางการให้บริการผู้โดยสารทั่วไป ส่วนตรวจหนังสือเดินทางนั้น ยังบริหารจัดการได้ดีในระดับหนึ่งและอยู่ในเกณฑ์ตัวชี้วัด 21 วินาทีต่อคน
โดยในปี 56 ทอท.มีแผนปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น โครงการก่อสร้างอาคารปฏิบัติการและระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสารเปลี่ยนเที่ยวบิน (Transfer Baggage Terminal) 1,800 ล้านบาท (ก.ค. 55 - ธ.ค. 56) จะสามารถขนถ่ายสัมภาระผู้โดยสารเปลี่ยนเครื่องได้ 3,960 ใบ/ชั่วโมง และลดเวลาในการต่อเครื่องของผู้โดยสารจากเดิม 75 นาทีเหลือ 60 นาที, ปรับปรุงระบบปรับอากาศ ประมาณ 677 ล้านบาท, ปรับปรุงห้องน้ำ 100 ล้านบาท, ปรับปรุงระบบไอที 334 ล้านบาท, ปรับปรุงด้านระบบไฟฟ้า 378 ล้านบาท, ปรับปรุงป้ายบอกทาง เป็นต้น
ได้ฤกษ์ประมูล APPS เช็กข้อมูลผู้โดยสารล่วงหน้า
นายสมชัยกล่าวถึงการติดตั้งระบบตรวจสอบและคัดกรองผู้โดยสารล่วงหน้า (Advance Passenger processing System : APPS) ว่า ได้ลงนามประกาศเปิดประมูลแล้ว คาดว่าจะคัดเลือกผู้ติดตั้งระบบ (Service Provider) ได้ใน 2 เดือน และหลังลงนามสัญญาใช้เวลาติดตั้งระบบอีก 4 เดือน สามารถให้บริการได้ภายในปีนี้ โดยมีอายุสัมปทาน 5 ปี วงเงินลงทุนรวม 6,000-7,000 ล้านบาท โดยมีบริษัท Short List ประมาณ 20 ราย
โดยจะต้องติดตั้งในสนามบินของ ทอท.ทั้ง 6 แห่ง รวมถึงสนามบินนานาชาติของกรมการบินพลเรือน (บพ.) ด้วย โดยระบบ APPS เป็นระบบแจ้งรายละเอียดข้อมูลของผู้โดยสารที่จะต้องถูกส่งไปตรวจสอบล่วงหน้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปลายทางเป็นรายบุคคล แล้วหน่วยงานปลายทางที่เกี่ยวข้องจะแจ้งผลการตรวจสอบกลับไปยังเคาน์เตอร์ที่ผู้โดยสาร check-in ทันทีว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เข้าประเทศ โดยคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ได้เห็นชอบกรอบอัตราค่าธรรมเนียมเพดานศูงสุดไม่เกิน 50 บาทต่อคนต่อเที่ยว อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่าการประกวดราคามีความโปร่งใสเนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงคมนาคม, กรมการบินพลเรือน (บพ.), ตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) และสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจการบิน (AOC) ได้มาร่วมพิจารณาทีโออาร์
นายสมชัย สวัสดีผล รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า ทอท.อยู่ระหว่างปรับแผนการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในปี 2557-2560 ใหม่ระหว่างแผนพัฒนาขยายขีดความสามารถสุวรรณภูมิเฟส 2 ยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากพบว่าอัตราการเติบโตของผู้โดยสารและเที่ยวบินของสุวรรณภูมิเพิ่มสูงมากกว่าที่ประมาณการไว้ โดยล่าสุดช่วงเทศกาลตรุษจีนมีผู้โดยสารสูงถึง 1.7 แสนคนต่อวัน และคาดว่าทั้งปี 2556 จะมีผู้โดยสารรวมมากกว่า 50 ล้านคนต่อปี มากกว่าเดิมที่คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 45-46 ล้านคนต่อปี หลังจากกลุ่มสายการบินแอร์เอเชียได้ย้ายไปให้บริการท่าอากาศยานดอนเมืองโดยจะลดจำนวนผู้โดยสารสุวรรณภูมิลง 10 ล้านคนต่อปี หรือประมาณ 23,000-25,000 คนต่อวัน
“เบื้องต้นคาดว่าเรื่องหลุมจอดเครื่องบินยังไม่มีปัญหาแต่กังวลว่าหากผู้โดยสารเพิ่มมากการให้บริการตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) อาจจะมีผลกระทบบ้าง ซึ่งทาง ตม.จะมีการติดตั้งเครื่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ (Automatic Channel) จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 16 ตัว เพื่อรองรับผู้โดยสารคนไทยซึ่งปัจจุบันมีเฉลี่ย 8,000-9,000 คนต่อวัน และ ทอท.จะหารือเพื่อเตรียมเพิ่มบริการตรวจหนังสือเดินทางช่องพิเศษสำหรับผู้โดยสารอาเซียนหรือจีนที่เดินทางจำนวนมากเพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกมากที่สุด” นายสมชัยกล่าว
ด้าน น.ส.วิไลวรรณ นัดวิไล ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาสุวรรณภูมิมีผู้โดยสาร 1.7 แสนคน และมี 887 เที่ยวบิน ซึ่งเป็นสถิติสูงที่สุดในรอบ 7 ปี จากปกติผู้โดยสารจะสูงสุดที่ประมาณ 1.5 แสนคนต่อวัน และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงฤดูท่องเที่ยวของปีก่อน ผู้โดยสารสูงสุดประมาณ 1.3 แสนคนต่อวันเท่านั้น
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้เที่ยวบินและผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมาก คือ การท่องเที่ยวที่เติบโตและเที่ยวบินต่างประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเติบโตสูงมาก มีสายการบินใหม่ๆ ขอเข้ามาทำการบินเพิ่มขึ้น 5-6 สาย ส่วนสายการบินเดิมขอเพิ่มความถี่และเพิ่มขนาดเครื่องบิน โดยปัจจุบันมีสายการบินใช้บริการ 121 สาย จากเดิม 98 สาย ซึ่งคาดว่าปี 56 จะมีผู้โดยสารประมาณ 51.2 ล้านคนสูงกว่าประมาณการณ์ที่ 46 ล้านคนต่อปีแน่นอน
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปรับแผนปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยแผนจะปรับปรุงเสร็จกลางปีนี้ ซึ่งจะต้องรวบรวมข้อมูลประกอบการปรับแผนเช่น จำนวนสายการบินใหม่ที่เพิ่มขึ้น สายการบินเดิมจะเพิ่มความถี่และเพิ่มจำนวนเครื่องบินอย่างไร เป็นต้น โดยช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์จะมีการย้ายเคาน์เตอร์ของสายการบินออกจากอาคารผู้โดยสารเพื่อเพิ่มพื้นที่ให้ผู้โดยสารมากขึ้น และมีการบริหารจัดการพื้นที่สำหรับผู้โดยสารกรุ๊ปทัวร์ที่มีจำนวนมากเพื่อไม่ให้ไปกระทบหรือกีดขวางการให้บริการผู้โดยสารทั่วไป ส่วนตรวจหนังสือเดินทางนั้น ยังบริหารจัดการได้ดีในระดับหนึ่งและอยู่ในเกณฑ์ตัวชี้วัด 21 วินาทีต่อคน
โดยในปี 56 ทอท.มีแผนปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น โครงการก่อสร้างอาคารปฏิบัติการและระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสารเปลี่ยนเที่ยวบิน (Transfer Baggage Terminal) 1,800 ล้านบาท (ก.ค. 55 - ธ.ค. 56) จะสามารถขนถ่ายสัมภาระผู้โดยสารเปลี่ยนเครื่องได้ 3,960 ใบ/ชั่วโมง และลดเวลาในการต่อเครื่องของผู้โดยสารจากเดิม 75 นาทีเหลือ 60 นาที, ปรับปรุงระบบปรับอากาศ ประมาณ 677 ล้านบาท, ปรับปรุงห้องน้ำ 100 ล้านบาท, ปรับปรุงระบบไอที 334 ล้านบาท, ปรับปรุงด้านระบบไฟฟ้า 378 ล้านบาท, ปรับปรุงป้ายบอกทาง เป็นต้น
ได้ฤกษ์ประมูล APPS เช็กข้อมูลผู้โดยสารล่วงหน้า
นายสมชัยกล่าวถึงการติดตั้งระบบตรวจสอบและคัดกรองผู้โดยสารล่วงหน้า (Advance Passenger processing System : APPS) ว่า ได้ลงนามประกาศเปิดประมูลแล้ว คาดว่าจะคัดเลือกผู้ติดตั้งระบบ (Service Provider) ได้ใน 2 เดือน และหลังลงนามสัญญาใช้เวลาติดตั้งระบบอีก 4 เดือน สามารถให้บริการได้ภายในปีนี้ โดยมีอายุสัมปทาน 5 ปี วงเงินลงทุนรวม 6,000-7,000 ล้านบาท โดยมีบริษัท Short List ประมาณ 20 ราย
โดยจะต้องติดตั้งในสนามบินของ ทอท.ทั้ง 6 แห่ง รวมถึงสนามบินนานาชาติของกรมการบินพลเรือน (บพ.) ด้วย โดยระบบ APPS เป็นระบบแจ้งรายละเอียดข้อมูลของผู้โดยสารที่จะต้องถูกส่งไปตรวจสอบล่วงหน้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปลายทางเป็นรายบุคคล แล้วหน่วยงานปลายทางที่เกี่ยวข้องจะแจ้งผลการตรวจสอบกลับไปยังเคาน์เตอร์ที่ผู้โดยสาร check-in ทันทีว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เข้าประเทศ โดยคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ได้เห็นชอบกรอบอัตราค่าธรรมเนียมเพดานศูงสุดไม่เกิน 50 บาทต่อคนต่อเที่ยว อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่าการประกวดราคามีความโปร่งใสเนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงคมนาคม, กรมการบินพลเรือน (บพ.), ตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) และสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจการบิน (AOC) ได้มาร่วมพิจารณาทีโออาร์