“ปลิว” ประกาศร่วมชิงดำประมูลรถไฟฟ้าและโครงการใน พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท มั่นใจกลุ่ม ช.การช่างได้งานไม่ต่ำกว่า 30% พร้อมออกโรงยัน BMCL ลดค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสีม่วงอีกลำบาก หวั่นกระทบต่อการให้บริการและความปลอดภัย เหตุต้องปรับลดสเปกรถไฟฟ้าและการซ่อมบำรุงลง
นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK เปิดเผยว่า บริษัทมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมแข่งขันประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกเส้นทางที่รัฐบาลจะดำเนินการ รวมถึงโครงการที่อยู่ในแผนลงทุน พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท โดยมีเป้าหมายให้ได้งานในสัดส่วน 30% ของปริมาณงานที่ภาครัฐเปิดประกวดราคา ทั้งนี้ ที่มีความมั่นใจว่ามีโอกาสได้งานในโครงการประมูลของรัฐบาลเนื่องจากบริษัทมีความพร้อม และมีประสบการณ์จากหลายโครงการก่อนหน้านี้
ทั้้งนี้ ในส่วนของภาครัฐกำลังเจรจาต่อรองลดค่าจ้างเดินรถสัญญาที่ 4 สัมปทานสำหรับการลงทุน การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ กับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL ซึ่ง ช.การช่างเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะสามารถปรับลดค่าใช้จ่ายจากรายการใดได้บ้าง แต่ต้องยอมรับว่าการลดค่าจ้างลงนั้นเป็นเรื่องที่ลำบากใจมาก เพราะจะส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการให้บริการ เนื่องจากต้องลดสเปกรถไฟฟ้ารวมถึงการบำรุงรักษาลง
“การลดราคาทำได้ แต่จะต้องเกี่ยวข้องไปถึงเรื่องความปลอดภัยเพราะจะต้องลดสเปกรถไฟฟ้าและค่าซ่อมบำรุงต่างๆ จากที่วางไว้ว่าจะต้องอยู่ในระดับสูงสุด คือใน 100 วันต้องวิ่งรถบริการให้ได้ที่ 99.99 วัน คือพร้อมที่จะบริการทุกอย่าง 100% จึงยังบอกไม่ได้ว่าจะลดค่าจ้างเดินรถลงจาก 8 หมื่นล้านบาทได้หรือไม่” นายปลิวกล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมาคณะกรรมการตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) ที่มีนายรณชิต แย้มสอาด รอผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นประธาน ได้เรียกผู้บริหาร BMCL มาเจรจาต่อรองลดค่าจ้างเดินรถสัญญาที่ 4 สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ โดย BMCL เสนอว่าจะลดค่าจ้างจาก 85,991.50 ล้านบาท ลงอีก 700 ล้านบาท (รวม VAT 7%) เหลือประมาณ 85,291.50 ล้านบาท โดยปรับลดใน 2 รายการ คือ ค่าจัดหารถไฟฟ้าลดลง 200 ล้านบาท และค่าบริหารจัดการตลอดการว่าจ้าง 30 ปีลดลง 500 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขว่าหากภาครัฐให้การส่งเสริมการลงทุน (BOI) แก่ BMCL จะสามารถลดค่าจ้างลงได้ 1,100 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับค่าจ้างเดินรถจะลดลงมาอยูที่ 84,891 ล้านบาท แต่ รฟม.ยืนยันว่าไม่สามารถเสนอขอรับการสนับสนุนจาก BOI ได้เพราะไม่ได้กำหนดไว้ในเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) หากดำเนินการในเวลาจะเข้าข่ายกระทำผิด TOR และ BMCL เองก็รับทราบอยู่แล้วว่าไม่สามารถทำได้
อย่งไรก็ตาม การพิจารณารายการว่าจ้างที่ BMCL นำเสนอพบว่ามีต้นทุนแฝงค่อนข้างมาก ทำให้ค่าจ้างสูงเกินจริง เช่น ค่าซ่อมบำรุง 30 ปี 6,000 ล้านบาท เฉลี่ยปีละ 200 ล้าบาท โดย BMCL เริ่มคิดค่าซ่อมบำรุงตั้งแต่ปีแรกขอการบริการ ทั้งที่ความจริงแล้วช่วง 1-2 ปีแรกค่าซ่อมบำรุงจะไม่ถึง 200 ล้านบาท และควรคิดค่าซ่อมบำรุงตั้งแต่ปีที่ 5 มากกว่า ทั้งนี้
ในการเจรจาล่าสุดคณะกรรมการตามมาตรา 13ฯ แจ้งว่าต้องการให้ BMCL ปรับลดราคาประมาณ 1,200 ล้านบาท โดยให้ทำรายละเอียดกลับมาภายใน 7 วันหรือภายในสัปดาห์นี้เพื่อให้ได้ข้อสรุปภายใน 30 วันตามมติ ครม.นับจากวันที่ 8 มกราคม 56 ที่ ครม.มีมติ
นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK เปิดเผยว่า บริษัทมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมแข่งขันประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกเส้นทางที่รัฐบาลจะดำเนินการ รวมถึงโครงการที่อยู่ในแผนลงทุน พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท โดยมีเป้าหมายให้ได้งานในสัดส่วน 30% ของปริมาณงานที่ภาครัฐเปิดประกวดราคา ทั้งนี้ ที่มีความมั่นใจว่ามีโอกาสได้งานในโครงการประมูลของรัฐบาลเนื่องจากบริษัทมีความพร้อม และมีประสบการณ์จากหลายโครงการก่อนหน้านี้
ทั้้งนี้ ในส่วนของภาครัฐกำลังเจรจาต่อรองลดค่าจ้างเดินรถสัญญาที่ 4 สัมปทานสำหรับการลงทุน การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ กับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL ซึ่ง ช.การช่างเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะสามารถปรับลดค่าใช้จ่ายจากรายการใดได้บ้าง แต่ต้องยอมรับว่าการลดค่าจ้างลงนั้นเป็นเรื่องที่ลำบากใจมาก เพราะจะส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการให้บริการ เนื่องจากต้องลดสเปกรถไฟฟ้ารวมถึงการบำรุงรักษาลง
“การลดราคาทำได้ แต่จะต้องเกี่ยวข้องไปถึงเรื่องความปลอดภัยเพราะจะต้องลดสเปกรถไฟฟ้าและค่าซ่อมบำรุงต่างๆ จากที่วางไว้ว่าจะต้องอยู่ในระดับสูงสุด คือใน 100 วันต้องวิ่งรถบริการให้ได้ที่ 99.99 วัน คือพร้อมที่จะบริการทุกอย่าง 100% จึงยังบอกไม่ได้ว่าจะลดค่าจ้างเดินรถลงจาก 8 หมื่นล้านบาทได้หรือไม่” นายปลิวกล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมาคณะกรรมการตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) ที่มีนายรณชิต แย้มสอาด รอผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นประธาน ได้เรียกผู้บริหาร BMCL มาเจรจาต่อรองลดค่าจ้างเดินรถสัญญาที่ 4 สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ โดย BMCL เสนอว่าจะลดค่าจ้างจาก 85,991.50 ล้านบาท ลงอีก 700 ล้านบาท (รวม VAT 7%) เหลือประมาณ 85,291.50 ล้านบาท โดยปรับลดใน 2 รายการ คือ ค่าจัดหารถไฟฟ้าลดลง 200 ล้านบาท และค่าบริหารจัดการตลอดการว่าจ้าง 30 ปีลดลง 500 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขว่าหากภาครัฐให้การส่งเสริมการลงทุน (BOI) แก่ BMCL จะสามารถลดค่าจ้างลงได้ 1,100 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับค่าจ้างเดินรถจะลดลงมาอยูที่ 84,891 ล้านบาท แต่ รฟม.ยืนยันว่าไม่สามารถเสนอขอรับการสนับสนุนจาก BOI ได้เพราะไม่ได้กำหนดไว้ในเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) หากดำเนินการในเวลาจะเข้าข่ายกระทำผิด TOR และ BMCL เองก็รับทราบอยู่แล้วว่าไม่สามารถทำได้
อย่งไรก็ตาม การพิจารณารายการว่าจ้างที่ BMCL นำเสนอพบว่ามีต้นทุนแฝงค่อนข้างมาก ทำให้ค่าจ้างสูงเกินจริง เช่น ค่าซ่อมบำรุง 30 ปี 6,000 ล้านบาท เฉลี่ยปีละ 200 ล้าบาท โดย BMCL เริ่มคิดค่าซ่อมบำรุงตั้งแต่ปีแรกขอการบริการ ทั้งที่ความจริงแล้วช่วง 1-2 ปีแรกค่าซ่อมบำรุงจะไม่ถึง 200 ล้านบาท และควรคิดค่าซ่อมบำรุงตั้งแต่ปีที่ 5 มากกว่า ทั้งนี้
ในการเจรจาล่าสุดคณะกรรมการตามมาตรา 13ฯ แจ้งว่าต้องการให้ BMCL ปรับลดราคาประมาณ 1,200 ล้านบาท โดยให้ทำรายละเอียดกลับมาภายใน 7 วันหรือภายในสัปดาห์นี้เพื่อให้ได้ข้อสรุปภายใน 30 วันตามมติ ครม.นับจากวันที่ 8 มกราคม 56 ที่ ครม.มีมติ